YU  MI
        ในบางพื้นที่ของประเทศจีนมักจะเรียกโจว (ข้าวต้ม) ว่าซีฟั่น คนโบราณมักจะเขียนตัวโจว เป็นตัวอวี้ ตัวอักษรโจวนี้ เป็นตัวที่เพิ่งมีมาที่หลัง ตรงกลางด้านบนของตัวอวี้ในตัวอักษรโบราณมีสัญลักษณ์ของข้าวสารแสดงอยู่ นี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำไมข้าวสารถึงเป็นส่วนประกอบหลักของโจว ส่วนประกอบอื่นๆของตัวอักษณแสดงถึงเครื่องมือหุงต้มอาหารที่มักจะใช้นำมาต้มข้าวต้ม ตัวอักษรอวี้ ตัวนี้ ในปัจจุบันก็ยังคงมีปรากฏอยู่ แต่ว่าไม่ได้มีความหมายว่า “ข้าวต้ม” อีกแล้ว แต่กลับมีความหมายว่า “ขาย” ข้าวต้ม(โจว) ยังเรียกอีกอย่างได้ว่ามี๋ ด้านล่างของตัวมี๋ ในตัวอักษรโบราณก็มีสัญลักษณ์ของข้าวสาร(สัญลักษณ์ด้านบนแสดงถึงเสียงอ่าน )
        ประวัติศาสตร์การรับประทานข้าวต้มของคนจีนนั้นยาวนานมาก ในสมัยจ้านกว๋อ มีคนชราท่านหนึ่งมีนามว่าฉู่หลง เขาได้พูดอย่างสนิทสนมกับไทเฮาที่อายุค่อนข้างมาก ว่า “การเจริญอาหารของท่านยังย่ำแย่หรือเปล่า” ไทเฮาจึงพูดว่า “ก็ได้แต่กินข้าวต้ม (โจว) ประทังชีวิตไปวันๆ” เห็นได้ว่าข้าวต้มในสมัยนั้นเป็นอาหารสำคัญประจำวันของคนชรา ทุกๆปี ในฤดูใบไม้ผลิ รัฐบาลราชวงศ์โจว จะจัดงานเลี้ยงต้อนรับคนชรา โดยเรียกว่า ในงานเลี้ยงนี้จะมีการมอบไม้เท้าให้แก่คนชราและเชิญพวกเขาร่วมพิธีรับประทานข้าวต้ม (โจว)
        ข้าวต้มนั้นย่อยง่าย ร่างกายซึมซับเอาสารอาหารไว้ได้เร็ว ไม่เพียงแต่มีประโยชน์ต่อลำไส้และกระเพาะอาหารเท่านั้นแต่ยังมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะอีกด้วย ลู่โหยวกวีในสมัยราชวงศ์ซ่งได้กล่าวไว้ในงานกวีนิพนธ์ของเขาว่า ไม่เห็นจำเป็นที่จะต้องเสียเวลาไปเสาะค้นหายาวิเศษอะไรมากินเลย แค่เพียงกินข้าวต้มทุกวันก็สามารถมีชีวิตยืนยาวไม่เฒ่าไม่แก่ได้แล้ว แพทย์ในสมัยโบราณก็ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับความสามารถในการรักษาร่างกายให้แข็งแรงของข้าวต้ม พวกเขาได้เติมถั่วแดง ถั่วเขียว เม็ดอี้เหริน เม็ดบัว ลิลลี่ ต้นหอม ขิง ผักจี่ไช่ ใบไผ่ พุทรา อ้อย หัวผักกาด เนื้อหมู เนื้อแพะ เนื้อวัว ปลาแผ่น น้ำต้มเนื้อเป็ด น้ำซุปปลาคาป นมวัว นมแพะ เนยแข็ง น้ำผึ้ง น้ำตาลอ้อยต่าง ๆลงไปในข้าวต้ม เมื่อกินข้าวต้มที่พวกเขาปรุงขึ้นก็จะได้ประสิทธิผลในการรักษาและบำรุงร่างกายที่แตกต่างกันออกไป
        กล่าวกันว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าสากยะมุนีจะบรรลุธรรมะได้บำเพ็ญเพียรอยู่หลายปี  มีอยู่ครั้งหนึ่งหิวมากจนใกล้ตาย จนเมื่อได้รับประทานข้าวต้มใส่นม ของหญิงเลี้ยงสัตว์พเนจรคนหนึ่งที่มอบให้แก่เขาถึงได้รอดพ้นจากความลำบากได้ ต่อมาท่านก็ได้นั่งบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์ต่อไป จนในที่สุดในวันขึ้น ๘ ค่ำเดือนสิบสองตามปฏิทินจันทรคติ  (เดือนธันวาคม) จึงได้บรรลุพระอรหันต์ ในทุกๆ ปีพุทธศาสนิกชนในประเทศจีน จะนำข้าวต้มมาถวายแด่พระพุทธเจ้าในวันนี้ ข้าวต้มนี้เรียกว่าล่าปาโจว เทศกาลนี้เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลของข้าวต้ม
      เครื่องปรุงของล่าปาโจวของแต่ละท้องถิ่นในประเทศจีนส่วนมากไม่เหมือนกัน ส่วนมากในข้าวเป็นพื้นฐานหลักเติมธัญพืชอื่น ๆผลไม้ตากแห้งต่าง ๆรวมกันต้มออกมาเป็นข้าวต้ม เครื่องปรุงของล่าปาโจว ของปักกิ่งในช่วงราชวงศ์ชิงนั้นถือว่ามากที่สุด การปรุงนั้นถือว่าละเอียดอ่อนและประณีตมากที่สุด โดยจะใช้ข้าวเหนียวดิบ ข้าวสาร ข้าวเหนียวสุก ข้าวเดือย กระจับ ลูกเกาลัด ถั่วฝักวัวแดง แยมลูกพุทราที่ปอกเปลือกแล้ว ทั้งหมดนำมาต้มรวมกันในน้ำ แล้วเพิ่มสีสันนิดหน่อยด้วยเมล็ดลูกท้อ เมล็ดอัลมอนด์ เม็ดแตงโม ถั่วลิสง เปลือกข้าวโพด ลูกสน สุดท้ายถึงเติมน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดงและลูกเกด ตั้งแต่วันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนสิบสองเป็นต้นมา ก็จะต้องยุ่งอยู่กับการปลอกเปลือกของผลไม้ที่แห้งแล้ว ทำความสะอาดเครื่องครัว ทำอยู่หนึ่งวันเต็ม ๆ จนฟ้าสางแล้วถึงนำมาต้มรวมกัน นอกจากจะนำไปถวายแด่บรรพบุรุษและพระพุทธเจ้าแล้ว ยังแบ่งไปให้แก่ญาติสนิทมิตรสหายอีกด้วย
        ข้าวต้มของประเทศจีนที่ใช้เป็นอาหารประจำวันนั้น ได้เลือกสรรวัตถุดิบที่นำมาทำตามสภาพท้องถิ่นของตัวเอง ในแต่ละฤดูกาลก็มีส่วนประกอบไม่เหมือนกัน ความชำนาญในการทำของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน การต้มข้าวต้มให้ดีได้สักถ้วยหนึ่ง ก็เป็นการทดสอบสติปัญญาความเฉลียวฉลาดของแม่บ้าน ถ้าหากว่าหลังจากการป่วยมาเป็นเวลานาน เมื่อยล้าอ่อนเพลีย กระสับกระส่ายวุ่นวายใจ หรือได้รับไอเย็นในตอนร้อน ๆ แล้วสามารถกินข้าวต้มของประเทศจีนที่ปรุงอย่างตั้งอกตั้งใจที่สุด จนได้รับความรักจากแม่ ความเป็นห่วงเป็นใยของภรรยานั่นถือเป็นความสุขอันสูงสุดจริง ๆ
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น