ลำดับตอนที่ #3
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : การโจมตีสวนกลับ (Counterstrike)
การโจมตีสวนกลับถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสงครามซึ่งไม่อาจแบ่งแยกออกจากกันได้
ถ้าหากประสบความสำเร็จ การโจมตีสวนกลับสามารถเปลี่ยนทิศทางของสงครามและสามารถป้องกันมาตุภูมิได้ แต่ถ้าหากเกิดความผิดพลาด ก็จะหมายถึงความพ่ายแพ้สถานเดียว
ตลอดช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ การโจมตีสวนกลับถือเป็นการยุทธวิธีของผู้บัญชาการที่ต้องเปลี่ยนจากการตั้งรับมาเป็นการโจมตีข้าศึก ซึ่งต่อสู้บนดินแดนของฝ่ายตน
ปัจจัย/ขั้นตอนของการตีโต้ การโจมตีสวนกลับ
การโจมตีสวนกลับมีปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จอยู่หลายประการ ซึ่งถ้าหากบรรลุเป้าหมายทั้งหมดแล้ว ผู้บัญชาการก็จะมีโอกาสอย่างมากที่จะประสบความสำเร็จในการโจมตีสวนกลับได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าหากประสบความล้มเหลว ผลกระทบก็จะร้ายแรงตามมาเช่นกัน
นอกเหนือจากปัจจัยทั้งหมดแล้ว สิ่งสำคัญของการโจมตีสวนกลับ คือ ความยืดหยุ่น
กระนั้น การโจมตีสวนกลับมีปัจจัยสี่ประการสำหรับการโจมตีสวนกลับ
ข่าวกรอง
แผนการรบจะต้องตั้งอยู่บนข้อมูลข่าวกรองที่ถูกต้องและแม่นยำ และผู้นำจะต้องตัดสินใจว่าเลือกที่จะเชื่อตามข่าวกรองใด และรู้จักใช้ประโยชน์จากข่าวกรองนั้น
กองกำลังเปรียบเทียบ (Force Ratio)
แผนการดังกล่าวจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “กองกำลังเปรียบเทียบ” หมายความว่า ความเข้มแข็งของกองทัพของเราเมื่อเทียบกับฝ่ายข้าศึก ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงแต่ในเชิงปริมาณเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงยุทโธปกรณ์ การฝึกฝนและขวัญกำลังใจ
การกะเวลาและการจู่โจมเฉียบพลัน
ผู้บัญชาการจะต้องตัดสินใจเลือกเวลาที่ถูกต้องในการโจมตีสวนกลับฝ่ายข้าศึก และดำเนินการเพื่อปกปิดเจตนาของตนในการวางแผนโจมตีสวนกลับจนกระทั่งถึงเวลาปฏิบัติการ
ช่วงเวลาอันได้เปรียบ
ในขณะที่ข้าศึกดำเนินการบุก ข้าศึกอาจเปิดช่องโหว่ให้โดยไม่เจตนา ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบที่คาดไม่ถึงอยู่ในหลาย ๆ ทาง ซึ่งถ้าหากผู้บัญชาการของฝ่ายตั้งรับสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนในการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว อาจเปลี่ยนผลของการรบได้
ดังนั้น การโจมตีสวนกลับจะประสบความสำเร็จได้ด้วยผู้บัญชาการที่แม่นยำเท่านั้น
ผู้บัญชาการของฝ่ายรุกรานจะต้องกล้าหาญและไม่หยุดนิ่ง แต่ผู้บัญชาการผู้โจมตีสวนกลับจะต้องกล้าหาญและไม่หยุดนิ่งยิ่งกว่าเสียอีก เนื่องจากเขาผู้นั้นจะต้องเคยประสบกับความพ่ายแพ้มาก่อน เขาได้ให้โอกาสข้าศึกได้รับชัยชนะ จากนั้นจึงพยายามเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งอาจไม่ปรากฎให้เห็นอย่างรวดเร็วดังที่คาดหวังเอาไว้
สิ่งที่เขาจะต้องมีคือ ต้องเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และต้องทิ้งเอาความหวาดระแวงเอาไว้ด้านหลัง เนื่องจากการโจมตีสวนกลับขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้บัญชาการเป็นหลัก ดังนั้น จึงมีอีกปัจจัยหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นคือ จิตศาสตร์ อย่าให้ตนเองยโสโอหังจนตัดสินใจผิดพลาด ข้าศึกอาจจะฉลาดกว่าที่คาดไว้ก็เป็นได้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แนวรบด้านตะวันออก สงครามโลกครั้งที่สอง (มิถุนายน-ธันวาคม 1941)
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
แนวรบด้านตะวันออก สงครามโลกครั้งที่สอง (มิถุนายน-ธันวาคม 1941)
มิถุนายน 1941
18 เดือนหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น กองทัพเยอรมันของฮิตเลอร์ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตก หลังจากนั้น เขาได้มุ่งเจตนาไปทางตะวันออก และวางแผนปฏิบัติการบาร์บารอสซา
สตาลินและนายพลโซเวียตรู้ว่าการโจมตีนั้นไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คำถาม คือ พวกเขาจะรับมืออย่างไร
ผลของการตัดสินใจสรุปออกมาว่าควรจะเป็นการโจมตีสวนกลับ
สองปีก่อนหน้านั้น ในเดือนสิงหาคม 1939 นาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่างกัน
สำหรับฮิตเลอร์ มันหมายถึง การเอาชนะโปแลนด์ จากนั้นจึงเป็นพันธมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส โดยไม่ต้องพะวงกับการโจมตีจากสหภาพโซเวียต
สำหรับสตาลิน มันหมายถึง การคอยดูกองทัพของฮิตเลอร์เอาชนะโปแลนด์ จากนั้นก็เป็นฝรั่งเศส เหลือเพียงอังกฤษ ซึ่งยังไม่แพ้ แต่ก็ถูกโดดเดี่ยว
แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา ฮิตเลอร์กำลังวางแผนรุกรานสหภาพโซเวียต
และสตาลินก็ทราบดี
แต่สำหรับการวางแผนการโจมตีสวนกลับ จะต้องต้องอยู่บนปัจจัยที่สำคัญ นั่นคือ ข่าวกรอง
สตาลินได้รับข่าวกรองจำนวนมากซึ่งกล่าวถึงเจตนาของฮิตเลอร์ ตามปัจจัยของการโจมตีสวนกลับ สตาลินจะต้องเลือกข่าวกรองที่จะเชื่อและใช้ประโยชน์จากมัน
ข่าวกรองมีความสำคัญมากขึ้นในตัวอย่างการโจมตีสวนกลับครั้งแรกและคลาสสิกที่สุดของศตวรรษที่ 20 นั่นคือ ยุทธการแห่งเทนเนนเบิร์ก ในแนวรบด้านตะวันออก ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เดือนกันยายน 1914
เยอรมนีเผชิญกับความกลัวที่ว่าตนจะต้องทำสงครามบนแนวรบทั้งสองด้าน กองทัพพันธมิตรทางตะวันตก และรัสเซียทางตะวันออก
ยุทธศาสตร์ของเยอรมนีตั้งอยู่บนข่าวกรองที่ประมาณการว่ามอสโกจะระดมพลได้อย่างเชื่องช้า แต่รัสเซียกลับระดมพลได้เร็วกว่าที่คาดเอาไว้
กองทัพรัสเซียเคลื่อนทัพผ่านแคว้นปรัสเซียตะวันออกในรูปก้ามปู และคุกคามที่จะตัดกองทัพเยอรมันที่ป้องกันพื้นที่อยู่
กองทัพรัสเซียมีจำนวนกว่า 375,000 นาย ซึ่งมากกว่ากองทัพเยอรมันเป็นอย่างมาก
ข่าวกรองที่ผิดพลาดของฝ่ายเยอรมันทำให้ประเทศอยู่ในภาวะล่อแหลม
กองทัพรัสเซียมีจำนวนกว่า 375,000 นาย ซึ่งมากกว่ากองทัพเยอรมันเป็นอย่างมาก
ข่าวกรองที่ผิดพลาดของฝ่ายเยอรมันทำให้ประเทศอยู่ในภาวะล่อแหลม
แต่เยอรมนียังคงได้รับการช่วยเหลือจากข่าวกรองพิเศษ พวกเขาสามารถดักจับข้อความจากกองทัพรัสเซียทางเหนือว่า ตนไม่สามารถให้การช่วยเหลือปฏิบัติการทางทหารใด ๆ กับกองทัพทางใต้ได้
ถึงแม้ว่ากองทัพเยอรมันจะมีจำนวนน้อยกว่า แต่ข่าวกรองดังกล่าวทำให้ฝ่ายเยอรมันมีความมั่นใจว่าตนจะสามารถทำลายกองทัพรัสเซียทางตอนใต้โดยไม่ต้องกังวลถึงการคุกคามจากกองทัพทางตอนเหนือ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สำหรับสหภาพโซเวียตในปี 1941 เป็นริชาร์ด ซอร์กา ซึ่งทำงานให้กับหน่วยข่าวกรองโซเวียตในญี่ปุ่น ข่าวกรองจากเขานี้เองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของสตาลิน
แต่ข่าวกรองของซอร์กาเป็นข้อมูลจากทางตะวันออก
แต่ความกังวลของสตาลิน คือ เจตนาของฮิตเลอร์ทางด้านตะวันตก
เบื้องหลังกำแพงของพระราชวังเครมลิน ระหว่างปี 1940-1941 สตาลินได้รับข่าวกรองมากขึ้นเรื่อย ๆ เกี่ยวกับการรุกรานของเยอรมันที่อาจเกิดขึ้นได้
แต่สตาลินกลับไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเลยแม้แต่น้อย
กองทัพโซเวียตเผชิญหน้ากับภัยคุกคามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ถ้ากองทัพโซเวียตจะถูกโจมตี ก็จะต้องเกิดขึ้นระหว่างฤดูร้อนแห่งปี 1941
กองทัพโซเวียตถูกจัดวางกำลังให้อยู่ในรูปการรุก เพื่อรอคอยการโจมตีสวนกลับ และบางส่วนถูกจัดวางกำลังให้อยู่ในรูปการตั้งรับ เพื่อบ่อนทำลายการรุกของกองทัพเยอรมัน
อย่างไรก็ตาม กองทัพดังกล่าวพยายามที่จะต้านทานการรุกคืบน้อยมาก
เมื่อถึงจุดนี้ ตามแนวคิดของการรบตามแบบ สตาลินมีทางเลือกอยู่สองทาง
1. ขณะที่ฮิตเลอร์ยังคงเตรียมกองทัพเพื่อโจมตีฝรั่งเศส เขาสามารถชิงโจมตีตัดหน้าเยอรมนีจากทางทิศตะวันออก
2. เมื่อทราบว่าเยอรมนีจะโจมตี เขาสามารถเตรียมการโจมตีสวนกลับได้
2. เมื่อทราบว่าเยอรมนีจะโจมตี เขาสามารถเตรียมการโจมตีสวนกลับได้
ทว่าน่าเหลือเชื่อที่ว่าสตาลินไม่ทำอะไรสักอย่าง
ในเดือนมิถุนายน 1941 ฮิตเลอร์ได้ออกปฏิบัติการบาร์บารอสซา การรุกรานสหภาพโซเวียต
ในชั่วโมงแรก ๆ ของการบุก กองทัพเยอรมันอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอที่สุด ถ้าหากกองทัพโซเวียตจะโจมตีสวนกลับ มันต้องเกิดขึ้น ณ เวลานั้น แต่กองทัพโซเวียตยังคงนิ่งเฉย
พวกเขาพยายามที่จะป้องกัน แต่ไม่สามารถต้านทานรถถังและเครื่องบินของฮิตเลอร์ได้
เมื่อกองทัพโซเวียตถูกทะลวงผ่าน กองทัพทั้งหมดจึงรวน และไม่ประสานกัน โดยไม่อาจจะรวมพลังกันใหม่และโจมตีสวนกลับได้อีก และเมื่อปล่อยไว้นานเข้า ก็จะยิ่งเป็นการยากขึ้นอีกมาก
เพียงแค่สองสัปดาห์เท่านั้น รถถังแพนเซอร์สามารถบุกได้ลึกเข้าไปถึง 300 ไมล์เข้าไปในสหภาพโซเวียต และสามารถโอบล้อมกองทัพโซเวียตได้ โดยสามารถจับเชลยศึกได้กว่า 300,000 คน และทำลายรถถังไปได้กว่า 2,500 คัน
เพียงแค่สองสัปดาห์เท่านั้น รถถังแพนเซอร์สามารถบุกได้ลึกเข้าไปถึง 300 ไมล์เข้าไปในสหภาพโซเวียต และสามารถโอบล้อมกองทัพโซเวียตได้ โดยสามารถจับเชลยศึกได้กว่า 300,000 คน และทำลายรถถังไปได้กว่า 2,500 คัน
หนทางไปสู่เลนินกราด สตาลินกราดและมอสโกเปิดโล่งแล้ว
เมื่อถึงกลางเดือนพฤศจิกายน สหภาพอากาศได้เปลี่ยนแปลงไป ฤดูหนาวอันทารุณของโซเวียตใกล้เข้ามา
เมื่อถึงกลางเดือนพฤศจิกายน สหภาพอากาศได้เปลี่ยนแปลงไป ฤดูหนาวอันทารุณของโซเวียตใกล้เข้ามา
กองทัพเยอรมันได้พยายามบุกครั้งสุดท้าย ท่ามกลางสภาพอากาศและหิมะอันหนาวเหน็บ
เมื่อถึงเดือนธันวาคม ท่ามกลางฤดูหนาวที่กัดกินผิวหนัง กองทัพเยอรมันสามารถมองเห็นยอดพระราชวังเครมลิน ห่างออกไปเพียง 19 ไมล์
เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ดูเหมือนว่าสตาลินจะประสบความล้มเหลวในการบรรลุปัจจัยแรกของการโจมตีสวนกลับ นั่นคือ ข่าวกรอง เขามีข่าวกรอง แต่ล้มเหลวที่จะนำออกมาใช้
แต่อาจมีข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่งที่ทำให้สตาลินไม่อาจปฏิบัติการตอบสนองได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอีกปัจจัยหนึ่งของการโจมตีสวนกลับ กองกำลังเปรียบเทียบ
ในช่วงทศวรรษ 1930 สตาลินได้มีการกวาดล้างครั้งใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงกองทัพแดงด้วย
ดังนั้น ก่อนหน้าที่เขาจะต่อกรกับฮิตเลอร์ เขาจะต้องสร้างกองทัพขึ้นมาใหม่เสียก่อน
แม้กระทั่งขณะที่สตาลินมองดูการเดินสวนสนาม ณ จัตุรัสแดง ในปี 1941 เขาก็ยังคงทำเช่นนั้นอยู่
ภัยคุกคามจากเยอรมนีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เขาไม่สามารถโจมตีก่อนได้ และเขาก็กังวลว่าการเคลื่อนพลของเขาไปประชิดชายแดนโซเวียตอาจทำให้ฮิตเลอร์หาข้ออ้างในการรุกรานดังกล่าวได้
ตลอดเวลาดังกล่าว สตาลินจึงพยายามชูกิ่งมะกอกให้ฮิตเลอร์ เพื่อพยายามยืดเวลาการทำสงครามออกไป
แต่อีกเหตุผลหนึ่งสำหรับยุทธวิธียืดเยื้อของสตาลิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับกองกำลังเปรียบเทียบ
ณ จุดปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1939 ทั้งฮิตเลอร์และสตาลินต่างก็กลัวการทำสงครามสองด้าน
สำหรับกรณีของฮิตเลอร์ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษทางตะวันตก และสหภาพโซเวียตทางตะวันออก
สำหรับสตาลิน คือ เยอรมนีทางตะวันตก และญี่ปุ่นทางตะวันออก
สตาลินไม่อาจดึงกองกำลังทั้งหมดมาใช้ต่อกรกับปฏิบัติการบาร์บารอสซาได้ เนื่องจากเขาจำเป็นต้องเก็บรักษากำลังส่วนหนึ่งไว้เตรียมรับมือกับญี่ปุ่นทางด้านตะวันออก
ในช่วงเวลาที่กองทัพแพนเซอร์เคลื่อนทัพลึกเข้าไปยังสหภาพโซเวียตเรื่อย ๆ สตาลินกำลังเล่นเกมอะไรอยู่
นักวางแผนยุทธการทางทหารระบุว่าการโจมตีสวนกลับแบ่งออกเป็นสามประเภท
1. โอกาสที่ไม่คาดฝัน การหยิบฉวยเอาโอกาสที่ไม่คาดฝันและโจมตีสวนกลับในช่วงเวลาที่สำคัญระหว่างการรบ
2. ปฏิกิริยาที่วางแผนไว้ แผนยุทธการที่คำนวณแล้วอย่างระมัดระวัง เมื่อการรุกของข้าศึกดำเนินไป และกระบวนการรบของข้าศึกสามารถประเมินได้
3. แผนยุทธการทั้งหมด จากรากฐานของแผนยุทธการทั้งหมด เมื่อมีการคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าและมีการวางแผนเผื่อเอาไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่พิจารณาว่าต่อสู้เพื่อป้องกันบ้านเกิดของตน อย่างเช่น สหภาพโซเวียตในปี 1941 นั่นเอง
นักวิเคราะห์ทางการทหารสรุปว่าสตาลินใช้ยุทธวิธีตามรูปแบบที่สองของการโจมตีสวนกลับ ปฏิกิริยาที่วางแผนเอาไว้
แต่ตามการวิจัยสมัยใหม่ได้ระบุว่า สตาลินน่าจะมีโอกาสใช้รูปแบบที่สามมากกว่า คือ แผนยุทธการทั้งหมด - เมื่อมีการคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าและมีการวางแผนเผื่อเอาไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่พิจารณาว่าต่อสู้เพื่อป้องกันบ้านเกิดของตน
จนกระทั่งถึงขณะนี้ กองทัพแดงก็ยังคงอ่อนแอจากการกวาดล้างของเขา
ภัยคุกคามจากญี่ปุ่นยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง
สตาลินไม่อาจชิงโจมตีตัดหน้าได้
และแม้กระทั่งขณะที่ปฏิบัติการบาร์บารอสซาดำเนินไป เขาก็ยังไม่สามารถโจมตีสวนกลับได้
ดังนั้น สตาลินจึงได้ตัดสินใจอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการตัดสินใจอันเลือดเย็นและเหี้ยมโหด โดยการเสียสละกองทัพโซเวียตบางส่วนป้องกันแนวชายแดนทางด้านตะวันตก เพื่อชะลอการบุกของเยอรมัน และค่อย ๆ บั่นทอนกำลังของกองทัพนาซีทีละน้อย
แผนการของโซเวียต คือ ล่าถอยข้ามทุ่งหญ้าทางตะวันตก เสียสละกองทัพมากขึ้น และการล่อศัตรูไปยังที่ต่าง ๆ ได้เป็นการบั่นทอนกำลังของศัตรูอย่างมาก
แผนการของเยอรมนีในปฏิบัติการบาร์บารอสซา คือ การรุกอย่างรวดเร็ว และเพื่อทำลายกองทัพแดงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อนที่จะถึงกรุงมอสโก
อย่างไรก็ตาม กองทัพแดงได้พยายามหลีกเลี่ยงการรับกำปั้นของข้าศึก โดยการสงวนกำลังบางส่วนไว้สำหรับการป้องกันกรุงมอสโก
และเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้ามาเรื่อย ๆ กองทัพโซเวียตเองก็เตรียมพร้อมสำหรับการป้องกันกรุงมอสโก เพื่อชกกลับ
และเมื่อฤดูหนาวย่างเข้ามา ประวัติศาสตร์ก็จะซ้ำรอยเดิมกับความพ่ายแพ้ของนโปเลียน เมื่อ 130 ปีก่อนหน้า
ดังนั้น ในปี 1941 ยุทธศาสตร์ของโซเวียตคือ การถอนกำลัง จากนั้นจึงดำเนินจากโจมตีสวนกลับ
เดือนธันวาคม 1941
กองทัพเยอรมันพยายามเฮือกสุดท้ายในการยึดกรุงมอสโก
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปฏิบัติการบาร์บารอสซาของฮิตเลอร์ได้แผ่ขยายไปทั่วแคว้นทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต แต่สตาลินยังคงหวาดกลัวญี่ปุ่นทางด้านตะวันตก
แต่สมดุลแห่ง “กองกำลังเปรียบเทียบ” กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุที่สำคัญอันหนึ่ง เนื่องจากว่า ปฏิบัติการบาร์บารอสซามีหลายวัตถุประสงค์
จุดเปลี่ยนที่สำคัญของปฏิบัติการบาร์บารอสซา คือ การตัดสินใจต้องเลือกระหว่างมุ่งหน้าไปยังกรุงมอสโก หรือมุ่งหน้าไปยังแหล่งน้ำมันทางตอนใต้ แต่ว่ากองทัพเยอรมันกลับแบ่งกองทัพออกเป็นสองส่วน ซึ่งต้องบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กัน นับเป็นความผิดพลาดที่เยอรมนีไม่อาจแก้คืนได้
เมื่อกองทัพเยอรมันรุดหน้า ก็จะยิ่งอ่อนแอลงทุกขณะ
แต่ทางด้านกองทัพโซเวียตกลับตรงกันข้าม เพราะพวกเขามีดินแดนอันกว้างใหญ่ ทรัพยากรมากมาย ถึงแม้ว่าจะสูญเสียดินแดนไปมากก็ตาม
ดังนั้น เมื่อฤดูหนาวมาถึง กองทัพเยอรมันหน้ากรุงมอสโกจึงอ่อนแอลงอย่างมาก
แต่ภัยจากทางด้านญี่ปุ่นเล่า
ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เองที่ซอร์กาได้ส่งข่าวกรองให้แก่สตาลิน ซึ่งเขารอคอย
ญี่ปุ่นจะเข้าสู่สงครามอย่างแน่นอน แต่จะขยายตัวไปทางด้านตะวันออกและใต้ ไม่ใช่ตะวันตกและเหนือ
สตาลินจึงสามารถจัดการกับฮิตเลอร์ได้อย่างเต็มที่
เขาได้สั่งเคลื่อนย้ายกองทหาร 40 กองพลมาจากแนวรบไซบีเรียและตะวันออกไกลเพื่อเตรียมตัวตามแผนการโจมตีสวนกลับ
เขาได้บรรลุปัจจัยแห่งข่าวกรองและกองกำลังเปรียบเทียบเรียบร้อยแล้ว
ดังนั้นจึงถึงคราวของปัจจัยต่อไปสำหรับการโจมตีสวนกลับ การกะเวลาและการจู่โจมเฉียบพลัน
และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สถานการณ์รบ ณ เทนเนนเบิร์กสามารถใช้ได้ดีกับสถานการณ์เช่นนี้
ยุทธการแห่งเทนเนนเบิร์ก
เมื่อนายพลพอล ฟอน ฮินเดนเบิร์กและอิริช ลูเดนดอร์ฟได้สบโอกาสในการทำลายกองทัพใต้ของรัสเซีย พวกเขาจึงเคลื่อนพลอย่างรวดเร็ว
และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่สถานการณ์รบ ณ เทนเนนเบิร์กสามารถใช้ได้ดีกับสถานการณ์เช่นนี้
ยุทธการแห่งเทนเนนเบิร์ก
เมื่อนายพลพอล ฟอน ฮินเดนเบิร์กและอิริช ลูเดนดอร์ฟได้สบโอกาสในการทำลายกองทัพใต้ของรัสเซีย พวกเขาจึงเคลื่อนพลอย่างรวดเร็ว
เมื่อกองทัพน้อยได้ถูกส่งไปทางใต้ของรางรถไฟ และเข้าประจำตำแหน่งทางปีกด้านตะวันตกของกองทัพรัสเซีย และกองทัพน้อยอีกส่วนหนึ่งถูกส่งไปทางตะวันออกฉเฉียงเหนือของกองทัพรัสเซีย ซึ่งกองทัพรัสเซียไม่ได้ระวังตัวต่อการเคลื่อนไหวของกองทัพเยอรมันเลยแม้แต่น้อย
ทันใดนั้นเอง กองทัพเยอรมันจึงลงมือ
กองทัพส่วนหนึ่งได้โจมตีผ่านแนวหลังของกองทัพรัสเซีย และอีกส่วนหนึ่งโจมตีลงมาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเชื่อมกับกองทัพอีกกลุ่มหนึ่ง พร้อมกับบีบให้กองทัพรัสเซียต้องถอยร่น
ทหารรัสเซียได้รับความสูญเสียกว่า 300,000 นาย และถูกจับเป็นเชลยอีกกว่า 90,000 นาย
ทหารรัสเซียได้รับความสูญเสียกว่า 300,000 นาย และถูกจับเป็นเชลยอีกกว่า 90,000 นาย
ภัยคุกคามที่มีต่อเยอรมนีทางด้านตะวันออกจึงยุติลง
กลับมาสู่ปี 1941
กองทัพโซเวียตได้ล่าถอยเพื่อล่อให้กองทัพเยอรมันเดินเข้ามาติดกับ ถึงแม้ว่ากองทัพเยอรมันจะอยู่ห่างจากกรุงมอสโกเพียง 19 ไมล์ แต่ฤดูหนาวของโซเวียตก็ใกล้เข้ามา
กองทัพเยอรมันหยุดชะงักเนื่องจากรถถังและอาวุธได้รับความเสียหาย
แต่ทางด้านกองทัพแดงกลับมีกำลังเสริมจากไซบีเรีย ยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ซึ่งรวมไปถึงรถถัง T-34 จำนวนมาก และยังมีเครื่องป้องกันอากาศหนาวพร้อมสรรพ
แต่ทางด้านกองทัพแดงกลับมีกำลังเสริมจากไซบีเรีย ยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ซึ่งรวมไปถึงรถถัง T-34 จำนวนมาก และยังมีเครื่องป้องกันอากาศหนาวพร้อมสรรพ
ในวันที่ 5 ธันวาคม ฮิตเลอร์ตกลงใจที่จะถอนกองทัพเยอรมันมายังแนวป้องกันที่ดีกว่า และรอคอยจนกระทั่งถึงฤดูใบไม้ผลิ
และในวันที่กองทัพเยอรมันล่าถอยนั้นเอง กองทัพโซเวียตจึงโจมตีสวนกลับ ซึ่งทำให้กองทัพเยอรมันต้องล่าถอยไปกว่า 50 ไมล์ ฮิตเลอร์สั่งให้กองทัพของเขาสู้จนตัวตาย ดีกว่าถอนกำลังออกไปมากกว่านี้
การโจมตีสวนกลับของโซเวียตประสบความสำเร็จอย่างหลักแหลมยิ่ง
สตาลินและนายพลของเขาได้บรรลุปัจจัยทุกประการเพื่อประสบความสำเร็จในการโจมตีสวนกลับ
สรุป
ข่าวกรอง - ก่อนหน้าปฏิบัติการบาร์บารอสซา สตาลินดูเหมือนจะละเลยต่อสัญญาณเตือนต่าง ๆ จากแผนการของฮิตเลอร์ แต่ทว่าเขารอคอยข่าวกรอง โดยเจ้าหน้าที่ ริชาร์ด ซอร์กา ต่างหาก
กองกำลังเปรียบเทียบ สตาลินรีรอที่จะรับมือกับปฏิบัติการบาร์บารอสซา เนื่องจากในตอนแรก ข้าศึกมีกำลังเหนือกว่าเขา
แต่เมื่อเขาโจมตีสวนกัลบ กองทัพของเขาแข็งแกร่ง ซึ่งตรงกันข้ามกับกองทัพเยอรมัน
การกะเวลาและการจู่โจมเฉียบพลัน สตาลินบรรลุปัจจัยดังกล่าวได้อย่างดียิ่ง เขารอจนกระทั่งกองทัพข้าศึกล่าถอย แล้วจึงโจมตี
ในภายภาคหน้า แผนการรบสำหรับการโจมตีสวนกลับจะเป็นอย่างไร
คำถาม คือ ใครจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นหนทางเดียวที่จะชนะสงคราม และสามารถช่วยกู้บ้านเมืองของตนได้ โดยอาศัยแผนการรบแบบการโจมตีสวนกลับ
และที่สำคัญ จะมีใครกล้าพอที่จะลงมือทำหรือเปล่า
เรียบเรียงจาก http://say2.org/battleplan-05-counterstrike/
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น