ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #7 : ศิลปวัฒนธรรมสมัยใหม่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 831
      13
      3 พ.ย. 55

    1. ศิลปะบารอก (Baroque)

    ห้องกระจกในพระราชวังแวร์ซาย

    ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบบารอก
         1. ศิลปะแบบบารอก (Baroque) พัฒนามาจากศิลปะแบบเรเนสซองส์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 มีลักษณะเฉพาะ คือ การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม (Humanism) ผลงานที่ปรากฎมักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน
         2. ศิลปะแบบบารอกในความหมายทางวรรณกรรม หมายถึง การเขียนที่มุ่งพัฒนาสติปัญญา เน้นความรู้ และวิธีการสืบสวนตามหลักวิทยาศาสตร์ และสะท้อนถึงความปรารถนาที่จะมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม แต่ให้ความสำคัญแก่อารมณ์และใช้พฤติกรรมของมนุาย์เป็นโครงเรื่องสำคัญ
         3. ศิลปะแบบบารอค เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐต่างๆ ในยุโรปมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่งทางการเมือง เป้นผลให้พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้ามีความพร้อมที่จะอุปถัมภ์การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินแขนงต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

     2. ลัทธิคลาสสิกใหม่ (neoclassicism)

    ภาพการตายของมาราต

    ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบนีโอ-คลาสสิก
         ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classicism) เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานสร้างสรรค์ยังคงยึดรูปแบบคลาสสิกของกรีก-โรมัน แต่ให้ความสำคัญต่อเหตุผลมากที่สุด เนื่องจากในช่วงเวลาอยู่ในยุคของเหตุผล (Age of Reason) หรือสมัยแห่งภูมิปัญญา (The Enlightenment) มนุษย์มีความเชื่อมั่นในเหตุผล เชื่อความสามารถและสติปัญญาของตน อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา

    3. ลัทธิจินตนิยม (Romanticism)

    ภาพอิสรภาพนำประชาชน

    ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบโรแมนติก
         1. ศิลปแบบโรแมนติก (Romanticism) หรือแบบจินตนาการนิยม เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นศิลปะที่ให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึก และธรรมชาติ โดยลดความเชื่อในเรื่องเหตุและระเบียบแบบแผน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสมัยนีโอคลาสสิก รวมทั้งให้ความสำคัญแก่มนุษย์ในฐานะเป็นปัจเจกบุคคลมากกว่าส่วนรวม รวมทั้งแฝงความรู้สึกชาตินิยมไว้ด้วย
         2. ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเกิดศิลปะแบบโรแมนติก คือ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้น โดยเฉพาะความคิดแบบเสรีประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ค.ศ.1789 และการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปส่งผลให้โลกทัศน์ของชาวยุโรปเปลี่ยนแปลงไป ต่างผ่อนคลายการยึดมั่นในระเบียบกฎเกณฑ์ของสมัยคลาสสิก ละทิ้งสมัยแห่งเหตุผล แต่กลับแสดงออกอย่างเสรีทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการของตน แม้จะไม่มีเหตุผลหรือไม่มีจริงก็ตาม

     4. ลัทธิสัจนิยม (Realisticism)

    รูปปั้นนักคิด                                
                                                        

    ภาพการฝังศพที่ออณ์นองส์

    ความหมายของศิลปวัฒนธรรมแบบสัจนิยม
         1. ศิลปะแบบสัจนิยม (Realism) เป็นศิลปะที่สะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นในสังคมอย่างตรงไปตรงมา ไม่เน้นความรู้สึก อารมณ์ และจินตนาการของศิลปิน แต่มุ่งเสนอความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ เช่น สะท้อนสภาพความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นของชนชั้นกรรมชีพ เป็นต้น
         2. แนวทางของศิลปะแบบสัจนิยม มุ่งต่อต้านศิลปะแบบโรแมนติกที่มิได้ให้ความสำคัญต่อสภาพที่เป็นจริงของสังคม อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยสองประการข้างต้น เป็นกระบวนการทางศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ทำให้งานสร้างสรรค์ศิลปะมีประโยชน์และรับใช้มนุษย์โดยตรงมากขึ้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×