ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Equestrian

    ลำดับตอนที่ #5 : การฝึกบังคับม้า

    • อัปเดตล่าสุด 21 มี.ค. 53


     

     

     

     




    การฝึกบังคับม้า

    นายจักริศวร์ มั่นประสิทธิ์



    ชนิดเเละพันธุ์ม้า

    การจัดชนิดของม้า ได้จัดตามการใช้ประโยชน์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดแบ่งไว้ดังนี้

    ม้างาน (Draft Horse)

    เป็นม้าที่ใช้ในการทำงานในไร่นาและคอกปศุสัตว์ งานเทียมเกวียนลากของหนักๆ บางครั้งอาจใช้ขี่เข้าเมือง ม้างานมีหลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น ม้าพันธุ์เบลเยี่ยม (Belgian) ม้าพันธุ์เพอร์เชอร์รอน (Percheron) ม้าพันธุ์ไชร์ (Shire) ม้าพันธุ์ไคลเดสเดล (Clydesdale) ม้าพันธุ์ซัฟโฟล์ค (Suffolk) ม้างานเป็นม้าที่มีขนาดใหญ่ (Heavy Horses) สูงประมาณ ๑๕-๑๗ แฮนด์ (Hands) เมื่อโตเต็มที่มีขนาดน้ำหนัก ๖๑๔-๑,๐๐๐ กิโลกรัม

    ม้าขี่ (Riding Horse)

    เป็นม้าที่ใช้สำหรับขี่เดินทาง ม้าแข่ง ม้าสำหรับกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ม้าสำหรับขี่แข่งกีฬาโปโล ม้าขี่สำหรับเดินสวนสนามม้าขี่มีหลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น

    ·         พันธุ์อเมริกันแซดเดิล (American Saddle Horse)

    ·         พันธุ์อัพพาลูซา (Appaloosa)

    ·         พันธุ์อาหรับ (Arabian)

    ·         พันธุ์มอร์แกน (Morgan)

    ·         พันธุ์คลีฟแลนด์ เบย์ (Cleveland Bay)

    ·         พันธุ์พาโลมิโน (Palomino)

    ·         พันธุ์พินโต (Pinto)

    ·         พันธุ์เทนเนสซี วอล์คกิ้ง (Tennessee Walking)

    ·         พันธุ์เทอร์รับเบร็ด (Thoroughbred)

    ม้าขี่เป็นม้าที่มีขนาดสูงประมาณ ๑๔-๑๗ แฮนด์ เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนัก ๓๖๔-๕๙๑ กิโลกรัม

    ม้าโพนี่ (Pony Horse)

    เป็นม้าสำหรับการขี่ของเด็กๆ หรือเทียมรถลากขนาดเล็ก มีส่วนสูงประมาณ ๑๑-๑๔ แฮนด์ และเมื่อโตเต็มที่มีน้ำหนักประมาณ ๑๕๐-๓๘๖ กิโลกรัม ม้าโพนี่มีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น

    ·         พันธุ์อเมริกานา (Americana)

    ·         พันธุ์แฮกนี (Hackney)

    ·         พันธุ์เชตแลนด์ (Shetland)

    ·         พันธุ์เวลช์ (Welsh)

    ·         พันธุ์ฮาร์นเนส (Harness)

    พฤติกรรมการเรียนรู้ในม้า

    ม้าเป็นสัตว์มีประโยชน์สำหรับมนุษย์มากถ้ามีการฝึกฝน การฝึกม้าส่วนใหญ่จะใช้ negative reinforcement (ภาวะเสริมในเชิงลบ) คือ การใช้สิ่งกระตุ้นเร้าที่สัตว์ไม่ชอบ เพื่อบังคับให้ม้าเเสดงอาการตอบสนอง วิธีการฝึกหัดม้าที่ดีที่สุดคือ การพยายามที่ใช้เสียงเป็นคำสั่งหรือการกดหรือใช้น่องของผู้ขี่ม้าเเทนเเส้ตี

    การฝึกซ้อมม้า

    1. การฝึกซ้อมลูกม้า

    ส่วนมากควรจะให้มีอายุไม่น้อยกว่าปีครึ่ง การฝึกจะเป็นเรื่องของการฝึกนิสัย พฤติกรรมการฝึกบังคับม้าเบื้องต้น การใส่ขลุม จูงเดินออกกำลังกาย การฝึกตีวง วิ่งเรียบ การเตรียมการนี้ ไม่ควรน้อยกว่า3-6เดือน ต่อไปอาจเริ่มติดอานเพื่อความคุ้นเคย เมื่ออายุใกล้2ปี ก็อาจจะค่อยๆให้มารับน้ำหนักบรรทุก จนในที่สุดให้คนขึ้นขี่ควรฝึกซ้อมลูกม้าเข้าซองสตาร์ท และฝึกซ้อมลูกม้าควรเดินถอยหลัง ขึ้นลงทางลาด ขึ้นรถบรรทุก และแม้ในภาวะบรรทุกม้าหลายตัว ด้วยการฝึกซ้อมลูกม้าควรดำเนินไปไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรืออายุควรมากกว่า 2 ปี และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ เรื่องอาหาร ต้องให้เหมาะสมและสมดุลกับการฝึกและการออกกำลังกาย



    2.การฝึกซ้อมม้าแข่ง

    ควรเป็นม้าที่ได้เตรียมการฝึกซ้อมมาตั้งแต่ลูกม้ามีอายุไม่ต่ำกว่า 2 ปี ผ่านขั้นตอนต่างๆมาเป็นอย่างดี ถ้าเป็นม้าแข่งที่ได้มาใหม่ ควรจะได้ทำการศึกษาพฤติกรรม ความสนใจ หรือความสามารถในการทำงาน บางครั้งอาจจำเป็นจะต้องเริ่มวางโปรแกรมในการปฏิบัติ บำรุง การฝึก การออกกำลังกาย เพื่อให้ม้าใหม่รับงาน และคุ้นเคยกับการจัดการของเทรนเนอร์หรือการดำเนินการของคอก

    การฝึกซ้อมม้าแข่งมีหลักเกณฑ์และแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

    1.       ปลุกม้า และทำม้าเพื่อเตรียมซ้อม

    2.       นำม้าเดินออกกำลังกายโดยคนเลี้ยง

    3.       ติดอาน

    4.       การฝึกและออกกำลังกายม้า โดยขึ้นขี่ออกกำลังกายในสนามเป็นระบะเวลาหนึ่งกับกลุ่มม้าแข่งฝึกซ้อม ต่อมาเริ่มวิ่งเบาๆ เพื่อกระตุ้นความอยากออกกำลังกาย ผ่อนคลายการตึงของกล้ามเนื้อเอ็น ข้อขาต่างๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15-30 นาที ซึ่งอาจจะวิ่งซ้อมทั้งคู่ไปกับม้าอื่นๆ เพื่อกระตุ้นเร้าในการวิ่ง ดูอัตราเร็วการทำงาน การเสียดสีระหว่างม้า การตรวจจับเวลา ต่อไปก็ควรปล่อยให้ม้าลดระดับความเร็วเป็นการวิ่งโขยกในอีกระยะหนึ่ง จนม้ามีเหงื่อและการหายใจสัมพันธ์กันได้ดี จากนั้นจึงให้ม้าเดินในสนามอีกระยะหนึ่งเพื่อให้เหงื่อแห้งพร้อมกับได้พักอีกระยะหนึ่ง

    ม้าแข่งถูกปลดระวางจากสนามแข่งเมื่ออายุประมาณ 5 ปี เมื่อถูกปลดระวางแล้วเจ้าของอาจจะนำม้าไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น เช่น นำไปฝึกให้ล่าสัตว์ กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง หรือเล่นโปโล หรือนำไปเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

    เครื่องม้าและการเก็บรักษา

    เครื่องม้าและการเก็บรักษา เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในวงการม้าขี่และม้าแข่ง เพราะเรื่องม้าเป็นส่วนประกอบในการขี่ม้า ถ้าหากว่าการเก็บรักษา และการทำความสะอาดไม่ดีพอแล้ว อาจทำให้ชำรุดหรือเสียหายเร็วเกินไป หรือถ้าหากว่าผู้ใช้ไม่ตรวจให้ละเอียดรอบคอบแล้ว อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ขี่ม้า ถึงพิการ หรือเสียชีวิตได้

    เครื่องขี่ม้า ประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ เช่น

    ก. เครื่องบังเหียน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบังคับม้า เพื่อให้ม้าเลี้ยวไปตามทิศทางที่ผู้ขี่ต้องการ บังเหียนใช้ผูกบริเวณส่วนหน้าของม้า

    ข. อานม้า เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการนั่งขี่ และบังคับม้าด้วยเข่า มีส่วนประกอบที่สำคัญคือสายรัดทึบยึดติดตัวอานม้าไว้บนหลังไม่ให้เลื่อนไหลหรือพลิกกลับ และสายโกลนซึ่งใช้ในการเหยียบและยึดเท้าของผู้ขี่

    ค. เครื่องม้าและเบ็ดเตล็ดอื่นๆ ได้แก่ สิ่งต่างๆ ดังนี้

    ขลุมขี่ เป็นเครื่องมือบังคับม้าให้ทำตามความประสงค์ของผู้ขี่แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

    (๑) ขลุมเดี่ยว หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ชุดบังเหียนปากอ่อน ใช้สำหรับผูกบังเหียนอันเดียว

    (๒) ขลุมคู่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ชุดบังเหียนปากแข็ง ขลุมนี้ใช้สำหรับผูกกับบังเหียนคู่ เช่น บังเหียนปากอ่อนควบกับบังเหียน ปากแข็ง ซึ่งต้องมีสายรัดกระหม่อม ๒ สาย สายขลุม ๒ สาย สายบังเหียน ๒ สาย การใช้ขลุมคู่นี้มักจะใช้กับม้าที่มีนิสัยดื้อ เกเร ซึ่งหากใช้บังเหียนปากอ่อนจะไม่สามารถบังคับม้าได้ จึงใช้กับบังเหียนปากแข็งคู่

    ขลุมจูง เป็นขลุมที่ใส่ไว้เพื่อล่ามม้า ใช้มัดหรือจับจูงเดินในบริเวณที่ไม่ใช่แปลงปล่อยม้า ใช้เพื่อจูงเดินหรือล่าม เพื่อทำความสะอาดตัวม้า

    ขลุมตีวง เป็นขลุมที่มีไว้เพื่อใช้ฝึกม้าให้รู้จักทำตามคำสั่ง ขลุมนี้จะใช้กับม้าที่นำมาฝึกใหม่ๆ การใส่บังเหียนและอานม้า สิ่งสำคัญอีกอย่างในการดูแลรักษาม้า คือ การใส่บังเหียนและการใส่อานที่ถูกวิธี โดยจะต้องไม่หลวมหรือตึงจนเกินไปต่อการใส่ ซึ่งจะทำให้ม้าเกิดความคล่องตัวในการเดินหรือวิ่ง

    คุณสมบัติของผู้ขี่ม้าที่ดี

    การเป็นนักขี่ม้าที่ดี ต้องได้รับการฝึกสอนและมีการฝึกฝนเป็นประจำ ทั้งในทางปฏิบัติและทฤษฎี แต่การที่จะให้ทุกคนเป็นนักขี่ม้าที่ดีนั้นลำบาก เพราะสิ่งแวดล้อม เวลา และการอบรม ตลอดจนนิสัยของนักขี่ม้าแต่ละคนไม่เหมือนกัน ลักษณะของผู้ขี่ม้าที่ดี คือ

    1.       ต้องมีนิสัยเป็นคนเรียบร้อย สุภาพอ่อนโยน ปฏิบัติตามคำสั่งของครูฝึกสอนและเจ้าของคอกม้า รู้จักระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆ ในเรื่องการขี่ม้าของสนาม

    2.       มีนิสัยรักม้า เมื่อเกิดความรักก็มีใจเมตตาต่อม้านั้นๆ

    3.       ต้องมีความซื่อตรง โดยต้องเป็นคนไว้ใจได้ ซื่อตรงต่อหน้าที่ของตน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

    4.       ได้รับการฝึกมาแล้วเป็นอย่างดี การเป็นนักขี่ม้าแข่งได้ ต่อเมื่อได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว แม้เมื่อผ่านการทดสอบมาแล้วใช่ว่าจะเป็นนักขี่ม้าที่ดีต้องคอยซ้อมทบทวนหรือหาความชำนาญเสมอ

    5.       เป็นคนที่สนใจและชอบการขี่ม้า สนใจในการหัดม้า ไม่เกียจคร้านในการฝึกซ้อม พยายามสังเกตนิสัยของม้าเสมอๆ รู้จักม้า และจำม้าที่เคยซ้อมได้

    6.       มีความสามารถในการบังคับม้า หรือพูดได้ว่าขี่ม้าเก่ง ซ้อมม้าได้ดี รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบากับม้า

    7.       มีกำลังใจกล้าแข็งเหนือม้า ไม่กลัวม้าและไม่กลัวอันตรายที่ได้รับจากม้า ตลอดจนรู้ว่าอันตรายนั้นมีอะไรบ้าง มีความเข้มแข็งอดทน

    8.       ใจเย็นไม่ฉุนเฉียว ไม่ลงโทษม้าด้วยความโมโหโทโส รู้จักการลงโทษม้า ให้รางวัลม้าและรู้จักการฝึก การปลอบ การเอาใจม้า

    9.       ต้องมีความเมตตากรุณา รู้จักการให้อภัย เพราะม้าพูดกับเราไม่ได้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะสัมพันธ์กัน และม้าไม่เคยมีความรู้เรื่องการวิ่ง การแข่งมาก่อน เราต้องเป็นผู้ฝึกหัดให้

    10.   รู้จักการถนอมกำลังกายของตัวเอง เพื่อให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ รู้จักการรักษาเนื้อรักษาตัวให้เป็นคนที่แข็งแรง เพื่อมีกำลังกายกำลังใจ ความคิด ในการขี่ม้า

    บรรณานุกรม

    1.       1. อดิคม พร้อมญาติ. การเลี้ยงม้า.กรุงเทพมหานคร:,ม.ป.พ.,2525

    2.       2. http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK19/chapter4/chap4.htm

     

     

     เครดิต:http://www.vet.ku.ac.th/library-homepage/db_directory/horse/riding/trainhorse.htm

      ขอบคุณค่ะ

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×