วูบกลางอากาศ - วูบกลางอากาศ นิยาย วูบกลางอากาศ : Dek-D.com - Writer

    วูบกลางอากาศ

    โดย ting hardcore

    เครื่องบินที่กำลังจะตกลงสู้ทะเลอันกว้างใหญ่ มีเพียง..............

    ผู้เข้าชมรวม

    712

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    712

    ความคิดเห็น


    9

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  19 พ.ค. 48 / 20:40 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      วูบกลางอากาศ
          เป็นเรื่องแปล จากเรื่องที่เกิดขึ้นกับชีวิตจริง (Drama in Real Life) เกี่ยวกับช่วงเวลาวิกฤตบนเครื่องบินขณะบินอยู่ในอากาศ เนื่องจากอุบัติเหตุ แต่ด้วยความสามารถและร่วมแรงร่วมใจกันของทุกคน ในที่สุดเหตุร้ายก็กลับกลายเป็นดีได้อย่างปาฏิหาริย์...
          สภาพอากาศเปิดท้องฟ้าโปร่งขณะที่เที่ยวบิน 5390 ของบริษัทสายการบินแห่งชาติอังกฤษ “บริติชแอร์เวย์ส” ทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานเบอร์มิงแฮม ในเวลา 8.20 น. ของวันที่ 10 มิถุนายน 1990 เพื่อลัดฟ้าสู่ “มาลากา” เมืองตากอากาศริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของสเปน พาผู้โดยสารทั้งสิ้น 82 ชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางไปพักผ่อนวันหยุดและทุกคนดูจะยิ้มย่องผ่องใสกันทั่วหน้า
          “ที่มาลากานั้นออกจะร้อนหน่อยนะ เอนหลังให้สบายและขอให้ทุกท่านสนุกกันได้เต็มที่กับเที่ยวบินของเรา” เสียงกัปตันประกาศ
          ขณะที่เครื่องเจ็ต “บีเอซี -111” กำลังไต่ระดับบ่ายหัวมุงลงใต้ พนักงานประจำเครื่องทั้งสี่คนก็เริ่มจัดแจงเตรียมอาหารเช้าเสิร์ฟผู้โดยสารในทันที และที่ห้องควบคุมการบินกัปตันทิม แลงคาสเตอร์ หนุ่มใหญ่วัย 41 ท่าทางใจดีผู้คร่ำหวอดกับการบินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 11,000 ชัวโมงบิน ประจำอยู่ตรงที่นั่งทางด้านซ้าย ส่วนที่นั่งทางด้านขวาคืออลาสแตร์ แอ็ตคิสัน นักบินผู้ช่วยวัย 39 ที่เพิ่งจะขึ้นบินเป็นครั้งแรกกับแลงคาสเตอร์หน้าที่ของเขาก็คือคอยทำหน้าที่ติดต่อกับศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ ซึ่งตอนนี้ได้สั่งให้ 5390 บินฝ่าน่านฟ้าที่มีการจราจรคับคั่งของมหานครลอนดอนซีกตะวันตก
          ที่ความสูง 17,000 ฟิต 13 นาที หลังจากทะยานขึ้น เครื่องบินก็ได้เข้าสู่ระดับที่การจราจรทางอากาศเริ่มเบาบางลงแล้ว นักบินทั้งสองก็จะได้ผ่อนคลายเสียที แลงคาสเตอร์จึงปลดสายรัดที่บ่าออก และคลายเข็มขัดนิรภัย
          “นั่นแหละบ้านผมล่ะ” เขาชี้มือไปที่เมืองอบิงดันข้างล่างบอกกับนักบินผู้ช่วย
          แต่เขาพูดยังไม่ทันขาดคำ จู่ๆ ก็เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังลั่น! และกระจกบานหน้าด้านกัปตันก็หลุดผลึ่งออกไปทันที แล้วอากาศภายในก็ทะลักออกสู่ภายนอก!
          นิเกล โอจ์เด็นสจ๊วตหมายเลข 3 ขณะกำลังยืเตรียมอาหารจะเสริฟ์ผู้โดยสารอยู่ที่ห้องครัวด้านหน้าติดกับห้องบังคับการบิน ได้ยินเสียงคล้ายกับฟ้าร้องจึงหันขวับมาดู และเขาก็เห็นร่างของกัปตันลื่นไถลไปตามช่องโหว่ที่กระจกหน้าหลุดออกไปนั้น
          เขาจึงละมือแจ้นไปที่ห้องนักบินกระโดดข้ามคอนโซลวิทยุที่อยู่ตรงกลางระหว่างที่นั่งนักบินทั้งสอง รีบคว้าเอวของแลงคาสเตอร์เอาไว้ ขณะที่เท้าทั้งสองยืนคร่อมเก้าอี้ของกัปตัน
          แต่แรงลมที่ฉุดร่างของกัปตันนั้นมันช่างมากมายมหาศาลเหลือเกิน จนแขนของสจ๊วตหนุ่มแทบจะหลุดตามไปเสียให้ได้
          “โอ๊ย... ช่วยด้วย” โอจ์เด็นตะโกนสุดเสียง ทว่ากระแสลมก็แทบจะกลืนเอาเสียงของเขาไปเสียจนหมดสิ้น
          ส่วนอลาสแตร์ แอ็ตคิสันนักบินที่สองนั้นเล่า ก็ไม่สามารถละมาช่วยโอจ์เด็นได้เพราะต้องคอยควบคุมเครื่องบินให้บินทรงตัวตัวต่อไป
          ผู้โดยสารต่างพากันใจเสียที่อยู่ดีๆ ก็เห็นหมอกอันเย็นเยือกแปลกปลอมเข้ามาในห้องโดยสาร มันหมายถึงสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าขณะนั้นความกดอากาศภายในกำลังลดต่ำลงแล้ว ขณะที่ตัวเครื่องบินก็มีอาการกระตุกคล้ายกำลังจะตก
          “คุณพระช่วย... ระเบิด?” สเตฟานี เจนกินส์ ผู้โดยสารที่เดินทางมาเยี่ยมมารดาในมาลากาอุทานกับตัวเอง
          ไมเคิล ลอร์เรนซ์อดีตนักบินขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้โดยสารอีกคนหนึ่ง ก็รู้ด้วยประสบการณ์ว่าขณะนั้นความกดอากาศภายในได้ลดต่ำลงแล้ว สัญชาตญาณนักบินเก่าทำให้เขารีบรัดเข็มขัดนิรภัยจนแน่น
          ทันทีที่ได้ยินเสียงผิดปกติ จอห์น ฮิวเวิร์ด หัวหน้าพนักงานประจำเครื่องวัย 37 ซึ่งกำลังรินน้ำชาเสิร์ฟให้ผู้โดยสารที่แถว 5 ก็รีบปราดมาที่ห้องควบคุมการบินวิกฤตนั้นทันที เขาเห็นแอ็ตคิสันกำลังสาละวนอยู่กับการคลำหาคันบังคับเครื่องยนต์ที่ได้ถูกแรงลมพัดเอาบานประตูโยนไปกองไว้บนทางเดิน แล้วเอามือข้างหนึ่งดึงเข็มขัดของโอจ์เด็นเอาไว้ขณะที่มืออีกข้างหนึ่งก็รั้งขากางเกงของกัปตัน
          อลาสแตร์ แอ็ตคิสันรู้อยู่แก่ใจดีว่าเครื่อง “บีเอซี – 111” ทุกลำไม่มีการติดตั้งหน้ากากออกซิเจนฉุกเฉินเอาไว้ประกอบกับตอนนี้อาการของกัปตันเองประกอบกับตอนนี้อาการของกัปตันเองก็อยู่ในสภาวะที่ล่อแหลมมาก เพราะไม่เพียงแต่จะถูกแรงดูดให้หลุดออกจากตัวเครื่องบินเท่านั้น หากยังจะแข็งตายเสียก่อนด้วยอุณหภูมิภายนอกที่เย็นเยือกแค่ลบ 7 องศาฟาเรนไฮต์เท่านั้น
          ทางเลือกสุดท้ายก็คือรีบลดเพดานบินไปที่ระดับ 10,000 ฟิตในทันที เพราะที่ระดับนี้บรรยากาศมีความหนาแน่นมากพอโดยที่ผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องใช้หน้ากากออกซิเจนช่วยแต่ประการใด
          แต่กระนั้นก็ตามการลดระดับความสูงลงชนิดดำดิ่งลงมาด้วยความเร็วที่มากขนาด 370 ไมล์/ชม. ของเครื่องบินเองนั้น คงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ เลยในสภาวะแบบนั้น เนื่องจากจะต้องระวังอย่างยิ่งยวดด้วยว่าร่างของกัปตันที่หลุดออกไปนอกเครื่องถึงครึ่งตัวแล้วนั้นจะทนทานไหวหรือไม่?
          “เมย์เดย์ (ขอลงฉุกเฉิน) ...เมย์เดย์” แอ็ตคิสันวิทยุแจ้งหอบังคับการภาคพื้นดิน “นี่คือ 5390 เรากำลังมีปัญหาความกดดันจากการระเบิด!”
          ผู้โดยสารทุกคนต่างนั่งตัวเกร็งเงียบกริบ ไม่มีใครแสดงอาการหวาดกลัวออกาให้เห็นขณะที่เครื่องกำลังลดเพดานบินลงมา
          “นี่คือวาระสุดท้าย?” สเตฟานีเจนกินส์ถามตัวเอง “แต่ฉันยังไม่ได้ทำพินัยกรรม?... ฉันคงไม่ได้เห็นหน้ากอร์ดอนและลูกอีกแล้ว?”
          ส่วนไมเคิล ลอร์เรนซ์เสืออากาศเก่าค่อยใจชื้นขึ้นเมื่อเห็นเบรกอากาศเริ่มทำงาน “ทุกอย่างเข้าที่แล้วล่ะ ไม่มีปัญหา?” เขาหันไปบอกผู้โดยสารที่นั่งติดกัน
          ในที่สุดนักบินผู้ช่วยก็สามารถนำเครื่องลดเพดานบินมาที่ระดับ 10,000 ฟิตได้สำเร็จ เขาพยายามจะบินรักษาระดับไปพร้อมๆ กับชะลอความเร็วให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยหวังว่าจะช่วยให้โอจ์เด็นและฮิวเวิร์ดดึงเอาร่างของกัปตันกลับคืนเข้ามาได้
          แต่เมื่อทรงความเร็วไว้ที่ 170 ไมล์/ชม. เท่านั้นเอง เจ้าบีเอซี – 111 ก็มีอาการคล้ายกับจะทรงตัวอยู่ไม่ได้เสียแล้ว ขณะที่ลูกเรือทั้งสองคนก็ยังขยับเอาร่างกัปตันลงมาไม่ได้ เนื่องจากร่างของเขาถูกตรึงอยู่ตรงตำแหน่งที่กระแสลมที่ถูกพุ้ยออกไปท้ายเครื่องบินขณะแหวกอากาศ “ผ่าน” ออกพอดี ประกอบกับแขนของกัปตันเองก็ถูกแรงลมลู่ไปอยู่ข้างหลังอีกด้วย
          “ทิมคงไม่รอดแน่? อย่างน้อยหลังคงหัก?” แอ็ตคิสันคิดในใจ ขณะที่สจ๊วตหนุ่มทั้งสองมองเขาด้วยแววตาฉงน แอ็ตคิสันจึงตะโกนบอก “กัปตันตายแล้วล่ะ”
          ไซมอน โรเจอร์สสจ๊วตหมายเลข 3 เจ้าของร่างกายกำยำและอายุน้อยที่สุด ในบันดาลูกเรือด้วยวัยแค่ 29 รีบรุดมาจากห้อวครัวด้านหลังตรงเข้าช่วยโอจ์เด็นและฮิวเวิร์ดทันที
          ลูกเรือทั้งสามหนุ่มสามแรงแข็งขันมากระจุกตัวอยู่ในที่แคบๆ ตรงห้องนักบินพยายามช่วยกันยื้อยุดฉุดรั้งเอาร่างกัปตันเข้ามาอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีอะไรดีขึ้นเลยจะทำได้ก็แค่ขยับขาขวาของกัปตันให้พ้นจากแผงควบคุมหลัก เพื่อให้นักบินผู้ช่วยได้ใช้งานได้สะดวกขึ้น แต่ขาซ้ายของกัปตันก็ยังติดคาอยู่อย่างเดิม
          ตอนนี้นี้เองที่ลูกเรือทั้งสามคนได้เดินมาถึง “ทางสองแพร่งที่น่าพรั่นพรึง”ที่สุด นั่นคือจะปล่อยร่างของกัปตันให้หลุดออกนอกเครื่องไปเลย? หรือยังฉุดร่างนั้นไว้ต่อไป?
          นิเกล โอจ์เด็นเมื่อยแขนเต็มทีจนเหลือที่จะทนต่อไปอีกแล้ว มันช้ำระบมไปหมดทั้งสองข้างจากการครูดกับขอบและที่สำคัญทางวิ่งของสนามปินเซาธ์แธมตันแห่งนี้มีการเว้นขอบทางเผื่อความผิดพลาดเอาไว้แคบนิดเดียว และที่สำคัญการที่ต้องเบรกอย่างรุนแรงก็อาจจะทำให้เกิดความร้อนสะสมขึ้นจำนวนมาก จนอาจจะทำให้ไฟลุกท่วมขึ้นมาได้
          “รันเวย์อยู่ข้างหน้า” รันเดิลตอบแอ็ตคิสันที่แจ้งว่าขณะนั้นอยู่ห่างสนามบินเพียงสามไมล์
          “คุณเคลียร์ได้เลย!” รันเดิลสั่งก่อนที่จะวิ่งไปชะเง้อดูที่หน้าต่างของหอบังคับการอย่างใจจดใจจ่อ
          จอห์น ฮิวเวิร์ดมองเห็นต้นไม้เคลื่อนผ่านหน้าต่างไปอย่างรวดเร็ว “เกาะให้แน่น...เกาะให้แน่น ก้มต่ำกว่าเก้าอี้” เขาตะโกนบอกผู้โดยสาร
          เดวิด ดันแคนรู้สึกแต่เพียงว่ามีการกระแทรกเพียงเล็กน้อย
          สำหรับสเตฟานี เจนกินส์แล้วมันช่างเป็นการร่อนลงสู่พื้นที่แสนจะนุ่มนวลที่สุดเท่าที่เคยพบมาเลยก็ว่าได้
          ทันทีที่เครื่องบินหยุดสนิทผู้โดยสารทั้งลำเงียบกริบราวกับนัดกัน หลังจากนั้นลูกเรือก็ทยอยปล่อยให้ทุกคนลงจากเครื่อง ซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา 8.55 น. หรือ 35 นาทีหลังจากที่เที่ยวบิน 5390 ทะยานขึ้นจากเบอร์มิงแฮม
          “เป็นการร่อนลงที่วิเศษจริงๆ” รันเดิลบอกแฮ็ตคิสัน
          และในหูฟังนั้นเขาได้ยินเสียงนักบินผู้ช่วยคนเก่งครางเงียบๆ ด้วยความลิงโลด
          ส่วนอีกด้านหนึ่งจอห์น ฟอสเกตต์แห่งหน่วยผจญเพลิง ก็รีบไต่บันไดขึ้นไปช่วยเหลือกัปตันทิม แลงคาสเตอร์ที่บริเวณส่วนหัวของเครื่องบิน
          และเขาก็ถึงกับตะลึงทันทีที่เห็นกัปตันผงกศีรษะ ไม่รอช้าเขารีบดึงร่างนั้นออกมาทันทีร
          “ผ ม อ ยู่ ที่ ไ ห น ?” ฟอสเกตต์ได้ยินเสียงกัปตันเพ้อ
          ในอีกไม่กี่วินาทีต่อมากัปตันก็ถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยรีบด่วน
          แพทย์บอกว่ากี่วินาทีต่อมากัปตันก็ถูกนำส่งโรงพยาบาลโดยรีบด่วน
          แพทย์บอกว่าอาการของกัปตันเป็นเรื่องที่ “เหลือเชื่อที่สุด” นั่นคือเขาไม่ยักโดนเกร็ดน้ำแข็งบาดเลยสักแผลเดียวเพียงแต่บาดเจ็บที่ข้อมือและแขนขวาเดาะเท่านั้น
          สำหรับผู้โดยสารทั้ง 82 คนที่เพิ่งจะผ่านจากฝันร้ายมาหมาดๆ ก็ได้รับการเชื้อเชิญให้เปลี่ยนไปขึ้นเครื่อง “โบอิ้ง 737” ที่นำมาทดแทนจากสนามบิน ฮีธโรว์ กรุงลอนดอน และมีผู้โดยสารเพียง 7 คนเท่านั้น ที่ปฏิเสธการเดินทาง
          จากผลการสอบสวนพบว่าโศกนาฏกรรมที่หวิดจะเกิดขึ้นครั้งนี้มีสาเหตุมาจาก “ความมักง่ายของคน” เรานี่เอง? นั่นคือ 30 ชม. ก่อนเกิดเหตุนั้นได้มีการเปลี่ยนกระจกหน้าของเจ้าเครื่อง “บีเอซี – 111” ลำนี้ใหม่ แต่ปรากฏว่าสลักยึดกระจกทั้ง 90 ตัวนั้น กลับผิดขนาดไปจากของเดิม คือมีขนาดเล็กกว่าเก่าจึงไม่สามารถด้านแรงกดอากาศภายในที่สูงกว่าได้ บานกระจกจึงหลุดออกไป
          ห้าเดือนนับตั้งแต่เกิดเหตุหลังจากเข้ารับกายภาพบำบัดจนเข้าที่ดีแล้ว กัปตันกระดูกเหล็กทิม แลงคาสเตอร์ก็กลับขึ้นบินอีกครั้ง
          ส่วนยอดนักบินผู้ช่วยอลาสแตร์แอ็ตคิสันนั้น เขาได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายต่อหลายรางวัลด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรางวัลเหรียญทองนักบินยอดเยี่ยมจากสมาคมนักบินแห่งบริติชแอร์เวย์ส
          สำหรับลูกเรือผู้กล้าหาญทั้งสี่ก็ได้รับการปูนบำเหน็จความชอบกันโดยทั่วหน้า
          “ฉายา “ชิ้นส่วนปาฏิหาริย์แห่งวงการบิน” ที่ตั้งให้กับผมนั้น?” กัปตันแลงคาสเตอร์กล่าวจริงใจ “ที่ถูกแล้วควรเป็นของนักบินผู้ช่วยของผมต่างหาก”
          ทิม แลงคาสเตอร์เองยังคงแปลกใจอยู่จนทุกวันนี้ว่า เขารอดชีวิตจากวิบากกรรมที่ประหลาดว่าใครในประวัติศาสตร์การบินครั้งนั้นมาได้อย่างไร?
          “ผมคงเป็นมนุษย์ที่ถือว่า “เฮง” ที่สุดมั้ง?” ยอดกัปตันกล่าวอย่างเต็มปลื้ม

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×