ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สารพันคำถามดาราศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #2 : เรื่องของดาวหาง : คำถามที่ 1 ค.ห.ที่ 2 ของคุณแกะนิทรา

    • อัปเดตล่าสุด 30 ก.ย. 49



    ถาม

    ความคิดเห็นที่ 2

    อยากได้ชื่อของพวกดาวหางที่เด่นๆในวงการดาราศาสตร์ครับ.... เช่น ชื่อ ทางวิทยาของดาวหางฮาเลห์อะไรเช่นนี้ และระยะทางที่มันเดินทางเข้ามาใกล้โลกที่สุดด้วยครับ^^ ...(ถ้าตอบแล้วช่วยแจ้งไปที่ myid ของผมให้จักดีมากครับ)


    PS.  เราต้องตีแผ่......... แล่ผลงานของคนอื่นให้กระจุย!!
    Name : แกะนิทรา < My.iD > [ IP : 58.137.21.2 ]
    Email / Msn:
    วันที่: 18 กันยายน 2549 / 15:06



    ตอบ


     ดาวหาง

             

    ดาวหางไม่ใช่ดาวตก ดาวหางเป็นวัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะ มีส่วนที่ระเหิดเป็นไอ เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและก๊าซที่ฝ้ามัวล้อมรอบและทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง

    ดาวหาง หรือคำว่า Comets ในภาษาอังกฤษนั้นมีรากศัพท์เป็น ภาษากรีก หมายถึง ดาวที่มีเส้นผมหรือมีหนวด เป็นเทหวัตถุบนท้องฟ้า ที่มีมวล น้อยมาก ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ โดยมีวงโคจร ระหว่าง ดาวเคราะห์ และเคลื่อนอยู่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีมาก รูปร่างและ ความสว่าง ของดาวหาง แต่ละดวงจะแตกต่างไปตามระยะทางที่มัน อยู่ห่างไกล จากดวงอาทิตย์
    ดาวหางประกอบด้วยสามส่วนใหญ่ ๆ คือ

    ดาวหางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

    ใจกลางหัว   หรือ นิวเคลียส (Nucleus)

    หัว    หรือ โคมา (Coma)

    หาง   (tail)


                 นิวเคลียสของดาวหางเป็น
    "ก้อนน้ำแข็งสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน

                 เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะ ให้น้ำแข็งระเหิดเป็นไอ และปล่อยก๊าซออกมาเกาะกลุ่มเป็นทรงกลมขนาดมหึมาล้อมรอบนิวเคลียส เรียกว่า โคม่า โคม่าอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึงหลายล้านกิโลเมตรก็ได้

                 จากการศึกษาดาวหางในย่านความถี่อัลตราไวโอเลต พบว่า มีชั้นของ
    ไฮโดรเจน 
    ห่อหุ้มดาวหางอีกชั้นหนึ่ง ไฮโดรเจนเหล่านี้เกิดจากไอน้ำที่แตกตัวอันเนื่องมาจากรังสีจากดวงอาทิตย์  ก๊าซและฝุ่นพุ่งเป็นลำออกจากนิวเคลียสในด้านที่หันเข้าหาดวง
    อาทิตย์ หลังจากนั้นจะถูกลมสุริยะพัดให้ปลิวออกไปทางด้านหลัง


                     หางของดาวหางยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
    หางก๊าซ หรือ หางพลาสมา หรือ หางไอออน ประกอบด้วยไอออนและโมเลกุลที่ส่องสว่างโดยการเรืองแสง ถูกผลักออกไปโดยสนามแม่เหล็กในลมสุริยะ ดังนั้นความผันแปรของลมสุริยะจึงมีผลต่อการเปลี่ยนรูปร่างของหางก๊าซด้วย หางก๊าซจะอยู่ในระนาบวงโคจรของดาวหาง และชี้ไปในทิศเกือบตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดี 

                   หางอีกชนิดหนึ่งคือ หางฝุ่น ประกอบด้วยฝุ่นหรืออนุภาคอื่น ๆ ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ถูกผลักออกจากดาวหางด้วยแรงดันของรังสีในขณะที่ดาวหางใกล้ดวงอาทิตย์ หางของมันอาจยาวได้ถึงหลายร้อยล้านกิโลเมตร

                   ดาวหาง (Comet) เป็นวัตถุในท้องฟ้าที่ไม่มีแสงในตัวเองประกอบด้วยฝุ่นผง ก้อนนำแข็งและก๊าซแข็งตัว และจะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรีมาก ขณะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะไม่มีหาง ไม่มีแสงสว่าง เมื่อ โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ พลังงานทั้งในรูปความร้อนและลมสุริยะ (อนุภาคมีประจุจะถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ สว่นใหญ่ประกอบด้วยโปรตอนและอิเลกตรอน) ทำให้นำแข็งกลายเป็นไอ ดาวหางจะขยายตัวใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น และพลังงานดังกล่าวจะพลักดันให้หางพุ่งในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ส่วนหางจะมีทั้งที่เป็นฝุ่น ฏ๊าซและโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้า

    ดาวหางแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม


    1.Periodical Comets คือ ดาวหางที่มีวงโคจรแน่นอน เช่นดาวหางฮัลเลย์จะมาปรกฏให้เห็นทุกๆ 76 ปี


    2.Non-Periodical Comets
    คือดาวหางที่มีวงโคจรที่ไม่แน่นอน


    ควรรู้เกี่ยวเกี่ยวกับดาวหาง


    ดาวหางฮัลเลย์ (Halley) โคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดประมาณวันที่ 12-15 พฤษภาคม 1988 และวงโคจรของดาวหางนี้จะเข้ามาใกล้โลกทุกๆ 76ปี แสดงว่า เราจะเห็นดาวหางฮัลเลย์อีกครั้งในปี ค.ศ.2064


    ดาวหาง Shoemaker - Levy 9 ชนดาวพฤหัสบดี เมื่อวันทื่ 18 กรกฎาคม 1988 ค้นพบโดย Carolyn Shoemaker ชาวอเมริกัน


    ดาวหาง Hale-Bopp ซึ่งค้นพบโดย Alan Hales และ Thomas Bopp ชาวอเมริกันได้ชื่อว่า เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสว่างที่สุด เข้ามาใกล้โลกที่สุดระหว่างปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ.2538 ดาวหางที่จะมีส่วนประกอบของดาวหางแยกออกมาเป็น 3 ส่วน ซึ่งประกอบด้วยที่เป็นไอออนมีสีส้ม ส่วนที่เป็นโซเดียมมีสีเหลือง และส่วนที่เป็นฝุ่นผงมีสีเขียว

    ดาวหาง Ikeya-Seki
    โคจรมาให้เห็นบนโลกในปี ค.ศ. 1965 นับได้ว่าเป็นดาวหางที่สว่างมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากดาวหาง Hale-Bopp

    ดาวหาง Centaur 2060 Chiron ค้นพบโดย C.T.Kowal ในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1977 ได้ชื่อว่าเป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ที่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาวประมาณ 182 km


    ดาวหาง Encke เป็นดาวหางที่เวลาเคฃื่อนที่รอบวงโคจรสั้นที่สุด คือ 1,198 วัน วงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด 4.95X10000000 km และมีความเร็วในวงโคจรขณะนั้น 2.54X100000 km/h

    ดาวหาง Mcnaught-Russel l ค้นพบโดย Robert H. Mcnaught และ Kenneth S.Russell ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1993 เป็นดาวหางที่มีเวลาเคลื่อนที่รอบวงโคจรยาวที่สุด คือ 1,550ปี


    ส่วนสำคัญที่สุดของดาวหางนั้นอยู่ตรงใจกลางหัวที่ เรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นเทหวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ที่ปะปนอยูกับก้อนน้ำแข็งสกปรก และ ก๊าซแข็ง โดยที่ใจกลางหัวจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวระหว่าง 1-10 กิโลเมตร โดยที่จะ เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วยอำนาจของแรงโน้มถ่วง ตามกฎของนิวตัน เช่นเดียว กับดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง โดยวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเป็นวงรีมาก และอัตรา เร็วในการเคลื่อนที่จะไม่คงที่ เพราะความเร็วจะลดลง เมื่อโคจรอยู่ห่าง จา ดวงอาทิตย์ และจะโคจรด้วยความเร็วสูง เมื่ออยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เมื่อใดก็ตาม ที่ดาวหาง เลื่อนตัวอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ส่วนของน้ำแข็งสกปรก ที่อยู่บริเวณผิวนอกใจกลางหัว จะระเหิดกลายเป็นไอ และมีฝุ่นละออง กระเด็นออกไปด้วย ก๊าซและฝุ่นละอองที่กระจายออกไปนั้นจะคลุมอยู่รอบๆ นิวเคลียสหรือ ใจกลางหัว กลายเป็นหัวหรือที่เรียกว่า โคมา (Coma) บริเวณส่วนหัวนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นระยะยาวถึง 100,000 กิโลเมตร มีส่วนประกอบของไฮโดรเจน ซึ่งเป็นธาตุที่เบาที่สุด และขยายตัวเร็วกว่าก๊าซอื่นๆ กลายเป็นเมฆไฮโดรเจนปกคลุม บริเวณรอบๆ ส่วนหัว และมีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง ของดวงอาทิตย์ เมื่อดาวหางเคลื่อนตัว เข้าใกล้ ดวงอาทิตย์มากขึ้น จะเห็นหางยาวออกไปจากบริเวณหัว และมีแสงสว่างสุกใส หันหางออกไปทิศตรงกันข้าม กับดวงอาทิตย์ ซึ่ง ความสว่างของดาวหางส่วนหนึ่ง เกิดจากการได้รับแสงสว่างจาก ดวงอาทิตย์สะท้อนจากก๊าซ และฝุ่นละอองของดาวหาง และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากพลังงานความร้อน จากดวงอาทิตย์ในรูปความดัน ของการแผ่รังสี และในรูปของลมสุริยะ ซึ่งจะทำให้น้ำแข็งสกปรกที่หัวดาวหาง จะระเหิดกลายเป็นไอ ผลักดันให้ก๊าซและฝุ่นละออง ที่อยู่ในหัวดาวหางพุ่งกระจายไป ทิศทางตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนหางนี้จะประกอบด้วยฝุ่น ก๊าซและโมเลกุล ที่มีประจุไฟฟ้า มีลักษณะบางมาก ดาวหาง บางดวงมีหางยาวมาก เป็นร้อยล้านกิโลเมตร ขนาดระยะทางจากโลก ถึง ดวงอาทิตย์ทีเดียว


                    ดาวหางสันนิษฐานว่าเกิดจากบริเวณที่เลยออกจากระบบสุริยะออกไป เลยแถบเข็มขัดไคเปอร์ออกไปอีก เรียกบริเวณนี้ว่า หมู่เมฆออร์ต เป็นแหล่งก้อนน้ำแข็งสกปรก ต้นกำเนิดของดาวหาง


                        อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครยืนยันชัดเจนถึงจุดกำเนิดของดาวหาง เพราะนานๆ จะมีดาวหางปรากฎ ให้สังเกต หรือศึกษา สักครั้งหนึ่ง แต่จากการคำนวณของนักวิทยาศาสตร์ พอจะทราบเกี่ยวกับเส้นทางโคจร ของดาวหาง พอสมควร เส้นทางโคจรของดาวหาง มีความสลับซับซ้อน เพราะมีอิทธิพลมาจากแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ ขณะเดินทาง ดาวหางยิ่งเดินทางผ่านดาวเคราะห์มากเท่าใด ย่อมได้รับอิทธิพลแรงดึงดูดของดาวเคราะห์ดวงนั้น มากเท่านั้น ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีมวลมาก จะส่งผลกระทบต่อการโคจรของดาวหางมาก นักดาราศาสตร์ สามารถที่จะคำนวณเส้นทางวงโคจรเดิม และวงโคจรในอนาคตของดาวหางได้ โดยศึกษาอิทธิพล ของสนามดึงดูดจากดาวเคราะห์ที่ดาวหางจะโคจรผ่าน

       เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์บ่อยครั้งมันจะสูญเสียก๊าซ ฝุ่น และหินไป เนื่องจากความร้อนจากดวงอาทิตย์ ในที่สุดดาวหางจะสลายตัวไป นักดาราศาสตร์ ชาวเนเธอร์แลนด์ชื่อ แจน อูร์ต (Jan Oort) จึงได้ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า เนื่องจากดาวหาง สลายตัวได้ ดังนั้นจึงน่าจะมีแหล่งของดาวหาง ที่คอยส่ง ดาวหางเข้า ดวงอาทิตย์อยู่ ดาวหางเหล่านี้จะเป็นเพียงก้อนน้ำแข็งสกปรก ไม่มีหัวไม่มีหาง กระจายอยู่ทุกทิศทาง บริเวณขอบนอกของระบบสุริยะที่เรียกว่า ดงดาวหางของอูร์ต (Oort's Cloud) ซึ่งมีดาวหางอยู่มากมายถึง 2 ล้านล้านดวง กลุ่มของดาวหางนี้ จะประกอบด้วย นิวเคลียสประมาณ 1011 ดวง



    จาก
    http://www.geocities.com/witit_mink/starhag.htm  เสริมข้อมูลโดย ประธานงับ

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×