ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : บทนำ
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องของรับตรง ให้อ่านตรงนี้ก่อน
ข้อมูลจาก :
http://www.thaigoodview.net/variousnews.php?vnid=200
ความเป็นมาของการสอบ ENTRANCE
            ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับวิธีการ รูปแบบ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ Entranceระบบใหม่ อยากให้น้องๆ ได้รู้ถึงความเป็นมาของการสอบ Entranceก่อนว่า มีความเป็นมาอย่างไร การสอบคัดเลือก บุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหรือการสอบคัดเลือกรวม หรือที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า Entrance นั้น ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2504 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) จัดสอบร่วมกันเป็นครั้งแรกมีสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ประสานงานปีการศึกษา 2505 มหาวิทยาลัย ทั้ง 5 แห่ง ที่มีในขณะนั้นคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมในการสอบด้วย ปีการศึกษา 2509 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยกตามเดิม แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก ปีการศึกษา 2510 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีก ปีการศึกษา 2516 ทบวงมหาวิทยาลัย รับโอนงานสอบคัดเลือกมาจากสำนักสภาการศึกษาแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน การรับนักศึกษาในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาในระบบ จำกัดจำนวนรับในสังกัดและในกำกับ ของทบวงมหาวิทยาลัยมีวิธีการรับนักศึกษา 3 วิธีคือ
  1. การรับตรง หรือการรับนักศึกษาตามโควตาของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในส่วนภูมิภาคเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาได้มากขึ้น
  2. การรับนักศึกษาตามโครงการพิเศษต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น เช่น โครงการพิเศษสำหรับผู้มีความสามารถทางด้านกีฬาด้านวิชาการและด้านศิลปะ เป็นต้น
  3. การสอบคัดเลือกรวมที่ทบวงมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการ การสอบคัดเลือกรวม การดำเนินการสอบคัดเลือกรวมในปัจจุบันมีรูปแบบการบริหารและการดำเนินงาน พอสรุปได้ดังนี้
3.1. การบริหารงานสอบคัดเลือก จัดทำในรูปคณะกรรมการโดยมีคณะอนุกรรมการประสานงานการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทำหน้าที่กำหนดนโยบาย เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกรวม โดยมีผู้แทนมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการ
3.2. การดำเนินการสอบคัดเลือกฯ คณะกรรมการประสานงานการสอบคัดเลือกฯจะแต่งตั้งคณะ กรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเพื่อดำเนินการสอบคัดเลือกฯในแต่ละปีโดยมีประธานอนุกรรมการฝ่ายต่างๆร่วมเป็นกรรมการ
จากการประเมินรวบรวมปัญหาเกี่ยวกับการดำเนิน การสอบคัดเลือกรวมพบว่ามีปัญหาที่สำคัญๆ ดังนี้
  1. มีผลกระทบในทางลบต่อการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  2. นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจำนวนหนึ่งมีความรู้ความสามารถไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียน
  3. จำนวนผู้สมัครและสถาบันที่รับกับนักศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น
  4. สร้างความเครียดแก่ผู้เข้าสอบและผู้ปกครอง
  5. มีข้อจำกัดด้านเวลา โดยสามารถดำเนินการได้ เฉพาะช่วงปิดภาคการศึกษา
          จากปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อทำหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงระบบสอบคัดเลือกฯโดยมีผู้แทนกรมวิชาการ และผู้แทนกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการผู้แทนคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่างๆร่วมเป็นอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกฯได้เสนอรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบและได้ประกาศให้นำรูปแบบและ วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ มาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป
ข้อมูลจาก :
http://www.thaigoodview.net/variousnews.php?vnid=200
ความเป็นมาของการสอบ ENTRANCE
            ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับวิธีการ รูปแบบ หรือรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบ Entranceระบบใหม่ อยากให้น้องๆ ได้รู้ถึงความเป็นมาของการสอบ Entranceก่อนว่า มีความเป็นมาอย่างไร การสอบคัดเลือก บุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาหรือการสอบคัดเลือกรวม หรือที่เราเรียกกันโดยทั่วไปว่า Entrance นั้น ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2504 โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) จัดสอบร่วมกันเป็นครั้งแรกมีสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติเป็นผู้ประสานงานปีการศึกษา 2505 มหาวิทยาลัย ทั้ง 5 แห่ง ที่มีในขณะนั้นคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมในการสอบด้วย ปีการศึกษา 2509 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มหาวิทยาลัยต่างๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยกตามเดิม แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก ปีการศึกษา 2510 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีก ปีการศึกษา 2516 ทบวงมหาวิทยาลัย รับโอนงานสอบคัดเลือกมาจากสำนักสภาการศึกษาแห่งชาติจนถึงปัจจุบัน การรับนักศึกษาในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาในระบบ จำกัดจำนวนรับในสังกัดและในกำกับ ของทบวงมหาวิทยาลัยมีวิธีการรับนักศึกษา 3 วิธีคือ
  1. การรับตรง หรือการรับนักศึกษาตามโควตาของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในส่วนภูมิภาคเข้าสู่ระบบอุดมศึกษาได้มากขึ้น
  2. การรับนักศึกษาตามโครงการพิเศษต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น เช่น โครงการพิเศษสำหรับผู้มีความสามารถทางด้านกีฬาด้านวิชาการและด้านศิลปะ เป็นต้น
  3. การสอบคัดเลือกรวมที่ทบวงมหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการ การสอบคัดเลือกรวม การดำเนินการสอบคัดเลือกรวมในปัจจุบันมีรูปแบบการบริหารและการดำเนินงาน พอสรุปได้ดังนี้
3.1. การบริหารงานสอบคัดเลือก จัดทำในรูปคณะกรรมการโดยมีคณะอนุกรรมการประสานงานการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทำหน้าที่กำหนดนโยบาย เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกรวม โดยมีผู้แทนมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นอนุกรรมการ
3.2. การดำเนินการสอบคัดเลือกฯ คณะกรรมการประสานงานการสอบคัดเลือกฯจะแต่งตั้งคณะ กรรมการดำเนินการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาขึ้นเพื่อดำเนินการสอบคัดเลือกฯในแต่ละปีโดยมีประธานอนุกรรมการฝ่ายต่างๆร่วมเป็นกรรมการ
จากการประเมินรวบรวมปัญหาเกี่ยวกับการดำเนิน การสอบคัดเลือกรวมพบว่ามีปัญหาที่สำคัญๆ ดังนี้
  1. มีผลกระทบในทางลบต่อการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  2. นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจำนวนหนึ่งมีความรู้ความสามารถไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เรียน
  3. จำนวนผู้สมัครและสถาบันที่รับกับนักศึกษามีแนวโน้มสูงขึ้น
  4. สร้างความเครียดแก่ผู้เข้าสอบและผู้ปกครอง
  5. มีข้อจำกัดด้านเวลา โดยสามารถดำเนินการได้ เฉพาะช่วงปิดภาคการศึกษา
          จากปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นทบวงมหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อทำหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงระบบสอบคัดเลือกฯโดยมีผู้แทนกรมวิชาการ และผู้แทนกรมสามัญศึกษากระทรวงศึกษาธิการผู้แทนคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่างๆร่วมเป็นอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกฯได้เสนอรูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัยได้ให้ความเห็นชอบและได้ประกาศให้นำรูปแบบและ วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ มาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น