ลำดับตอนที่ #2
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : การรบแบบกองโจร (Guerilla Warfare)
การรบแบบกองโจร (Guerilla Warfare)
การรบแบบกองโจรมิใช่รูปแบบการทำการรบรูปแบบใหม่ หากแต่เป็นรากฐานของการทำสงครามในยุคปัจจุบันอย่างลึกล้ำ และเมื่อการรบแบบกองโจรกลายมาเป็นแบบแผนการรบที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อต่อกรกับกลุ่มกบฎและภัยคุกคามต่าง ๆ ซึ่งภัยคุกคามเนื่องมาจากสาเหตุสองประการข้างต้นนั้นล้วนทั้งโหดร้ายและอันตราย
การรบแบบกองโจรมิใช่รูปแบบการทำการรบรูปแบบใหม่ หากแต่เป็นรากฐานของการทำสงครามในยุคปัจจุบันอย่างลึกล้ำ และเมื่อการรบแบบกองโจรกลายมาเป็นแบบแผนการรบที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อต่อกรกับกลุ่มกบฎและภัยคุกคามต่าง ๆ ซึ่งภัยคุกคามเนื่องมาจากสาเหตุสองประการข้างต้นนั้นล้วนทั้งโหดร้ายและอันตราย
การรบแบบกองโจรเป็นหนึ่งในรูปแบบการรบที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งของโลก เนื่องจากมันเป็นการเข้าต่อสู้ระหว่างกองกำลังฝ่ายหนึ่งซึ่งอ่อนแอทางยุทธศาสตร์กว่าอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีความเข้มแข็งกว่าทางยุทธศาสตร์ โดยรูปแบบการรบส่วนใหญ่จะเป็นการลอบโจมตี ซึ่งจะอำนวยให้ฝ่ายที่อ่อนแอกว่าสามารถบรรลุชัยชนะทางทหารได้
และสงครามหลายครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ได้เสนอว่ารูปแบบการรบแบบกองโจรจะถูกใช้บ่อยครั้งในอนาคต ดังที่มันได้ถูกจารึกเอาไว้ในอดีต
องค์ประกอบ/ขั้นตอนของการรบแบบกองโจร
จุดประสงค์
ผู้บัญชาการซึ่งเริ่มต้นการรบแบบกองโจรและผู้บัญชาการที่ต่อต้านการรบแบบกองโจร จำเป็นจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเจาะจงทั้งในด้านการเมืองและการทหาร
โดยจุดประสงค์นั้นจะต้องไม่เพียงแต่มีจุดประสงค์ทางการทหารในระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงเป้าหมายทางการเมืองในระยะยาวด้วย
ผู้บัญชาการซึ่งเริ่มต้นการรบแบบกองโจรและผู้บัญชาการที่ต่อต้านการรบแบบกองโจร จำเป็นจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเจาะจงทั้งในด้านการเมืองและการทหาร
โดยจุดประสงค์นั้นจะต้องไม่เพียงแต่มีจุดประสงค์ทางการทหารในระยะสั้นเท่านั้น แต่ต้องรวมไปถึงเป้าหมายทางการเมืองในระยะยาวด้วย
การสนับสนุนของมวลชน
ผู้บัญชาการของทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับการสนับสนุนจากมวลชนในพื้นที่ที่มีการสู้รบ
การเสริมสร้าง
ทั้งสองฝ่ายจะต้องสร้างกองทัพของตน
ในกรณีของฝ่ายกบฎ กองทัพดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนด้วย กองทัพดังกล่าวจะต้องสามารถรับมือกับกองกำลังของอีกฝ่ายหนึ่งได้ หรือกองทัพดังกล่าวจะต้องสามารถชักจูงแนวคิดทางการเมืองของตนไปยังแหล่งที่อยู่อาศัยอื่น ๆ ด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นกองทัพอันยิ่งใหญ่
การล้างผลาญ
ทั้งสองฝ่ายจะต้องใช้ทฤษฎีทางการทหารของตนในการทำลายล้างกองทัพของอีกฝ่ายลง
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
ผู้บัญชาการจะต้องสามารถยกระดับจากการรบแบบกองโจร (ซึ่งเป็นโจมตีแล้วหนี) ให้กลายเป็นการรบตามแบบขนาดใหญ่
การยึดครอง
ฝ่ายกบฎจะต้องทำการยึดครองรัฐบาล และทำการยึดอำนาจ
ฝ่ายผู้ต่อต้านกบฎจะต้องหยุดยั้งการรบแบบกองโจรลง และทำการปราบปรามฝ่ายกบฎ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ฝ่ายผู้ต่อต้านกบฎจะต้องหยุดยั้งการรบแบบกองโจรลง และทำการปราบปรามฝ่ายกบฎ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สงครามเวียดนาม (1962-1975)
ประเทศเวียดนามถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้
นายพลเวียดนามเหนือ โว เหงวียน เกี๊ยบ ต้องการยุทธศาสตร์เพื่อการรวมประเทศภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์
ส่วนทางตอนใต้ นายพลชาวอเมริกัน วิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์ กำลังเผชิญกับความท้าทายในการต่อต้านนายพลเกี๊ยบและหยุดยั้งการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์
จริงอยู่ที่สหรัฐอเมริกามีเทคโนโลยีทางการทหารที่ทรงอานุภาพ และยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ อีกทั้งขีดความสามารถในการทำลายอีกฝ่ายลงได้อย่างง่ายดาย แต่ในเวียดนาม กองทัพอเมริกันจะถูกบีบทำให้ไม่สามารถทำการรบตามแบบสมัยใหม่ได้ แต่ถูกบีบบังคับให้ต้องรบตามรูปแบบโบราณซึ่งมีมาแล้วหลายพันปี
ในปี ค.ศ. 1961 คณะที่ปรึกษาทหารชาวอเมริกันชุดแรกที่ส่งไปยังเวียดนามใต้โดยประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคเนดี โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้ในความพยายามที่จะต่อต้านการแพร่ขยายของเวียดนามเหนือ
ทว่านับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 กองโจรคอมมิวนิสต์ เวียดมินห์ ได้ทำการรบเพื่อปลดแอกเวียดนามจากฝรั่งเศส โดยมีจุดประสงค์ในการขับไล่ทหารฝรั่งเศส รวมประเทศเวียดนามและจัดตั้งการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ และในปี ค.ศ. 1954 กองโจรเวียดมินห์ภายใต้การบัญชาการของนายพลโว เหงวียน เกี๊ยบได้ทำลายกองทัพฝรั่งเศสอย่างราบคาบที่ค่ายเดียนเบียนฟู
เมื่อฝรั่งเศสออกไปจากคาบสมุทรอินโดจีน สหรัฐอเมริกาก็เข้ามาสนับสนุนรัฐบาลเวียดนามใต้แทนฝรั่งเศส ซึ่งได้ขยายตัวกลายเป็นการทำสงครามอย่างรวดเร็ว
โดยสำหรับฝ่ายเวียดนามเหนือ นายพลโว เหงวียน เกี๊ยบ ศัตรูของเขาเป็นพวกใหม่ แต่จุดประสงค์ยังคงเดิม คือ ขับไล่ทหารจากต่างชาติ และรวมประเทศภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์
แต่สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับปัญหาอันยุ่งยากซับซ้อน ฝรั่งเศสไม่อาจควบคุมการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือได้ และขณะนี้กำลังขยายตัวลงไปทางใต้
สหรัฐอเมริกาไม่อาจทนความขมขื่นที่จะยอมให้เหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นได้ โดยพวกเขาได้เข้ามามีส่วนพัวพันมากขึ้นเรื่อย ๆ และในช่วงทศวรรษ 1960 สหรัฐอเมริกาก็เข้าสู่ปลักโคลนนี้อย่างเต็มตัว
แม้ว่าเหล่าที่ปรึกษาทหารชาวอเมริกันเพิ่งจะใหม่ต่อการเข้าร่วมในสงครามเวียดนาม แต่พวกเขาก็ทราบถึงรูปแบบการรบที่พวกเขาต้องเผชิญ
ในปี ค.ศ. 1964 นายพลชาวอเมริกันคนใหม่เดินทางมาถึงเวียดนาม คือ นายพลวิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์ เขามีเป้าหมายที่ชัดเจน นั่นคือ ทำลายฝ่ายกบฎลงอย่างราบคาบ โดยใช้วิธีค้นหาศัตรูแล้วสังหารด้วยยุทโธปกรณ์อันทันสมัยกว่า
ส่วนทางด้านนายพลเวียดนามเหนือ โว เหงวียน เกี๊ยบ มีเป้าหมายที่ชัดเจนเช่นกัน นั่นคือ ใช้กำลังทั้งหมดในการขับไล่ทหารอเมริกันออกไป
นอกเหนือจากนั้น ในเวียดนาม นายพลเกี๊ยบและผู้มีอำนาจทางการเมือง และนายพลเวสต์มอร์แลนด์และผู้มีอำนาจทางการเมือง ต่างก็มีวัตถุประสงค์ทางทหารของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนแล้ว
สำหรับด้านการเมือง เวียดนามเหนือมีเป้าหมายระยะยาว คือ การรวมประเทศ แต่เป้าหมายของสหรัฐอเมริกาภายหลังจากการปราบการคุกคามของภัยคอมมิวนิสต์แล้วยังคลุมเครืออยู่
เมื่อมาถึงขั้นนี้จึงจำเป็นจะต้องเข้าสู่องค์ประกอบต่อไปของการทำการรบแบบกองโจร นั่นคือ การสนับสนุนของมวลชน
ในเวียดนาม หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาพัวพันเพิ่มมากขึ้น นายพลอย่างเช่น เวสต์มอร์แลนด์ ประสบกับปัญหาอย่างหนึ่ง คือ พวกเขาไม่ได้เริ่มจากจุดเริ่มต้น แต่ประสบกับสถานการณ์ซึ่งฝรั่งเศสสมัยอาณานิคมเคยประสบมาแล้ว
แต่ทางด้านคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือได้ใช้เวลาหลายปีเพื่อชนะใจและควบคุมจิตใจของชาวเวียดนามใต้ โดยมีการปลุกระดมให้เกิดความรักชาติของชาวเวียดนาม โดยสร้างภาพว่าสหรัฐอเมริกาเป็นผู้รุกรานและสนับสนุนรัฐบาลหุ่นเชิดของตน ซึ่งทำให้ชาวเวียดนามใต้มีแนวโน้มจะถูกชักจูงโดยเงาคอมมิวนิสต์
เพื่อที่จะหักล้างแนวความคิดดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามใต้และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผู้หนุนหลังจะต้องกระทำบางสิ่งบางอย่างโดยการมอบความปลอดภัยจากการแทรกซึมของระบอบคอมมิวนิสต์ เพื่อที่พวกเขาจะแสดงให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพและจะเจริญยิ่งขึ้นไป
เพื่อที่จะหักล้างแนวความคิดดังกล่าว รัฐบาลเวียดนามใต้และรัฐบาลสหรัฐอเมริกาผู้หนุนหลังจะต้องกระทำบางสิ่งบางอย่างโดยการมอบความปลอดภัยจากการแทรกซึมของระบอบคอมมิวนิสต์ เพื่อที่พวกเขาจะแสดงให้เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยมีเสถียรภาพและจะเจริญยิ่งขึ้นไป
แต่ทหารคอมมิวนิสต์นั้นค่อนข้างจะเหี้ยมโหด และเมื่อพวกเขาสามารถยึดครองหมู่บ้านหรือพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะเกิดความหวาดกลัวตามมา ตรงจุดนี้เองที่รัฐบาลเวียดนามใต้และสหรัฐอเมริกาไม่สามารถแก้ไขได้อย่างได้ผล
อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่สหรัฐอเมริกาไม่ประสบความสำเร็จในด้านการสนับสนุนจากปวงชน นั่นคือ นายพลเวสต์มอร์แลนด์ไม่ใส่ใจถึงความจำเป็นของการสนับสนุนดังกล่าว เขาเห็นว่าปฏิบัติการทางทหารมีความสำคัญมากกว่าการเอาชนะใจมวลชน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งของการรบแบบกองโจร แต่ตรงกันข้ามกับทางด้านเวียดนามเหนือ
ในเวลาต่อมา นายพลทั้งสองฝ่ายจะต้องบรรลุขั้นตอนต่อไปของการทำการรบแบบกองโจร นั่นคือ การเสริมสร้าง
นายพลเกี๊ยบมีกองกำลังสองแบบในการทำการรบกับสหรัฐอเมริกา โดยมี กองกำลังปกติ คือ กองทัพเวียดนามเหนือ ซึ่งเขาได้ส่งกองกำลังแทรกซึมเข้าไปทางใต้ และกองโจรเวียดกง ซึ่งเป็นทหารเกณฑ์มาจากเวียดนามใต้
ระหว่างที่ได้มีการเสริมสร้างกองกำลังทั้งสอง เวียดนามเหนือยังได้ประโยชน์จากการถอนตัวของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการสร้างความเสียหายให้กับสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้ในขณะเดียวกัน ระหว่างการสู้รบทางการเมืองเพื่อชิงเอาการสนับสนุนจากปวงชนกำลังดำเนินไป
ในช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสถอนตัวออกจากเวียดนามกับช่วงที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาพัวพันอย่างเต็มตัว เวียดนามเหนือได้เพิ่มการแทรกซึมระบอบคอมมิวนิสต์ไปทั่วประเทศ ดังนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาใช้กำลังเข้าปราบปราม พวกเขาก็ได้ต่อสู้กับทหารกว่าหมื่นคนซึ่งเพิ่งจะถูกชักจูงไปในทางคอมมิวนิสต์ ความได้เปรียบทางการทหารดังกล่าวทำให้นายพลเกี๊ยบสามารถสนับสนุนแนวทางทางการเมืองได้
เวียดนามเหนือได้ส่งนักปรัชญา ซึ่งได้ขยายแนวความคิดดังกล่าวไปยังหมู่บ้านและเมืองอื่นต่อ ๆ กันไป พวกเขานั้นได้เป็นส่วนที่ละเอียดอ่อนสำหรับคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก อันเป็นผลให้การเสริมสร้างกองทัพของเวียดนามเหนือประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ส่วนทางด้านนายพลเวสต์มอร์แลนด์เองก็มีกองทัพอยู่สองกองทัพเช่นกัน นั่นคือ กองทัพอเมริกันและกองทัพเวียดนามใต้ เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1966 กองบัญชาการของเวสต์มอร์แลนด์ได้ให้กองทัพดังกล่าวมีการดำเนินการออกเป็นสองทาง คือ
กองทัพอเมริกันจะมอบโล่กำบังเบื้องหลังกองทัพเวียดนามใต้ในการผนึกกำลังกันมอบความมั่นคงให้กับพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อจะได้รับการสนับสนุนจากมวลชน
กำลังผสมดังกล่าว ประกอบด้วยยุทโธปกรณ์อันทันสมัยของสหรัฐอเมริกา และการมอบความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในถิ่นชนบท ว่าจะสามารถหยุดยั้งภัยคอมมิวนิสต์ได้ เช่นเดียวกับเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลเวียดนามใต้ในสายตาประชาชนด้วยเช่นกัน
ในการตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ของนายพลเวสต์มอร์แลนด์ เขาจำเป็นจะต้องรับมือกับกองกำลังทั้งสองประเภทของนายพลเกี๊ยบ ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้
ในทางหนึ่ง พวกเขาจะต้องรับมือกับการรบตามแบบกับกองทัพเวียดนามเหนือ และอีกทางหนึ่ง พวกเขาจะต้องต่อต้านการรบแบบกองโจรของเวียดกง
เวสต์มอร์แลนด์มีทางเลือกรูปแบบการรบเพื่อจะต่อกรอยู่สามแบบ คือ
1. การรบตามแบบ
2. การต่อต้านการรบแบบกองโจร
3. รูปแบบสมดุลระหว่างทั้งสอง
ซึ่งจากความเชื่อที่ว่ากองทัพเวียดนามเหนือเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ ดังนั้น เขาจึงได้เลือกยุทธวิธีการรบตามแบบ ซึ่งทำให้ยุทโธปกรณ์และทรัพยากรในการต่อต้านการรบแบบกองโจรนั้นไม่เพียงพอ และสหรัฐฮเมริกายังได้ส่งกองกำลังทหารของตนเข้าไปเพิ่มในเวียดนามใต้อย่างมาก (จาก 2,000 นายในปี 1962 เป็น 500,000 นายในปี 1969)
สหรัฐอเมริกาคงกองกำลังทั้งหมดนี้ในเวียดนามใต้ ในพื้นที่ซึ่งมีความจำเป็นต้องเรียกใช้ และเมื่อการรบเป็นไปอย่างโหดร้ายมากกว่าการสนับสนุนจากปวงชน ซึ่งวิธีการของกองทัพอเมริกันได้เลือกที่จะปฏิบัติ โดยการใช้ความรุนแรงทางทหาร
ดังนั้น วิธีการของเวสต์มอร์แลนด์ในเวียดนาม จึงเหมือนกับการรบตามแบบ มิใช่การต่อต้านการรบแบบกองโจร
เมื่อถึงขั้นตอนดังกล่าว ทั้งนายพลเกี๊ยบและนายพลเวสต์มอร์แลนด์จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป นั่นคือ การกวาดล้างกองกำลังของอีกฝ่าย ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็ให้ความหมายที่แตกต่างกัน
สำหรับ นายพลเกี๊ยบ คือ การกระทำเพื่อแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่สามารถเอาชนะตนได้ และหว่านล้อมให้เชื่อว่าสหรัฐอเมริกาควรจะออกจากปลักโคลนนี้
สำหรับนายพลเวสต์มอร์แลนด์ คือ การทำลายล้างอีกฝ่ายลงทางกายภาพ โดยเชื่อว่าจะเอาชนะอีกฝ่ายลงได้โดยการสังหารทหารฝ่ายตรงข้ามจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นอกจากนั้น เมื่อต้องเผชิญกับกองทัพทั้งสองแบบของนายพลเกี๊ยบ กองทัพของเวสต์มอร์แลนด์จึงประสบกับปัญหาอีกอย่าง นั่นคือ กองทัพของเขาจำเป็นต้องบังคับให้กองโจรออกมาจากป่า แต่สภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยต่อการรบของทหารอเมริกันมากนัก เมื่ออยู่ในภูมิประเทศซึ่งไม่เป็นมิตร จึงมักจะถูกลอบโจมตีบ่อย ๆ
ยุทธวิธีของนายพลเกี๊ยบดูเหมือนว่าจะประสบความสำเร็จ ทว่าเขาก็ได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่ในปี ค.ศ.1965
เมื่อถึงจุดนี้ ทั้งสองฝ่ายจำเป็นจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปของการรบแบบกองโจร นั่นคือ การเปลี่ยนจากการรบแบบกองโจรมาเป็นการรบตามแบบ
ในปี 1965 นายพลเกี๊ยบตัดสินใจที่จะเปลี่ยนจากการรบแบบกองโจรไปเป็นการรบตามแบบ โดยมีเป้าหมายที่จะรับมือกับกองทัพอเมริกันและเวียดนามใต้ในรูปแบบของการรบตามแบบ และพยายามทำลายรัฐบาลเวียดนามใต้อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้กองทัพของเขาเป็นเป้าอย่างง่ายดายสำหรับยุทโธปกรณ์อันทันสมัยกว่าของกองทัพอเมริกัน
ในช่วงปี 1965-1966 เป็นช่วงที่กองทัพอเมริกันสามารถสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับกองโจรของนายพลเกี๊ยบ เขากำลังจะแพ้
ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนยุทธวิธีอีกครั้งหนึ่ง โดยการนำมิติการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทัพของเขา โดยการนำสงครามเวียดนามเข้าไปยังบ้านของชาวอเมริกัน
ในวันตรุษญวน เขาได้ส่งกองกำลังเวียดนามเหนือเข้าไปยัง 36 หัวเมืองของเวียดนามใต้ทั่วประเทศ ซึ่งเคยคาดกันว่าอยู่นอกเหนือระยะทำการรบของเวียดนามเหนือ กองทัพดังกล่าวรบแบบฆ่าตัวตาย โดยไม่มีอาวุธหนัก และต้องเผชิญหน้ากับศัตรูที่เหนือกว่า
แต่สถานการณ์กลับดูเหมือนว่า กองทัพเวียดนามเหนือกำลังอาละวาดไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
แต่สถานการณ์กลับดูเหมือนว่า กองทัพเวียดนามเหนือกำลังอาละวาดไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
กองทัพของนายพลเกี๊ยบเสียหายอย่างหนักก็จริง แต่ข่าวทางโทรทัศน์ได้ประโคมข่าวการรุกดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา และได้มีการเดินขบวนต่อต้านสงครามเวียดนาม
นายพลเกี๊ยบอาจจะแพ้ในการรบทางทหาร แต่เขาจะชนะในทางการเมือง
สหรัฐอเมริกาได้วางแผนจะถอนตัวออกจากเวียดนามใต้ โดยมีปัจจัยทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ คือ วิกฤตการณ์น้ำมันในช่วงนั้น และความเป็นไปของสงครามเย็นที่ยังคงตึงเครียด แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ การเดินขบวนต่อต้านสงคราม ดังนั้น การตัดสินใจดังกล่าวถือว่าเป็นการตัดสินใจทางการเมืองมากกว่าทางทหาร
สหรัฐอเมริกาต้องการออกจากสงคราม
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 1969 กองกำลังภาคพื้นของอเมริกันเริ่มถอนกำลังออกมา และส่วนมากถอนกำลังออกมาภายในสองปี
หลังจากนั้น ในเดือนมีนาคม 1972 เวียดนามเหนือเริ่มปฏิบัติการรุกทั่วประเทศอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะได้รับการต่อต้านจากกองทัพเวียดนามใต้ ซึ่งได้รับกำลังสนับสนุนทางอากาศจากสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากเวียดนามใต้อย่างสมบูรณ์ในปี 1973
หลังจากนั้น ในวันที่ 30 เมษายน 1975 รถถังเวียดนามเหนือเป็นหัวหอกในการยึดกรุงไซ่ง่อน
เวียดนามเหนือประสบความสำเร็จในขั้นตอนสุดท้ายของการรบแบบกองโจร นั่นคือ การยึดครองอำนาจ
สรุป
จุดประสงค์
นายพลเกี๊ยบมีจุดประสงค์ที่ชัดเจน - รวมประเทศภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์
นายพลเวสต์มอร์แลนด์มีจุดประสงค์ทางทหารที่ชัดเจน - หยุดยั้งการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ไม่มีจุดประสงค์ทางการเมืองที่ชัดเจน
การสนับสนุนจากมวลชน
นายพลเกี๊ยบสร้างระบบที่จะเอาชนะใจชาวเวียดนามใต้
นายพลเวสต์มอร์แลนด์เอาใจใส่ในเรื่องนี้น้อยกว่า แต่พิจารณาว่าทฤษฎีการรบตามแบบจะสามารถเอาชนะใจประชาชนได้
การเสริมสร้างกำลังทหาร
นายพลเกี๊ยบมีกองทัพสองแบบ คือ กองทัพเวียดนามเหนือและกองโจรชาวเวียดนามใต้
นายพลเวสต์มอร์แลนด์มีกองทัพอเมริกันและกองทัพเวียดนามใต้
การล้างผลาญ
นายพลเกี๊ยบวางแผนที่จะเอาชนะพวกอเมริกันโดยการบีบบังคับให้ทหารอเมริกันถอนตัวออกไปเอง
ส่วนนายพลเวสต์มอร์แลนด์วางแผนที่จะสังหารทหารเวียดนามเหนือและเวียดกงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
นายพลเกี๊ยบเกือบจะแพ้สงครามเนื่องจากเขาเปลี่ยนมาเป็นการรบตามแบบเร็วเกินไป แต่หลังจากทหารอเมริกันเริ่มถอนตัวออกไป การรุกของเวียดนามเหนือก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กองทัพเวียดนามใต้ไม่อาจตั้งรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การยึดครอง
ส่วนนายพลเวสต์มอร์แลนด์วางแผนที่จะสังหารทหารเวียดนามเหนือและเวียดกงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
นายพลเกี๊ยบเกือบจะแพ้สงครามเนื่องจากเขาเปลี่ยนมาเป็นการรบตามแบบเร็วเกินไป แต่หลังจากทหารอเมริกันเริ่มถอนตัวออกไป การรุกของเวียดนามเหนือก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กองทัพเวียดนามใต้ไม่อาจตั้งรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การยึดครอง
ประเทศเวียดนามถูกรวมเข้าด้วยกันอีกครั้ง ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์
----------------------------
การรบแบบกองโจรเป็นรูปแบบที่พบกันอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และคาดว่าจะดำเนินต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21
----------------------------
การรบแบบกองโจรเป็นรูปแบบที่พบกันอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 และคาดว่าจะดำเนินต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 21
ตราบเท่าที่มีการต่อสู้ระหว่างฝ่ายหนึ่งซึ่งมีความอ่อนแอทางยุทธศาสตร์กว่าอีกฝ่ายหนึ่ง การรบแบบกองโจรก็จะยังคงดำเนินอยู่ต่อไป โดยคำนึงถึงเป้าหมายทางการเมืองของการแทรกซึมอีกฝ่ายมากกว่าการรุกรานทางทหาร
การรบแบบกองโจรถือว่าเป็นรูปแบบที่เป็นรากฐานของการสู้รบอีกหลายอย่าง
ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะเข้าสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีแล้ว แต่ทว่าความสำคัญของความสามารถของปัจเจกชนกลับมีความสำคัญมากกว่ายุทโธปกรณ์สมัยใหม่อันเลิศหรู
การรบแบบกองโจรจะเป็นการทำให้ดาวิดสามารถเอาชนะโกไลแอธ
จากเหตุผลดังกล่าว มันจะยังคงใช้การได้ต่อไป
และด้วยเหตุผลนี้เอง มันจะอยู่กับเราต่อไปตราบนานเท่านาน
เรียบเรียงจาก http://say2.org/battleplan-12-guerilla-warfare
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น