|
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia fistula L.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE - Caesalpinioideae
ชื่อสามัญ Golden Shower, Indian Laburnum, Pudding-pine Tree, Purging Cassia
ชื่อพื้นเมือง คูน ชัยพฤกษ์ (ภาคกลาง) ลมแล้ง (ภาคเหนือ) ลักเคยลักเกลือ (ภาคใต้) กุเพยะ(กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) ปึยยะปูโย เปอโซ แมะหล่าหยู่ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ราชพฤกษ์ หรือคูน เป็นไม้ผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นอาจจะมีปุ่มตาบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นรูปทรงกรวยหรือรูปทรงกลมกลายๆ เรือนยอดโปร่ง (open crown) ความยาวเรือนยอดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปจะเป็น 2 ใน 5 ของความสูงทั้งหมด
โดยสภาพทั่วไปแล้ว ราชพฤกษ์เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการภูมิอากาศที่มีขอบเขตกว้างขวาง ภายในถิ่นกำเนิดเดิมตามธรรมชาติ ขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศ มีการเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.5-48.9 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 4.0-17.3 องศาเซลเซียส และต้องการปริมาณน้ำฝนตั้งแต่ 50.8-304.8 เซนติเมตร/ปี สามารถที่จะเจริญเติบโตบนดินได้เกือบทุกชนิด แม้แต่ดินตื้นและดินเลวและพบว่าสามารถขึ้นได้ที่ระดับความสูงถึง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล อัตราการเจริญเติบโตปานกลาง การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดแถบเอเชียเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศอินเดีย ศรีลังกา และมาเลเซีย
ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 9-15 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ ลำต้น ค่อนข้างเปลาตรง เปลือก สีเทาขาว หรือน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดหนาในต้นขนาดใหญ่ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ แกนยาว 20-30 เซนติเมตร ใบย่อย เกลี้ยงออกตรงกันข้าม 3-8 คู่ แผ่นใบย่อย รูปไข่ หรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 4-9 เซนติเมตร ยาว 7-13 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนสอบ กว้างหรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ก้านใบย่อยยาว 5-10 เซนติเมตร หูใบขนาดเล็ก หลุดร่วงง่าย
ดอก มีกลิ่นหอมออกเป็นช่อ 8-10 มิลลิเมตร แต่ร่วงง่าย กลีบเลี้ยง รูปกระจะห้อยลงออกตามกิ่งยาว 20-40 เซนติเมตร แกนเกลี้ยงก้านดอกย่อยยาว 1.1-3.5 เซนติเมตร ใบประดับยาวรีแกมไข่ ยาว 7-10 มิลลิเมตร มีขนละเอียดด้านนอกส่วนด้านในเกลี้ยง
กลีบดอก สีเหลืองสดรูปไข่ถึง ไข่กลับเบี้ยวเล็กน้อย กว้าง 10-15 มิลลิเมตร ยาว 25-35 มิลลิเมตร โคนเบี้ยวสอบเข้าเป็นก้านสั้นๆ เกสรเพศผู้ 10 อัน ขนาดไม่เท่ากันโดย 3 อันที่ยาวที่สุด 3 เซนติเมตร อับเรณูยาว 5 มิลลิเมตร เปิดด้านบนและด้านล่าง อีก 4 อันสั้นกว่ามีก้านยาว 8-10 มิลลิเมตร อับเรณูเปิดเฉพาะส่วนฐาน และอีก 3 อันที่ลดรูปลงมีขนาดเล็กยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร รังไข่ รูปแถบหรือขอบขนานแคบ ยาว 1.5-2 เซนติเมตร มีขนปกคลุมตลอดรวมทั้งก้านชูรังไข่ และก้านเกสร ผล หลังจากที่ดอกได้รับการผสมแล้ว จะมีการเจริญเติบโตของผล อย่างรวดเร็ว เป็นฝักกลมยาวถึง 60 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร ฝักสดสีเขียว ฝักแห้งสีน้ำตาลดำเลี้ยง เมล็ด มีจำนวนมากเรียงขวางโดยแต่ละเมล็ดจะมีเยื่อกันเป็นห้องๆ เมล็ดรูปรีแบน สีน้ำตาลเกลี้ยงเป็นมัน ยาว 8-9 มิลลิเมตร
การออกใบ ราชพฤกษ์จะผลัดใบ จนหมดทั้งต้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน และจะผลิใบใหม่ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม
การออกดอก จะพร้อมกันทั้งต้นพร้อมกับการผลัดใบคือระหว่างปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
การออกผล จะเริ่มราวเดือนพฤษภาคม และจะผลแก่ราวเดือนมกราคม ถึงเดือนเมษายน ผลแก่จะห้อยติดอยู่กับต้นช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นจะเริ่มร่วงราวเดือนเมษายน ไปเรื่อยๆจนหมดต้น ซึ่งเป็นเวลาพอดีกับฤดูกาลออกดอกรุ่นใหม่ | | |
การเก็บรักษาเมล็ดและการเพาะเมล็ด /
การปลูกและการดูแล /
การใช้ประโยชน์ /ปัญหาแมลงและศัตรู ข้อมูลจาก
http://www.dnp.go.th/Golden_Shower/Glodel.htm
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น