ผิดความหมาย - ผิดความหมาย นิยาย ผิดความหมาย : Dek-D.com - Writer

ผิดความหมาย

ผิดความหมาย ความหมายผิด หมายความผิด ?

ผู้เข้าชมรวม

979

ผู้เข้าชมเดือนนี้

8

ผู้เข้าชมรวม


979

ความคิดเห็น


1

คนติดตาม


0
เรื่องสั้น
อัปเดตล่าสุด :  11 ก.ค. 46 / 15:44 น.


ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

    คนสมัยนี้มักสื่อสารอะไรผิดความหมายกันอยู่เรื่อย ไม่ว่านักการเมือง นักเรียน นักศึกษา หรือชาวบ้านร้านตลาด เวลาพูดกับคนอื่นใช้ภาษาสื่อสารผิดความหมายยังไม่พอ เมื่อรับสารจากผู้อื่นหรือสื่ออื่น ยังตีความกันผิด ๆ เป็นเหตุให้เข้าใจผิดกันมากมาย เมื่อเข้าใจผิดกันย่อมทำให้ทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกัน ต่างคนต่างอ้างว่าฉันถูก ไม่มีใครยอมรับว่าตัวเองผิดสักคน

    ผู้เขียนจำได้ว่าเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๒ เกิดเหตุโรงเรียนในเขต ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกเผาพร้อม ๆ กันหลายโรงเรียน นักข่าวได้ไปสัมภาษณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ท่านให้สัมภาษณ์ว่า “ถ้าผมจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษภายใน ๗ วันนี้ไม่ได้ ผมจะพิจารณาตัวเอง” เมื่อพระอาทิตย์เวียนขึ้นเวียนลงครบ ๗ รอบ สิทธิการิยะท่านว่ากาลนั้นแลเป็นอันครบ ๗ วันตามสัญญา ผลน่ะหรือ ตำรวจจับไม่ได้สักตัวไม่ว่าแมวหรือแพะ นักข่าวทั้งหลายกลุ้มรุมสัมภาษณ์ท่านรัฐมนตรีทันทีว่าจะลาออกตามสัญญาหรือไม่ ท่านรัฐมนตรีทำหน้างง ๆ แล้วถามว่า “ผมไปบอกเมื่อไหร่ว่าผมจะลาออก” เล่นเอานักข่าวเซ่อรับประทานไปเลย

    ท่านบอกแล้วนี่นาว่าผมจะพิจารณาตัวเอง เพียงแต่พิจารณาว่าผมควรอยู่ต่อเท่านั้นเอง !!!

    ไม่ใช่แค่นักการเมืองที่มีปัญหานี้ ผู้ที่อ้างตัวว่ามีความรู้ความสามารถสูงเหลือเกิน ล้วนแล้วแต่มีปัญหานี้กันทั้งนั้น คือ เมื่อสื่อสารผิดความหมาย ไม่ว่าส่งสารหรือรับสาร การใช้ตรรกะหรือเหตุผลของคนเหล่านี้ก็วิปลาสคลาดเคลื่อนตามไปด้วย เผอิญผู้เขียนเคยได้แวะเวียนเข้าไปใน  เวปไซต์ชื่อดัง pantip.com อยู่บ้าง มีบุคคลหนึ่งตั้งกระทู้อธิบายความหมายของคำว่าสมเด็จว่าเป็นคำไทยแท้ ๆ คำว่า “สม” หมายถึง สงบ ราบคาบ , คำว่า “เด็จ” หมายถึง เด็ดขาด แน่นอน

    บุคคลอีกหลายคนพยายามเข้าไปอธิบายว่าพ่อหนุ่มเอ๋ยเข้าใจผิดเสียแล้ว คำว่าสมเด็จเป็นคำเขมรแน่ ๆ คำเดิมคือเสด็จ ลงอาคม “อำม” เป็น สมเด็จ ปรากฏว่าเจ้าของกระทู้ท่านยังยืนยันความคิดเดิมว่าเป็นคำไทย หาใช่คำเขมรเวนว่อกแต่ประการใด แถมยังอธิบายเหตุผลอีกว่า “ดูจารึกหลักที่ ๒ เขียนว่า …สมเด็จหลวงพ่อศรีศรัทธา… ในเมื่อหลวงพ่อศรีศรัทธาเป็นคนไทย แสดงว่าสมเด็จต้องเป็นคำไทยด้วย”

    ผู้เขียนอ่านแล้วยังนึกระอาว่า เออหนอ.. คนสมัยนี้นอกจากจะพูดจาไม่รู้เรื่องราวกับเป็นอัลไซเมอร์ รับฟังสารแล้วตีความผิด ๆ อย่างนักข่าวแล้ว ยังมีคนที่ใช้ตรรกะเหตุผลและตีความภาษาแบบ     เบลอ ๆ ดังนี้อีก ทั้งที่คำว่าศรีศรัทธาก็ไม่ใช่คำไทย

    ผู้เขียนเคยอ่านหนังสือตลกทะลึ่งเล่มหนึ่ง เรื่องราวมีอยู่ว่า… ณ หมู่บ้านชนบท ครอบครัวหนึ่งประกอบไปด้วยสามคน พ่อ แม่ และลูกชายน่ารักน่าชังวัย ๓ ขวบอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในกระต๊อบซอมซ่อ วันหนึ่งผู้พ่อเกิดอารมณ์สุนทรีย์บอกเมียว่าเมียจ๋าเข้าห้องกลางวันแสก ๆ กันเถอะ เมียนั้นไม่ยอมว่าอายผีสางเทวดา แล้วกระต๊อบเรามีอยู่ห้องเดียว ขืนเข้าห้องกันแล้วใครจะดูลูกเพราะต้องปล่อยให้เล่นอยู่นอกชานคนเดียว
    ข้างผัวยืนกรานคำเดิมว่าพี่ไม่ไหวแล้วจ้ะน้องจ๋า หน้ามืดเต็มทน จนเมียโอนอ่อนผ่อนตามจูงมือผัวเข้าห้องไป สักพักเรือนก็โยกไหวไปตามแรงอารมณ์ของสองคนผัวเมีย ลูกชายเล่นอยู่นอกชานตะโกนถามว่า “ป้อ ๆ ป้อทำอะไรแม่น่ะ” พ่อตอบออกมาน้ำเสียงส่ออารมณ์สุดกู่ “เออน่า…” แล้วเรือนก็โยกไหวแรงขึ้นเรื่อย ๆ ลูกชายสงสัยยิ่งกว่าเก่าตะโกนถามประโยคเดิม “ป้อ ๆ ป้อทำอะไรแม่น่ะ” คราวนี้พ่อเริ่ม  ยัวะเพราะเห็นสวรรค์นรกอยู่รำไร ตอบดังกว่าเดิม “เออ… น่า…”

    เรือนโยนไหวจนลูกชายเกรงบ้านจะพังตะโกนถามพ่อเป็นครั้งที่ ๓ “ป้อ ๆ ป้อทำอะไรแม่น่ะ”  พ่อโมโหทนไม่ไหวเลยตะโกนออกมา “เ…ดแม่” !!! ลูกชายได้ยินดังนั้นก็หน้าม่อย พึมพำกับตัวเองว่า      ”อะไรวะถามแค่นี้พ่อต้องด่าด้วย”

    นี่เป็นความเข้าใจผิดของเด็กที่คิดว่าพ่อด่า แต่ผู้เขียนคิดว่าพ่อคงตั้งใจตอบลูกมากกว่า





    สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
    ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    1 ความคิดเห็น

    ×