ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

    ลำดับตอนที่ #5 : การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

    • อัปเดตล่าสุด 3 พ.ย. 55


    ความหมายของการ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ คือ การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการขอโลกตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการค้นคว้างแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โลก และจักรวาล ทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรือง เป็นผลให้ชาติตะวันตกพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว

                    ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน ได้ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ใน ค.ศ. 1454 โดยสิ่งนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากสู่สังคมตะวันตก  การค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาลของนิโคลัส การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ การค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ ของโจฮันเนส เคปเลอร์

    5.1นักวิทยาศาสตร์
    พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรกเป็นการศึกษา ข้อสมมติฐานดั้งเดิมจากอดีตโดยพยายามค้นหาทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ เพื่อล้มล้างกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยมีมา นักปราชญ์หรือนักวิทยาศาตร์คนแรกที่ได้รับการยกย่องว่ามีคุณูปการต่อการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ได้แก่

     นิโคลัส โคเพอร์นิคัส ได้ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์อธิบายระบบสุริยจักรวาล ว่าโลกมิได้หยุดนิ่ง หรือเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล แต่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ทฤษฎีของโคเพอร์นิคัสเป็นการลบล้างคำสั่งสอนของศาสนจักรในสมัยกลาง ซึ่งรวมถึงความเชื่อของชาวตะวันตกที่มีมาแต่สมัยกรีกโบราณ

     

    ในปีเดียวกันนั้น กาลิเลโอ กาลิเลอิ  สามารถประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ เพื่อสังเกตดูการเคลื่อนไหวของดวงดาว ซึ่งทำให้เขาแลเห็นพื้นผิวขรุขระของดวงจันทร์ว่าแตกต่างไปจากโลก ดาวพฤหัสมีดวงจันทร์เช่นเดียวกับโลก แต่จำนวนมากกว่า และดวงอาทิตย์มีจุดดับที่เคลื่อนที่ได้ กาลิเลโอได้รวบรวมผลการสำรวจนานนับสิบปีของเขาพิมพ์เผยแพร่ เพื่อโต้แย้งกับความคิดเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาของกรีก แต่ความคิดเห็นของเขาที่ขัดแย้งกับคำสอนของคริสตศาสนาด้วย ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงจากศาสนจักร ในที่สุด กาลิเลโอก็ถูกศาสนจักรลงโทษด้วยการประณาม ตลอดจนถูกข่มขู่ต่างๆ

    เซอร์ฟรานซิส เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้วางรากฐาน และทัศนคติใหม่ จนในที่สุดได้เป็นแรงบันดาลใจให้มีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสมาคม เพื่อส่งเสริมงานค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ขึ้น

    ในฝรั่งเศส เรอเน เดการ์ต นักปรัชญา และนักคณิตศาสตร์ก็ได้นำหลักของการใช้เหตุผล และการค้นคว้าวิจัย มาใช้ในการแสวงหาความรู้ โดยวางหลักเกณฑ์เป็นทฤษฎีใหม่ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ทางคณิตศาสาตร์

     

    เซอร์ไอแซก นิวตัน การค้นพบกำแรงดึงดุดของจักรวาล และกฎแห่งความโน้มถ่วง อธิบายได้ว่า โลกและดาวเคราะห์ต่างๆหมุนรอบดวงอาทิตย์ได้อย่างไร และดวงจันทร์หมุนรอบโลกโดยไม่หลุดออกจากวงโคจรได้อย่างไร รวมทั้ง สาเหตุที่ทำให้วัตถุต่างๆต้องตกลงสู่พื้นดิน แทนที่จะหลุดลอยไปในอากาศ

    5.2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

    เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ ถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือและส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด

    การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตจากเดิมที่เคยใช้แรงงานคนและสัตว์พลังงานธรรมชาติ หรือเครื่องมือง่าย  ในสังคมเกษตรกรรมมาเป็นใช้เครื่องจักรกลผลิตสินค้าในระบบโรงงานอุตสาหกรรม   ทำให้ได้ผลผลิตในปริมาณมาก การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษก่อน เมื่อประมาณ ค.ศ.1760 หรือในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และค่อย  แพร่ขยายไปยังประเทศยุโรปและชาติตะวันตกอื่น  เป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อประชากรโลกอย่างมาก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมและวัฒนธรรม

    -แรงงานคน, สัตว์ > แรงงานเครื่องจักร

    -อังกฤษเป็นชาติแรกที่ทำการปฏิวัติโดยเป็นอุตสาหกรรมทอผ้า

    5.2.1 สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเป็นประเทศแรก
    1.) การปฏิวัติเกษตรกรรม
    อังกฤษเป็นประเทศที่เจริญมั่งคั่งที่สุด เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นประเทศแรก จากการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาการมาปรับปรุงการเกษตรกรรมให้ได้ผลดีขึ้น เช่น การบำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์ การคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม ตลอดจนการป้องกันการเสียหายของพืช จากการทำลายโดยคน และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ การปฏิวัติเกษตรกรรมจึงทำให้อังกฤษมีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก นอกจากนี้ การที่อังกฤษจัดตั้งธนาคารกลางของประเทศ ทำให้นครลอนดอนเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของยุโรป เป็นแหล่งระดมเงินทุนของรัฐบาสที่ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิทยาการ การส่งเสริม และจัดตั้งโรงงานอุตสาหรรมต่างๆได้อีกด้วย

    2.) คุณสมบัติเฉพาะตัวของชาวอังกฤษ
    อิทธิพลของคริสต์ศาสนานิกายอังกฤษ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของนิกายโปรเตสแตนท์ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ชาวอังกฤษโดยทั่วไปมีความเชื่อว่า ความมั่งคั่งทางโภคทรัพย์เป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิต จึงทำให้ชนชั้นขุนนางในอังกฤษไม่เคร่งครัดต่อการแบ่งแยกชนชั้นในสังคมเท่ากับพวกขุนนางในประเทศอื่น ๆในทวีปยุโรป และให้การยอมรับบุคคลจากชนชั้นอื่นที่สามารถสร้างฐานะเป็นปึกแผ่นได้  ทัศนคติทางวัตถุธรรมดังกล่าวจึงทำให้ชาวอังกฤษโดยทั่วไปเห็นการค้าขายเป็นงานมีเกียรติ ไม่ถือตัวที่จะประกอบอาชีพธุรกิจ
    3.) การขยายตัวของตลาดการค้า
    นโยบายการค้าแบบเสรี และยกเลิกการเก็บภาษีการขนถ่ายสินค้าผ่านด่านก่อนประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้กระตุ้นให้มีการขยายตัวของตลาดการค้าภายในอย่างกว้าง ขวาง มีการสร้างถนน ท่าจอดเรือ และขุดคูคลองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้า

    5.2.2) อุตสาหกรรมทอผ้ากับความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
    เกิดการขาดแคลนเส้นด้ายสำหรับการทอผ้า  เจมส์ ฮากรีฟส์ แก้ปัญหานี้ได้ด้วยการสร้างเครื่องปั่นด้าย สปินนิง ที่ปั่นด้ายได้พร้อมกันทีละ 16 เส้น


    ต่อมาในเครื่องปั่นด้านสปินนิงเจนนีพัฒนาเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังน้ำหมุนแทนแรงคน และเรียกเครื่องปั่นด้ายชนิดนี้ว่า วอเตอร์ เฟรม เป็นการเริ่มต้นการผลิตสิ่งทอในอังกฤษ จากที่ทำกันในบ้าน หรือโรงนา มาเป็นระบบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ช่วงเวลานี้ อุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนปริมาณฝ้ายที่ส่งมาจากอารานิคมในทวีปเอเชียไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน อังกฤษจึงต้องหันไปขยายตลาดค้าฝ้ายกับอาณานิคมในทวีปอเมริกา
    ระหว่างค.ศ. 1780 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมการทอผ้าได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงกว่า 8 เท่าตัว เมื่อโรงงานทอผ้าต่าง ๆ ได้นำเอาเครื่องจักรไอน้ำ ( steam engine ) ที่เจมส์ วัตต์คิดประดิษฐ์ในค.ศ. 1769 มาใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงานน้ำ ต่อมาอุตสาหกรรมการทอผ้าส่วนใหญ่ต่างใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกล และทำให้โรงงานทอผ้าของอังกฤษไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำธารอีกต่อไป

    เครื่องจักรกลไอน้ำ ของ เจมส์ วัตต์

    5.2.3) การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
    อังกฤษสามารถผลิตเหล็กได้ประมาณปีละ 25,000 ตัน เท่านั้น ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมหนักประเภทต่างๆ ที่การถลุงเหล็กในระยะแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรมยังไม่มีประสิทธิภาพ เพราะยังคงใช้ฟืน และถ่าน ที่ให้ความร้อนต่ำเป็นเชื้อเพลิง
    เฮนรี คอร์ต) ได้คิดค้นวิธีการหลอมเหล็ก ให้ได้เหล็กบริสุทธิ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น พัฒนาวิธีการตัดเหล็ก และวิธีการหลอมเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆตามต้องการได้ ทำให้กองทัพพัฒนายุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
    ความสำเร็จของการปฏิรูปอุตสาหกรรมของอังกฤษกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ประเทศอื่นๆในแผ่นดินใหญ่ของยุโรป รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ของโลกหันมาสนใจอย่างจริงจังต่อกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จนในที่สุด ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกาก็สามารถก้าวมาเป็นคู่แข่งขันในเชิงอุตสาหกรรมกับอังกฤษได้

    5.2.4) ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรรม

    1.) ด้านสังคม
    การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วของทั่วโลก สาเหตุ เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ ความสมบูรณ์ของอาหาร ก่อให้เกิดการขยายตัวของสังคมเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  และการเติบโตของระบบอุตสาหกรรมนิยมทำให้ชาวชนบทจำนวนมากหลั่งไหลเข้าเมือง เพื่อขายแรงงานตามโรงงานต่าง ๆ ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาที่พักอาศัยชุมชนแออัด ปัญหาความสกปรก และการแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบในอัตราค่าจ้าง เป็นต้น ซึ่งสถาบันแบบดั้งเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แนวคิดของระบบสังคมนิยมของคาร์ล มากซ์ ให้ล้มระบบทุนนนิยม มีบทบาท และอิทธิพลมากขึ้นในการเมืองของยุโรป

    2.) ด้านเศรษฐกิจ
    แอดัม สมิท ได้พิมพ์เผยแพร่งานเขียนชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ ( Wealth of Nations ) เพื่อให้รัฐบาลเห็นด้วยว่า ความมั่นคงของประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี หลักการของระบบการค้าแบบเสรีดังกล่าว ทำให้ชนชั้นกลางของหลายประเทศในยุโรปมีบท บาทสูงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

    3.) ด้านการเมือง
    ชนชั้นกลางได้กลายเป็นกลุม่นักการเมือง ส่งเสริมให้มีระบอบการปก ครองแบบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กรรมกรในอังกฤษได้จัดตั้งสหภาพแรงงาน ( Labor Union ) ขึ้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกตน และเป็นตัวแทนของประชาชนคนธรรมดา ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 สามารถเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทำให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิในการเลือกตั้ง

    นอกจากนี้ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ล้าหลังของยุโรป เปลี่ยนแปลงเป็นประเทศอุตสาหกรรมอันทันสมัย การผลิตสินค้าที่เคยได้ปริมาณน้อยก็ขยายตัวเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ( mass production ) ทำให้ชาวยุโรปส่วนใหญ่มีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น

    ผลการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมมิได้จำกัดบทบาทแต่ในกลุ่มชาติตะวันตกเท่านั้น แต่ได้หลั่งไหลไปยังภูมิภาคต่างๆ ตามกระแสของอารยธรรมตะวันตก

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×