ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    การบ้าน1

    ลำดับตอนที่ #4 : ครั้งที่ 4

    • อัปเดตล่าสุด 28 ก.ค. 51



    ตั้งอยู่ภายในกองการเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บริเวณกิโลเมตรที่ 64–65 บนทางหลวงหมายเลข 323 (กาญจนบุรี-ไทรโยค-ทองผาภูมิ) ช่องเขาขาดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ เป็นสถานที่จัดแสดงมินิเธียเตอร์ และรวบรวมข้อมูลภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ระหว่างการสร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น พิพิธภัณฑ์นี้จัดไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม ภายในบริเวณมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไปยังช่องเขาขาด ซึ่งเป็นสวนหนึ่งของทางรถไฟสายมรณะที่เชลยศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัดเจาะภูเขาหินด้วยมือปราศจากเครื่องมืออันทันสมัยให้เป็นช่องสำหรับสร้างทางรถไฟ ปัจจุบันยังมีร่องรอยของทางรถไฟปรากฏอยู่ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3453 1347, 0 1754 2098, 0 1814 7564
    ช่องเขาขาด กาญจนบุรี

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารลูกพระอาทิตย์หรือญี่ปุ่น ซึ่งเข้าเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน ซึ่งนำโดยฮิตเลอร์ ได้ฟาดหัวฟาดหางในประเทศต่างๆ ในย่านนี้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็ได้ถล่มเอาประเทศในย่านนี้ยับไปไม่เป็นท่า นอกจากนี้ ยังได้สร้างความทุกข์อยากให้กับประชาชนอย่างแสนสาหัส เช่น การบังคับสตรีมาเป็นนางบำเรอให้กับทหารของตน ส่วนผู้ชายก็ถูกบังคับใช้แรงงานอย่างทารุณ

    สถานอนุสรณ์ที่แสดงถึงความโหดเหี้ยมของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทยคือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ในจังหวัดกาญจนบุรี และมีอีกสถานที่หนึ่งที่คนทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ ช่องเขาขาด ซึ่งก็อยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีเช่นกัน

    ช่องเขาขาดเป็นเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า ที่ญี่ปุ่นต้องการสร้างผ่าน และดำเนินการสร้างโดยเชลยศึกชาวออสเตรเลีย และเชลยศึกฝ่ายพันธมิตร เล่ากันว่าช่องทางที่เรียกว่าช่องเขาขาดนี้ ทหารญี่ปุ่นใช้ทหารเชลยเป็นทาสในการก่อสร้างทาง ชีวิตทหารเหล่านั้นล้มตายกันเป็นเบือ เพราะทำงานหนักและโรคภัยไข้เจ็บที่ชุกชุม โดยเฉพาะไข้ป่า

    ช่องเขาขาดเป็นทางแคบๆ ที่ตัดผ่านเนินเขา มูลดิน ขอบทางรถไฟ และสะพานซึ่งมีอยู่มากมาย ต่อสถานที่เหล่านี้กลายมาเป็นโครงการพิพิธภัณฑสถานช่องเขาขาด เพื่อรำลึกถึงเหล่าทหารที่ต้องทุกข์ทรมานเหล่านั้น

    การตัดทางผ่านภูเขา มูลดิน ขอบทางรถไฟ และสะพานมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทหารญี่ปุ่น ในการลำเลียงทหารและเสบียงไปช่วยทหารญี่ปุ่นในประเทศพม่า ซึ่งขณะนั้นทหารญี่ปุ่นสามารถตั้งมั่นอยู่ในประเทศพม่าแล้ว

    การก่อสร้างช่องเขาขาดเริ่มด้วยแรงงานของเชลยศึกชาวออสเตรเลียจำนวน 400 คน และญี่ปุ่นได้เพิ่มเชลยศึกขึ้นอีกเพื่อให้การก่อสร้างสำเร็จตามกำหนด ส่วนทหารเชลยศึกที่เพิ่มเข้ามาส่วนมากยังเป็นทหารชาวออสเตรเลีย และทหารจากสหราชอาณาจักร

    มีบันทึกว่า บรรดาเหล่าเชลยศึกจะใช้ค้อนหนัก 8 ปอนด์ สว่าน ระเบิด เสียม พลั่ว จอบ และตะกร้าหวายอันเล็กๆ เพื่อขนดินออกไปเททิ้งข้างนอกทาง และพวกเขาทำงานอย่างทรมาน บางคนเสียชีวิตอย่างน่าเวทนาในที่ทำงาน

    ในขณะที่ก่อสร้างเส้นทางสายนี้นั้น เป็นช่วงมรสุมที่รุนแรง และการก่อสร้างช่องเขาขาดยังต้องเผชิญกับความกดดันอย่างสูงจากวิศวกรชาวญี่ปุ่น และผู้คุมชาวเกาหลี ที่ได้บังคับให้พวกเขาทำงานวันละ 12-18 ชั่วโมง นับจากเดือนมิถุนายน 2486 จนเดือนสิงหาคมในปีเดียวกัน

    ระหว่างการสร้างสะพานรถไฟให้เสร็จทันกำหนดนั้น เหล่าทหารเชลยศึกฝ่ายพันธมิตรขนานนามช่องเขาขาดว่า ช่องนรกŽ ด้วยเหตุที่ผู้คุมชาวญี่ปุ่นบังคับให้นักโทษทำงานในเวลากลางคืน ใช้แสงสว่างจากคบไฟ ซึ่งให้ความรู้สึกว่าที่นี่คือขุมนรกบนโลกจริงๆ

    ในช่วงที่เร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จตามกำหนดเรียกว่าช่วง สปิโต หรือตอนเร่งรัด
    ช่องเขาขาดยังเป็นอนุสรณ์สถานที่ทหารญี่ปุ่นกระทำไว้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยากจะมีผู้ลืมเลือน

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×