คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
1.การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
1.1การสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ระหว่างค.ศ. 1450-1750 ยุโรปได้เข้าสู่ยุคของเส้นทางเดินเรือ และการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ โดยการเปิดน่านน้ำนี้ ทำให้พ่อค้าชาติตะวันตก สามารถติดต่อกับชาติอื่น ๆ ได้โดยตรง และแพร่หลายมากขึ้น และจัดตั้งสถานีการค้าขึ้น ในบริเวณอ่าวเปอร์เซียจนถึงประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนควบคุมเส้นทางการค้าเครื่องเทศในบริเวณช่องแคบมะละกา และสำคัญที่สุดต่อมาคือ การเดินเรือครั้งนี้ยังทำให้พบทวีปอเมริกาอีกด้วย
1.2 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
1.การค้าระหว่างยุโรปกับอินเดีย และจีน ขยายตัวกว้างขวาง สินค้าที่ขาวยุโรปต้องการ คือ เครื่องเทศเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร ผ้าไหม ผ้าแพร และ ใบชาสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า
2.เส้นทางการค้าทางบกของชาวยุโรปและตะวันออก ตกอยู่ในมือของพ่อค้าชาวมุสลิม ซึ่งขัดขวางไม่ให้เข้าไปในเขตการค้าของตน
3.ความรู้ใหม่ทางภูมิศาสตร์โดย โตเลมี ได้จัดทำแผนที่ ทำให้ได้เห็นแผ่นดินที่กว้างใหญ่จากตะวันตกสู่ตะวันออก จากที่เชื่อว่าโลกแบนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ
4.ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสม
แล้วชาวยุโรปนำมาปรับปรุงใช้ได้ดี ทำให้การสำรวจทางทะเลมีมากขึ้น
5.ยุโรปต้องการเผยแผ่ศาสนาคริสต์
แผนที่โลกที่ปโตเลมีเขียนไว้
1.3การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก
1.3.1)โปรตุเกสและสเปน
นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่15 เป็นต้นมา ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจและพยายามแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช (Henry the Navigator ค.ศ.1394-1460) แห่งโปรตุเกส ทรงจัดตั้งโรงเรียนราชนาวีเพื่อเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆในการเดินทะเล และเป็นแหล่งรวบรวมการสำรวจเส้นทางเดินเรือ การใช้เข็มทิศ และเทคนิคการสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สามารถต้านคลื่นลมได้ทำให้นักเดินเรือของโปรตุเกสสามารถเดินทางจนถึงแหลมกรีนในแอฟริกา โปรตุเกสประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการกำจัดอำนาจของพวกมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาและรัฐอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งะวันตก และยึดเกาะเมืองกัว ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของสันนิบาตมุสลิม และใช้เมืองกัวเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโปรตุเกสในและอินโดนีเซียต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกส และสร้างความมั่นคงอย่างมหาศาลให้แก่โปรตุเกสจากการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ
1.3.2) ฮอลันดา
ฮอลันดา หรือฮอลแลนด์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนเธอร์แลนด์ เป็นดินแดนแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปที่เคยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ก่อนหน้านี้ชาวดัตซ์ได้ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าเครื่องเทศในยุโรป โดยส่งเรือสินค้าไปรับเครื่องเทศจากโปรตุเกสที่ท่าเรือลิสบอน แต่เมื่อฮอลันดาได้ก่อกบฏและแยกตัวเป็นอิสระใน ห้ามไม่ให้พ่อค้าดัตซ์เข้าไปซื้อเครื่องเทศในตลาดโปรตุเกสอีกต่อไป นโยบายดังกล่าวจึงเท่ากับบีบบังคับให้ฮอลันดาต้องหาเส้นทางเพื่อติดต่อซื้อเครื่องเทศโดยตรงกับอินดิสตะวันออกของโปรตุเกส ในไม่ช้าฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกสได้ มีการจัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และอีก 4 ปีต่อมาได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาขึ้นเพื่อควบคุมการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศ
1.3.3) อังกฤษ
อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในตะวันออกในปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา ใน ค.ศ.1588 อังกฤษในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I ค.ศ.1558-1603) ได้ทำสงครามกับสเปนและสามารถรบชนะกองทัพเรืออาร์มาดาของสเปนได้ ชัยชนะดังกล่าวได้กลายเป็นแรงกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้อังกฤษเดินทางแสวงหาผลประโยชน์ในการค้าและสร้างอิทธิพลในตะวันออก อังกฤษได้ส่งกองเรือเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปเป็นครั้งแรก ต่อมาอังกฤษก็ได้รับพระราชทานกฏบัตรให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคบมาเจลลัน และเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย ได้กลายเป็นคู่แข่งขันในทางการค้ากับฮอลันดาในตะวันออก
1.4 ผลของการค้นพบดินแดนของชาวตะวันตก
1)การเผยแผ่ศาสนา
อารธรรมยุโรปก็เริ่มหลั่งไหลไปยังส่วนต่างๆของโลกอย่างรวดเร็ว การเผยแผ่ใช้ทั้งสันติวิธีโดยคณะนักบวชที่เรียกว่า บาทหลวง ทำหน้าที่สอนศาสนาและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแลพการศึกษาแก่คนพื้นเมือง พวกนอกรีต ให้หันมายอมรับนับถือคริสต์ศาสนา
2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและระบบการค้า
มีการใช้เงินตราและเกิดระบบพาณิชยนิยม ในระบบนี้รัฐบาลของกษัตริย์เข้าควบคุมการผลิตและการค้า เน้นการส่งออก กีดกันสินค้านำเข้า และแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบและเป็นแหล่งระบายสินค้า นอกจากนี้การขยายตัวทางการค้าอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก การค้นพบเหมืองแร่เงินและทองในทวีปอเมริกา และการหลั่งไหลของแร่ที่มีค่าดังกล่าวมาสู่ทวีปยุโรปทำให้เกิด การปฏิวัติทางราคา ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและยังต้องรับภาระการจ่ายภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
3) การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ
เกิดการกระจายและแพร่พันธุ์สัตว์และพืชจากถิ่นกำเนิดไปยังภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก เช่น ต้นกาแฟจากตะวันออกกลางมาปลูกที่เกาะชวา เอาต้นยางพาราจากบราซิลมาปลูกในแถบทะเลใต้ เอาแกะไปแพร่พันธุ์ที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ความคิดเห็น