ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โครงการพิเศษด้านวิชาชีพ

    ลำดับตอนที่ #5 : โครงการหนังสือศิลปะพัฒนาสมาธิ

    • อัปเดตล่าสุด 2 ต.ค. 54


    โครงการหนังสือศิลปะพัฒนาสมาธิ



    บทที่ 1

    บทนำ

    ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา

             ด้านการฝึกสมาธิ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้มีสมาธิเพื่อทำสิ่งต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อ                         การใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยไม่ประมาท ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการฝึกพัฒนาด้านสมาธิตั้งแต่วัยเด็ก

             สื่อ หรือสื่อการสอนที่เรียกกันแต่เดิมว่า อุปกรณ์การสอน(Teaching Aids) นั้น ก็คือ วัสดุเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ช่วยในการฝึกสมาธิให้มีประสิทธิภาพ อันจะช่วยให้ผู้ฝึกสมาธิในกิจกรรมต่างๆได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้นสำหรับบุคคลที่ต้องการฝึกสมาธิต้องทำความเข้าใจกับการฝึกสมาธิสมาธิคือการที่มีใจตั้งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างแน่วแน่ กล่าวในภาษาชาวบ้านก็คือ การมีใจจดจ่ออยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านนั่นเอง  การทำสมาธิแบบนี้ไม่ได้เน้นการเข้าถึงนิพพาน หรือความสิ้นไปของอาสวะ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่ดีหากต้องการปฏิบัติต่อไปในขั้นสูง หากแต่มีประโยชน์ที่เห็นได้ทันทีก็ได้จากในชีวิตประจำวัน ทำให้เรามีจิตใจผ่องใส ประกอบกิจการงานได้ราบรื่นและคิดอะไรก็รวดเร็วทะลุปรุโปร่ง เพราะว่าระดับจิตใจได้ถูกฝึกมาให้มีความนิ่งดีแล้ว เมื่อมีความนิ่งเป็นสมาธิดี หากพูดถึงศิลปะ ไม่เพียงแต่จะเป็นกิจกรรมยามว่างที่น่าสนใจแล้ว ศิลปะยังให้คุณค่าพิเศษ ที่จะช่วยส่งเสริมสติปัญญา และจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของสมาธิคนเรา เห็นได้จากศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นนักคิด นักเขียน หรือนักแต่งเพลง ถ้าไม่มีความละเอียดอ่อน ก็ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่ดี และเข้าถึงอารมณ์ของผู้รับได้ ไม่เพียงแต่ศิลปะจะช่วยพัฒนาอารมณ์ และสมาธิแล้วเด็กที่ถูกเลี้ยงดูมากับศิลปะ หรือพ่อแม่ที่หยิบยื่นกิจกรรม ทางศิลปะให้กับเด็กตั้งแต่เล็ก โตขึ้นจะเป็นคนมีรสนิยมที่ดี สามารถเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสม ให้กับตัวเองได้ นำไปสู่การใช้ชีวิตเป็น ส่งผลให้สงคราม และความขัดแย้งเกิดขึ้นน้อย เพราะทุกคนเห็นความงามที่เกิดจาก การมีศิลปะอยู่ในหัวใจ ทำให้มีจิตใจที่ดีงามตามไปด้วย สมัยนี้ศิลปะกับเด็กมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น เมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่เลี้ยงกันแบบตามมีตามเกิด นั่นเพราะอาจยังไม่เข้าใจว่า ศิลปะคืออะไร แต่จริงๆ แล้วศิลปะมันอยู่รอบตัวเรา ศิลปะมันคือความหลากหลาย  เราจะเอาศิลปะเข้าช่วยในเรื่องสมาธิของเด็กๆ เพื่อจินตนาการความคิดความสร้างสรรค์ออกมา

              เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสมาธิ จะมีลักษณะความจำที่ไม่ดี ลืมสิ่งที่เรียนไปแล้วเร็วกว่าเด็กที่มีสมาธิ ดังนั้นการให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสมาธิ จะต้องให้เด็กทำสิ่งนั้นซ้ำๆ บ่อยๆ จะช่วยให้เด็กเกิดความชำนาญ ทำได้ถูกต้อง และมีความแน่วแน่ให้การทำสิ่งนั้นๆ

             ศิลปะบำบัด  คือ การใช้กิจกรรมทางศิลปะในหลายรูปแบบทั้งการวาด ฯลฯ เพื่อวินิจฉัยหาข้อบกพร่อง ความผิดปกติบางประการของกระบวนการทางจิตใจ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นคำพูด หรือมีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งงานศิลปะจะช่วยให้บุคคลเหล่านี้ได้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดที่เก็บกดเอาไว้ นอกจากนั้นงานศิลปะยังนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์คนไข้ได้ด้วย โดยจะวิเคราะห์อาการจากผลงานหรือการแสดงออกทางผลงานศิลปในขณะที่ศิลปะบำบัด ความสำคัญจะอยู่ที่กระบวนการในระหว่างการทำงานศิลปะ ไม่ต้องแคร์ว่าผลงานสุดท้ายจะออกมายังไง จะสวยไม่สวยไม่สำคัญ ให้รู้แต่ว่ากำลังวาดอะไร ทำอะไร คิดอะไร และมีสมาธิกับสิ่งตรงหน้ามากกว่า เป็นการใช้ศิลปะเพื่อทำให้ร่างกายและอารมณ์ดีขึ้น ซึ่งหัวใจของศิลปะบำบัด คือปลดปล่อย มีการพัฒนาทางอารมณ์  ใจเย็น ทำอะไรแล้วมีสมาธิ  ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากกระบวนการของการทำศิลปะบำบัดทำให้สามารถวิเคราะห์  และรับรู้ได้ว่าสภาพจิตใจของแต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร  หลังจากให้ทดลองทำงานศิลปะแล้ว เช่น อาจจะทดลองให้ทำศิลปะบำบัดด้วยกัน 2 คน และให้วาดรูปในกระดาษแผ่นเดียวกัน  ให้วาดคนละครั้ง  คนละด้าน  สลับกันไปเรื่อยๆจนสุดท้ายภาพที่วาดก็อาจจะเลยมากินเนื้อที่กัน  ด้วยข้อจำกัดของกระดาษ  ซึ่งบางคนที่ภาพโดนกินเนื้อที่ไปก็อาจจะรู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด รู้สึกเหมือนถูกล้ำเส้น  ถูกระราน  ก็อาจจะเริ่มหงุดหงิดควบคุมตนเองไม่ได้  บางคนก็อาจจะถึงขั้นฉีกกระดาษ ล้มโต๊ะ ซึ่งก็มีแนวโน้มว่าคนคนนั้น จะไม่ชอบให้ใครมารุกล้ำในพื้นที่ส่วนตัวของตนเอง นอกจากนั้นเด็กบางคนที่อาจจะเกิดอารมณ์โมโห ไม่พอใจ แต่เมื่อมาทำงานศิลปะชิ้นหนึ่งเสร็จเขาก็อาจจะอารมณ์ดีขึ้น ใจเย็นขึ้นได้ หรือแม้แต่ในเด็กที่สมาธิสั้นหรือเด็กพิเศษ เมื่อมาทำงานศิลปะเขาก็จะมีสมาธิจดจ่ออยู่แต่ในสิ่งที่ทำได้นานขึ้น เพราะเขาได้วาดภาพ ได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ

     ความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ประสงค์ของการศึกษา

    1.             เพื่อเป็นการพัฒนาการทางด้านสมาธิสำหรับเด็กที่มีปัญหาเรื่องสมาธิ

    2.             เพื่อมุ่งเน้นให้เด็กได้มีการพัฒนาเรื่องสมาธิ

    สมมติฐานของการศึกษา

               การนำศิลปะมาช่วยเพื่อการพัฒนาเรื่องสมาธิ เพื่อสามารถพัฒนาการทางด้านของสมาธิ ให้มีใจจดจ่อให้การทำสิ่งต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดูแลตัวเองได้ในกิจวัตรประจำวัน

    ขอบเขตของการศึกษา

    การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะเนื้อหาที่จะนำไปสู่การพัฒนาทางด้านสมาธิสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่อง

     
    ขั้นตอนการศึกษา

    1.             ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์

    2.             นำข้อมูลจากข้อมูลให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจ

    3.             สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

    4.             สรุปอภิปรายผลวิจัยและข้อเสนอแนะ

    ความจำกัดของการศึกษา

    1.             ด้านข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับศิลปะที่ใช้เพื่อพัฒนาทางด้านการฝึกสมาธิ

    2.             ด้านผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการพัฒนาทางด้านสมาธิ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากทางสถาบัน

    นิยามศัพท์เฉพาะ

    1.             สื่อ หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียน การสอน มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้ที่จะพัฒนาทางด้านสมาธิ โดยการสัมผัสหลายด้าน

    2.             ทักษะ หมายถึง การฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และจะต้องสอดคล้องกับจิตวิทยา และพัฒนาการของผู้ฝึก

    3.             อารมณ์ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าภายใน และภายนอก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ

     

     

     บทที่ 2

    เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     

    1.              เอกสารที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของธรรมะ

             ธรรมะ เป็นสิ่งที่ต้องศึกษาค้นคว้าและเข้าถึงโดยวิถีทางอย่างวิทยาศาสตร์ มิใช่โดยทาง ตรรกะ -นยะ -คณิตศาสตร์ -หรือฟิโลโซฟี่ ที่ต้องใช้สมมติฐาน (HYPOTHESIS) หากแต่ต้องใช้ปัญญาโดยตรง ที่รู้สึกอยู่ในจิต เป็นวัตถุสำหรับศึกษาพิสูจน์ทดลองต้องเรียนธรรมะโดยวิถีทางวิทยาศาสตร์ อย่าเรียนอย่างฟิโลโซฟี่ หรืออะไร ๆ ที่ต้องใช้สมมติฐานเช่นนั้น ซึ่งไม่มีทางที่จะเข้าถึงตัวแท้ของธรรมะ ซึ่งจะดับทุกข์ได้โดยแท้จริง

             ธรรมะ คือ หน้าที่ของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดและทุกระดับตามกฎของธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาและความสุขสันติทั้งทางวัตถุและจิตใจ แม้ที่สุดแต่ทางการเมือง ทั้งภายนอกและภายใน

             ธรรมะแท้ คือ หน้าที่อันถูกต้องของตัวใครตัวมัน อันเขาจะต้องทำให้ดีที่สุด จนพอใจตัวเอง ยกมือไหว้ตัวเอง เคารพตัวเองได้ อยู่ตลอดเวลา ใครมีธรรมะอย่างนี้กันบ้างในการศึกษาธรรมะนั้น สิ่งที่ต้องรู้จักกันเสียก่อนอย่างชัดเจน คือ อุปาทาน (SPIRITU ALATT ACHMENT) และความทุกข์ อันเป็นผลเกิดจากสิ่งนั้น ในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง ในความรู้สึก มิใช่การอ่าน หรือการคำนวณโดยเหตุผลชีวิตเป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ จิตเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ โดยการเติมธรรมะลงไปอย่างถูกต้อง ตามกฎของอิทัปปัจจัยตาโลกทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความรู้สึกทางผัสสะ เกิดดับอยู่กับการเกิดดับของผัสสะ เราจึงควบคุมและปรับปรุงโลกได้ ด้วยการกระทำต่อผัสสะ

           ความทุกข์ทั้งปวงสรุปรวมอยู่ที่อุปาทาน อันแสดงอาการออกมาเป็นความรัก โกรธ เกลียด กลัว วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หึงหวง อาฆาตพยาบาท ความดิ้นรนทางเพศ ความละเหี่ย และความฟุ้งซ่าน ดังนั้น จงรู้จักสิ่งที่เรียกว่าอุปาทานให้ถึงที่สุด

            ความดับแห่งทุกข์ มีอยู่ในตัวความทุกข์ ดังนั้น พอรู้สึกเป็นทุกข์ ก็จงมองหาเหตุของมันในตัวมัน พบแล้วจะพบความดับทุกข์ที่นั่นเอง ราวกับว่าหาพบจุดเย็นที่สุดในกลางเตาหลอมเหล็กที่ลุกโชน เราเรียกกันว่า หาพบนิพาน ท่ามกลางวัฏฏสงสาร

    การทำงานให้สนุก และรู้สึกเป็นสุข ในขณะที่กำลังทำงานนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้และน่าสนใจเพียงไรขอให้ฟังดูให้ดีมีความรู้จริงเห็นจริงว่า หน้าที่การงานของสิ่งมีชีวิตนั้นแหละ คือธรรมะ หรือพระเจ้า ที่จะช่วยได้จริง ๆ ดังนั้น จงทำหน้าที่ทุกอย่างด้วยความรู้สึกว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ก็พอใจและรู้สึกเป็นสุข

    ความสุขที่คนธรรมดาสามัญเข้าใจกันนั้นหาใช่ความสุขไม่ เป็นเพียงความเพลิดเพลินที่หลอกลวงทางอายตนะ และแพงมาก ความสุขที่แท้จริงนั้นไม่ต้องใช้เงินเลย แต่ทำให้เงินเหลือ

    ความสุขที่แท้จริง เกิดจากความพอใจในการได้ทำหน้าที่หรือปฏิบัติธรรมะ กลับไปบ้าน ทำงานในหน้าที่ให้สนุก และรู้สึกเป็นสุขเสียเมื่อกำลังทำงานทุกศาสนามุ่งที่ความรอด (EMANCCIPATION) เป็นจุดหมายเหมือนกันทั้งนั้น รอดตาย(ทางกาย) รอดจากทุกข์ (ทางจิต) แม้วิธีการให้รอดนั้นจะต่างกันบ้าง

    ศาสนามี่มีพระเจ้า ก็ว่า รอดเพราะพระเจ้าช่วยให้รอด พุทธศาสนาว่า รอดเพราะการกระทำที่ถูกต้องตาม      กฎอิทัปปัจจยตา พระเจ้าชนิดที่มิใช่บุคคล หรือมีความรู้สึกอย่างบุคคล

    ถ้าดูตามความหมายของสัญลักษณ์กางเขนแล้วศาสนาคริสต์ก็สอนให้ตัดตัวตนด้วยเหมือนกัน (ตัว ที่ยืนอยู่ แล้วถูกตัดที่คอ) และสอนไม่ให้ติดดีติดชั่ว (คำสอนหน้าแรก ๆ ของคำภีร์ไบเบิ้ล ที่พระเจ้าห้ามมิให้อาดัมกับอีฟกินผลไม้ของต้นไม้ที่ทำให้รู้สึกดีชั่วจนติดดีติดชั่ว)

    ต้องรู้จักความหมายที่แท้จริงของคำว่า ทางกาย ทางจิต ทางวิญญาณ ทั้งสามอย่าง อย่างถูกต้องทั่วถึง ถ้าไม่รู้ก็จะเอาไปปนกัน แล้วจะหาไม่พบสิ่งสูงสุด

    ต้องรู้จักความต่างกันของเครื่องมือดับทุกข์ทั้งสามอย่าง คือ ความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นแจ้งแทงตลอด มิฉะนั้นจะไม่เข้าถึงสิ่งที่ดับทุกข์ได้

    คำว่า ธรรมะมีความหมาย 4 อย่าง คือ ตัวธรรมชาติ , กฎของธรรมชาติ , หน้าที่ของกฎธรรมชาติ , และผลจากหน้าที่นั้น

             คำว่า ศาสนาหรือ RELIGION คือการปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ ที่ทำให้เกิดความผูกพันกันระหว่ามนุษย์กับสิ่งสูงสุด ชนิดที่มีผลเป็นการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

     ธรรมะ มิได้เป็นของตะวันออกหรือของตะวันตก แต่เป็นของทุก ๆ ปรมาณู ที่ระกอบกันขึ้นเป็นสากลจักรวาล (COSMOS) ดังนั้นเป็นการน่าหัวที่จะพูดว่าศาสนาของตะวันออกหรือศาสนาของตะวันตก

     โดยอาศัยอำนาจของธรรมะ เราสามารถมีชีวิตชนิดที่ไม่มีการกระทบกระทั่ง (CONFLICT) และไม่มีความทุกข์ (DISSATISFACTORINESS) ทุก ๆ ชนิดเหนือธรรมดา

     อย่าเข้าใจผิดคำว่า เหนือโลกจนไม้ได้รับประโยชน์อะไร จากสิ่งอันประเสริฐนี้ คือ การอยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งแวดล้อมใด ๆ ในโลกนี้

     คำว่า นิพพานคือ ความเย็น (ทางวิญญาณ) ของชีวิตที่มากขึ้นไปถึงระดับที่ ความร้อนของกิเลส หรือไฟสามชนิดตามขึ้นไปไม่ถึง

     ที่ท่านพูดว่า สมาธิ มีผลทำให้เลิกอบายมุขได้ทุกอย่างมีสุขภาพและอารมณ์ดี เลิกสำมะเลเทเมาได้นั้นยังน้อยเกินไป มันให้อะไรมากกว่านั้นมากนัก เช่น ช่วยให้มีจิตใจอยู่เหนือโลก ฯลฯ หมดปัญหาทุกอย่างทุกชนิดที่ท่านยังไม่เข้าใจ

     การบวช มิใช่สิ่งแปลกประหลาด หากแต่เป็นสิ่งที่ทำให้เปิดโอกาสและความสะดวกอย่างยิ่ง ในการที่จะศึกษาฝึกฝนให้ชีวิตมีธรรมะ ชีวิตคลองเรือนนั้นคับแคบและอึดอัดมากไม่สะดวก การบวชจึงเป็นสิ่งที่อย่างน้อยก็ควรลอง

    ชีวิตใหม่ที่ปราศจากการกระทบกระทั่ง และความไม่สะบายใจทุก ๆ ชนิดนั้น เป็นสิ่งที่มีได้เมื่อชีวิตนั้นประกอบด้วยธรรม 

    ผู้ทำบุญไปสวรรค์ต้องรู้ไว้ว่า เทวดาเขาต้องจุติมาสุคติกันที่มนุษยโลก
    คำว่าศาสนาในความหมายสูงสุด คือวิธีการเพื่อความรอด ทุกชนิดทุกระดับ
    พุทธศาสนาทำให้รู้จักทุกอย่างที่เกี่ยวกับชีวิตในลักษณะที่ไม่เกิดทุกข์
    ชีวิตใหม่ คือชีวิตที่ปัญหาและคำถามเกี่ยวกับความทุกข์จางลงและหมดไป
    ยิ่งเจริญคือยิ่งบ้าด้วยวัตถุ ยิ่งบ้าก็ยิ่งเห็นว่าเป็นความเจริญ
    การเป็นเกลอกับธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสนใจ
    ทุกคนสามารถเป็นพุทธทาสได้ไม่มากก็น้อย แต่เขาไม่สนใจกันเสียเลย
    คนเกลียดวัดเกลียดธรรมะ โดยมากไม่รู้สึกตัวว่าเกลียด จึงไม่มีความคิดที่จะหมุนเข้ามาหาธรรมะ
    วินัยเป็นสิ่งที่ทรงบัญญัติขึ้น ธรรมะเป็นสิ่งที่ทรงพบแล้วแสดงออก มันต่างกันอย่างนี้
    ชีวิตรอดอยู่ได้ด้วย "นิพพานชั่วคราว" ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มิฉะนั้นก็เป็นโรคประสาทและตายกันหมดแล้ว
    ให้โอกาสและวิธีช่วยตัวเอง นั้นแหละเป็นการให้ธรรมทานที่แท้จริง
    จะให้ใครขยัน ต้องให้วิธีป้องกันโรคจิตไปด้วย
    ถ้าคนรู้ว่า ทำไมสัตว์ไม่เป็นโรคประสาท คนก็จะไม่เป็นโรคประสาทมากขึ้น
    มีธรรมะแล้วก็เหมือนอยู่ในมุ้ง แล้วกวักมือยุง(ความทุกข์)มาให้กัด
    ถ้าดูให้ดี มีแต่ได้ ไม่มีเสีย แม้แต่ความทุกข์และความตาย ซึ่งเกลียดกลัวกันนัก
    ที่ว่า ของประชาชน-เพื่อประชาชน-โดยประชาชนนั่นระวังให้ดี ๆ เพราะเป็นของประชาชนคนบ้าก็ได้
    เมื่อนายทุนรักกันได้กับกรรมกร ก็มีสันติภาพถาวร
    ความสุขที่แท้จริงไม่ต้องใช้เงิน แต่ทำให้เงินเหลือ
    เลี้ยงหมาเป็นอาจารย์ เพื่อจะได้เป็นคน ไม่เป็นหมา
    พอใจจนไหว้ตัวเองได้ คือสวรรค์ที่แท้จริงที่นี่เดียวนี้

     

     

    ความสุข

    ความเอ๋ย ความสุข                         ใครใครทุก คนชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา
    "แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกเวลา"                   แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ
        ถ้าเราเผา ตัวตัณหา, ก็น่าจะสุข,          ถ้ามันเผา เราก็ "สุก" หรือเกรียมได้
    เขาว่าสุข สุขจริงเน้อ อย่าเห่อไป               มันสุขเย็น หรือสุขไหม้ ให้แน่เอย ฯ

     

     พระธรรมก็คือศิลปะ

    เดี๋ยวก็จะได้ดูกันเป็นเรื่องๆไปว่ามันความงามอย่างไร ทีนี้นอกจากงามแล้วยังเป็นของละเอียดอ่อน ต้องทำอย่างมีฝีไม้ลายมือ เช่นว่า จะทำสมาธิบังคับจิตให้ได้ อย่างนี้มันต้องละเอียดอ่อนต้องมีฝีมือยิ่งกว่าหมอฝันหรือทันตศิลปินเป็นอันมาก เพราะว่ามันเป็นเรื่องทางจิตใจมันละเอียดอ่อนกว่าเรื่องทางวัตถุ ที่ว่ามันสำเร็จประโยชน์มันสำเร็จประโยชน์ยิ่งกว่าสิ่งใด บรรดาสิ่งที่ให้สำเร็จประโยชน์แก่มนุษย์เราแล้วไม่มีสิ่งใดจะให้สำเร็จประโยชน์มากเท่าธรรมะหรือพระธรรม ดังนั้นพระธรรมจึงมีความงามมีความละเอียดอ่อนในความประพฤติ และมีความสำเร็จประโยชน์สูงสุด พระธรรมก็คือศิลปะ 

    ศิลปะแท้จริงก็คือพระธรรม เรารู้จักพระธรรมกันในแง่นี้หรือเปล่า ที่แล้วๆ มาเราสนใจกันแต่เรื่องมีประโยชน์ดับทุกข์ได้ แต่ไม่ค่อยคำนึงถึงความงาม ดังนั้นมันจึงโง่ เราไม่ได้คำนึงถึงความละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ เพราะมันทำหยาบๆ มันมีนิสัยทำหยาบๆ หวัดๆ มาตั้งแต่เกิด มันก็มาทำกันไม่ได้กันกับพระธรรม และก็ไม่รู้จักมุ่งหมายความงดงามด้วย มันก็เข้ารูปกันยาก มันไม่เข้ารูป มันไม่ถูกฝังถูกตัวกันอย่างนี้อีก ธรรมะก็ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ยบุคคลชนิดนี้ ซึ่งมันไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือความพอใจในสิ่งที่เรียกว่า ศิลปะ 

    เมื่อพระธรรมเป็นศิลปะอย่างเต็มตัว คนที่ไม่รู้เรื่องศิลปะมันก็รู้เรื่องพระธรรมไม่ได้ จึงขอให้สนใจคำว่า ศิลปะกันให้ถูกต้องและเต็มที่ เดี๋ยวนี้อาตมายังเติมคำว่าปรมัฏฐเข้าไปข้างหน้าด้วยเป็น ปรมัฏฐศิลปะ ก็คือศิลปะที่มีความหมายอย่างยิ่ง มีประโยชน์อย่างยิ่ง ถึงที่ยิ่ง ถึงที่สุด และก็ระบุเฉพาะในด้านการครองชีวิต ไม่ใช่เรื่องการขีดเขียน การระบายสี การตกแต่ง การกระทำอย่างวัตถุภายนอก เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องในจิตใจในภายใน 
          นี่สรุปความว่า ถ้าไม่งามก็ไม่ใช่ศิลปะ แม้จะดีมีประโยชน์อย่างไรก็ไม่ใช่ศิลปะ ต้องงามถึงจะเป็นศิลปะ เพราะใจความสำคัญมันอยู่ที่นั่น คำว่างดงามมันหมายถึงค่า ที่เป็นไปในทางความสุขด้วยเหมือนกัน เพราะว่าสิ่งใดงามย่อมทำความพอใจ สบายใจให้แก่บุคคลนั้นๆ เพราะว่ามันจะเป็นสัญชาตญาณได้ 

      1.1ข้อมูลและสภาพปัญหา

     

          เด็กสมัยนี้พอมีเวลาว่างวันอาทิตย์ก็จะนัดรวมพลเพื่อนเดินห้างฯ ช๊อปปิ้งเฮฮากันไปตามประสาวัยมันส์ แต่นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีแน่นอน  เราจึงต้องมาแก้ไขปัญหาจุดนี้คือเปลี่ยนจากการนัดเพื่อน เพื่อมาเที่ยงเล่น    ช๊อปปิ้ง ก็ให้มาจับกลุ่มสร้างสรรค์ผลงานตัวเองขึ้นมาถือว่าให้เด็กๆเค้าได้แข่งขันกันไปเองว่าผลงานของใครที่จะเจ๋งกว่ากัน และมันก็จะเกิดการพัฒนาฝีมือ ฝึกฝนเพื่อให้ผลงานตัวเองออกมาดี และการใช้ศิลปะก็เป็นการฝึกสมาธิให้เด็กๆมีจิตใจ แน่วแน่มีสมาธิในการวาดภาพ หรือร่างสิ่งใดๆลงไป ภาพเรานั้นอาจแสดงออกมาถึงความคิดของตัวเด็กเองก็ได้

    2. เนื้อหาของธรรมะกับศิลปะ

       

          หลักในการจัดเนื้อหาสาระของโครงงานนี้ยังได้จัดให้เหมาะสมกับวัยผู้ที่ศึกษา

                ส่วนที่เป็นเนื้อหา  มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สิ่งที่ควรรู้ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน ซึ่งมีลักษณะความรู้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับพระรัตนตรัย

                ส่วนที่เป็นภาคปฎิบัติมุ่งให้ผู้ศึกษา รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักนำความรู้ในเนื้อหาเกี่ยวกับ หลักธรรมที่เรียนมาไปใช้ชีวิตจริง  และสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ  ทางวัตถุ  และทางสังคมโดยเน้นวิธีเรียน วิธีสอนที่เน้นการใช้ปัญหาหรือวัตถุเป็นตัวตั้งให้ผู้สอนช่วยกระตุ้นหรือชี้แนะ  ให้ผู้ที่ศึกษารู้จักสังเกต  รู้จักการแก้ปัญหา  หรือรู้จักหาทางบรรลุผลตามที่มุ่งหมาย  ด้วยการนำหลักธรรมที่ได้ศึกษามาเป็นแนวทางในการคิดการแก้หรือปฎิบัติให้บรรลุตามที่มุ่งหมายนั้นอันเป็นการฝึกคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น

     

    3.              ความหมายและประเภทของสื่อ

    3.1                              ความหมายของสื่อการเรียนการสอน  สื่อการสอนตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า lnstruction  Media หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของสื่อการสอนไว้หลายท่านเช่น

                 มนตรี  แย้มกสิกร (2526:5) ได้กล่าวไว้ว่า  สื่อการเรียนการสอน หมายถึงตัวกลางที่ช่วยนำความรู้จากผู้สอนไปสู้ผู้เรียน  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตามความต้องการ

     

            3.2   ประโยชน์ของสื่อการสอน
    1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
    2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
    3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
    4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
    5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
    6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้
    - ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
    - ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น
    - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
    - ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง
    - ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น
    -นำอดีตมาศึกษาได้
    - นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
    7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น

     

    3.3  การออกแบบสื่อการสอน
       การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

     

    ลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design)
    1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
    2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
    3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
    4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น

     

        3.4  การวัดและการประเมินสื่อการวัดผลของสื่อและวิธีการ
         หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้การประเมินการใช้สื่อการสอน
          1. ประเมินการวางแผนการใช้สื่อ เพื่อดูว่าสิ่งต่าง ๆ ที่วางไว้สามารถดำเนินไปตามแผนหรือไม่ หรือเป็นไปเพียงตามหลักการทฤษฎีแต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ จึงต้องเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อการแก้ไขปรับปรุงในการวางแผนครั้งต่อไป
         2. ประเมินกระบวนการการใช้สื่อ เพื่อดูว่าการใช้สื่อในแต่ละขั้นตอนประสบปัญหาหรืออุปสรรคอย่างไรบ้าง มีสาเหตุมาจากอะไร และมีการเตรียมการป้องกันไว้หรือไม่
         3. ประเมินผลที่ได้จากการใช้สื่อ เป็นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยตรงว่า เมื่อเรียนแล้วผู้เรียนสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้หรือไม่ และผลที่ได้นั้นเป็นไปตามเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์

     

     3.5  บทบาทของสื่อการเรียนการสอนต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนรู้

          3.5.1  สื่อการเรียนการสอนเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนต่อเรียนที่จะเรียนเมื่อนักเรียนเกิดความสนใจก็จะเกิดความพยายามที่จะเรียนรู้เรื่องนั้นขึ้นมาเองโดยครูไม่ต้องเสียเวลาพูด

          3.5.2  สื่อการเรียนการสอนเป็นเครื่องมือที่จะทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ  โดยที่นักเรียนจะได้เรียนรู้ได้ดีที่สุดด้วยการลงมือทำ  หากไม่มีสื่อการเรียนการสอนให้เป็นเครื่องมือนักเรียนก็ไม่ทราบว่าจะทำอะไร

          3.5.3   สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เนื่องจากเป็นตัวกลางที่จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

    4.             สื่อภาพและเสียง  เพื่อใช้ในการประกอบการเรียน

    5.             4.1  ความหมายของสื่อภาพและเสียง  เพื่อใช้ในการประกอบการเรียน

     

     
    บทที่3

    วิธีการดำเนินการวิจัย

    การทำหนังสือศิลปะพัฒนาสมาธิ มีดังนี้

    1. การดำเนินโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

    2. เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตัวหนังสือ

    3. รูปแบบของหนังสือ

    4. ได้รับประโยชน์จากหนังสือ

    5. ความเหมาะสมของหนังสือ

    6. เนื้อหามีการสื่อความหมายได้ตรงกับเรื่องของโครงการ

    7. นำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

    8. แนวความคิด

    1.  รวบรวมข้อมูล

       ก.  รวบรวมข้อมูลที่จะทำเกี่ยวกับหนังสือ

      ข.  สอบถามจากผู้เชียวชาญและบุคคลรอบข้าง

      ค.  รวบรวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำ สื่อในรูปแบบต่างๆ ออกมาเป็นในรูปแบบหนังสือ

    2.  วิเคราะห์ข้อมูล

          นำข้อมูลที่ได้มาจัดรวบรวมลงไปไนหนังสือที่เราจัดทำขึ้น

     

    3.ดำเนินการวิจัย

                          ทำการกำหนดวัตถุประสงค์ในการโฆษณา กำหนดกลยุทธในการสร้างสรรค์ ตลอดจนแนวคิดในการผลิต สื่อภาพยนตร์โฆษณาเพื่อการรณรงค์รักษาความสะอาด  ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา โดยจะมีโฆษณาตัวแรกออกมาเพื่อดึงดูดความสนใจให้เกินความน่าติดตาม โดยมีความยาว 30 วินาที และ โฆษณาตัวที่สองเป็นโฆษณาที่จะมีความยาว 90 วินาที และจากนั้นทำการทดลองจากเพื่อนนักศึกษาและอาจารย

    เครื่องมือในการวิจัย

        เครื่องมื่อในการวิจัยในครั้งนี้ คือ หนังสือศิลปะพัฒนาสมาธิ และทำรูปแบบการประเมินในบุคคลอื่นได้ดูหนังสือและทำการประเมิน

     

          สำหรับการถ่ายทำ ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรม AI

    จัดทำหนังสือในคอมพิวเตอร์ ได้ใช้โปรแกรมอีลาสเตเตอร์เป็นโปรแกรมในการจัดทำหนังสือ

        การเก็บรวบรวมข้อมูล

         เก็บข้อมูลโดยการสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญและเพื่อนๆๆๆ คนรู้จักและจากอินเตอร์เน็ทมาจัดทำหนังสือ

     

                                            ขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ทำหนังสือ ศิลปะพัฒนาสมาธิ                                 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา

    ผู้เสนอโครงการ นางสาวธนิกานต์    บัวหลวง  รหัสประจำตัว 1521020441139 ภาคปกติ 4 ปี

    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ สาขาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์ ปี3

     

    ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

    ระยะเวลาในการดำเนินงานโครงการ

    มิ..

    ..

    ..

    ..

    1

    2

    3

    4

    1

    2

    3

    4

    1

    2

    3

    4

    1

    2

    3

    4

    เสนอโครงการ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    รวบรวมข้อมูล

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    วางแผนการทำงาน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เตรียมเนื้อหาสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    รวบรวมคำพูดเป็นตัวหนังสือ

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    จัดทำรูปเล่ม

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    นำหนังสือออกมาเผยแพร่

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ทำแบบประเมิน

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ตรวจดูงานทั้งหมด ก่อนส่ง

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    ส่งผลงานทั้งหมด

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    1.เสนอโครงการ: ชื่อโครงเรื่องการ การทำหนังสือศิลปะพัฒนาสมาธิ

     2.รวบรวมข้อมูล: เกี่ยวกับศิลปะและสมาธิ

    3.วางแผนการทำงาน: เพื่อเป็นการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน

    4.รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : จากทางอินเตอร์เน็ท หรือคนรู้จัก

    5.เตรียมเนื้อหาสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ : ข้อมูลสัมภาษณ์

    6.รวบรวมคำพูด: จากคลิปสัมภาษณืมาแกะเป็นคำพูด

     7.จัดทำรูปเล่ม: เริ่มลงมือทำรูปเล่มในโปรแกรม

    8.นำหนังสือออกมาเผยแพร่:เริ่มจากเพื่อนๆในห้อง

    9.ทำแบบประเมิน: ผู้ประเมินคือผู้ที่ได้ดูหนังสือที่เราจัดทำ

    10.ตรวจทานดูงานทั้งหมด

    11.ส่งผลงาน: ประมาณกลางเดือนกันยายน


    แบบประเมินโครงการ

    ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์  เพื่อให้ดูคนได้เห็นว่าศิลปะมีส่วนในการทำไปพัฒนาสมาธิของตัวเรา

                    แบบประเมินนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความคิดเห็นของทุกท่านไปพิจารณาปรับปรุงโครงการ

    ส่วนที่ 2 ข้อมูลของผู้ตอบแบบประเมิน

                                นักศึกษา   สาขา ................................................................

                             ชั้นปีที่             ปีที่1             ปีที่2             ปีที่3             ปีที่4

                                อาจารย์                 

    ส่วนที่ 3 รายการประเมิน

    กรุณาใส่เครื่องหมาย X ลงในช่องที่ท่านต้องการ    

    รายงาน

    ดีมาก

    ดี

    พอใช้

    ปรับปรุง

    1. การดำเนินโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

     

     

     

     

    2. เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตัวหนังสือ

     

     

     

     

    3. รูปแบบของหนังสือ

     

     

     

     

    4. ได้รับประโยชน์จากหนังสือ

     

     

     

     

    5. ความเหมาะสมของหนังสือ

     

     

     

     

    6. เนื้อหามีการสื่อความหมายได้ตรงกับเรื่องของโครงการ

     

     

     

     

    7. นำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

     

     

     

     

    8. แนวความคิด

     

     

     

     

     

    ข้อเสนอ

    ……………………………………………………………………………….………………………………

    ……………………………………………………………………………….………………………………

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×