ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : การชิงโจมตีตัดหน้า (Pre-emtive strike)
การชิงโจมตีตัดหน้า การโจมตีโดยไม่ทันให้ศัตรูรู้ตัว ถือเป็นความปรารถนาอย่างยิ่งของผู้บัญชาการทหารทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขณะที่เขากำลังเผชิญกับกองกำลังที่แข็งแกร่งกว่าตนมากนัก
หากประสบความสำเร็จ กองกำลังที่มีขนาดเล็กกว่าอาจได้รับชัยชนะในฉับพลัน
แต่ถ้าหากประสบความล้มเหลว สถานการณ์จากการเป็นฝ่ายโจมตี จะกลับอยู่ในห้วงฝันร้ายของความพ่ายแพ้
ปัจจัยสำหรับการชิงโจมตีตัดหน้า
วัตถุประสงค์ที่สามารถบรรลุได้
ผู้นำทางการเมืองจะต้องรู้ว่าตัวเองต้องการบรรลุเป้าหมายอะไรในการโจมตคดังกล่าว และผู้บัญชาการทางทหารจำเป็นต้องคัดเลือกเป้าหมายเพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว
วิธีการ
ผู้บัญชาการจำเป็นจะต้องเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสม และใช้เทคโนโลยีและอาวุธที่สามารถปรับใช้ด้วยกันได้
ข่าวกรอง
ผู้บัญชาการจำเป็นต้องระบบข่าวกรอง เพื่อเสาะหาข้อมูลที่สำคัญและทันสมัยในเป้าหมายของตน
เพื่อตอบคำถามว่า
1. เป้าหมายอยู่ที่ไหน
2. อะไรที่มีความสำคัญ อะไรที่ไม่มี
1. เป้าหมายอยู่ที่ไหน
2. อะไรที่มีความสำคัญ อะไรที่ไม่มี
การแสวงหาข่าวกรองที่แม่นยำเป็นสิ่งสำคัญในปฏิบัติการทางทหารทุกประเภท แต่ไม่อาจเทียบกันได้กับการชิงโจมตีตัดหน้า
ผู้บัญชาการจำเป็นจะต้องรู้ว่าเขากำลังโจมตีอะไร
ในการชิงโจมตีตัดหน้า กองทัพของเขาจะต้องไม่พบกับการป้องกันของศัตรู
ในกองทัพที่โจมตีนั้น ไม่สามารถที่จะมีกองกำลังลาดตระเวนได้
ดังนั้น ก่อนการโจมตีดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องรู้เป้าหมายในการโจมตีล่วงหน้าเสมอ
ในกองทัพที่โจมตีนั้น ไม่สามารถที่จะมีกองกำลังลาดตระเวนได้
ดังนั้น ก่อนการโจมตีดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องรู้เป้าหมายในการโจมตีล่วงหน้าเสมอ
ความปลอดภัย
เมื่อเป้าหมายรู้ตัวว่าตนกำลังจะถูกโจมตีก่อน อาจส่งผลให้มีการโจมตีสวนกลับ หรือแม้กระทั่งโจมตีก่อนเองเลยก็ได้
การโจมตี
การโจมตีจำเป็นจะต้องหนัก ไวและลึก
และเมื่อแผนการกำหนดให้มีการโจมตีจากหลายทิศทาง การโจมตีเหล่านั้นต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน
ยุทธศาสตร์ทางออก
นักวางแผนจะต้องมีความคิดที่จะยุติความเป็นอริทั้งทางการเมืองและทางการทหาร เพราะจะไม่สามารถลองผิดลองถูกได้อย่างเด็ดขาด
ผู้บัญชาการจำเป็นจะต้องรับรู้ถึงวัตถุประสงค์ได้อย่างชัดเจน และประโยชน์ของรัฐ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สงครามหกวัน (1967)
สงครามหกวัน (1967)
อิสราเอล มิถุนายน 1967
อิสราเอลมีความกลัวต่อรัฐเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่ในภาวะความขัดแย้งนับตั้งแต่การก่อตั้งอิสราเอลในปี 1948
โดยได้รับข่าวกรองมาจากสหภาพโซเวียต ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ กามัล นัซเซอร์ ได้ส่งกองกำลังสองกองพลข้ามคลองซุเอส และสร้างฐานกำลังของตนในคาบสมุทรไซนาย
ทางด้านอิสราเอล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โมเช ดาแยน เริ่มต้นการระดมพล
อิสราเอลยังหวาดกลัวสงครามจากทั้งซีเรียและจอร์แดน อิสราเอลรู้สึกว่าตนมีความด้อยกว่าเป็นอย่างมาก
สงครามกำลังปะทุขึ้นในตะวันออกกลาง
คำตอบของดาแยน คือ การชิงโจมตีตัดหน้า หมายถึง การโจมตีศัตรูก่อนที่ศัตรูจะหันมาเล่นงานก่อน
การชิงโจมตีตัดหน้าถูกใช้ในการทัพทางทหารอยู่บ่อย ๆ
เป็นการจับเหยื่ออย่างใจเย็น และการได้รับชัยชนะทั้งทางการเมืองและการทหารอย่างคาดไม่ถึง จากการที่ส่วนซึ่งศัตรูอาจได้บรรลุเมื่อศัตรูเริ่มต้นการโจมตีก่อน
ดาแยนทราบถึงแผนการชิงโจมตีตัดหน้า ซึ่งมีผลกระทบสำคัญยิ่งต่อการวางแผนการทัพอันสำคัญ ในสงครามโลกทั้งสองครั้งในคตวรรษที่ 20
ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เยอรมนีเกรงว่าจะเกิดสงครามสองแนวรบ ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสทางตะวันตก และรัสเซียทางตัวีนออก
แผนการชลีฟเฟนได้รับการวางแผนเอาไว้สำหรับเตรียมโจมตีตัดหน้าต่อฝรั่งเศส จากนั้น กองทัพเยอรมันจะถูกส่งตัวไปทำการรบในแนวรบด้านตะวันออก แต่แผนการดังกล่าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากกองทัพเยอรมันถูกหยุดยั้งไว้ก่อนที่จะสามารถยึดกรุงปารีส และกลายมาเป็นศึกยืดเยื้อเมื่อเผชิญรูปแบบการรบแบบสนามเพลาะ
ในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีเผชิญกับความกลัวการทำสงครามสองแนวรบอีกครั้งหนึ่ง
ในเดือนมิถุนายน 1941 หลังจากได้รับชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว ฮิตเลอร์ได้เริ่มปฏิบัติการบาร์บารอสซา การโจมตีตัดหน้าต่อสหภาพโซเวียตทางตะวันออก ในช่วงแรก ปฏิบัติการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง แต่เมื่อฤดูหนาวย่างเข้ามา และความลังเลของฮิตเลอร์ที่จะกำหนดเป้าหมายของตน
แต่ในทศวรรษ 1960 ตะวันออกกลางมิใช่แค่เพียงสนามรบระหว่างอิสราเอลกับประเทศเพื่อนบ้านของตนเท่านั้น แต่ยังเป็นสนามหมากรุกระหว่างประเทศมหาอำนาจ
ตอนต้นปี 1967 อิสราเอลเชื่อว่าสงครามยังคงอยู่ห่างไกลมากนัก
แต่เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคม มอสโกได้เริ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองของตน
เอกอัครราชทูตโซเวียตประจำกรุงไคโร รายงานแก่ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ กามัล นัซเซอร์ ว่าอิสราเอลจัดวางกำลัง 10 กองพลน้อยชิดกับชายแดนซีเรีย ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ถึงแม้ว่าสาเหตุของการเล่าข่าวเท็จนั้นจะยังไม่ได้รับคำอธิบาย แต่นัสเซอร์ได้ส่งกำลังพลสองกองพลข้ามคลองซุเอซ ไปประจำยังคาบสมุทรไซนาย
อิสราเอลจึงเตรียมการป้องกันประเทศ
ทั้งสองฝ่ายยืนยันว่าอิสราเอลไม่ได้ส่งกองกำลัง 10 กองพลน้อยไปยังชายแดนที่ติดกับซีเรีย และรายงานของโซเวียตนั้นปราศจากหลักฐาน
แต่นัซเซอร์ได้ทวีความตึงเครียดในการปิดช่องแคบแห่งทิราน ซึ่งอิสราเอลมองว่าเป็นส่วนที่เชื่อมโยงตนกับโลกภายนอก
สำหรับนายพลโมเช ดาแยน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเมื่อกลางเดือนพฤษภาคม ระหว่างวิกฤตการณ์ดังกล่าว แต่ยังไม่มีการอภิปรายกันในด้านปฏิกิริยาตอบรับต่อการกระทำดังกล่าว
หลักการหลักของกองกำลังป้องกันอิสราเอล ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการชิงโจมตีตัดหน้าทางอากาศ และย้ายสนามรบเข้าไปยังพื้นที่ของศัตรู โดยการรบแบบสายฟ้าฟาดไปยังคาบสมุทรไซนาย
ในปี 1967 อิสราเอลเป็นดินแดนขนาดเล็ก ล้อมรอบไปด้วยประเทศศัตรู และการป้องกันประเทศนั้นถือว่าอยู่ในสภาวะล่อแหลม
การชิงโจมตีตัดหน้าต่ออียิปต์ เป็นการทำให้อียิปต์มีความเหนือกว่าทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่มันจำเป็นจะต้องเป็นเป้าหมายอันสามารถบรรลุได้
อิสราเอลไม่ได้เพียงสู้รบบนแนวรบด้านเดียว แต่ต้องต่อกรกับอียิปต์ จอร์แดนและซีเรีย
กองกำลังอิสราเอลจำเป็นต้องจัดวางกำลังเพียงรับมือกับภัยคุกคามจากทุกด้าน
ดังนั้น นายพลดาแยนจึงมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
อิสราเอลรู้ถึงข้อจำกัดของขอบเขตของตน ดังนั้น กองทัพอิสราเอลจึงไม่สามารถเพิ่มขอบเขตของสงครามจากแผนการโจมตีตัดหน้า พวกเขาไม่พยายามที่จะทำลายกองทัพอียิปต์ทั้งหมด เพียงแค่ป้องกันกองทัพอียิปต์และกองทัพซีเรีย ทำลายแผนการของศัตรูให้สิ้น
ทว่าในด้านมิติของการเมืองในตะวันออกกลาง การชิงโจมตีตัดหน้ายังสามารถเป็นทางเลือกของศัตรูของอิสราเอลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อียิปต์
แต่ทั้งสองฝ่ายจำเป็นจะต้องได้รับการยินยอมสนับสนุนอย่างเงียบ ๆ จากมหาอำนาจซึ่งหนุนหลังตนอยู่ ในกรณีของอิสราเอล คือ กรุงวอชิงตัน และในกรณีของอียิปต์ คือ กรุงมอสโก
ถึงแม้ว่าสหภาพโซเวียตจะมีบทบาทเกือบทั้งหมดในการยกระดับของสงคราม ในวันที่ 25 พฤษภาคม 11 วันก่อนหน้าสงครามจะเริ่มต้น มอสโกได้แจ้งว่าการกระทำดังกล่าวไม่ได้รับความยินยอม
อิสราเอลเองก็หันไปหาพันธมิตรของตน สหรัฐอเมริกา
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ลินดอน จอห์นสัน เตือนอิสราเอลถึงการลงมือปฏิบัติการทางทหาร
แต่ในการประชุมหลายครั้งซึ่งจัดขึ้นในกรุงวอชิงตัน มีร์ อมิต หัวหน้าของหน่วยมอสสาด อันเป็นหน่วยข่าวกรองของอิสราเอล กล่าวว่าตนจะเตรียมการชิงโจมตีตัดหน้าอยู่แล้ว ซึ่งหมายความว่า อิสราเอลรอเพียงแค่ไฟเขียวเท่านั้น
ดังนั้น ในปี 1967 ดาแยนมีแผนการรบสำหรับการชิงโจมตีตัดหน้า
เขาจำเป็นจะต้องบรรลุปัจจัยที่สองในการชิงโจมตีตัดหน้า คือ วิธีการที่เหมาะสม
กองทัพอิสราเอลในปี 1967 มีกำลังด้อยกว่าฝ่ายศัตรูเป็นอย่างมาก
อิสราเอลมี 10 กองพลน้อยยานเกราะ ส่วนฝ่ายอาหรับมี 18
อิสราเอลมีรถถัง 1,300 คัน ส่วนฝ่ายอาหรับมี 2,500 คัน
อิสราเอลมีปืนใหญ่ 746 กระบอก ส่วนฝ่ายอาหรับมี 2,780 กระบอก
และอิสราเอลมีเครื่องบินขับไล่เจ็ต 247 ลำ ส่วนฝ่ายอาหรับมี 557 ลำ
อิสราเอลมี 10 กองพลน้อยยานเกราะ ส่วนฝ่ายอาหรับมี 18
อิสราเอลมีรถถัง 1,300 คัน ส่วนฝ่ายอาหรับมี 2,500 คัน
อิสราเอลมีปืนใหญ่ 746 กระบอก ส่วนฝ่ายอาหรับมี 2,780 กระบอก
และอิสราเอลมีเครื่องบินขับไล่เจ็ต 247 ลำ ส่วนฝ่ายอาหรับมี 557 ลำ
ในสงครามสมัยใหม่ การครองน่านฟ้าถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
และนายพลดาแยนมั่นใจว่า เขาจะสามารถใช้เครื่องบินขับไล่ของเขาทำลายศัตรูได้สำเร็จ
และนายพลดาแยนมั่นใจว่า เขาจะสามารถใช้เครื่องบินขับไล่ของเขาทำลายศัตรูได้สำเร็จ
ต่อไป นายพลดาแยนต้องการปัจจัยต่อไปในการชิงโจมตีตัดหน้า คือ ข่าวกรอง
หน่วยข่าวกรองของอิสราเอล มอซสาด ถือได้ว่าเป็นหน่วยข่าวกรองชั้นยอดของโลก
เนื่องจากความอ่อนแอทางยุทธศาสตร์ ความเป็นจริงที่ว่าประเทศอิสราเอลแวดล้อมไปด้วยประเทศอันเป็นศัตรู อิสราเอลจึงต้องมีหน่วยข่าวกรองที่จะสามารถวางแผนการรบทางทหารได้
แผนการของดาแยนแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน
ในเวลา 7.45 น. เครื่องบินรบอิสราเอลจะโจมตีกองทัพอากาศอียิปต์ ขณะที่นักบินกำลังกินอาหารเช้าอยู่
ส่วนกองทัพบกอิสราเอลจะโจมตีเข้าไปในคาบสมุทรไซนาย และผลักดันกองทัพอียิปต์ให้ถอยกลับไป โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศ
ถ้าหากจอร์แดนมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่สงคราม เครื่องบินรบอิสราเอลจะโจมตีกองทัพอากาศจอร์แดนด้วย และกองทัพบกจะจัดการกับกองทัพจอร์แดน รวมไปถึงครอบครองเขตเวสต์แบงก์ และนครเยรูซาเลม
ในขณะนี้ อิสราเอลยังไม่อยากโจมตีซีเรียและที่ราบสูงโกลาน เนื่องจากกลัวการตอบโต้จากสหภาพโซเวียต
ต่อไป นายพลดาแยนจะต้องบรรลุปัจจัยขั้นต่อไปในการชิงโจมตีตัดหน้า คือ ความปลอดภัย
แต่สำหรับอิสราเอลแล้ว ปัญหาด้านความปลอดภัยไม่ได้เป็นการขัดขวางเจตนาดั้งเดิมแต่อย่างใด เนื่องจากอิสราเอลได้สันนิษฐานไว้แล้วว่า ฝ่ายอาหรับทราบเจตนาของตนแล้ว แต่ไม่ทราบเวลาในการโจมตี
กองทัพอิสราเอลในเวลานั้น ประกอบด้วยทหารกองหนุนเป็นส่วนใหญ่
อิสราเอลจำเป็นจะต้องระดมพล เพื่อที่จะโจมตี แต่การระดมพลจำเป็นจะต้องใช้เวลา และจะเป็นการเผยให้ศัตรูรู้ว่าการโจมตีกำลังจะเกิดขึ้น
ทว่าอิสราเอลมีวิธีในการระดมพล โดยไม่ทำให้เกิดความสงสัยแต่อย่างใด
อิสราเอลจำเป็นจะต้องระดมพล เพื่อที่จะโจมตี แต่การระดมพลจำเป็นจะต้องใช้เวลา และจะเป็นการเผยให้ศัตรูรู้ว่าการโจมตีกำลังจะเกิดขึ้น
ทว่าอิสราเอลมีวิธีในการระดมพล โดยไม่ทำให้เกิดความสงสัยแต่อย่างใด
เพราะด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า แม้กระทั่งจวนจะเกิดสงคราม ความสนใจของหน่วยข่าวกรองอียิปต์ไม่ได้อยู่ที่อิสราเอลทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่มุ่งไปยังแผนการทางการเมืองในกองทัพอียิปต์ นัซเซอร์หวาดกลัวว่าในกองทัพของตนจะมีการก่อรัฐประหาร มากกว่าหวาดกลัวการโจมตีจากกองทัพอิสราเอลเสียอีก
การวางแผนสิ้นสุดลงแล้ว นายพลดาแยนจะต้องนำแผนการออกมาใช้
ในรุ่งเช้าของวันที่ 5 มิถุนายน 1967 อิสราเอลเข้าสู่แผนการขั้นถัดไปของการชิงโจมตีตัดหน้า คือ การโจมตี
การโจมตีก่อนถือเป็นจุดสำคัญของการชิงโจมตีตัดหน้า ในการโจมตี และฉวยโอกาสไว้กับตนเอง
แต่การโจมตีให้หนักเองก็มีความสำคัญยิ่ง
เป้าหมายของการโจมตีตัดหน้า คือ การคว้าชัยชนะได้อย่างรวดเร็ว และต้องไม่เปิดโอกาสให้ศัตรูโจมตีสวนกลับ ซึ่ง ณ เวลาที่กำลังโจมตีนั้น การป้องกันของตนอาจอยู่ในสภาพอ่อนแออย่างมาก
แต่ในช่วงเวลาของการโจมตีนั้น จำเป็นจะต้องประกอบด้วยความอำมหิต ดังที่ปรากฎในการรุกรานฝรั่งเศสของเยอรมนี ในปี 1940
กองทัพเรือฝรั่งเศส ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก วางตัวอย่างกระจัดกระจายตามเมืองท่าในอังกฤษ ฝรั่งเศสและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลล์ หวาดกลัวว่ากองทัพเรือฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือจะตกอยู่ในเงื้อมมือของกองทัพเยอรมัน
เขาจึงให้ทางเลือกกับฝรั่งเศส เข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษ เดินเรือไปยังเมืองท่าที่เป็นกลางในสงคราม ซึ่งเรือนั้นจะถูกปลดประจำการ และส่งลูกเรือทั้งหมดกลับบ้าน หรือทำลายเรือของตน ในที่ที่วางสมอไว้แล้ว
โชคไม่ดีที่เกิดความสงสัยหรือความไม่เห็นด้วยระหว่างผู้บัญขาการชาวฝรั่งเศสด้วยกันเอง
เขาจึงให้ทางเลือกกับฝรั่งเศส เข้าร่วมกับฝ่ายอังกฤษ เดินเรือไปยังเมืองท่าที่เป็นกลางในสงคราม ซึ่งเรือนั้นจะถูกปลดประจำการ และส่งลูกเรือทั้งหมดกลับบ้าน หรือทำลายเรือของตน ในที่ที่วางสมอไว้แล้ว
โชคไม่ดีที่เกิดความสงสัยหรือความไม่เห็นด้วยระหว่างผู้บัญขาการชาวฝรั่งเศสด้วยกันเอง
ดังนั้น เชอร์ชิลล์จึงตัดสินใจไม่รอ และสั่งให้กองทัพเรืออังกฤษเปิดฉากยิงใส่กองทัพเรือฝรั่งเศส
เรือรบฝรั่งเศส 4 ลำถูกจม หรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทหารฝรั่งเศสเสียชีวิตหรือสูญหาย 1,297 นาย และได้รับบาดเจ็บ 354 นาย
เรือรบฝรั่งเศส 4 ลำถูกจม หรือได้รับความเสียหายอย่างหนัก ทหารฝรั่งเศสเสียชีวิตหรือสูญหาย 1,297 นาย และได้รับบาดเจ็บ 354 นาย
นับเป็นการกระทำที่ฝรั่งเศสไม่เคยให้อภัยอังกฤษเลย แต่เชอร์ชิลล์มองว่าการโจมตีตัดหน้าดังกล่าวจะเป็นการขัดขวางการครองครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของฝ่ายอักษะ
สำหรับอิสราเอล ขั้นตอนการโจมตีเกิดขึ้นพร้อมกับปัจจัยด้านความปลอดภัย
การระดมพลของอิสราเอลไม่ได้เป็นที่สนใจของอียิปต์
และในรุ่งเช้าของวันที่ 5 มิถุนายน 1967
การโจมตีระลอกแรกประกอบด้วยเครื่องบินรบอิสราเอล 183 ลำ
ส่วนทางด้านนักบินอียิปต์กำลังกินอาหารเช้าอยู่
มาตรการด้านความปลอดภัยของอิสราเอล จึงต้องโจมตีอ้อมจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และโจมตีจากทางตะวันตก
แต่ในเวลานั้น เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลอียิปต์กลัวความปลอดภัยจากกองกำลังของตนเอง รัฐบาลจึงสั่งให้ปิดเรดาร์ป้องกันภัยทางอากาศ เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับเสนาธิการกองทัพอากาศของอียิปต์ได้เดินทางไปยังคาบสมุทรไซนาย ซึ่งเกรงว่าทหารอียิปต์จะยิงปืนต่อต้านอากาศยานใส่เครื่องบินโดยสารของทั้งสองนั้น
ผลจากความผิดพลาดดังกล่าวไม่อาจประมาณการได้
เครื่องบินรบอียิปต์ส่วนใหญ่ยังคงจอดอยู่บนพื้นดิน
จนถึงเวลา 10.45 น. เครื่องบินรบอิสราเอลทำลายเครื่องบินรบอิปยต์กว่า 189 ลำ ทำให้กองทัพอากาศอิยิปต์เป็นง่อย
แผนการขั้นแรกของอิสราเอลบรรุลผล
ในคาบสมุทรไซนาย กองทัพอิสราเอลโจมตีกองทัพอียิปต์ด้วยการเคลื่อนที่เร็วแบบสายฟ้าแลบ ทำให้กองทัพอียิปต์ล่าถอยไม่เป็นขบวน
ต่อมา ความสนใจของนายพลดาแยนมุ่งไปยังจอร์แดน
ปืนใหญ่ของจอร์แดนเปิดฉากยิงข้ามพรมแดนมายังอิสราเอล
เครื่องบินอิสราเอลโจมตี 51 ครั้งเพื่อทำลายฐานทัพอากาศของจอร์แดนทั้งสองฐาน และทำลายกองทัพอากาศจอร์แดนขนาดเล็ก ส่วนกองทัพบกได้ยึดครองเวสต์แบงก์ และเยรูซาเลม และผลักดันกองทัพจอร์แดนให้ล่าถอยกลับไป
เมื่อจบวัน เครื่องบินรบอียิปต์ 298 ลำถูกทำลาย
ส่วนกองทัพอียิปต์ในคาบสมุทรไซนายล่าถอยอย่างโกลาหล ทหารอียิปต์เสียชีวิตในการรบ 2,000 นาย และอีก 10,000 นายเสียชีวิตระหว่างการล่าถอย
ส่วนกองทัพอียิปต์ในคาบสมุทรไซนายล่าถอยอย่างโกลาหล ทหารอียิปต์เสียชีวิตในการรบ 2,000 นาย และอีก 10,000 นายเสียชีวิตระหว่างการล่าถอย
อีกสามวันต่อมา การโจมตีซีเรียและที่ราบสูงโกลานเริ่มต้นขึ้น ความได้เปรียบทางอากาศของอิสราเอลทำให้การรบยุติลงด้วยความพ่ายแพ้ของซีเรีย
และถึงเวลาสำหรับขั้นตอนสุดท้ายของแผนการชิงโจมตีตัดหน้า คือ ยุทธศาสตร์ทางออก
กองทัพอิสราเอลได้รับชัยชนะทางทหารอันน่าเหลือเชื่อ ภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ล้มเหลวในเชิงยุทธศาสตร์ทางออก
ขณะที่นายพลดาแยนสั่งให้มีการโจมตีนั้น เขาได้รับรู้ถึงความสำคัญยิ่งของยุทธศาสตร์ทางออก หลังจากที่การโจมตีทางอากาศเปิดทางให้กับกองทัพบก ดาแยนได้ขีดขอบเขตของการรบ เขาสั่งให้กองทัพอิสราเอลห้ามโจมตีข้ามคลองซุเอซ และจะต้องไม่ยึดฉนวนกาซา
ส่วนทางด้านการเมืองในตะวันออกกลาง การตัดสินใจไม่ยึดฉนวนกาซาถือว่ามีความสำคัญมาก นายพลดาแยนไม่ต้องการให้อิสราเอลต้องมีส่วนพัวพันกับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์
แต่ในช่วงเวลาแห่งชัยชนะ ดาแยนปล่อยให้ตัวเองถูกชักจูงโดยผู้บัญชาการคนอื่น ๆ
อิสราเอลโจมตีไปถึงคาบสมุทรไซนาย และที่สำคัญกว่านั้น ยึดครองฉนวนกาซา
อิสราเอลโจมตีไปถึงคาบสมุทรไซนาย และที่สำคัญกว่านั้น ยึดครองฉนวนกาซา
อิสราเอลได้รับชัยชนะทางยุทธศาสตร์อย่างใหญ่หลวง แต่ต้องแลกมาด้วยราคาแพง
ในการเมืองระยะยาว การชิงโจมตีตัดหน้าในครั้งนี้ขาดซึ่งยุทธศาสตร์ทางออกที่เหมาะสม
ผลคือ อิสราเอลยึดครองฉนวนกาซาและเวสต์แบงก์ ดินแดนซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นหอกข้างแคร่ในเวลาต่อมา
สรุป
เป้าหมายที่สามารถบรรลุได้
เป้าหมายของอิสราเอลจำกัดอยู่เพียงแค่ลดหรือทำลายความสามารถของอียิปต์ในการโจมตีอิสราเอล ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ง่ายดายและสามารถบรรลุได้
วิธีการ
แผนการของอิสราเอลในการชิงโจมตีตัดหน้าถือว่าเป็นนโยบายการป้องกันโดยรวมของอิสราเอล ในแง่ของการชิงโจมตีตัดหน้า อิสราเอลจำเป็นต้องพึ่งกองทัพอากาศอย่างมาก และถึงแม้ว่า กองทัพอากาศอิสราเอลจะด้อยกว่ากองทัพอากาศของฝ่ายอาหรับ แต่อิสราเอลมีวิธีการที่จะดำเนินการตามแผนการ
ข่าวกรอง
อิสราเอลมีข่ากรองที่แม่นยำในตำแหน่งของกองทัพอากาศฝ่ายศัตรู รวมไปถึงข้อมูลทางการเมืองและทางการทหารของกองทัพอียิปต์อีกด้วย
ความปลอดภัย
อิสราเอลประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าอิยิปต์จะคาดการโจมตีของอิสราเอลไว้ล่วงหน้าแล้ว บางส่วนของความสำเร็จของอิสราเอลเป็นผลมาจากการปิดเรดาร์ป้องกันทางอากาศ แม้กระทั่ง ในขณะที่การโจมตีของอิสราเอลเริ่มต้นขึ้น
การโจมตี
อิสราเอลโจมตีอย่างอำมหิต และทำให้กองทัพอากาศอียิปต์เป็นง่อย วัตถุประสงค์สำคัญของอิสราเอลบรรลุผลในการโจมตีระลอกแรกนี้เอง
ยุทธศาสตร์ทางออก
อิสราเอลมียุทธศาสตร์ทางออก แต่ในช่วงเวลาแห่งชัยชนะ ทำให้การโจมตีทางอากาศและการรุกด้วยยานเกราะไม่อาจหยุดยั้งได้ ทำให้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวถูกละเลย
ตราบเท่าที่ชาติที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งมีความอ่อนแอทางทหาร ต้องการที่จะโจมตีอย่างกล้าหาญ และเหนือความคาดหมายของศัตรู ในการที่จะยุติการรบในระยะเวลาอันสั้น และได้ผลอย่างเฉียบคม การชิงโจมตีตัดหน้าถือเป็นทางออกหนึ่ง
แต่ในอนาคต การชิงโจมตีตัดหน้าอาจใช้เฉพาะเพียงแค่ในสถานการณ์เฉพาะเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น และต้องบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้อย่างระมัดระวัง
แม้ว่าเวลาจะผ่านไปสักเพียงใด การชิงโจมตีตัดหน้าจะยังต้องการเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถบรรลุได้ มีทฤษฎีและวิธีการปฏิบัติ และยุทธศาสตร์ทางออกเมื่อการโจมตีดังกล่าวสิ้นสุด และเหนืออื่นใด การโจมตีตัดหน้าจะต้องอาศัยหลักสามประการ
โจมตีให้หนัก โจมตีให้ไว โจมตีให้ลึก
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น