คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : สงครามปูนิค ศึกชี้ชะตาแห่งสองจักรวรรดิ(1)
สงครามปูนิค ศึกชี้ชะตาแห่งสองจักรวรรดิ
ในยุคที่อาณาจักรโรมันยังเป็นสาธารณรัฐ นั้น ชาวโรมันต้องทำสงครามแย่งชิงดินแดนกับบรรดาชนชาติต่างๆที่อยู่รอบข้าง อย่างพวก อีทรัสกัน เซลต์ กรีก แต่ทุกครั้ง ชาวโรมันก็ได้รับชัยชนะ จนดูเหมือนกับว่าบรรดาเทพเจ้าจะเข้าข้างพวกเขา อย่างไรก็ดีในบรรดาศัตรูทั้งหลายของชาวโรมัน ก็ยังมีอยู่ชนชาติหนึ่งที่ โรมไม่อาจพิชิตได้โดยง่าย และ ครั้งหนึ่งพวกเขาเกือบจะทำลายกรุงโรมลงเสียด้วยซ้ำไป ชนชาตินั้นก็คือ ชาวคาเธจ(
ชาวคาเธจสืบเชื้อสายมาจากชาวฟินิเซีย(Phoenicians) ซึ่งเป็นชนชาติที่มีความเชี่ยวชาญในการค้าและเดินเรือของยุคโบราณ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเอเชียไมเนอร์ โดยอยู่ในบริเวณที่เป็นประเทศเลบานอนในปัจจุบัน พวกฟิเซียอยู่รวมแบบนครรัฐคล้ายกับชาวกรีก ด้วยความชำนาญในการค้าและการเดินเรือทำให้ชาวฟินีเซียสามารถจัดตั้งนิคมการค้าในดินแดนชายฝั่งรอบเมดิเตอร์เรเนียน และคาเธจก็เป็นหนึ่งในนิคมการค้าของชาวฟินิเซียที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมเส้นทางการค้าในชายฝั่งอาฟริกาเหนือ (ปัจจุบันอยู่ใน ประเทศตูนิเซีย)
พวกฟินิเซียได้ทำให้นครคาเธจเติบโตจนกลายเป็นนครการค้าที่สำคัญที่สุดของ อาฟริกาเหนือ ต่อมาเมื่อนครรัฐต่างๆของฟินิเซียในเอเชียไมเนอร์ ถูกข้าศึกชาวเปอร์เซียและอัสสิเรียทำลายลง คาเธจจึงกลายเป็นนครรัฐเพียงแห่งเดียวของพวกฟินิเซียที่ยังคงอยู่ จนมาถึงในช่วงปีที่ 300 ก่อน ค.ศ. นั้น อาณาจักรคาเธจก็มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุดในเมดิเตอร์เรเนียน และขยายอาณาเขตครอบครองดินแดนเกือบทั้งหมดของชายฝั่งอาฟริกาเหนือ ตั้งแต่ภาคตะวันตกของลิเบียไปจนจรดช่องแคบยิบรอลต้า ข้ามมาถึงภาคใต้ของสเปน รวมทั้งเกาะซิซิลี คอร์สิก้า และ ซาดิเนียร์ ทั้งนี้ทำให้อาณาจักรคาเธจสามารถควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญทั้งหมดของเมดิเตอร์เรเนียนไว้ รวมทั้งยังครอบครองแหล่งแร่เงินและทองคำในสเปนไว้ด้วย
สำหรับสาธารณรัฐโรมันนั้น หลังจากได้รับชัยชนะเหนือคาบสมุทรอิตาลี ชาวโรมันก็วางแผนที่จะแผ่อำนาจสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อันเป็นเส้นทางการค้าสำคัญของโลกยุคนั้น ซึ่งในช่วงเวลานั้นเส้นทางการค้าสำคัญในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถูกครอบครองโดยอาณาจักรคาเธจ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งอาฟริกาเหนือ
เมื่อโรมพิชิตดินแดนทางตอนใต้ของคาบสมุทรอิตาลีได้ ชาวโรมันก็ปรารถนาที่จะตั้งนิคมขึ้นในเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อส่งเสริมการค้าทางทะเล และเห็นว่าดินแดนที่เหมาะสมที่สุดก็คือเกาะซิซิลี ทางใต้ของแหลมอิตาลี ทว่าขณะนั้นทางตะวันตกทั้งหมดของซิซิลีทางถูกครอบครองโดยพวกคาเธจอยู่ การแย่งชิงดินแดนซิซิลีของทั้งสองอาณาจักรดำเนินมาเรื่อยๆ จนเมื่อ นครเมสสานา(Messana) ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งของซิซิลี ได้แข็งข้อต่อคาเธจ ทางโรมได้ถือโอกาสเข้าแทรกแซงให้การสนับสนุนเมสสานา ทำให้ความขัดแย้งของโรมและคาเธจมาถึงจุดแตกหัก และสงครามก็เริ่มขึ้น เนื่องจากชาวโรมันเรียกพวกคาเธจว่า ปูนิค( Punic หรือ Phoenic ตามชื่อเดิม) สงครามนี้จึงถูกเรียกว่า สงครามปูนิค (Punic war)
สงครามปูนิคครั้งที่1 (ปีที่264 - 241 ก่อน ค.ศ.)เริ่มขึ้น ในปีที่264 ก่อน ค.ศ. เมื่อกองทัพโรมันเข้าปิดล้อมดินแดนซิซิลี และช่วยเหลือนครเมสสานาทำศึกกับคาเธจ ในช่วงแรกโรมันเป็นฝ่ายเพี่ยงพล้ำต่อกองทัพเรืออันเกรียงไกรของคาเธจ กองทัพเรืออันเกรียงทว่าโรมันยังไม่ยอมแพ้ จากบทเรียนในช่วงต้นของสงคราม บอกให้พวกโรมัน รู้ว่า ถ้าจะเอาชนะคาเธจได้ ก็ต้องมีทัพเรือที่เข้มแข็งเท่านั้น โพลีบิอุส(Polybius) นักประวัติศาสตร์โรมันบันทึกไว้ว่า ในปีที่ 262 ก่อนคริสตกาล พวกโรมันใช้ซากเรือรบของคาเธจเป็นแบบต่อเรือรบของตนขึ้นพร้อมกับฝึกทหารให้ชำนาญการรบทางน้ำและในระหว่างการรบ เมื่อเรือโรมันเทียบ กับเรือข้าศึกฝ่ายโรมันก็จะจรดไม้กระดานยาวทอดไปยังดาดฟ้าเรือคาเธจและส่งทหารราบข้ามไป ทำให้พวกโรมันสามารถทำการรบแบบบนบกซึ่งโรมันมีความชำนาญกว่าได้ และ ในปีที่260ก่อนคริสตกาล กองทัพโรมันก็สามารถเอาชนะทัพคาเธจได้ในการรบที่ ไมเล (Mylae) ต่อมาในปีที่ 256 ก่อนคริสตกาล กองทัพโรมันเข้ารุกรานอาฟริกา แต่พ่ายแพ้และต้องล่าถอยกลับมา และในปีที่254 ก่อนคริสตกาลทัพเรือโรมันก็พ่ายแพ้และเกือบจะถูกฝ่ายคาเธจทำลายลง แต่ต่อมาในปีที่ 247 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายโรมันก็พลิกกลับมาเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะเหนือกองเรือคาเธจในการรบใกล้เกาะเอเกเตส (Aegates)
จนถึงปีที่241 ก่อน ค.ศ. ทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสียอย่างหนักจากสงคราม โดยเฉพาะโรมที่แม้จะได้รับชัยชนะในการรบหลายครั้ง แต่ก็สูญเสียเรือรบไปกว่า 2500 ลำ และทหารอีกกว่า 200000 คน อย่างไรก็ดีคาเธจเป็นฝ่ายที่เริ่มอ่อนกำลังลง ในที่สุดทั้งสองฝ่ายยอมทำสัญญาสงบศึก โดยคาเธจซึ่งกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบ จะต้องแบ่งดินแดนซิซิลีและเสียค่าปฏิกรรมสงครามแก่โรมในราคายุติธรรมซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ยอมรับได้ แต่ทว่าในปีที่238 ก่อน ค.ศ. กองทหารรับจ้างในคาเธจก่อการจลาจลขึ้น ทางโรมฉวยโอกาสนี้ เคลื่อนทัพเข้ายึดครองเกาะคอร์สิก้าร์ และบีบให้คาเธจยอมทำข้อตกลงใหม่
ทางคาเธจซึ่งขณะนั้นไม่พร้อมทำสงครามต้องจำยอมตามข้อเรียกร้องของโรม โดยการส่งมอบเกาะซิซิลี เกาะคอร์ซิก้าและเกาะซาร์ดิเนียร์ให้แก่โรม ทำให้คาเธจสูญเสียอำนาจควบคุมเส้นทางการค้าในเมดิเตอร์เรเนียนไปทั้งหมด การกระทำฉวยโอกาสที่เสมือนการเล่นไม่ซื่อของโรมครั้งนี้ สร้างความโกรธแค้นให้แก่ชาวคาเธจเป็นอย่างมาก และจากรอยแค้นครั้งนี้เองที่นำไปสู่สงครามครั้งที่สอง ซึ่งเป็นครั้งที่ชี้ชะตาของสองอาณาจักร
(ภาพกองทหารแห่งสาธารณรัฐโรมจับนักรบคาเธจเป็นเชลย)
ความคิดเห็น