ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การบ้านของฉัน

    ลำดับตอนที่ #10 : นโยบายการคลัง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.19K
      1
      25 พ.ย. 52


    นโยบายการคลัง

                นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายที่จะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของรัฐบาล ทางด้านการใช้จ่ายเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ เช่น การเพิ่มหรือลดภาษี และหนี้สิน การตัดสินใจของรัฐ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระดับอุปสงค์รวม เช่น ระดับราคาสินค้า อัตราดอกเบี้ย ระดับรายได้ประชาชาติ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ดุลการชำระเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน

    ประเภทของนโยบายการคลัง

                ประเภทของนโยบายการคลัง คือ การเปรียบเทียบงบประมาณจากการหารายได้และรายจ่ายของรัฐบาลในแต่ละปี แบ่งได้ดังนี้

                (1) งบประมาณแบบเกินดุล (surplus budget) หรือนโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy) คือ การจัดทำงบประมาณรายได้สูงกว่ารายจ่าย โดยการลดรายจ่ายของรัฐบาล และการเพิ่มภาษี นิยมใช้ในช่วงเกิดปัญหาเงินเฟ้อ

                (2) งบประมาณแบบขาดดุล (deficit budget) หรือนโยบายการคลังแบบขยายตัว (expansionary fiscal policy) คือ การจัดทำงบประมาณรายได้น้อยกว่ารายจ่าย โดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาล และการลดภาษี เกิดการกู้ยืมเงินมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ หรือเกิดหนี้สาธารณะนิยมใช้ในช่วงเกิดปัญหาเศรษฐกิจถดถอย

                (3) งบประมาณแบบสมดุล (balance budget)  คือ การจัดทำงบประมาณรายได้เท่ากับรายจ่าย นิยมใช้ในช่วงเศรษฐกิจปกติ

    มาตรนโยบายการคลัง                                                                                                                                 นโยบายการคลัง ประกอบด้วยมาตรการที่สำคัญ คือ มาตรการภาษีอากร มาตรการงบประมาณ และการใช้จ่ายของรัฐบาล และมาตรการก่อหนี้สาธารณะ มาตรการแต่ละประเภทมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้                                                                                                                    1) มาตรการภาษีอากรรายได้ของรัฐบาล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ รายได้ที่เป็นภาษีอากร และรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร                                                                                                          สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ได้แก่ รายได้จากการขายสิ่งของและบริการของ รัฐพาณิชย์ และรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าปรับ รายได้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ                                                                                            ส่วนรายได้ที่เป็นภาษีอากร แบ่งตามลักษณะการใช้จ่ายออกเป็น 2 ชนิด คือ ภาษีอากรทั่วไป ซึ่งเมื่อรัฐบาลจัดเก็บแล้วจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ได้ กับภาษีอากรเฉพาะอย่าง ซึ่งเมื่อรัฐบาลจัดเก็บแล้วต้องใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการนั้น เช่น ภาษีประกันสังคม พรีเมี่ยมข้าว และน้ำตาล เป็นต้น รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรจากฐานภาษีต่างๆ ฐานภาษีเป็นหลักที่รัฐบาลใช้เป็นแนวทางในการประเมินภาษี ฐานภาษีมีดังต่อไปนี้                                                                                                                                           1.ฐานรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล                                            2.ฐานการบริโภค เช่น ภาษีการขาย ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร                             3.ฐานความมั่งคั่งหรือทรัพย์สิน เช่น ภาษีที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงงาน ภาษีมรดก                                                                                                                               นอกจากนี้ในแง่โครงสร้างของภาษีแล้ว รัฐบาลอาจจัดเก็บภาษีในอัตราต่าง ๆ ก็ได้ อัตราภาษีมีอยู่ 3แบบ คือ                                                                                                                                                        (1) อัตราภาษีถดถอย การเก็บอัตราภาษีแบบนี้ หมายความว่า ถ้าฐานภาษีขยายใหญ่ขึ้น จะเก็บภาษีในอัตราลดลง                                                                                                                                          (2) อัตราภาษีก้าวหน้า หมายความว่า ถ้าฐานภาษีขยายใหญ่ขึ้น จะเก็บภาษี ในอัตราคงที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าอัตราการขยายตัวของฐานภาษี                                                                                                        (3) อัตราภาษีตามสัดส่วน หมายความว่า ถ้าฐานภาษีขยายใหญ่ขึ้น จะเก็บภาษีในอัตราคงที่เป็นสัดส่วนเดียวกันกับฐานภาษี                                                                                                                การพิจารณาภาษียังจำแนกภาษีออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ทั้งนี้เพราะภาษีทั้ง 2 ประเภทมีวิธีการจัดเก็บ และมีผลกระทบต่างกัน ภาษีทางตรงมักมีวิธีการจัดเก็บจากฐานรายได้ทำให้ผู้เสียภาษีทราบจำนวนและจัดเก็บง่าย ภาษีทางตรงมีผลต่อการผลักภาระภาษีน้อยผู้เสียภาษีเป็นผู้รับภาระภาษีไว้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนภาษีทางอ้อมจะ จัดเก็บจากฐานการบริโภคหรือการซื้อขายแลกเปลี่ยน ผู้เสียภาษีสามารถผลักภาระภาษีไปยัง ผู้บริโภคได้ โดยการบวกเข้าไปกับราคาสินค้า ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ผู้รับภาระภาษีจริง ๆ จะไม่ค่อยทราบว่าได้เสียภาษีไปเท่าใดปฏิกิริยาต่อการเสียภาษีทางอ้อมจะมีน้อยกว่าการเสียภาษีทางตรง                                                                                   ตัวอย่างการเสียภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีการเดินทาง ภาษีมรดก ภาษีที่เก็บจากทุน ภาษีการให้โดยเสน่หา เป็นต้น ส่วนตัวอย่างภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต อากรและแสตมป์ เป็นต้น44                                                                    การจัดเก็บภาษีอากรของรัฐบาล ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการจัดเก็บฐานภาษี และภาวะเศรษฐกิจ ถ้าเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองรัฐบาลก็สามารถจัดเก็บภาษีได้มาก ตรงกันข้าม ถ้าเศรษฐกิจถดถอยหรือตกต่ำรัฐบาลก็จัดเก็บภาษีได้น้อย รัฐบาลสามารถใช้มาตรการภาษีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจได้ เช่น เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำเกิดภาวะเงินฝืดรัฐบาอาจลดการจัดเก็บภาษีลงและเพิ่มการใช้จ่ายมากขึ้น เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว หรือเมื่อเศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลก็อาจจัดเก็บภาษีมากขึ้นเพื่อให้ปริมาณเงินลดลง นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถใช้มาตรการภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการกระจายรายได้โดยการเก็บภาษีจากฐานที่ผลักภาระภาษีได้ยาก ลดการจัดเก็บภาษีที่เป็นภาระแก่ผู้มีรายได้น้อยและเพิ่มการจัดเก็บภาษีคนร่ำรวย จัดเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าในภาษีบางชนิด เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น ทางด้านการใช้จ่ายของ รัฐบาล ก็อาจใช้จ่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่คนส่วนมาก เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้มากขึ้น                                                                                     2)มาตรการงบประมาณและการใช้จ่ายของรัฐบาล งบประมาณ เป็น แผนการเงินที่สำคัญของประเทศซึ่งแสดงให้เห็นถึงแผนรายรับและรายจ่ายในแต่ละปี ปกติ งบประมาณจะมีกำหนดเวลา 1 ปี งบประมาณรายจ่ายปกติ เรียกว่า งบประมาณรายจ่ายประจำปีบางครั้ง มีงบประมาณรายจ่ายพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปี เรียกว่า งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม สำหรับประเทศไทยปีงบประมาณจะเริ่มต้นวันที่ 1 ตุลาคม และสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป โดยทั่วไปนโยบายงบประมาณจะมีอยู่ 3 ประเภทคือ                                                                                                  (1) งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) หมายถึง รายได้และรายจ่ายของ รัฐบาลมีจำนวนเท่ากัน                                                                                                                                                                    (2) งบประมาณเกินดุล (Surplus Budget) หมายถึง รายได้ของรัฐบาลมีมากกว่ารายจ่าย                        (3) งบประมาณขาดดุล (Deficit Budget) หมายถึง รายได้ของรัฐบาลมีน้อยกว่ารายจ่าย    งบประมาณขาดดุล เป็นแนวคิดการคลังสมัยใหม่ ซึ่งเชื่อว่าการคลังของรัฐบาลสามารถใช้จ่ายได้มากกว่ารายได้ โดยการหารายรับอื่นมาใช้จ่ายได้ การเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวและเกิดการผลิตเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายจะต้องไม่เพิ่มอำนาจซื้อเกินกว่าจุดที่มีการผลิตเต็มที่ เพราะถ้าหากเพิ่มอำนาจซื้อเกินกว่าจุดที่มีการผลิตเต็มที่แล้ว จะเท่ากับเป็นการเพิ่มปริมาณเงินโดยไม่มีการผลิตเพิ่มจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ                                                                                        การ ใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นการใช้จ่ายเงินจำนวนมาก จึงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการใช้จ่ายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ก็จะเกิดการกระจายรายได้ การใช้จ่ายของรัฐบาลยังมีผลต่อการ จ้างงานและการพัฒนาประเทศ ยิ่งรัฐบาลมีบทบาทหน้าที่มากเท่าใดการใช้จ่ายของรัฐบาลก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่า นั้น การใช้จ่ายของรัฐบาลจะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับ การใช้จ่ายของรัฐบาล ถ้าการใช้จ่ายของรัฐบาลมีผลกระทบต่อการผลิตโดยตรงและมีผลต่อการเคลื่อนย้าย ทรัพยากรในประเทศจะมีผลทำให้เกิดการผลิตและการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ                                                                3) มาตรการก่อหนี้สาธารณะ เมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายรัฐบาลจะต้องทำการแสวงหารายได้เพิ่มติม อาจกระทำโดยการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มเติม หรือแสวงหารายรับอื่นโดยการกู้ยืมเงินจากในประเทศหรือต่างประเทศ เมื่อรัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว รัฐบาลจะนำเงินออกมาใช้จ่ายในการบริโภคหรือการลงทุน                                                                                                                         หากพิจารณาในแง่ภาระหนี้ที่จะตกแก่คนรุ่นหลัง การเก็บภาษีอากรเพิ่มและนำมาใช้จ่ายในการบริโภคภาระหนี้จะไม่ตกไปถึงคนรุ่นหลัง เพราะเป็นการเก็บภาษีอากรจากคนรุ่นปัจจุบันและนำไปใช้จ่ายในการบริโภคในเวลาเดียวกัน ผู้ที่ได้รับประโยชน์จึงได้แก่คนรุ่นปัจจุบัน แต่ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีอากรเพิ่มแล้วนำไปใช้จ่ายในการลงทุนก็จะเป็นการเอาเปรียบคนรุ่นปัจจุบัน เนื่องจากผลประโยชน์ของการลงทุนจะตกอยู่กับคนรุ่นหลัง                                                                         หาก รัฐบาลกู้ยืมเงินภายในประเทศบริโภคในปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับประโยชน์ก็จะได้แก่ คนรุ่นปัจจุบันโดยคนรุ่นหลังจะเป็นผู้แบกรับภาระหนี้แทนซึ่งไม่ยุติธรรมแก่ คนรุ่นหลัง แต่ถ้ารัฐบาลกู้ยืมเงินภายในประเทศเพื่อใช้จ่ายในการลงทุนก็จะเป็นการ ยุติธรรมแก่คนรุ่นหลังเพราะคนรุ่นหลังเป็นทั้งผู้ได้รับประโยชน์จากการลงทุน และเป็นผู้แบกรับภาระหนี้                                                                        ส่วนการกู้ยืมจากต่างประเทศถ้ากู้ยืมมาเพื่อใช้จ่ายในการบริโภคปัจจุบันแล้ว ภาระหนี้ต้องตกอยู่กับคนรุ่นหลังเป็นการก่อหนี้ให้กับลูกหลานแต่ถ้ากู้ยืมมา เพื่อการลงทุนคนรุ่นหลัง ก็จะเป็นผู้รับประโยชน์และเป็นผู้รับภาระหนี้ด้วย ในขณะเดียวกันถ้าหากผลประโยชน์ที่ได้รับมีมากกว่าภาระหนี้ก็เท่ากับเป็นการ ลงทุนเพื่อลูกหลานอันเป็นการมองการณ์ไกล                                                                             สิ่งสำคัญของการก่อหนี้อยู่ตรงที่ การได้รับผลประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนไม่ให้เกิดการรั่วไหลและได้ผลประโยชน์มากที่สุด ไม่เช่นนั้นการลงทุนจะเป็นภาระแก่สังคมได้เสมอ               ความสำคัญของการคลัง                                                                                                                                    จากที่กล่าวแล้วว่า รัฐบาลจะใช้นโยบายการคลัง ควบคุมภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีวิธีการดังนี้                                                                                                                                             1) การ จัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรของประเทศมีประสิทธิภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม แก่ประชาชน ทั้งในด้านการบริการขั้นพื้นฐาน เช่น การสาธารณสุข การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การป้องกัน ประเทศ ตลอดจนการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยการใช้นโยบายงบ ประมาณที่มีอยู่                                                2) การกระจายรายได้ของสังคม เป็นการกระจายรายได้เพื่อให้สินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาได้รับการจัดสรรกระจายให้ทั่วถึงและเป็นธรรม                                                               3) การ รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เสถียรภาพทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันระหว่างการใช้ทรัพยากรและการกระจาย รายได้ โดยรัฐบาลจะต้องควบคุมและดูแลให้เศรษฐกิจในสังคมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ด้วยการรักษาระดับการจ้างงานให้อยู่ในอัตราสูง ระดับราคาสินค้าและบริการมีเสถียรภาพ รวมถึงมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ฐานะการคลังของรัฐบาล จะเป็นการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่สำคัญ ดังนี้                                                                              1) ดุลงบประมาณ หมายถึง ส่วนต่างระหว่างประมาณการรายได้ และงบประมาณรายจ่ายตาม ที่กำหนดไว้ในเอกสารงบประมาณประจำปี                                                                                                 2) ดุล เงินสดของรัฐบาล หมายถึง ส่วนต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายจริงของรัฐบาลหรือ อีกนัยหนึ่ง หมายถึง ดุลเงินสดจะเท่ากับดุลเงินงบประมาณบวกดุลนอกงบประมาณ                                         3) เงิน คงคลัง หมายถึง เงินสดที่อยู่ในมือและเงินฝากของกระทรวงการคลัง ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย บัญชีเงินฝากของกระทรวงการคลังมีธนาคารแห่งประเทศไทย เงินสดที่คลังจังหวัด และอำเภอต่าง ๆ เงินสดที่กรมธนารักษ์ เงินฝากของคลังจังหวัดที่ธนาคารกรุงไทยแต่ละจังหวัดและเงินสดระหว่างทางที่ ร่วมถือธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ของกระทรวงการคลัง

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×