ความรู้จากอักษรจีน (ฟ้าดิน) - ความรู้จากอักษรจีน (ฟ้าดิน) นิยาย ความรู้จากอักษรจีน (ฟ้าดิน) : Dek-D.com - Writer

    ความรู้จากอักษรจีน (ฟ้าดิน)

    ฟ้าดิน มีความหมายอย่างไร อักษรจีนสองตัวนี้มีความเป็นมาอย่างไร

    ผู้เข้าชมรวม

    3,091

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    3.09K

    ความคิดเห็น


    3

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 ก.ค. 46 / 09:41 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ฟ้า (เทียน)  ดิน (ตี้)
      TIAN          DI
      จารุวรรณ ชะนะมาร

             ศาสนาในยุคดั้งเดิมเกิดจากการกราบไหว้บูชาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ \"เทียน\" ฟ้าและ \"ตี้\" ปฐพีหรือพื้นแผ่นดิน คือสองสิ่งที่เป็นที่รวมของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทั้งหลาย พระอาทิตย์กับพระจันทร์ หมู่ดาว ลมกับฝน ฟ้าร้องกับฟ้าแลบเป็นปรากฏการณ์แห่งฟ้า ทะเลสาบ หนองบึงขนาดใหญ่ พื้นที่ราบ การเพาะปลูก พืชพันธ์ธัญญาหารทั้งหลายเป็นปรากฏการณ์ของดิน การกราบไหว้บูชาต่อฟ้าดินของมนุษย์ได้สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของมนุษย์ในยุคดึกดำบรรพ์
             ตำนานโบราณฟ้ากับดินหล่อรวมผสมกันเป็นก้อนกลม ๆ คล้ายกับไข่ไก่ขนาดมหึมาฟองหนึ่ง ปรากฏมนุษย์ชื่อว่าผานกู่ มีชีวิตอยู่ ณ ศูนย์กลางของก้อนกลมนั้นผานกู่ได้ใช้ความพยายามมุมานะเป็นเวลาถึงหนึ่งหมื่นแปดพันปีจึงสามารถแยกฟ้ากับดินออกจากกัน วัตถุสิ่งของที่เบาและใสโปร่งลอยสูงขึ้นเบื้องบนกลายเป็น “ฟ้า” วัตถุที่หนักและขุ่นทึบทั้งหลายร่วงลอยต่ำลงกลายเป็น “พื้นดิน” ในวันที่ผานกู่ ตายจากไป ลมหายใจของเขาได้แปรเปลี่ยนเป็นลมและเมฆ ดวงตาข้างซ้ายกลายเป็นพระอาทิตย์ ดวงตาข้างขวาได้กลายเป็นพระจันทร์ เส้นโลหิตและเนื้อหนังกลายเป็นถนนหนทางและหมู่ขุนเขา หนวดเคราและเส้นผมกลายเป็นหมู่ดวงดาว เส้นขนตามผิวหนังแปรเปลี่ยนเป็นหญ้าและต้นไม้ ฟันและกระดูกเปลี่ยนเป็นก้อนหินและโลหะ น้ำกามและไขกระดูกกลายเป็นอัญมณีกับหยก เหงื่อได้กลายเป็นฝน แมลงและตัวหนอนตามร่างกายได้กลับกลายเป็นเหล่าอาณาประชาราษฎร์ ซึ่งเหล่านี้คือตำนานที่กล่าวเล่าขานกันมาเกี่ยวกับ “ผานกู่ ผู้เบิกฟ้าสร้างแผ่นดิน” ของชาวจีน
             มนุษย์ในสมัยโบราณคงจะเห็นว่าบนฟ้ามักเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆเปลี่ยนแปรไปไม่แน่นอน บนฟ้ามีดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และหมู่ดาว ลม ฝน ฟ้าแลบฟ้าร้อง พระอาทิตย์กับพระจันทร์ผลัดเปลี่ยนกันมาให้เห็น มีลมมีฝนที่เหมาะกับกาลเวลาสรรพสิ่งจึงดำรงชีวิตให้อยู่และขยายจำนวนเพิ่มทวีมากขึ้น แต่ลมแรงที่โหมพัดกระหน่ำก็พัดพาหอบเอาบ้านช่องที่พักอาศัยไปได้ ฝนที่เทกระหน่ำลงมาปานกับฟ้ารั่วก็ก่อให้เกิดน้ำท่วมได้ น้ำมากมายไหลบ่าทะลักท่วมพื้นนาไร่ทำลายพืชพันธ์ธัญหาร สายฟ้าแลบฟ้าร้องดังกึกก้องก่อให้เกิดกองเพลิง ไหม้ทุกอย่างให้เหลือเพียงเถ้าธุลี จากปรากฏการณ์เช่นนี้นี่เองมนุษย์จึงสรุปเอาว่าตนเองและทุกสิ่งทุกอย่างของตัวเองที่มีอยู่ ทั้งหมดล้วนแต่ได้จากการโปรดประทานของฟ้าและฟ้าก็สามารถที่จะเรียกทวงคืนสิ่งที่ประทานมาให้ได้ทุกเมื่อ หรือแม้แต่ทำลายทุกอย่างให้ฟังพินาศย่อยยับไปก็ได้ ความโชคดีและโชคร้ายของมนุษย์ล้วนเป็นการกำหนดและตัดสินชี้ชะตาของฟ้า “ความโชคดีและโชคร้ายที่ตนเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้นี้” ก็คือสิ่งที่มนุษย์เรียกว่า “ฟ้าลิขิต” หรือ “บัญชาสรรค์” (เทียนมิ่ง)
             ฟ้าอยู่สูงสุดไร้สิ่งใดยิ่งกว่า มนุษย์ไม่ว่าจะไปถึง ณ แห่งหนใด เหนือหัวขึ้นไปคือฟ้าที่มนุษย์ไม่อาจจะหนีหลุดพ้นจากการควบคุมของมันได้ ดังนั้นตัวอักษรจีนโบราณที่แสดงถึงคำว่าฟ้า (เทียน) จะเป็นสัญลักษณ์รูปคนยืนแยกขาหน้าตรง เพิ่มขีดขวางอีกหนึ่งขีดตรงส่วนบนหัว ซึ่งเป็นขีดที่ชี้ว่านี่คือส่วนบนสุดของคน “ศีรษะ” นั่นเอง
            ฟ้าเป็นหยาง ดินเป็นอิน (หยิน) พระแม่ธรณีอาศัยดินเลี้ยงดูสรรพสิ่ง อักษรจีนโบราณตัวตี้ (พื้นดิน) มีสัญลักษณ์ทางด้านซ้ายเป็นรูปที่ชี้ถึง “ดิน” ส่วนสัญลักษณ์ด้านขวาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง “อวัยวะสืบพันธ์ของสตรีเพศ” เพศหญิงเป็นอิน (หยิน) อวัยวะสืบพันธ์ของสตรีเพศคืออวัยวะที่ให้กำเนิดปลูกสร้างคนรุ่นต่อมา สืบทอดชาติพันธ์แพร่ขยายคนรุ่นต่อ ๆไป ในความคิดของคนสมัยบุพกาล มันคือสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธ์และศักดิ์สิทธ์ที่ลึกลับอัศจรรย์ยิ่ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์บูชากราบไหว้ (สัญลักษณ์นี้เป็นส่วนที่แสดงเสียงอ่านของตัวอักษรด้วย)
            สมัยโบราณ โอรสแห่งสวรรค์หรือองค์จักรพรรดิ์จะต้องจัดให้มีพิธีเซ่นไหว้ชื่อว่าเฟิงฉาน มีการจัดพิธีที่ใหญ่โตมโหฬารที่สุด ณ ยอดเขาไท่ซาน มีการสร้างฐานดินสูงแล้วเผาฟืนเพื่อบวงสรวงบูชาฟ้า (สวรรค์) เรียกว่า\"เฟิง\"  ณ บริเวณเชิงเขาไท่ซานมีภูเขาชื่อว่าเหลียงฝู่ซาน มีการฝังสิ่งของเซ่นไหว้ลงดินเพื่อสักการะดินเรียกว่า \"ฉาน\" ภายหลังต่อมา ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงได้ก่อสร้างพลับพลาบวงสรวงสวรรค์เป็นรูปทรงกลมเรียกว่าเทียนถานและสร้างพลับพลาบวงสรวงดินเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมเรียกว่าตี้ถาน (คนจีนสมัยโบราณเข้าใจว่าฟ้าเป็นสิ่งที่กลม ดินเป็นสิ่งที่เป็นเหลี่ยม) องค์จักรพรรดิจะต้องมาเซ่นไหว้ฟ้าดินด้วยตนเองเป็นประจำทุกปี
            กิจกรรมเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาเช่นการเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว แสดงความขอบคุณการต่อการเจริญงอกงาม การรอคอยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การกราบไหว้วิงวอนขอความคุ้มครองจากสิ่งศักดิ์สิทธ์ ทั้งหมดเหล่านี้ไม่มีกิจกรรมใดเลยที่จะไม่มี “ฟ้า” และ “ดิน” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×