คำถามเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ - คำถามเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ นิยาย คำถามเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ : Dek-D.com - Writer

    คำถามเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

    เป็นความที่เยี่ยมมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

    ผู้เข้าชมรวม

    3,483

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    3.48K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 ต.ค. 47 / 00:35 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เพราะอะไรจึงไม่สามารถขี่จักรยานบนพื้นทราย
            ถ้าใครคิดอยากจะขี่จักรยานบนพี้นทราย ถึงแม้จะมีกำลังแข็งแรงสักเพียงใด ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะพื้นทรายบริเวณหาดทรายชาดทะเลจะมีทรายหนามากจนทำให้เกิดแรงเสียดทาน ต้านล้อรถที่จะหมุนไปบนผิวทราย ทำให้ล้อรถไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เมื่อล้อรถฝังลึกลงในพื้นทรายแล้วถึงแม้เราจะมีกำลังแข็งแรงสักเท่าใด ก็ไม่สามารถที่จะขี่จักรยานให้เคลื่อนได้เลย
      ทำไมท้องเรือเดินทะเล ช่วงล่างจึงต้องทาสีแดง
            ในท้องทะเลจะมีสัตว์น้ำประเภทหอยที่มีเปลือกแข็ง คอยเกาะติดท้องเรือเดินทะเลช่วงล่างด้านนอก ถ้ามันเกาะกันเป็นจำนวนมากจะทำให้น้ำหนักเรือเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อเรือ นอกจากนี้ยังทำให้ท้องเรือด้านนอกไม่เรียบ เกิดแรงเสียดทานขณะเดินเรือ ทำให้ความเร็วของเรือลดลง เพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำประเภทหอยมาเกาะ จึงนิยมทาสีที่พวกมันคิดว่าเป็นสารพิษไว้ที่ท้องเรือและสารพิษเหล่านั้นมักจะมีสีแดงนั่นเอง
      เพราะเหตุใดเมื่อเทน้ำร้อนใส่แก้วน้ำชนิดหนาจึงแตกง่าย
            กระจกถ่ายความร้อนช้า เมื่อเทน้ำร้อนลงในแก้วใบหนา แก้วชั้นในได้รับความร้อนก่อนจึงขยายตัวทันทีส่วนแก้วด้านนอกยังเย็นอยบู่ไม่ขยายตัว แก้วด้านในที่ขยายตัวจึงเบียดผิวแก้วด้านนอกออกไป ทำให้แก้วแตก แก้วน้ำชนิดบาง ผิวแก้วด้านในและด้านนอกจะได้รับความร้อยพร้อมกัน ทำให้ขยายตัวได้พร้อมกัน จึงทำให้ไม่แตกง่าย
      เพราะเหตุใดที่หยดน้ำที่หกลงในกระทะร้อนจึงกระเด็นและเกิดเสียงดัง
            ขณะที่หยดน้ำกระทบภาชนะโลหะที่มีความร้อนสูง น้ำที่อยู่ล่างสุดก็จะกลายเป็นไอน้ำและกระจายตัวเป็นชั้น ไอน้ำยังไม่กระจายสลายตัวไปไหนจึงช่วยกันอุ้มหยดน้ำอื่นไม่ให้ตกถึงกระทะในทันที แต่หยดน้ำพาความร้อยถ่ายเทช้า ไม่สามารถทำให้หยดน้ำกลายเป็นไอทั้งหมดในทันที การที่ชั้นไอน้ำอุ้มหยดน้ำไว้เช่นนี้จึงทำให้เกิดการกระเด็นของหยดน้ำบนกระทะ
      เพราะเหตุใดรถยนต์บรรทุกน้ำมันจึงต้องมีโซ่เหล็กลากติดพื้นดินด้วย
            ขณะที่รถบรรทุกน้ำมันวิ่งไป น้ำมันในถังใหญ่จะเสียดสีกับขอบถัง ทำให้เกิดอนุภาคอิเล็คตรอนที่ถังน้ำมันและเนื่องจากล้อรถมียางรถยนต์ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าหุ้มอยู่ อนุภาคอิเล็คตรอนที่เปลี่ยนแปลงจึงไม่สามารถ่ายเทผ่านยางรถยนต์ลงสู่พื้นดินให้สมดุลได้ จึงต้องมีเส้นลวดหรือโซ่เหล็กผูกติดปล่อยลากกับพื้นเป็นตัวช่วยถ่ายเท เพราะอิเล็คตรอนมีมากเกินไปจะทำให้เกิดประกายไฟขึ้น ทำให้ลุกไหม้และระเบิดได้ง่าย
      เพราะเหตุใดอากาศใต้ร่มไม้จึงเย็นสบาย
            ต้นไม้ใหญ่ที่มีใบหนาป้องกันแสงแดดทำให้ความร้อนส่วนหึ่งถูกสะท้อนกลับขึ้นไปอีกส่วนหนึ่งจะถูกต้นไม้ดูดเอาไว้ จึงทำให้ใต้ต้นไม้มีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศทั่ว ๆ ไป พื้นดินใต้ต้นไม้ไม่ถูกแสงแดดส่อง ก็จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า 5-8 องศาเซลเซียส ดังนั้นใต้ร่มไม้จึงเย็นสบายเหมาะสำหรับพักผ่อน
        แผนที่กรุงเทพ ฯ
      ตรวจล็อตเตอรี่
      เที่ยวไทย
      อาหารสูตรเด็ด
      คลีนิกออนไลน์
      ดูหนัง
      ฟังเพลง
      อ่านหนังสือ
      ค้นหารหัสไปรษณีย์
      ค้นหาเบอร์โทรศัพท์
      รถไฟฟ้า BTS
      ตรวจสลากออมสิน









      ข่าวทันยุค  
      ไอเดียรอบตัว
      Joke ขำขัน  
      รวม Link  
      Download
      Link เพื่อนบ้าน

        เพราะเหตุใดการคั่วลูกเกาลัดจึงต้องใส่ทรายลงในกระทะคั่วด้วย
            การที่ต้องใส่ทรายลงในกระทะคั่วด้วยก็เพื่อให้ความร้อนถ่ายเทให้ลูกเกาลัดที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ได้ทั่วถึงเพราะทรายเม็ดเล็กสามารถรับความร้อนได้รวดเร็ว เมื่อทรายคลุกอยู่รอบลูกเกาลัดก็จะถ่ายความร้อนให้ลูกเกาลัดอย่างทั่วถึง ทำให้ลูกเกาลัดสุกง่ายขึ้น ไม่ใช่สุกเฉพาะลูกที่ติดกระทะ
      สาร CFC (Clorofluorocarbons)
          สารซีเอฟซี เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน คลอรีน และฟลูออรีน สารซีเอฟซีถูกคิดค้นขึ้นในช่วงทศวรรษ 1920 เพื่อใช้เป็นสารทำความเย็น คุณสมบัติของสารซีเอฟซีคือมีความเสถียรสูง ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยา ไร้กลิ่น ไม่มีพิษ ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน และไม่ลุกไหม้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สารซีเอฟซีได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น เป็นสารพ่นในกระป๋องสเปรย์ในเครื่องดับเพลิง ใช้ในการผลิตโฟมสังเคราะห์ และเป็นสารทำความเย็นในระบบเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องทำความเย็น ในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 มีการค้นพบว่าสารซีเอฟซีสามารถแตกตัวได้ในชั้นบรรยากาศสทราโทรสเฟียร์ และให้อะตอมของคลอรีนที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยากับโอโซน ดังนั้นจึงทำให้ปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง ในปกติแล้วชั้นโอโซนจะช่วยกรองรังสีอัลตราไวโอเลตให้เบาบางลง ปัจจุบันจึงได้มีการรณรงค์เพื่อลดปริมาณการใช้สารซีเอฟซีและหาสารอื่นซึ่งไม่ทำลายชั้นโอโซนมาใช้แทน แต่อย่างไรก็ตามสารทดแทนที่ค้นพบในปัจจุบันก็ยังมีสมบัติเป็นแก๊สเรือนกระจกอยู่นั่นเอง

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×