นักเรียน ครู และเส้นขนาน หลายท่านอาจสงสัยว่า สามคำนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อันที่จริง 3 คำนี้มีความเกี่ยวข้องกันมานานแล้วเพียงแต่เราไม่รู้เท่านั้นเอง มันเป็นเรื่องของการบริหารงานของผู้บริหารงานในโรงเรียน ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง ที่เกิดขึ้นกับสถาบันต่างๆ และตัวนักเรียนเองก็ไม่เข้าใจถึงจุดประสงค์หรือเหตุผลในการแก้ไขปัญหาของผู้บริหาร เปรียบเสมือนเส้นตรง 2 เส้นซึ่งขนานกัน ตามหลักการณ์ทางคณิตศาสตร์แล้ว เส้นตรง 2 เส้นนี้ไม่มีทางมาพบหรือมาตัดกันได้เลย จึงทำให้การไม่เข้าใจกันเกิดเป็นปัญหา เกิดช่องว่างของการบริหาร ต่างคนต่างไม่เข้าใจกัน ก็เป็นปัญหาขึ้นมาอีก
    อะไรคือปัญหา ?
          ถ้าหากเรานำกล่อง 4 เหลี่ยม 1 ใบ มาวางไว้โดยให้คนนั่งล้อมรอบกล่องนั้น คำถามคือ คนแต่ละคนที่นั่งล้อมรอบกล่องใบนั้นอยู่ จะมองเห็นกล่องใบนั้นเหมือนกันทุกคนไหม คำตอบคือ ไม่เลย บางคนที่นั่งตรงมุมกล่องก็จะเห็นแต่เพียงส่วนมุม บางคนที่นั่งตรงด้านของกล่องก็จะเห็นแต่ด้านของกล่อง ถ้าเราเปรียบกล่องสี่เหลี่ยมเป็นปัญหา ต่างคนก็จะมองปัญหา และหาวิธีการแก้ปัญหาในคนละแบบ ในการแก้ปัญหาทำให้เกิดไม่เข้าใจกันว่า ทำไม เขาไม่แก้อย่างนี้ ต้องไปแก้อย่างนั้น เป็นเหตุให้เกิดช่องว่างและการแตกแยกในเวลาต่อมา
          ในโรงเรียนก็เช่นเดียวกัน นักเรียนกับผู้บริหาร ต่างมอง ปัญหาในคนละแบบ เมื่อผู้บริหารแก้ปัญหาลงไป ทำให้บางครั้งนักเรียนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ ผมขอยกตัวอย่างปัญหาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ผู้บริหารมีนโยบายว่าให้นักเรียนหญิงตัดผมสั้น ด้วยเหตุผลว่าเพื่อความเรียบร้อยของนักเรียนและจะได้ดูเป็นระเบียบ แต่นักเรียนไม่เข้าใจว่าทำไมต้องตัดผมสั้นเพราะก่อนหน้านี้สามารถไว้ผมยาวได้ ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นภายในโรงเรียน และเกิดความขัดแย้งกันขึ้น
    วิธีแก้ปัญหาคืออะไร?
          จากที่กล่าวมาแล้วว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากการไม่เข้าใจในการแก้ปัญหา ของแต่ละบุคคล จะทำอย่างไรเราถึงจะทำให้แต่ละคนเข้าใจกัน เมื่อเหตุคือการไม่เข้าใจกันการแก้คือการทำให้เข้าใจกันก็เท่านั้น แต่ว่าเราจะทำอย่างไรในการแก้ปัญหาต่างๆ บุคลฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความร่วมมือกับการแก้ปัญหา มีการมาร่วมประชุมกันในการแก้ไขปัญหาให้ไปในทิศทางเดียวกันและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย โดยต้องยึดหลักการมีเหตุผล และประชาธิปไตย
    การแก้ปัญหาภายในโรงเรียน
          ความไม่เข้าใจกันของผู้บริหารและนักเรียนทำให้แก้ปัญหาต่างๆได้ไม่ตรงจุด และไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย เราจะทำอย่างไรถึงจะให้การแก้ปัญหาเป็นไปในทางเดียวกันและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย? จากวิธีการแก้ปัญหาที่กล่าวมาในข้างต้น เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโรงเรียนได้ แต่ด้วยจำนวนนักเรียน ซึ่งคงไม่สามารถมาประชุมพร้อมกันได้หมดนั้น เราจึงมีการเลือกคณะกรรมการนักเรียนขึ้นมา แต่กรรมการนักเรียนเอง ก็ไม่สามารถมองปัญหาตรงกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ได้ วิธีการแก้ปัญหาคือ เราต้อง มี 3 ส่วนหลัก คือ นักเรียน กรรมการนักเรียน และผู้บริหาร โดยทางฝ่ายกรรมการนักเรียนนั้นจะเป็นผู้ที่ทำประชาพิจารณ์ หรือ แบบสำรวจความคิดเห็นในหมู่นักเรียน เพื่อจะได้ทราบว่านักเรียนส่วนใหญ่ต้องการอะไร หรือต้องการให้จัดการกับปัญหาอย่างไร กรรมการนักเรียนก็นำผลที่ได้มาพิจารณาจัดเรียงตามความสำคัญ และไปร่วมประชุมกับผู้บริหารว่า สามารถจัดการ หรือ แก้ปัญหานี้ได้ไหม โดยทั้งหมดนี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม การมีเหตุผล และหลักการทางประชาธิปไตยเป็นที่ตั้ง
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น