InLaw...(yaoi) - นิยาย InLaw...(yaoi) : Dek-D.com - Writer
×

    InLaw...(yaoi)

    โดย Kissa_step

    เรื่องราวของอัยการหนุ่ม กับ หนุ่มน้อยคู่หู ที่มีชะตากรรมร่วมกัน..ในเส้นทางของกฎหมาย

    ผู้เข้าชมรวม

    5,393

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    5.39K

    ความคิดเห็น


    120

    คนติดตาม


    253
    หมวด :  นิยายวาย
    จำนวนตอน :  32 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  13 ต.ค. 66 / 01:23 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ



    ~In Law~

    เรื่องราวของอัยการหนุ่มสุดหล่อ กับ หนุ่มน้อย คู่หู ที่มีชะตากรรมร่วมกัน
    ในเส้นทางของกฎหมาย



    ใครเล่น ทวิตเตอร์ หรือโซเชี่ยล อื่นๆ ถ้าอยากจะด่าจะตบตีคนเขียนหรือตัวละครในเรื่องอย่างไร รบกวน ติด #อัยการสายบันเทิง ให้ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่ามีคนด่าอยู่ >3



    คำเตือน!

    ผู้ที่เข้ามาอ่านใหม่ แนะนำอย่าอ่านคอมเม้นท์ก่อน ถ้าไม่อยากถูกสปอย
    นักอ่านเรื่องนี้ ฮาร์ดคอ อ่ะ  ไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้ 5555+
    แซวเล่นนะ
    นิยายเรื่องนี้ไม่ใส ไม่มุ้งมิ้ง โปรดทำใจก่อนอ่าน


       




    เรื่องราว ในวันนั้น ความฝันของเธอและฉัน
    ไม่คิดจะผูกพัน แค่มีกันมันไปอย่างนั้น

     

    เมื่อเรานั้นคิดจะปิด ทุกความสัมพันธ์ใดๆ
    ร่างกายมีเพียงแค่ฉันและเธอ
    และในวันที่มันเปิด ยอมรับเรื่องราวไม่ได้
    สุดท้ายว่าเรามีกันเสมอ

     

    เมื่อก่อนเราไม่คิดจะรัก เเละเรายังไม่เข้าใจ
    ว่าอะไรที่โยงใยความผูกพัน
    เติบโตแล้วได้เรียนรู้ ในวันที่สายเกินไป
    ว่าอะไรมันคือใจความสำคัญ
    ฉันและเธอ




    ...ใจความสำคัญ...อะไรที่โยงใยความผูกพัน...

     




    พูดคุยกันก่อน
    1.เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับบุคคลและสถานที่จริงแต่ประการใด แต่โลเคชั่นในเรื่องอาจจะมีอยู่จริง แต่ตัวตนคนในเรื่องจริงๆ จ้างให้ก็ตามหาไม่เจอในโลกของความเป็นจริง
    2.เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ คนที่เดินบนเส้นทางกฎหมายล้วน คุณอาจจะเบื่อสาขาวิชาอื่นๆ อยากให้ลองมาเสพสมนักกฎหมายดู ฮา~~
    3.เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นที่ไหนในโลกก็ได้ เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องจิ้นว่าเกิดขึ้นที่ไทย แม้ชื่อตัวละครจะไทยก็ตาม
    4.เรื่องนี้ได้แรงบัลดาลใจจากนักกฎหมายรอบๆตัว และคดีที่เกิดขึ้นในเรื่องบางคดีก็ได้รับแรงบัลดาลใจจากคดีที่เกิดขึ้นจริง
    5.นิยายเรื่องนี้ จัดอยู่ในหมวดตลกขำขัน? อาจจะมีมุกแป๊กบ้างต้องขออภัย
    6.หวังว่านิยายเรื่องนี้จะไม่โดนลบ เพราะมีเนื้อหาในบางตอนอาจจะเสียดสีสังคม พูดกันแบบตรง ตอกหน้าสังคมแบบแรงๆจนรับไม่ได้
    7.หวังว่านิยายเรื่องนี้จะตลอดรอดฝั่งจริงๆนะเออ
    8.เป็นกำลังใจให้กันด้วยนะ
    9.มีความหวังว่าสีพาสเทลที่ใช้ในหน้าหลักนิยายจะทำให้เนื้อเรื่องดูซอร์ฟลง


    คำเตือน!
    นิยายเรื่องนี้ เป็นนิยาย ชายรักชาย อะเคร นะ จ๊ะ
    อาจมีคำหยาบคายบ้าง ต้องกราบขออภัย แต่จะให้มันน้อยๆลง
    หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการก๊อปหรือดัดแปลง 
    ขออนุญาตดำเนินคดีตามกฎหมาย นะจ๊ะ




     อ่านก่อน!





    ตามไปทวงนิยายได้ที่

    คลิกเลย คลิกเลย


    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    "บทวิจารณ์ Blue Whale"

    (แจ้งลบ)

    ~InLaw~ ผมรัก...อัยการ (Yaoi) นวนิยายแนวสืบสวน ผลงานของ Kissa…step เป็นเรื่องราวของเต็มสิบ นักศึกษากฎหมายชั้นปีที่สามที่ตกหลุมรักสิ้นฟ้า ผู้ช่วยอัยการหนุ่มสุดหล่อ ขณะที่เขาไปฝึกงานที่สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เรื่องราวความรักในครั้งนี้ของเขาดูจะมีอุปสรรค ไม่เพียงแต่เขาต้องแข่งกันกับเพชรทนายหนุ่มสุดเก่ง อดีตรุ่นพี่คนสนิทของสิ้นฟ้าเท่านั้น ... อ่านเพิ่มเติม

    ~InLaw~ ผมรัก...อัยการ (Yaoi) นวนิยายแนวสืบสวน ผลงานของ Kissa…step เป็นเรื่องราวของเต็มสิบ นักศึกษากฎหมายชั้นปีที่สามที่ตกหลุมรักสิ้นฟ้า ผู้ช่วยอัยการหนุ่มสุดหล่อ ขณะที่เขาไปฝึกงานที่สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เรื่องราวความรักในครั้งนี้ของเขาดูจะมีอุปสรรค ไม่เพียงแต่เขาต้องแข่งกันกับเพชรทนายหนุ่มสุดเก่ง อดีตรุ่นพี่คนสนิทของสิ้นฟ้าเท่านั้น แต่ความลับในอดีตของสิ้นฟ้าที่เริ่มกลับมาส่งผลกับชีวิตในปัจจุบันของเขา ซึ่งดูจะพัฒนาและกลายเป็นอุปสรรคความรักและความสัมพันธ์เขายิ่งกว่า คงต้องตามติดความรักของพวกเขาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 22 แล้ว ความน่าสนใจของนวนิยายเรื่องนี้คือ การผนวกเรื่องราวการสืบสวนสอบสวนเข้ากับความรักสามเส้าของชายสามคน ซึ่งมีการสร้างและพัฒนาปมปัญหาของแนวเรื่องทั้งสองไปพร้อมๆ กัน ที่ทวีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น แม้ว่า Kissa…step จะพยายามสร้างความแปลกใหม่กับเรื่องโดยเลือกนำเสนอชีวิตของผู้ช่วยอัยการ ซึ่งเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยมีจะมีการนำมาเป็นตัวละครในนวนิยายแนวนี้เท่าใดนัก แต่ สิ้นฟ้า กลับแทบจะไม่ได้ทำหน้าที่สะท้อนภาพผู้ช่วยอัยการและหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ช่วยอัยการมากเท่าใดนัก ไม่ว่าการรวบรวมหลักฐานเพื่อเขียนสำนวนฟ้อง การส่งฟ้อง และการพิจารณาคดีในชั้นศาล จึงเห็นว่า ถ้า Kissa…step ยังจะยืนยันให้สิ้นฟ้าเป็นผู้ช่วยอัยการต่อไปก็ควรจะสร้างความเป็นผู้ช่วยอัยการให้ชัดเจนมากขึ้นกว่านี้ แต่หากยังยืนยันให้สิ้นฟ้ามีบุคลิกลักษณะเช่นเดิม ก็ควรจะต้องเปลี่ยนอาชีพของเขาจากผู้ช่วยอัยการ มาเป็นตำรวจหรือตำรวจนอกเครื่องแบบจะดูเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ที่เขาเลือกกระทำอยู่มากกว่า ใน ~InLaw~ ผมรัก...อัยการ (Yaoi) มีการเปลี่ยนผู้เล่าเรื่องกลับไปมาระหว่างตัวละครสำคัญของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เต็มสิบ สิ้นฟ้า และ เพชร ซึ่งจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงผู้เล่าได้สร้างเรื่องให้มีมิติที่อย่างน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายทอดเรื่องราวความรักที่เล่าผ่านสายตาของตัวละครทั้งสาม อันแสดงถึงแง่มุมความรักที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตัวละครเหล่านี้จะเล่าถึงเหตุการณ์เดียวกัน ขณะเดียวกัน Kissa…step ยังใช้กลวิธีการเปลี่ยนแปลงผู้เล่าเรื่องเพื่อสลับจุดเน้นไปมาระหว่างแนวเรื่องรักกับเรื่องสอบสวน นับเป็นกลวิธีการเขียนที่ใช้โดยตลอดเรื่อง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า “ผม” ในชื่อเรื่องกับมุมมองผู้เล่าเรื่อง “ผม” ในช่วงต้นของเรื่องที่กำหนดให้เป็น “เต็มสิบ” กลับกลายเป็นกับดักที่สกัดการสร้างความหลากหลายของมุมมองและเสียงเล่าในงานนวนิยายเรื่องนี้ เพราะ “ผม” ในที่นี้แสดงให้เห็นว่า Kissa…step เลือกแล้วว่าจะให้ “เต็มสิบ” เป็นผู้เล่าและถ่ายทอดเรื่องต่างๆ ทั้งหมดในเรื่อง ดังนั้น เมื่อผู้เขียนเปลี่ยนมุมมองในการเล่าจาก “เต็มสิบ” ไปยังตัวละครอื่นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านบางคนได้ เพราะ “ผม” ที่ปรากฏในเรื่องบางตอนก็มิได้หมายถึง เต็มสิบ แต่หมายถึงตัวละครตัวอื่น ด้วยเหตุนี้ ทางแก้ง่ายๆ ที่จะช่วยเพื่อลดความสับสนในประเด็นนี้ ขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เขียนสามารถที่จะสลับมุมมองของผู้เล่าเรื่องได้อย่างเสรี นั่นคือ การเปลี่ยนชื่อเรื่องจาก “~InLaw~ ผมรัก...อัยการ” เป็น “~InLaw~ อัยการที่รัก” ซึ่งชื่อเรื่องใหม่ดังกล่าวช่วยเปลี่ยนศูนย์กลางของเรื่องจาก “เต็มสิบ” มาเป็น “สิ้นฟ้า” อย่างที่ควรจะเป็น เพราะ “สิ้นฟ้า” ไม่เพียงแต่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญของความรักสามเส้าในครั้งนี้เท่านั้น แต่อดีตที่ลึกลับและซับซ้อนของเขายังเป็นชนวนและเหตุปัจจัยของการสืบสวนเพื่อคลี่คลายความลับดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้นไปพร้อมกันด้วย งานแนวสืบสวนที่เน้นการทำงานของอัยการในเรื่องความสมจริงนับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ทั้งกับตัวละครและเนื้อเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคลี่คลายคดีในเรื่องนี้ส่วนใหญ่อาศัยการให้ผู้ต้องสงสัยเป็นผู้รับสารภาพการกระทำผิดของตนเอง มากกว่าที่จะแสดงความสามารถของผู้ช่วยอัยการในการรวบรวมหลักฐานเพื่อทำสำนวนส่งฟ้องและคลี่คลายคดี เพราะในความเป็นจริงผู้ต้องสงสัยจะไม่สารภาพจนกว่าจะจนด้วยพยานและหลักฐาน ซึ่งขัดกับสิ่งที่ Kissa…step พยายามเสนอมาโดยตลอดว่าสิ้นฟ้าเป็นผู้ช่วยอัยการที่เก่งมาก ขณะเดียวกันยังพบว่าในนวนิยายเรื่องนี้มีเนื้อหาหลายฉากที่ขาดความสมจริง ซึ่งนับเป็นข้อด้อยของเรื่องที่ต้องแก้ไข อาทิ การให้สิ้นฟ้าทำวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหาในคดีเสพแอมเฟตามีน แม้ว่าเขาจะจับตัวประกันไว้ก็ตาม แต่ผู้ต้องหาที่มีเพียงมีดเป็นอาวุธ และตกอยู่ในวงล้อมของตำรวจที่มีอาวุธปืนครบมืออยู่แล้ว จึงน่าจะทำเพียงแค่ยิงให้บาดเจ็บก็น่าจะเพียงพอกับความผิดที่เขากระทำแล้ว เพราะเขามิได้เป็นผู้ต้องหาคดีอุกฉกรรจ์ที่มีแนวโน้มว่าจะสังหารตัวประกัน เช่นเดียวกับการที่สิ้นฟ้าและพวกปลอมตัวเป็นนักศึกษาพยาบาลเพื่อเข้าไปสืบคดี ก็ขาดความสมจริง เนื่องจากนักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีนักศึกษาชายน้อย และนักศึกษาส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นหน้ากันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ดังนั้น การปลอมตัวในครั้งนี้แทนที่จะสามารถทำตัวให้กลมกลืนไปกับคนรอบข้าง กลับกลายเป็นทำตัวให้เป็นจุดเด่นที่สังเกตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก อีกทั้ง การเชิญตัวผู้ต้องสงสัยไปสอบสวนเป็นสิทธิ์และความชอบธรรมที่ตำรวจและอัยการสามารถที่จะทำได้ จึงไม่จำเป็นต้องทำให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนหรือสุ่มเสี่ยงให้กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายด้วยการให้อัยการและตำรวจโป๊ะยาสลบและลักพาตัวผู้ต้องสงสัยไปสอบสวนดังที่นำเสนอไว้ในเรื่อง ยิ่งไปกว่านั้น คดี “Ticket one way” นับว่าเป็นคดีที่ยังขาดความสมจริงอย่างมาก เพราะ Kissa…step มุ่งเน้นที่ความเก่งของสิ้นฟ้ามากจนเกินไป ซึ่งการที่สิ้นฟ้ายังสะกิดใจว่าการตายของหญิงสาวชาวไทยในครั้งนี้มิใช่อุบัติเหตุ แต่เป็นการฆาตกรรม ด้วยการได้เห็นศพผู้ตายแบบผ่านๆ เท่านั้น และยิ่งการคลี่คลายคดีที่สิ้นฟ้าเปิดโปงความผิดของจำเลยก็อาศัยเพียงหลักฐานแวดล้อมที่พบจากการสอบสวนทั่วๆ ไปเท่านั้น ซึ่งตำรวจอเมริกันเจ้าของคดีก็น่าจะเห็นความผิดปกตินี้ด้วยและสามารถคลี่คลายคดีได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นว่าคดีนี้จะสมจริงมากขึ้น หากกำหนดให้ฉากฆาตกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นที่การสืบสวนสอบสวนของตำรวจยังไม่มีเครื่องมือหรือยังไม่เข้มแข็งและไม่ก้าวหน้าเท่าอเมริกา ผู้วิจารณ์เห็นว่า Kissa…step ไม่ควรใช้อีโมติคอนในนวนิยายเรื่องนี้ เพราะอีโมติคอนลดทอนความน่าเชื่อถือของทั้งตัวละครและแนวเรื่องสืบสวนโดยภาพรวมลงอย่างน่าเสียดาย แม้ว่าเนื้อหาที่ใช้อีโมติคอนจะเป็นการเสนอมุมมองความรักตัวละครที่ยังเป็นวัยรุ่นแบบเต็มฟ้าก็ตาม ข้อด้อยประการสำคัญของเรื่องที่ควรต้องแก้ไขคือ คำผิด เนื่องจากในเรื่องมีคำผิดปรากฏเป็นจำนวนมาก เช่น นอกจากคำผิดแล้วยังพบว่าบางครั้ง Kissa…step ยังเลือกใช้คำผิดความหมายหรือเลือกใช้คำไม่เหมาะสมกับบริบทของเรื่องด้วย เช่น ช็อค เขียนเป็น ช๊อก เชิร์ต เขียนเป็น เชิ้ท อุตส่าห์ เขียนเป็น อุตส่า ว้ายเขียนเป็น ว๊าย แล่เนื้อ เขียนเป็น แร่เนื้อ ประคอง เขียนเป็น ประครอง แฮะ เขียนเป็น แหะ ฮะ เขียนเป็น ห๊ะ ผกามาศ เขียนเป็น พกามาศ น้า เขียนเป็น น๊า เคาน์เตอร์ เขียนเป็น เค้าเตอร์ สายพันธุ์ เขียนเป็น สายพันธ์ กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ เผอเรอ เขียนเป็น เพลอเรอ ย้า เขียนเป็น ย๊า ว้าว เขียนเป็น ว๊าว พึมพำ เขียนเป็น พรึมพรำ จอห์น เขียนเป็น จอร์น ศีรษะ เขียนเป็น ศรีษะ สามเส้า เขียนเป็น สามเศร้า แว้บ เขียนเป็น แว๊บ ชำเลือง ชำเรือง ลุกลี้ลุกลน เขียนเป็น รุกลี้รุกรน ฉีดยาชา เขียนเป็น ชีทยาชา เกษียณ เขียนเป็น เกษียร (เกษียณ หมายถึง สิ้นไป แต่ เกษียร หมายถึง น้ำนม) และ โฮะ เขียนเป็น โห๊ะ ขณะเดียวกันยังมีบางประโยคที่ Kissa…step ยังใช้คำไม่เหมาะกับบริบทแวดล้อมในประโยค อาทิ จุดจอดรับของรถเมล์คือ ป้าย แต่ในเรื่องนี้กลับใช้คำว่า สถานี (คำว่า สถานีใช้กับ รถไฟ รถไฟฟ้า เท่านั้น) หรือในประโยคที่ว่า ทางเราขอกันตัวคุณไว้เป็นผู้ต้องหา ประโยคที่นิยมเขียนคือ การจะกันตัวไว้ส่วนใหญ่จะใช้กับพยาน เช่น ทางเราขอกันตัวคุณไว้เป็นพยาน แต่ถ้าใช้กับผู้ต้องหาจะใช้ประโยคว่า ทางเราขอกันจับตัวหรือคุมตัวคุณในฐานะผู้ต้องหา ทั้งนี้ หากได้แก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว ก็จะช่วยปรับให้เรื่องถูกต้อง สมบูรณ์ และน่าอ่านเพิ่มมากขึ้น   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 8 เม.ย. 58

    • 4

    • 0

    คำนิยมล่าสุด

    "บทวิจารณ์ Blue Whale"

    (แจ้งลบ)

    ~InLaw~ ผมรัก...อัยการ (Yaoi) นวนิยายแนวสืบสวน ผลงานของ Kissa…step เป็นเรื่องราวของเต็มสิบ นักศึกษากฎหมายชั้นปีที่สามที่ตกหลุมรักสิ้นฟ้า ผู้ช่วยอัยการหนุ่มสุดหล่อ ขณะที่เขาไปฝึกงานที่สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เรื่องราวความรักในครั้งนี้ของเขาดูจะมีอุปสรรค ไม่เพียงแต่เขาต้องแข่งกันกับเพชรทนายหนุ่มสุดเก่ง อดีตรุ่นพี่คนสนิทของสิ้นฟ้าเท่านั้น ... อ่านเพิ่มเติม

    ~InLaw~ ผมรัก...อัยการ (Yaoi) นวนิยายแนวสืบสวน ผลงานของ Kissa…step เป็นเรื่องราวของเต็มสิบ นักศึกษากฎหมายชั้นปีที่สามที่ตกหลุมรักสิ้นฟ้า ผู้ช่วยอัยการหนุ่มสุดหล่อ ขณะที่เขาไปฝึกงานที่สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เรื่องราวความรักในครั้งนี้ของเขาดูจะมีอุปสรรค ไม่เพียงแต่เขาต้องแข่งกันกับเพชรทนายหนุ่มสุดเก่ง อดีตรุ่นพี่คนสนิทของสิ้นฟ้าเท่านั้น แต่ความลับในอดีตของสิ้นฟ้าที่เริ่มกลับมาส่งผลกับชีวิตในปัจจุบันของเขา ซึ่งดูจะพัฒนาและกลายเป็นอุปสรรคความรักและความสัมพันธ์เขายิ่งกว่า คงต้องตามติดความรักของพวกเขาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ซึ่งขณะนี้โพสต์ถึงตอนที่ 22 แล้ว ความน่าสนใจของนวนิยายเรื่องนี้คือ การผนวกเรื่องราวการสืบสวนสอบสวนเข้ากับความรักสามเส้าของชายสามคน ซึ่งมีการสร้างและพัฒนาปมปัญหาของแนวเรื่องทั้งสองไปพร้อมๆ กัน ที่ทวีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น แม้ว่า Kissa…step จะพยายามสร้างความแปลกใหม่กับเรื่องโดยเลือกนำเสนอชีวิตของผู้ช่วยอัยการ ซึ่งเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยมีจะมีการนำมาเป็นตัวละครในนวนิยายแนวนี้เท่าใดนัก แต่ สิ้นฟ้า กลับแทบจะไม่ได้ทำหน้าที่สะท้อนภาพผู้ช่วยอัยการและหน้าที่อันพึงปฏิบัติของผู้ช่วยอัยการมากเท่าใดนัก ไม่ว่าการรวบรวมหลักฐานเพื่อเขียนสำนวนฟ้อง การส่งฟ้อง และการพิจารณาคดีในชั้นศาล จึงเห็นว่า ถ้า Kissa…step ยังจะยืนยันให้สิ้นฟ้าเป็นผู้ช่วยอัยการต่อไปก็ควรจะสร้างความเป็นผู้ช่วยอัยการให้ชัดเจนมากขึ้นกว่านี้ แต่หากยังยืนยันให้สิ้นฟ้ามีบุคลิกลักษณะเช่นเดิม ก็ควรจะต้องเปลี่ยนอาชีพของเขาจากผู้ช่วยอัยการ มาเป็นตำรวจหรือตำรวจนอกเครื่องแบบจะดูเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ที่เขาเลือกกระทำอยู่มากกว่า ใน ~InLaw~ ผมรัก...อัยการ (Yaoi) มีการเปลี่ยนผู้เล่าเรื่องกลับไปมาระหว่างตัวละครสำคัญของเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เต็มสิบ สิ้นฟ้า และ เพชร ซึ่งจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงผู้เล่าได้สร้างเรื่องให้มีมิติที่อย่างน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายทอดเรื่องราวความรักที่เล่าผ่านสายตาของตัวละครทั้งสาม อันแสดงถึงแง่มุมความรักที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตัวละครเหล่านี้จะเล่าถึงเหตุการณ์เดียวกัน ขณะเดียวกัน Kissa…step ยังใช้กลวิธีการเปลี่ยนแปลงผู้เล่าเรื่องเพื่อสลับจุดเน้นไปมาระหว่างแนวเรื่องรักกับเรื่องสอบสวน นับเป็นกลวิธีการเขียนที่ใช้โดยตลอดเรื่อง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า “ผม” ในชื่อเรื่องกับมุมมองผู้เล่าเรื่อง “ผม” ในช่วงต้นของเรื่องที่กำหนดให้เป็น “เต็มสิบ” กลับกลายเป็นกับดักที่สกัดการสร้างความหลากหลายของมุมมองและเสียงเล่าในงานนวนิยายเรื่องนี้ เพราะ “ผม” ในที่นี้แสดงให้เห็นว่า Kissa…step เลือกแล้วว่าจะให้ “เต็มสิบ” เป็นผู้เล่าและถ่ายทอดเรื่องต่างๆ ทั้งหมดในเรื่อง ดังนั้น เมื่อผู้เขียนเปลี่ยนมุมมองในการเล่าจาก “เต็มสิบ” ไปยังตัวละครอื่นอาจสร้างความสับสนให้กับผู้อ่านบางคนได้ เพราะ “ผม” ที่ปรากฏในเรื่องบางตอนก็มิได้หมายถึง เต็มสิบ แต่หมายถึงตัวละครตัวอื่น ด้วยเหตุนี้ ทางแก้ง่ายๆ ที่จะช่วยเพื่อลดความสับสนในประเด็นนี้ ขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เขียนสามารถที่จะสลับมุมมองของผู้เล่าเรื่องได้อย่างเสรี นั่นคือ การเปลี่ยนชื่อเรื่องจาก “~InLaw~ ผมรัก...อัยการ” เป็น “~InLaw~ อัยการที่รัก” ซึ่งชื่อเรื่องใหม่ดังกล่าวช่วยเปลี่ยนศูนย์กลางของเรื่องจาก “เต็มสิบ” มาเป็น “สิ้นฟ้า” อย่างที่ควรจะเป็น เพราะ “สิ้นฟ้า” ไม่เพียงแต่เป็นเหตุปัจจัยสำคัญของความรักสามเส้าในครั้งนี้เท่านั้น แต่อดีตที่ลึกลับและซับซ้อนของเขายังเป็นชนวนและเหตุปัจจัยของการสืบสวนเพื่อคลี่คลายความลับดังกล่าวให้ชัดเจนขึ้นไปพร้อมกันด้วย งานแนวสืบสวนที่เน้นการทำงานของอัยการในเรื่องความสมจริงนับเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้ทั้งกับตัวละครและเนื้อเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคลี่คลายคดีในเรื่องนี้ส่วนใหญ่อาศัยการให้ผู้ต้องสงสัยเป็นผู้รับสารภาพการกระทำผิดของตนเอง มากกว่าที่จะแสดงความสามารถของผู้ช่วยอัยการในการรวบรวมหลักฐานเพื่อทำสำนวนส่งฟ้องและคลี่คลายคดี เพราะในความเป็นจริงผู้ต้องสงสัยจะไม่สารภาพจนกว่าจะจนด้วยพยานและหลักฐาน ซึ่งขัดกับสิ่งที่ Kissa…step พยายามเสนอมาโดยตลอดว่าสิ้นฟ้าเป็นผู้ช่วยอัยการที่เก่งมาก ขณะเดียวกันยังพบว่าในนวนิยายเรื่องนี้มีเนื้อหาหลายฉากที่ขาดความสมจริง ซึ่งนับเป็นข้อด้อยของเรื่องที่ต้องแก้ไข อาทิ การให้สิ้นฟ้าทำวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหาในคดีเสพแอมเฟตามีน แม้ว่าเขาจะจับตัวประกันไว้ก็ตาม แต่ผู้ต้องหาที่มีเพียงมีดเป็นอาวุธ และตกอยู่ในวงล้อมของตำรวจที่มีอาวุธปืนครบมืออยู่แล้ว จึงน่าจะทำเพียงแค่ยิงให้บาดเจ็บก็น่าจะเพียงพอกับความผิดที่เขากระทำแล้ว เพราะเขามิได้เป็นผู้ต้องหาคดีอุกฉกรรจ์ที่มีแนวโน้มว่าจะสังหารตัวประกัน เช่นเดียวกับการที่สิ้นฟ้าและพวกปลอมตัวเป็นนักศึกษาพยาบาลเพื่อเข้าไปสืบคดี ก็ขาดความสมจริง เนื่องจากนักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง มีนักศึกษาชายน้อย และนักศึกษาส่วนใหญ่จะรู้จักและคุ้นหน้ากันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ดังนั้น การปลอมตัวในครั้งนี้แทนที่จะสามารถทำตัวให้กลมกลืนไปกับคนรอบข้าง กลับกลายเป็นทำตัวให้เป็นจุดเด่นที่สังเกตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีก อีกทั้ง การเชิญตัวผู้ต้องสงสัยไปสอบสวนเป็นสิทธิ์และความชอบธรรมที่ตำรวจและอัยการสามารถที่จะทำได้ จึงไม่จำเป็นต้องทำให้กลายเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนหรือสุ่มเสี่ยงให้กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมายด้วยการให้อัยการและตำรวจโป๊ะยาสลบและลักพาตัวผู้ต้องสงสัยไปสอบสวนดังที่นำเสนอไว้ในเรื่อง ยิ่งไปกว่านั้น คดี “Ticket one way” นับว่าเป็นคดีที่ยังขาดความสมจริงอย่างมาก เพราะ Kissa…step มุ่งเน้นที่ความเก่งของสิ้นฟ้ามากจนเกินไป ซึ่งการที่สิ้นฟ้ายังสะกิดใจว่าการตายของหญิงสาวชาวไทยในครั้งนี้มิใช่อุบัติเหตุ แต่เป็นการฆาตกรรม ด้วยการได้เห็นศพผู้ตายแบบผ่านๆ เท่านั้น และยิ่งการคลี่คลายคดีที่สิ้นฟ้าเปิดโปงความผิดของจำเลยก็อาศัยเพียงหลักฐานแวดล้อมที่พบจากการสอบสวนทั่วๆ ไปเท่านั้น ซึ่งตำรวจอเมริกันเจ้าของคดีก็น่าจะเห็นความผิดปกตินี้ด้วยและสามารถคลี่คลายคดีได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นว่าคดีนี้จะสมจริงมากขึ้น หากกำหนดให้ฉากฆาตกรรมเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นที่การสืบสวนสอบสวนของตำรวจยังไม่มีเครื่องมือหรือยังไม่เข้มแข็งและไม่ก้าวหน้าเท่าอเมริกา ผู้วิจารณ์เห็นว่า Kissa…step ไม่ควรใช้อีโมติคอนในนวนิยายเรื่องนี้ เพราะอีโมติคอนลดทอนความน่าเชื่อถือของทั้งตัวละครและแนวเรื่องสืบสวนโดยภาพรวมลงอย่างน่าเสียดาย แม้ว่าเนื้อหาที่ใช้อีโมติคอนจะเป็นการเสนอมุมมองความรักตัวละครที่ยังเป็นวัยรุ่นแบบเต็มฟ้าก็ตาม ข้อด้อยประการสำคัญของเรื่องที่ควรต้องแก้ไขคือ คำผิด เนื่องจากในเรื่องมีคำผิดปรากฏเป็นจำนวนมาก เช่น นอกจากคำผิดแล้วยังพบว่าบางครั้ง Kissa…step ยังเลือกใช้คำผิดความหมายหรือเลือกใช้คำไม่เหมาะสมกับบริบทของเรื่องด้วย เช่น ช็อค เขียนเป็น ช๊อก เชิร์ต เขียนเป็น เชิ้ท อุตส่าห์ เขียนเป็น อุตส่า ว้ายเขียนเป็น ว๊าย แล่เนื้อ เขียนเป็น แร่เนื้อ ประคอง เขียนเป็น ประครอง แฮะ เขียนเป็น แหะ ฮะ เขียนเป็น ห๊ะ ผกามาศ เขียนเป็น พกามาศ น้า เขียนเป็น น๊า เคาน์เตอร์ เขียนเป็น เค้าเตอร์ สายพันธุ์ เขียนเป็น สายพันธ์ กะพริบ เขียนเป็น กระพริบ เผอเรอ เขียนเป็น เพลอเรอ ย้า เขียนเป็น ย๊า ว้าว เขียนเป็น ว๊าว พึมพำ เขียนเป็น พรึมพรำ จอห์น เขียนเป็น จอร์น ศีรษะ เขียนเป็น ศรีษะ สามเส้า เขียนเป็น สามเศร้า แว้บ เขียนเป็น แว๊บ ชำเลือง ชำเรือง ลุกลี้ลุกลน เขียนเป็น รุกลี้รุกรน ฉีดยาชา เขียนเป็น ชีทยาชา เกษียณ เขียนเป็น เกษียร (เกษียณ หมายถึง สิ้นไป แต่ เกษียร หมายถึง น้ำนม) และ โฮะ เขียนเป็น โห๊ะ ขณะเดียวกันยังมีบางประโยคที่ Kissa…step ยังใช้คำไม่เหมาะกับบริบทแวดล้อมในประโยค อาทิ จุดจอดรับของรถเมล์คือ ป้าย แต่ในเรื่องนี้กลับใช้คำว่า สถานี (คำว่า สถานีใช้กับ รถไฟ รถไฟฟ้า เท่านั้น) หรือในประโยคที่ว่า ทางเราขอกันตัวคุณไว้เป็นผู้ต้องหา ประโยคที่นิยมเขียนคือ การจะกันตัวไว้ส่วนใหญ่จะใช้กับพยาน เช่น ทางเราขอกันตัวคุณไว้เป็นพยาน แต่ถ้าใช้กับผู้ต้องหาจะใช้ประโยคว่า ทางเราขอกันจับตัวหรือคุมตัวคุณในฐานะผู้ต้องหา ทั้งนี้ หากได้แก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว ก็จะช่วยปรับให้เรื่องถูกต้อง สมบูรณ์ และน่าอ่านเพิ่มมากขึ้น   อ่านน้อยลง

    bluewhale | 8 เม.ย. 58

    • 4

    • 0

    ความคิดเห็น