คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : โครงการกรณีศึกษาและการออกแบบภาพยนตร์สั้นเรื่อง"วิกฤตภาวะโลกร้อน"
เรื่อง "วิกฤตภาวะโลกร้อน"
บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิตอลได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก ทำให้ปัจจุบันยุคนี้กลายเป็นยุคดิจิตอล
เทคโนโลยีดิจิตอลได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโลกยุคใหม่อย่างมาก เช่น โทรศัพท์ เครื่องใช้ในสำนักงาน และอุปกรณ์สื่อต่างๆ เป็นต้น
ปัจจุบันโลกแห่งภาพยนตร์ (Movie) และภาพเคลื่อนไหว (Animation) มีการพัฒนารูปแบบ และเทคนิคใหม่ๆ ขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพ
การสร้างภาพ บันทึกภาพ การตัดต่อภาพ/เสียง การสร้างเอฟเฟค ทั้งรูปแบบภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ทำให้เกิดทางเลือกใหม่ ในการสร้างสรรค์ ภาพยนตร์ โดยเฉพาะภาพยนตร์สั้น ซึ่งได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับอย่างมากในหมู่นักสร้างภาพยนตร์
ภาพยนตร์สั้น เป็นการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็กเดียวสั้นๆแต่ได้ใจความ ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั้นคือการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น การผลิตภาพยนตร์สั้นหนึ่งเรื่องจึงมีองค์ประกอบต่างๆที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจ
การสร้างภาพยนตร์สั้นจำเป็นต้องมีพล๊อตเรื่องที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดผู้ชม ซึ่งเน้นให้เป็นเรื่องที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ ซึ่งเหตุการณ์ปัจจุบันที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด น่าจะเป็นเรื่อง 2012 โลกาวินาศ ในปี 2012 หรือปี 2555 ที่จะถึงนี้ ได้มีการทำนายกันว่าโลกของเราที่มีวัฒนาการเป็นล้านๆปี จะต้องแตกสลายลง ด้วยความเป็นคนที่ติดตามข่าวเรื่องนี้มาหลายปี จึงได้เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆที่น่าจะเป็นสาเหตุ ถ้าโลกของเรานั้นต้องถึงกาลอวสานจริงข้อมูลในภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้มาจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีทั้งเรื่องจริง เรื่องการทำนาย แต่ทว่าในข้อมูลเหล่านี้หลายเรื่อง หลายเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว
เลสเตอร์ ( Lester 1995 : 5 ) กล่าวไว้ในหนังสือ ทฤษฏีไวยากรณ์การสื่อสารทางสายตา ดังนี้
ภาพใน หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ เสื้อผ้า ป้ายโฆษณา จอคอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ ล้วนเป็นเครื่องยืนยันว่า เรากำลังอยู่ในยุคของการสื่อสารด้วยภาพอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของการสื่อมวลชน
เมื่อประชากรของสังคมเรียนรู้ที่จะบริโภคสื่อด้วยภาพ ภาพยนตร์สั้นจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้สร้างต้องการที่จะสอดแทรกเนื้อหาและข้อคิด ที่ผู้สร้างต้องการถ่ายทอดให้สังคมได้รับรู้
อ้างอิงจาก : การออกแบบภาพยนตร์สั้นรูปแบบผสม คำ และภาพ นาย วิสุทธิ์ อยู่ทรัพย์ ( 2547 หน้า 1 )
จากเหตุผลที่กล่าวมา จึงต้องการสื่อความหมายให้ทุกคนสนใจในเรื่อง วิกฤตภาวะโลกร้อน ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนทั่วโลกกำลังประสบกับปัญหานี้เหมือนกัน การดำเนินเรื่องในภาพยนตร์เรื่องสั้นที่ทำงานวิจัยขึ้นมานั้นทำการศึกษาขึ้นมาจากเหตุการณ์จริงที่เกิดจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม นำเรื่องราวเหล่านี้ เป็นตัวแปลดำเนินเรื่อง เพื่อการแสดงถึงแนวการคิดการแสดงออก เพื่อให้คนไทยและคนทั่วโลกหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมและตื่นตัวกับวิกฤตภาวะโลกร้อน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา(Objective)
1. เพื่อการสังเคราะห์ภาพ ให้เป็นสื่อที่สามารถสื่อความหมาย และอารมณ์ ความรู้สึก ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
2. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตหนังสั้น ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
3. เพื่อการศึกษาการจัดองค์ประกอบในการถ่ายทำ การพัฒนาการผลิตหนังสั้น
สมมติฐานของการศึกษา(Hypothesis to be Tested)
กรณีศึกษาและออกแบบหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้ “เรื่อง วิกฤตภาวะโลกร้อน” แสดงถึงคุณค่า ของสิ่งแวดล้อม สะท้อนความคิด การอนุรักษ์ ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะโลกร้อน ส่งเสริมให้ผู้ที่ได้รับชมช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม
ขอบเขตการศึกษา(Scope or Delimitation of the Study)
1. ศึกษา เทคโนโลยีดิจิตอล ในด้านการผลิตภาพยนตร์ และภาพเคลื่อนไหว
2. สังเคราะห์ รูปแบบการผสม ระบบคำและภาพ
3. สร้างแนวคิดและกรอบของงาน รวมทั้งออกแบบและผลิตภาพยนตร์สั้น
ขั้นตอนการศึกษา(Process of the Study)
1. ศึกษาเทคโนโลยีดิจิตอลในด้านการผลิตภาพยนตร์ และภาพเคลื่อนไหว เพื่อสร้างขอบเขตการสร้างสรรค์
2. ออกแบบและผลิตภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา เรื่อง วิกฤตภาวะโลกร้อน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจทางด้าน การสร้างสรรค์งานภาพยนตร์ส่งเสริมสังคม ในการเสริมสร้างพฤติกรรมที่ดีของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
2. ภาพยนตร์สั้นเพื่อการศึกษา เรื่องวิกฤตภาวะโลกร้อน อันเป็นเรื่องราวของวิกฤตการของโลกที่กำลังเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ จะสามารถสื่อสารความหายและอารมณ์ความรู้สึกกับผู้ชม อันอาจทำให้เกิดจิตสำนึกถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ มนุษย์หันมาทำดี ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในเรื่อง หนังสั้นเพื่อการศึกษา เรื่องวิกฤตภาวะโลกร้อน ผู้วิจัยได้ศึกษาทางด้านทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งได้นำเสนอตามลำดับดังนี้คือ
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ
3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์สั้น
4. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
1.1 ความหมายของการศึกษา
การศึกษา หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการเรียนรู้นั้นเกิดกับบุคคล และสังคม ถ้าเราถือว่าคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น การเรียนรู้ ก็คือการเรียนรู้ของคนในสังคมนั่นเอง
การเรียนรู้ทำได้หลายวิธี มีได้หลายรูปแบบ การเรียนรู้คือการสร้างสรรค์ที่จรรโลงความก้าวหน้า คือครีเอทีฟ เพื่อความก้าวหน้า และการเรียนรู้คือการสร้างองค์ความรู้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ใหม่ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นั้นต้องการการเรียนรู้ที่เน้นและให้ความสำคัญ กับการสร้างสรรค์มาก หมายความว่า การเรียนรู้นั้น เราสามารถสร้างองค์ความรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ดังนี้
ยัง ยัคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า การศึกษาคือ การปรับปรุงคนให้เหมาะกับ โอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป หรืออาจกล่าวได้ว่า การศึกษาคือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์
โจฮัน เฟรดเดอริค แฮร์บาร์ต (John Friedich Herbart) ให้ความหมายของการศึกษาว่า
การศึกษาคือ การทำพลเมืองให้มีความประพฤติดี และมีอุปนิสัยที่ดีงาม
เฟรด ดเอริค เฟรอเบล (Friedrich Froebel) การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเพื่อให้เด็กพัฒนาตนเอง
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้หลายความหมาย คือ
1.การศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
2. การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
3. การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
4. การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
คาร์เตอร์ วี. กู๊ด (Carter V. Good) ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ 3 ความหมาย คือ
1. การศึกษาหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่บุคคลนำมาใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ความประพฤติที่ดีมีคุณค่า และมีคุณธรรมเป็นที่ยอมรับนับถือของสังคม
2. การศึกษาเป็นกระบวนการทางสังคมที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้ความสามารถจากสิ่งแวดล้อมที่โรงเรียนจัดขึ้น
3. การศึกษาหมายถึงการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้อย่างเป็นระเบียบให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา
ม.ล.ปิ่น มาลากุล การศึกษาเป็นเครื่องหมายที่ทำให้เกิดความเจริญงอกงามในตัวบุคคล
ดร. สาโช บัวศรี การศึกษา หมายถึง การพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมสรุป การศึกษา เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง อ้างอิงจาก : รายงานกาวิจัย การสร้างชุดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา เพลินจิตต์ เวฬุวรรณวรกุล ( 2550, หน้า 11 )
การผลิตหนังสั้น มีขั้นตอนการผลิตที่ละเอียดและหลายขั้นตอน เช่น การเขียนบท การเขียนสตอรี่บอร์ด การถ่ายทำ การตัดต่อ ท่านที่ศึกษาควรศึกษาอย่างละเอียดเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการ
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ
การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา เช่น เราจะทำเก้าอี้นั่งซักตัวจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอนโดยต้องเริ่มเลือกวัสดุที่จะใช้ทำเก้าอี้นั้นจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม วิธีการต่อยึดนั้นควรใช้กาว ตะปูนอต หรือใช้ข้อต่อแบบใด คำนวณสัดส่วนการใช้งานให้เหมาะสม ความแข็งแรงของเก้าอี้นั่งมากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม และทนทานกับการใช้งาน เป็นต้น
การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงแบบ ผลงานหรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสมมีความแปลกใหม่ขึ้น เช่น เก้าอี้เราทำขึ้นมาใช้ซึ่งเมื่อใช้ไปนานๆก็เกิดความเบื่อหน่ายในรูปทรง เราก็จัดการปรับปรุงให้เป็น รูปงแบบใหม่ให้สวยกว่าเดิม ทั้งความเหมาะสม ความสะดวกสบายในการใช้งานยังคงเหมือนเดิม หรือดีกว่าเดิม เป็นต้น
การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ 3 มิติ เข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์ การนำองค์ประกอบของการออกแบบมาจัดรวมกันนั้น ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ เป็นศิลปะของมนุษย์เนื่องจากเป็นการสร้างค่านิยมทางความงาม และสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์
การออกแบบ หมายถึง กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆของมนุษย์ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด และมีความสะดวกสบายมากขึ้น http://www.kkw.ac.th/kkwweb/teacherhead/thepnarin/com%201.htm
ในการออกแบบนี้ถือว่าเป็นวิชาปฏิบัติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการผลิตหนังสั้น เช่นการออกแบบฉาก ออกแบบเสื้อผ้า เป็นต้น
3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์สั้น
หลักการของภาพยนตร์ คือ การสื่อความมาหมาย และการเล่าเรื่องด้วยภาพ ผู้ชมสามารถรับรู้ความหมาย และเรื่องราวต่างๆ ผ่านสัญลักษณ์ทางการเห็น ขนาดภาพ การใช้มุมกล้องการเคลื่อนที่ของภาพ/กล้อง และการตัดต่อ
ภาพยนตร์เริ่มต้นด้วย kernel of an Idea, ภาพ หรือชิ้นส่วนเล็กๆ ของเรื่องราว หรือตัวละคร จากนั้น Original ก็จะถูกสร้างเป็น Working Story Treatment จากนั้น Treatment ก็จะถูกพัฒนาเป็น Screenplay และเป็นภาพยนตร์ที่สุด
Story & Screen writing
(แปล และ เรียบเรียงจาก Cyber Film school, movie school)
ภาพยนตร์สามารถเล่าเรื่องได้โดยปราศจากเสียงและดนตรี แต่ภาพยนตร์ขาด “ภาพ” ไม่ได้
ภาพยนตร์ที่ดีที่สุด คือ ภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องด้วยภาพ (การเห็น) ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง
“ภาษาแห่งการเห็น” (Visual Language) เป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่อง มันคือการรวมองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ (Element) ในจอเข้าด้วยกัน การกำกับภาพ (Cinematography) แสง (Lighting) และการกำกับการแสดง เพื่อสร้างผลลัพธ์เป็นการเล่าเรื่องราว (Effect)
Script คือ คำอธิบายทั้งหมด ของสิ่งที่ปรากฏเคลื่อนไหวในภาพยนตร์
Dialogue หมายถึง คำพูดใด ๆ ที่ปรากฏในภาพยนตร์ Dialogue ไม่ใช่ Script
Screenplay คือ การแตกเรื่องให้เป็นฉาก และแต่ละฉากก็จะรองรับวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างไป เพื่อให้การเล่าเรื่องถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ เป็นเสมือนพิมพ์เขียวของ Visual language ของภาพยนตร์
การสื่อความหมายด้วยภาพ
สุทัศน์ บุรีภักดี (2528 : 46) เขียนถึงทฤษฏีภาพยนตร์ในหนังสือ ถ่ายภาพและภาพยนตร์ไว้ดังนี้
ในการใช้กล้องถ่ายภาพยนตร์บันทึกภาพ เพื่อให้ได้ภาพที่เคลื่อนไหวได้นั้น เป็นสื่อที่มี ประสิทธิภาพ สามารถบรรจุสารที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่ง และเกิดประสิทธิผลโดยสมบูรณ์เมื่อถึงผู้รับสาร ด้วยหลักการดังกล่าวนับได้ว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร ในการถ่ายทอดความหมายต่างๆ ออกมาเป็นภาพได้อย่างครบถ้วน
โดยความเป็นจริงของภาพยนตร์นอกจากการสื่อความเพื่อให้เกิดการเข้าใจได้ในขั้นต้นภาพทุกช่วงตอนที่ปรากฏบนจอ จะต้องเสริมสร้างด้วยองค์ประกอบอื่นๆอีกมากมาย เพื่อสร้างให้เกิดอารมณ์ และบรรยากาศ ในส่วนที่จะช่วยดึงดูดให้ผู้ชมคล้อยตาม เกิดความสนใจพร้อมทั้งติดตามเรื่องที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่เบื่อหน่าย จึงนับเป็นภาระที่หนักมาก ในการที่ผู้ถ่ายภาพจะทำการกำหนดรูปแบบ และเนื้อหา ให้ผสมผสานเข้าด้วยกันในการเสนอภาพ เพื่อใช้เป็นสื่อที่ดีที่สุดไปยังผู้ชม
ด้วยเหตุนี้เองในการบันทึกภาพในแต่ละช่วงของการถ่าย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องค้นคิด และหาแนวทางการนำเสนอภาพ ว่าจะทำอย่างไร จึงจะส่งผลให้ภาพในแต่ละช่วงเหล่านั้น บอกความหมายและเรื่องราวต่างๆ ที่กำหนดไว้ได้สมบูรณ์ มีคุณค่าทางด้านภาษาของภาพ ครอบคลุมเนื้อหาได้อย่างครบถ้วน ผู้ชมสามารถเข้าใจเรื่องราวได้อย่างครบถ้วน ผู้ชมสามารถเข้าใจเรื่องราวได้อย่างซาบซึ้งตรงตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ
ความต่อเนื่อง (Continuity)
ภาพที่ปรากฏบนจอโทรทัศน์เกิดจากการนำฉากต่างๆ มาปะติดปะต่อกันโดยใช้กล้องหลายๆตัวจับภาพ การจัดลำดับของภาพเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นในฉากที่มีตัวละครสนทนากัน ภาพแต่ละภาพจะต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ของเส้นตายระหว่างคู่สนทนาส่วนในฉากที่มีการเคลื่อนไหว เราต้องสนใจทิศทางการเคลื่อนของวัตถุ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นบางประเด็นเกี่ยวกับความต่อเนื่องของภาพ
แกนสนทนา (Conversation Axis)
“แกนสนทนา” หมายถึง เส้นสายตาระหว่างคู่สนทนา หลักพื้นฐานในการจับคู่ภาพคู่สนทนาให้ตั้งกล้องทำมุมเท่ากัน และระยะห่างเดียวกันกับ แกนสนทนา
การใช้มุมกล้องที่ยุ่งยากอาจสร้างความสับสนกับผู้ดู ทางที่ดีกล้องควรอยู่ในรัศมี 180 องศาของแกนสนทนา ถ้าจะใช้กล้องที่อยู่ข้างหลังเส้นแกนสนทนา ควรจะ “แทรค” กล้องจนข้ามเส้นแกนนอนสนทนามาก่อน
ถ้าผู้แสดงเคลื่อนไหว แกนสนทนา ก็จะเปลี่ยนไปด้วย ในสถานการณ์เช่นนี้ต้องระมัดระวังความสัมพันธ์ของสายตาให้มากที่สุด ต้องเคลื่อนกล้องตาม ภาพหลังจากที่พิจาณาสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปของแกนสนทนาแล้ว
การเล่าเรื่องด้วยภาพ
จุดประสงค์ขั้นต้นของวีดีโอคือ การเล่าเรื่องด้วยภาพ ดังนั้นการจัดลำดับภาพจะต้องแสดงให้เห็นถึง
ความต่อเนื่องของการกระทำ (Action Continuity) ซึ่งมีหลักการพื้นฐานสองข้อคือ
1. ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนไหว จะต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของการกระทำ ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนไหวนั้นไม่ผิดธรรมชาติ
2. ถ้าวัตถุไม่มีการเคลื่อนไหว มีนัยว่าห้วงเวลาถูกตัด สามารถนำภาพซึ่งเป็นเหตุการณ์ในเวลาต่อมา ตัดชนต่อได้
ความลื่นไหลของภาพ (Picture Flow)
ภาพที่ขาดความต่อเนื่อง ชวนให้เกิดคำอุทานประเภท “ เอ๊ะ ! อ๊ะ! ” ขึ้นกับผู้ชมตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดสภาพเช่นนั้น เราต้องพยายามใช้ภาพอธิบายสถานการณ์ให้กระจ่างชัด เช่น ฉากชายหญิงนัดพบกันบนชายหาด ควรต้องนำมาก่อนด้วยภาพของสถานที่สิ่งแวดล้อมโดยรอบ และบรรยากาศ การเริ่มต้นเรื่อง โดยผู้ดูเข้าใจในสถานการณ์ก่อน จะช่วยหลีกเลี่ยงความรู้สึกสับสน และกะทันหันทำให้ภาพไหลต่อเนื่องได้อย่างราบรื่น ภาพที่ใช้นำหน้าเพื่ออธิบายสถานการณ์เรียกว่า “Establishment Shot” จากนั้นเรื่องจะดำเนินต่อด้วย “Insert Short” ที่ให้รายละเอียด และกระทำที่ติดตามมา อ้างอิงจาก : การออกแบบภาพยนตร์สั้นรูปแบบผสม คำ และภาพ นาย วิสุทธิ์ อยู่ทรัพย์ ( 2547 หน้า 23,43,48,49 )
การเขียนบทหนังสั้น
หนังสั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ
ศิลปะการเล่าเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา
สิ่งที่สำคัญในการเขียนบทหนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตได้
เมื่อเราได้เรื่องที่จะเขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคนอย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น
และเมื่อเราได้เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง
การเตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์
การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้าเพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร
การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์
ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. - The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น
การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่า
สิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์
อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น
ดังนั้นขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้คือ
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจากเราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า "เกิดอะไรขึ้นถ้า..." (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น
3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise) ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ
5. บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที
6. บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบเรื่อง
7. บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย
การเขียนบทภาพยนตร์จากเรื่องสั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ ซึ่งบทภาพยนตร์ต่อไปนี้ได้แปลมาจากเรื่องสั้นในนิตยสาร The Mississippi Review โดย Robert Olen Butler เรื่อง Salem แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงมาตรฐานรูปแบบการเขียนบทภาพยนตร์ว่ามีการเขียนและการจัดหน้าอย่างไร ขอให้ศึกษาได้ใบทภาพยนตร์โดยทั่วไป
http://www.showded.com/myprofile/mainblog.php?jnId=12044&user=kitamura
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
นอกจากนั้นมนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดและทำลายป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
ก๊าซและสารที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
ก๊าซและสารที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่
ไอน้ำ (H2O)
เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีมากที่สุดบนโลก มีอยู่ในอากาศประมาณ 0- 4% ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และอุณหภูมิ ในบริเวณเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรและชายทะเลจะมีไอน้ำอยู่มาก ส่วนในบริเวณเขตหนาวแถบขั้วโลก อุณหภูมิต่ำ จะมีไอน้ำในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย ไอน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ไอน้ำเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรน้ำในธรรมชาติ น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะไปมาทั้ง 3 สถานะ จึงเป็นตัวพาและกระจายความร้อนแก่บรรยากาศและพื้นผิว
ไอน้ำเกิดจากโดยฝีมือมนุษย์ 2 วิธี คือ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือก๊าซธรรมชาติ และจากการ หายใจและคายน้ำของสัตว์และพืชในการทำเกษตรกรรม
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ในยุคเริ่มแรกของโลกและระบบสุริยะ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถึง 98% เนื่องจากดวงอาทิตย์ยังมีขนาดเล็กและแสงอาทิตย์ยังไม่สว่างเท่าทุกวันนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทำให้โลกอบอุ่น เหมาะสำหรับเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ครั้นกาลเวลาผ่านไปดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศลงมายังพื้นผิว แพลงก์ตอนบางชนิดและพืชตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาสร้างเป็นอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้ภาวะเรือนกระจกลดลง โดยธรรมชาติก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นจากการหลอมละลายของหินปูน ซึ่งโผล่ขึ้นมาจากปล่องภูเขาไฟ และการหายใจของสิ่งมีชีวิต
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเผาไหม้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม การเผาป่าเพื่อใช้พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและการทำปศุสัตว์ เป็นต้น โดยการเผาป่าเป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้โดยเร็วที่สุด เนื่องจากต้นไม้มีคุณสมบัติในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จึงลอยขึ้นไปสะสมอยู่ในบรรยากาศได้มากยิ่งขึ้น และทำให้พลังงานความร้อนสะสมบนผิวโลกและในบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 วัตต์/ตารางเมตร (ปริมาณนี้ยังไม่คิดรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นทางอ้อม)
จากตัวเลขที่ได้สำรวจล่าสุดนั้นเรียงตามลำดับประเทศที่ปล่อยควันพิษของโลกมีปริมาณสะสมมาตั้งแต่ปี 1950 ดังนี้
สหรัฐอเมริกา 186,100 ล้านตัน
สหภาพยุโรป 127,800 ล้านตัน
รัสเซีย 68,400 ล้านตัน
จีน 57,600 ล้านตัน
ญี่ปุ่น 31,200 ล้านตัน
ยูเครน 21,700 ล้านตัน
อินเดีย 15,500 ล้านตัน
แคนาดา 14,900 ล้านตัน
โปแลนด์ 14,400 ล้านตัน
คาซัคสถาน 10,100 ล้านตัน
แอฟริกาใต้ 8,500 ล้านตัน
เม็กซิโก 7,800 ล้านตัน
ออสเตรเลีย 7,600 ล้านตัน
ก๊าซมีเทน (CH4)
เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต แม้ว่ามีก๊าซมีเทนอยู่ในอากาศเพียง 1.7 ppm แต่ก๊าซมีเทนมีคุณสมบัติของก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือด้วยปริมาตรที่เท่ากัน ก๊าซมีเทนสามารถดูดกลืนรังสีอินฟราเรดได้ดีกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ก๊าซมีเทนมีปริมาณเพิ่มขึ้นเนื่องจากการทำนาข้าว ปศุสัตว์ และการเผาไหม้มวลชีวภาพ การเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ การเพิ่มขึ้นของก๊าซมีเทนส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาวะเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 รองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานรวมที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ย 0.47 วัตต์/ตารางเมตร
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)
ปกติก๊าซชนิดนี้ในธรรมชาติเกิดจากการย่อยสลายซากสิ่งมีชิวิตโดยแบคทีเรีย แต่ที่มีเพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน เนื่องมาจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกบางชนิด เป็นต้น ก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.14 วัตต์/ตารางเมตร นอกจากนั้นเมื่อก๊าซไนตรัสออกไซด์ลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ มันจะทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ตของโลกลดน้อยลง
สารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC)
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ฟรีออน" (Freon) มิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ มีแหล่งกำเนิดมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสเปรย์ เป็นต้น
สาร CFC มีองค์ประกอบเป็นคลอรีน ฟลูออไรด์ และโบรมีน ซึ่งมีความสามารถในการทำลายโอโซน ตามปกติสาร CFC ในบริเวณพื้นผิวโลกจะทำปฏิกิริยากับสารอื่น แต่เมื่อมันดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวให้คลอรีนอะตอมเดี่ยว และทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน เกิดก๊าซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน หากคลอรีนจำนวน 1 อะตอม ทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้เพียงครั้งเดียว ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ทว่าคลอรีน 1 อะตอม สามารถทำลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ได้นับพันครั้ง เนื่องจากเมื่อคลอรีนโมโนออกไซด์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนอะตอมเดี่ยว แล้วเกิดคลอรีนอะตอมเดี่ยวขึ้นอีกครั้ง ปฏิกิริยาลูกโซ่เช่นนี้จึงเป็นการทำลายโอโซนอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการจำกัดการใช้ก๊าซประเภทนี้ให้น้อยลง 40% เมื่อเทียบกับ 10 กว่าปีก่อน แต่ปริมาณ สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่ยังคงสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.28 วัตต์ต่อตารางเมตร
โอโซน (O3)
เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยธาตุออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ โอโซนไม่ใช่ก๊าซที่มีเสถียรภาพสูง มันมีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 - 30 สัปดาห์ แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากก๊าซออกซิเจน (O2) ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตแล้วแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอมเดี่ยว (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอมเดี่ยวรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนและโมเลกุลชนิดอื่น (M)ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง แล้วให้ผลผลิตเป็นก๊าซโอโซนออกมา
ก๊าซโอโซนมี 2 บทบาท คือเป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายในตัวเดียวกัน ขึ้นอยู่ว่ามันวางตัวอยู่ที่ใด
โอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere Ozone)
เป็นเกราะป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ในธรรมชาติโอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นชั้นบาง ๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 - 30 กิโลเมตร ทำหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพื้นโลก หากร่างกายมนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก อย่างเช่นแบคทีเรียก็จะถูกฆ่าตาย
โอโซนในชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere Ozone)
เป็นก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด โดยดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 2.85 วัตต์/ตารางเมตร โอโซนในชั้นนี้เกิดจากการเผาไหม้มวลชีวภาพและการสันดาปของเครื่องยนต์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการจราจรติดขัด เครื่องยนต์ เครื่องจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปะปนอยู่ในหมอกควัน เมื่อโอโซนอยู่ในบรรยากาศชั้นล่างหรือเหนือพื้นผิว มันจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เนื่องจากเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคำพูดที่ว่า "ออกไปสูดโอโซนให้สบายปอด" จึงเป็นความเข้าใจผิด
การลดลงของโอโซน
นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติก บริเวณขั้วโลกใต้ เกิดขึ้นจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ในช่วงฤดูหนาวราวเดือนพฤษภาคม - กันยายน (อนึ่งขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ) เมื่อถึงเดือนตุลาคม ซึ่งแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทำให้คลอรีนอะตอมอิสระแยกตัวออกและทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน เรียกว่า "รูโอโซน" (Ozone hole)
มนุษย์เป็นตัวการทำภาวะโลกร้อนจริงหรือ ?
จากรายงานของ IPCC มีความเป็นไปได้สูงมาก โดยรายงานนี้จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์กว่า 2500 คนใน 130 ประเทศ ได้สรุปว่า มนุษย์เป็นตัวการของสาเหตุเกือบทั้งหมด ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
การทำอุตสาหกรรม การตัดไม้ทำลายป่า และการปล่อยมลพิษอย่างมหาศาล ได้เพิ่มความเข้มข้นของไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และไนตรัสออกไซด์ในบรรยากาศ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่กักเก็บความร้อนไว้ทั้งสิ้น
มนุษย์กำลังเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ มากกว่าที่ต้นไม้และมหาสมุทรสามารถรับได้
ก๊าซเหล่านี้จะอยู่ในบรรยากาศไปอีกนาน หมายความว่าการหยุดปล่อยก๊าซเหล่านี้ ไม่สามารถหยุดภาวะโลกร้อนได้ทันที
ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนเกิดเป็นวัฎจักรสม่ำเสมอ ซึ่งเกิดจากปริมาณแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังโลก และเป็นวัฏจักรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ในรอบเวลานับแสนปี แต่การเปลี่ยนแปลงภาวะอากาศที่ผ่านมาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาแค่เป็นร้อยปี จึงมีผลการวิจัยที่หักล้างทฤษฎีดังกล่าวออกมา
ผลจากภาวะโลกร้อน
เอล นิโญ และลา นิโญ ทั้ง 2 คำนี้เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศ และกระแสน้ำในมหาสมุทรทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร แต่เกิดจากภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก
เอล นิโญ (El Nino)
เป็นคำภาษาสเปน (ภาษาอังกฤษออกเสียงเป็น "เอล นิโน") แปลว่า "บุตรพระคริสต์" หรือ "พระเยซู" เป็นชื่อของกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งทะเลของประเทศเปรูลงไปทางใต้ทุก ๆ 2-3 ปี โดยเริ่มประมาณช่วงเทศกาลคริสต์มาส กระแสน้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2-3 เดือน และบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามปีถัดไป เป็นคาบเวลาที่ไม่แน่นอน และมีผลทางระบบนิเวศและห่วงลูกโซ่อาหาร ปริมาณปลาน้อย นกกินปลาขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์
จากปัญหาภาวะโลกร้อน อะไรกำลังจะเกิดขึ้นตามมา ?
ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นระหว่าง 7-23 นิ้ว ซึ่งระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 4 นิ้วก็จะเข้าท่วมเกาะ และพื้นที่จำนวนมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผู้คนนับร้อยล้านที่อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 1 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล อาจะต้องย้ายถิ่น โดยเฉพาะในสหรัฐ รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนาก็เสี่ยงเช่นกัน
ธารน้ำแข็งละลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำจืดได้
พายุที่รุนแรง ภาวะแห้งแล้ง คลื่นความร้อน ไฟป่า และภัยธรรมชาติต่างๆ จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ ทะเลทรายจะขยายตัวทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในบางพื้นที่
สัตว์นับล้านสปีชี่ส์ จะสูญพันธุ์ จากการไม่มีที่อยู่ ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และน้ำทะเลเป็นกรด
การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรอาจเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งย่อยๆ ในยุโรป และภาวะอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่
ในอนาคต เมื่อภาวะโลกร้อนอยู่ในขั้นที่ควบคุมไม่ได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Positive Feedback Effect ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ถูกเก็บ อยู่ในส่วนชั้นน้ำแข็งที่ไม่เคยละลาย (Permafrost) และ ใต้ทะเลออกมา หรือคาร์บอนที่ถูกน้ำแข็งกับเก็บไว้ ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
ธารน้ำแข็งขั้วโลกใต้บางลง หวั่นทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น
นอกจากนี้ธารน้ำแข็งยังละลายเร็วขึ้น เนื่องจากแผ่นน้ำแข็งที่ทำหน้าที่เหมือนจุกขวดช่วยชะลอการไหลของธารน้ำแข็งก็กำลังละลายเช่นกัน แม้ว่าแผ่นน้ำแข็งเหล่านี้ไม่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็ตาม ก่อนหน้านี้คณะนักวิจัยนาซาและมหาวิทยาลัยโคโลราโดแห่งสหรัฐฯรายงานว่าแผ่นน้ำแข็งลาร์ซัน บี ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งแตกออกเมื่อปี 2545 ทำให้ธารน้ำแข็งไหลลงสู่ทะเลเวดเดลล์เร็วขึ้น
ผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ระบบนิเวศทางทะเล ก็เป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และอุณหภูมิผิวน้ำที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธุ์ รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกสีทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
เราจะมีส่วนช่วยคลายภาวะโลกร้อนได้อย่างไร?
รายงานฉบับล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ไอพีซีซี (Intergovernment Panel on Climate Change : IPCC) ซึ่งเป็นรายงานที่รวบรวมงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ 2,500 คน จากกว่า 30 ประเทศ และใช้เวลาในการวิจัยถึง 6 ปี ระบุไว้ว่า มีความเป็นไปได้อย่างน้อย 90% ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และมนุษย์ถือได้ว่าเป็นตัวการสำคัญของปัญหาโลกร้อนในครั้งนี้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำคู่มือ 80 วิธีหยุดโลกร้อนขึ้นมา เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2550 ไว้ดังนี้
ประชาชนทั่วไป
ลดการใช้พลังงานในบ้านด้วยการปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ได้ใช้งาน จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับ 1 พันปอนด์ต่อปี
ลดการสูญเสียพลังงานในโหมดสแตนด์บาย เครื่องเสียงระบบไฮไฟ โทรทัศน์ เครื่องบันทึกวิดีโอ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและอุปกรณ์พ่วงต่างๆ ที่ติดมาด้วยการดึงปลั๊กออก หรือใช้ปลั๊กเสียบพ่วงที่ตัดไฟด้วยตัวเอง
เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นหลอดไฟประหยัดพลังงานแบบขดที่เรียกว่า Compact Fluorescent Lightbulb (CFL) เพราะจะกินไฟเพียง 1 ใน 4 ของหลอดไฟเดิม และมีอายุการใช้งานได้นานกว่าหลายปีมาก
เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ 40% สามารถหาซื้อหลอดไฟ LED ที่ใช้สำหรับโคมไฟตั้งโต๊ะและตั้งพื้นได้ด้วย จะเหมาะกับการใช้งานที่ต้องการให้มีแสงสว่างส่องทาง เช่น ริมถนนหน้าบ้าน การเปลี่ยนหลอดไฟจากหลอดไส้จะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 ปอนด์ต่อปี
ช่วยกันออกความเห็นหรือรณรงค์ให้รัฐบาลพิจารณาข้อดีข้อเสียของการเรียกเก็บภาษีคาร์บอนกับภาคการผลิต ตามอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบต่างๆ หรือการใช้ก๊าซโซลีน เป็นรูปแบบการใช้ภาษีทางตรงที่เชื่อว่า หากโรงงานต้องจ่ายค่าภาษีแพงขึ้นก็จะลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนการผลิตลง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 ลงได้ประมาณ 5%
ขับรถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลง ด้วยการปั่นจักรยาน ใช้รถโดยสารประจำทาง หรือใช้การเดินแทนเมื่อต้องไปทำกิจกรรมหรือธุระใกล้ๆ บ้าน เพราะการขับรถยนต์น้อยลง หมายถึงการใช้น้ำมันลดลง และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย เพราะน้ำมันทุกๆ แกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 20 ปอนด์
ไปร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool นัดเพื่อนร่วมงานที่มีบ้านอาศัยใกล้ๆ นั่งรถยนต์ไปทำงานด้วยกัน ช่วยประหยัดน้ำมัน และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนน ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมด้วย
จัดเส้นทางรถรับส่งพนักงาน ถ้าในหน่วยงานมีพนักงานจำนวนมากอาศัยอยู่ในเส้นทางใกล้ๆ กัน ควรมีสวัสดิการจัดหารถรับส่งพนักงานตามเส้นทางสำคัญๆ เป็น Car Pool ระดับองค์กร
เปิดหน้าต่างรับลมแทนเปิดเครื่องปรับอากาศ ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ไฟฟ้าเพื่อเปิดเครื่องปรับอากาศ
มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพราะการจะได้ใบรับรองนั้น จะต้องมีการประเมินสินค้าตั้งแต่เริ่มต้นหาวัตถุดิบ
ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา ในตลาดสดใกล้บ้าน แทนการช็อปปิ้งในซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ที่อาหารสดทุกอย่างมีการหีบห่อด้วยพลาสติกและโฟม ทำให้เกิดขยะจำนวนมาก
เลือกซื้อเลือกใช้ เมื่อต้องซื้อรถยนต์ใช้ในบ้าน หรือรถยนต์ประจำสำนักงานก็หันมาเลือกซื้อรถประหยัดพลังงาน รวมทั้งเลือกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟ ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน
เลือกซื้อรถยนต์ที่มีขนาดตามความจำเป็น โดยพิจารณาจากขนาดครอบครัวและประโยชน์การใช้งาน รวมทั้งพิจารณารุ่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อเปรียบเทียบราคา
ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเลือกรถโฟว์วีลขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ เพราะกินน้ำมันมาก และตะแกรงขนสัมภาระบนหลังคารถก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะเป็นการเพิ่มน้ำหนักรถให้เปลืองน้ำมัน
ขับรถอย่างมีประสิทธิภาพ ในระยะทางไกลการขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ำมันลงได้ 20% หรือคิดเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดได้ 1 ตันต่อรถยนต์แต่ละคันที่ใช้งานราว 3 หมื่นกิโลเมตรต่อปี
ขับรถเที่ยวไปลดคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกัน เพราะมีบริษัทเช่ารถใหญ่ๆ 2-3 รายมีรถรุ่นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใช้เอทานอล หรือน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นๆ ด้วย ลองสอบถามบริษัทรถเช่าเมื่อเดินทางไปถึง
เลือกใช้บริการโรงแรมที่มีสัญลักษณ์สิ่งแวดล้อม เช่น มีมาตรการประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงาน และมีระบบจัดการของเสีย มองหาป้ายสัญลักษณ์ เช่น โรงแรมใบไม้สีเขียว มาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ
เช็กลมยาง การขับรถที่ยางลมมีน้อยอาจทำให้เปลืองน้ำมันได้ถึง 3% จากภาวะปกติ
เปลี่ยนมาใช้พลังงานชีวภาพ เช่น ไบโอดีเซล เอทานอล ให้มากขึ้น
โละทิ้งตู้เย็นรุ่นเก่า ตู้เย็นที่ผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เพราะใช้ไฟฟ้ามากเป็น 2 เท่าของตู้เย็นสมัยใหม่ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟลงได้มาก และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 100 กิโลกรัมต่อปี
ยืดอายุตู้เย็นด้วยการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงานให้ตู้เย็นด้วยการใช้อย่างฉลาด ไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น หลีกเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร ควรย้ายตู้เย็นออกจากห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ และทำความสะอาดตู้เย็นทุกสัปดาห์
ริเริ่มใช้พลังงานทางเลือกในอาคารสำนักงาน เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉพาะจุด
ใช้แสงแดดให้เป็นประโยชน์ ในการตากเสื้อผ้าที่ซักแล้วให้แห้ง ไม่ควรใช้เครื่องปั่นผ้าแห้งหากไม่จำเป็น เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาลต่างๆ ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด และดำเนินการจัดส่งไปยังอาคารบ้านเรือน
ติดตั้งฝักบัวอาบน้ำที่ปรับความแรงน้ำต่ำๆ ได้ เพื่อจะได้เปลืองน้ำอุ่นน้อยๆ (เหมาะทั้งในบ้านและโรงแรม)
ติดตั้งเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ ช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าและลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากโรงผลิตกระแสไฟฟ้า
สร้างนโยบาย 3Rs- Reduce, Reuse, Recycle ทั้งในบ้านและอาคารสำนักงาน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างเต็มที่ เป็นการลดพลังงานในการกำจัดขยะ ลดมลพิษและลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการกำจัด
ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ ด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น เศษผัก เศษอาหาร ออกจากขยะอื่นๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน
นำแสงธรรมชาติมาใช้ในอาคารบ้านเรือน โดยใช้การออกแบบบ้าน และตำแหน่งของช่องแสงเป็นปัจจัย ซึ่งจะช่วยลดจำนวนหลอดไฟและพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้
ปลูกต้นไม้ในสวนหน้าบ้าน ต้นไม้ 1 ต้น จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของมัน
ปลูกไผ่แทนรั้ว ต้นไผ่เติบโตเร็ว เป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
ใช้ร่มเงาจากต้นไม้ช่วยลดความร้อนในตัวอาคารสำนักงานหรือบ้านพักอาศัย ทำให้สามารถลดความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นการลดการใช้ไฟฟ้า
ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน
ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก เพราะถุงพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และการเผากำจัดในเตาเผาขยะอย่างถูกวิธีต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ซึ่งทำให้มีก๊าซเรือนกระจกเพิ่มในบรรยากาศ
เลือกซื้อสินค้าที่มีหีบห่อน้อยๆ หีบห่อหลายชั้นหมายถึงการเพิ่มขยะอีกหลายชิ้นที่จะต้องนำไปกำจัด เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศโดยไม่จำเป็น
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดขยะจากหีบห่อของบรรจุภัณฑ์
ใช้กระดาษทั้ง 2 หน้า เพราะกระบวนการผลิตกระดาษแทบทุกขั้นตอนใช้พลังงานจากน้ำมันและไฟฟ้าจำนวนมาก
เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษรีไซเคิลช่วยลดขั้นตอนหลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตกระดาษ
ตั้งเป้าลดการผลิตขยะของตัวเองให้ได้ 1 ใน 4 ส่วน หรือมากกว่า เพื่อช่วยประหยัดทรัพยากรและลดก๊าซเรือนกระจกได้อีกจำนวนมาก เมื่อลองคูณ 365 วัน กับจำนวนปีที่เหลือก่อนเกษียณ
สนับสนุนสินค้าและผลิตผลจากเกษตรกรในท้องถิ่นใกล้บ้าน ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่ต้องขนส่งผลิตผลให้พ่อค้าคนกลางนำไปขายในพื้นที่ไกลๆ
บริโภคเนื้อวัวให้น้อยลง ทานผัก (ปลอดสารพิษ) ให้มากขึ้น ฟาร์มเลี้ยงวัว คือ แหล่งหลักในการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศ หันมารับประทานผักให้มากขึ้น ทานเนื้อวัวให้น้อยลง
ทานสเต๊กและแฮมเบอร์เกอร์ในร้านใหญ่ๆ ให้น้อยลง เพราะอุตสาหกรรมเนื้อระดับนานาชาติ ผลิตก๊าซเรือนกระจกถึง 18% สาเหตุหลักก็คือไนตรัสออกไซด์จากมูลวัวและมีเทน ซึ่งถูกปลดปล่อยออกมาจากลักษณะทางธรรมชาติของวัวที่ย่อยอาหารได้ช้า (มีกระเพาะอาหาร 4 ตอน) มีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่า ในขณะที่ไนตรัสออกไซด์ก่อผลได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ 296 เท่า
ชักชวนคนอื่นๆ รอบข้างให้ช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาภาวะโลกร้อน ให้ความรู้ความเข้าใจและชักชวนคนใกล้ตัว รวมทั้งเพื่อนบ้านรอบๆ ตัวคุณ เพื่อขยายเครือข่ายผู้ร่วมหยุดโลกร้อนให้กว้างขวางขึ้น
ร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมในชุมชน แล้วลองเสนอกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และกระตุ้นให้เกิดการร่วมมือ เพื่อลงมือทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่อง และส่งผลให้คนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เลือกโหวตแต่พรรคการเมืองที่มีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน จริงใจ และตั้งใจทำจริง เพราะนักการเมืองคือคนที่เราส่งไปเป็นตัวแทนทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร โปรดใช้ประโยชน์จากพวกเขาตามสิทธิที่คุณมี ด้วยการเลือกนักการเมืองจากพรรคการเมืองที่มีนโยบายชัดเจนเรื่องสิ่งแวดล้อมและการลดปัญหาโลกร้อน
ซื้อให้น้อยลง แบ่งปันให้มากขึ้น อยู่อย่างพอเพียง
บทที่ 3
ขั้นตอนการศึกษา
กรณีศึกษาและออกแบบหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้ “เรื่อง วิกฤตภาวะโลกร้อน” เป็นภาพยนตร์สั้น เชิงรณรงค์ให้ผู้ที่ได้รับชมภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ ได้เห็นผลเสียของวิกฤตภาวะโลกร้อน
มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1. เสนอโครงการ
2. รวบรวมข้อมูลเนื้อหาที่เกี่ยวกับโครงการ กรณีศึกษาและออกแบบหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง วิกฤตภาวะโลกร้อน
3. วางแผนการำงาน
4. เขียนสตอรีบอร์ด
5. ดำเนินการถ่ายทำ
6. รวบรวมงาน
7. ทำการประเมินงาน
8. ส่งงาน
- เสนอโครงการ
ในการนำเรื่องที่มาเสนอต้องเป็นเรื่องที่น่าสนใจต้องการศึกษาอย่างเจาะลึกเพื่อเผยแพร่และทำประโยชน์ได้อย่างดีเยี่ยม
- รวบรวมข้อมูล
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาแบ่งออกเป็นแหล่งข้อมูล 2 ประเภท
1.1แหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร ได้แก่การศึกษาค้นคว้าจาก หนังสือ บทวิเคราะห์ เอกสาร งานวิจัย ผลงานวิทยานิพนธ์ และสิ่งตีพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวของกับการศึกษาวิจัย เช่น หนังสือ: 2012 โลกาวินาศ ! หนังสือ:โลกร้อน ฤาจะถึงกาลสิ้นยุค CD มหันตภัย สึนามิถล่มโลก หรือ Internet เป็นต้น
1.2 แหล่งขอมูลประเภทบุคคล ได้แก่บุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวของกับ งานศึกษาวิจัย บุคคลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิมีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่ทาการศึกษาวิจัย
3. วางแผนการทำงาน
กระบวนการกำหนดวัตถุประสงค์ สำหรับช่วงเวลาข้างหน้า และกำหนดสิ่งที่จะกระทำต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ การวางแผน เป็นกระบวนการเกี่ยวกับการคิดและการตัดสินใจที่ละเอียดอ่อน และต้องกระทำให้เสร็จสิ้น ก่อนจะมีการดำเนินกิจกรรมการวางแผน หมายถึง วิธีการในการไปถึงเป้าหมายการวางแผน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินใจในปัจจุบันว่าจะทำอะไร ทำโดยใคร และทำเพื่ออะไร สำหรับการปฏิบัติการที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ความสำคัญของการแผน
1. ช่วยลดการสูญเสียจากการทำงานซ้ำซ้อน
2. ทำให้มีการกำหนดขอบเขตในการทำงานที่แน่นอน และมีนโยบายที่ชัดเจน
3. ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเตรียมรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนป้องกันการขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงาน
4. การวางแผนเป็นเครื่องมือในการบริหารของผู้บริหาร เพื่อให้การดำเนินงานประสบ ผลสำเร็จ อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดเวลา และทรัพยากร
5. การวางแผนจะช่วยให้เกิดการประสานสัมพันธ์ภายในองค์กร ทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความราบรื่นและสามารถตรวจสอบความสำเร็จของเป้าหมายได้
คุณภาพของการวางแผนจะมีมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ความถูกต้องของสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้
1. รู้ว่ากิจการมีทรัพยากรที่แท้จริงอยู่มากหรือน้อยเพียงใด
2. รู้ว่ากิจการขณะนี้ยืนอยู่ ณ จุดใด ที่แล้วมาสภาพของกิจการเป็นอย่างไรเคยประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวมาอย่างไรบ้างและเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
3. รู้ว่าอนาคตธุรกิจต้องการอะไร เช่น ชื่อเสียง การเจริญเติบโต การเป็นธุรกิจผู้นำ เป็นต้น
4. รู้สถานการณ์รอบ ๆตัว ในขณะที่ทำงานวางแผน ว่ามีสภาพเป็นอย่างไรธุรกิจจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร สถานการณ์ภายนอกจะก่อให้เกิดผลได้ผลเสียต่อกิจการอย่างไร
5. สามารถทำนายสถานการณ์ในอนาคตได้อย่างถูกต้อง หรือมีความใกล้เคียงความจริงมากหรือน้อยเพียงใด
แผน แบบพิมพ์เขียวที่กำหนดการจัดสรรทรัพยากร ตารางการปฏิบัติงานและกิจกรรมที่สำคัญอื่นๆ เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายแผน คือ แนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำ อนาคต และความต้องการของบุคคลและองค์กร
แผน คือ ผลที่ได้จากการวางแผน
แผน คือ สิ่งที่กำหนดขึ้นและถือเป็นแนวดำเนินการ
จากความหมายของแผนที่กล่าวมาพบว่า แผน คือ ผลที่เกิดจากการวางแผนหรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า “การวางแผน” คือกิจการรมหรือการกระทำที่ก่อให้เกิด “แผน” ซึ่งอาจกระทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร แบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้
http://www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5358305&Ntype=3(11/07/2554)
- เขียนบท,สตอรี่บอร์ด
บท เปรียบเสมือนแบบร่าง(Sketch design)ของการสร้างภาพ บทภาพจะมีความคล้ายคลึงกับวรรณกรรมตรงที่การบอกเล่าเรื่องราวว่า ใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แต่จะแตกต่างที่บทภาพนั้นต้องสื่อความหมายออกมาเป็นภาพ โดยใช้ภาพเป็นตัวสื่อความหมาย เพื่อโน้มน้าวจินตนาการของผู้ชม
องค์ประกอบของการเขียนบท
1.เรื่อง (STORY) หมายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นและดำเนินไปสู่จุดสิ้นสุด เรื่องอาจจะสั้นเพียงไม่กี่นาที อาจยาวนานเป็นปี หรือไม่รู้จบ(Infinity) ก็ได้ สิ่งสำคัญในการดำเนินเรื่อง คือปมความขัดแย้ง(Conflict)ซึ่งก่อให้เกิดการกระทำ ส่งผลให้เกิดเป็นเรื่องราว
2.แนวความคิด (CONCEPT) เรื่องที่จะนำเสนอมีแนวความคิด(Idea)อะไรที่จะสื่อให้ผู้ชมรับรู้
3.แก่นเรื่อง (THEME) คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลัก(Main theme)ของเรื่องที่จะนำเสนอ ซึ่งอาจประกอบด้วยประเด็นรองๆ(Sub theme)อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ออกนอกแนวความคิดหลัก
4.เรื่องย่อ (PLOT) เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่ เรื่องที่นำมาจากเหตุการณ์จริง เรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรม หรือแม้แต่เรื่องที่ลอกเลียนแบบมาจากภาพยนตร์อื่น สิ่งแรกนั้นเรื่องต้องมีความน่าสนใจ มีใจความสำคัญชัดเจน ต้องมีการมีการตั้งคำถามว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น(What...if...?)กับเรื่องที่คิดมา และสามารถพัฒนาขยายเป็นโครงเรื่องใหญ่ได้
5.โครงเรื่อง (TREATMENT) เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น โครงเรื่องจะประกอบด้วยเหตุการณ์หลัก(Main plot)และเหตุการณ์รอง (Sub plot) ซึ่งเหตุการณ์รองที่ใส่เข้าไป ต้องผสมกลมกลืนเป็นเหตุเป็นผลกับเหตุการณ์หลัก
6.ตัวละคร (CHARECTOR) มีหน้าที่ดำเนินเหตุการณ์จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสิ้นสุดของเรื่อง ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นนามธรรมไม่มีตัวตนก็ได้ การสร้างตัวละครขึ้นมาต้องคำนึงถึงภูมิหลังพื้นฐาน ที่มาที่ไป บุคลิกนิสัย ความต้องการ อันก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของตัวละครนั้นๆ ตัวละครแบ่งออกเป็นตัวแสดงหลักหรือตัวแสดงนำ และตัวแสดงสมทบหรือตัวแสดงประกอบ ทุกตัวละครจะต้องมีส่งผลต่อเหตุการณ์นั้นๆ มากน้อยตามแต่บทบาทของตน ตัวเอกย่อมมีความสำคัญมากกว่าตัวรองเสมอ
7.บทสนทนา (DIALOGUE) เป็นถ้อยคำที่กำหนดให้แต่ละตัวละครได้ใช้แสดงโต้ตอบกัน ใช้บอกถึงอารมณ์ ดำเนินเรื่อง และสื่อสารกับผู้ชม ภาพยนตร์ที่ดีจะสื่อความหมายด้วยภาพมากกว่าคำพูด การประหยัดถ้อยคำจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความหมายหรืออารมณ์บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำมาช่วยเสริมให้ดูดียิ่งขึ้นก็ได้
โครงสร้างการเขียนบท
1.จุดเริ่มต้น (BIGINNING) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง
2.การพัฒนาเรื่อง (DEVELOPING) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น
3.จุดสิ้นสุด (ENDING) จุดจบของเรื่อง แบ่งออก เป็นแบบสมหวัง(Happy ending)ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง(Sad ending)ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ
http://www.sriganapati.com/index.php?option=com_content&task=view&id=30&Itemid=34 (11/07/2554)
การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard)
การเขียนสตอรี่บอร์ดเป็นขั้นตอนของการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้ง สื่อในรูปของมัลติมีเดียต่างๆ ลงในกระดาษ เพื่อให้การนำเสนอข้อความ และสื่อในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป ขณะที่ผังงานนำเสนอลำดับ และขั้นตอนของการตัดสินใจ สตอรี่บอร์ดนำเสนอเนื้อหา และลักษณะของการนำเสนอ ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ดรวมไปถึงการเขียนสคริปต์ (ซึ่งสคริปต์ในที่นี้ คือ เนื้อหา) ที่ผู้ใช้จะได้เห็นบนหน้าจอซึ่งได้แก่ เนื้อหา ข้อมูล คำถาม ผลป้อนกลับ คำแนะนำ คำชี้แจง ข้อความเรียกความสนใจ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ
Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ โดยเฉพาะการสร้างภาพเคลื่อนไหว รายละเอียดที่ควรมีใน Storyboard
1. ภาพร่าง คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช้ (ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิโอ)
2. เวลาที่ใช้
3. หลายเลขหน้าจอ
4. การเปลี่ยนภาพ (Transition)
5. เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้งบประมาณ
6. ระบบนำทาง (Navigation)
7. คำอธิบายเพิ่มเติม (Comments)
ตัวอย่างเช่นในหัวข้อ Presentations จากโฟลว์ชาร์ตก็เป็นการแจงแจงรายละเอียดลงไปว่าในส่วนนี้ประกอบด้วยภาพ ข้อความ ภาพเครื่องไหว มีเสียงหรือเพลงประกอบหรือไม่ และมีการเรียงลำดับการทำงานอย่างไร มีการวางหน้าจออย่างไรรวมทั้งการกำหนดแหล่งของข้อมูล เช่น ภาพและเสียงว่าได้มาอย่างไรจากแหล่งไหน
การเตรียมข้อมูลสำหรับ Storyboard ข้อมูลสำหรับ Storyboard อาจมีทั้งภาพ เสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว (Animation Movies) หรืออื่นๆ ซึ่งจะต้องมีการจัดเตรียมขึ้นมาก่อนที่จะนำไปใส่โปรแกรม มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องดังนี้
การจัดทำ Storyboard
ข้อมูลต่าง ๆ อาจจะมาจากการวาดด้วยโปรแกรม Graphic Editor เช่น โปรแกรม PC Paint Brush ที่มี Microsoft Windowsหรืออื่น ๆ โปรแกรม Authoring System บางตัวจะมีคำสั่งสำหรับการวาดรูปหรือในส่วนของ Graphics Editor ไว้ให้ด้วยทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น แต่อย่างไรก็ดีโปรแกรมแต่ละตัวมีความสามารถแตกต่างกัน ดังนั้นอาจต้องมีการใช้โปรแกรมหลายตัวช่วยกัน การทำงานภายใต้ระบบ Microsoft Windows ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยง่าย นอกจากนี้อาจจะนำเข้ามาจากแหล่งอื่น เช่น การ Scan จากหนังสือหรือวารสารด้วยการใช้เครื่อง Scanner หรืออาจนำมาจากกล้องถ่ายวีดีโอ ในกรณีนี้จะต้องมีการ์ดพิเศษที่ทำหน้าที่จับสัญญาณวีดีโอเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่าการ์ด Video Capture เช่น การ์ด Video Blaster ของบริษัท Creative Technology ด้วยวิธีนี้ทำให้สามารถนำภาพต่าง ๆ เข้ามาใช้ในโปรแกรมได้อย่างมากมาย http://edu2yoottapon.multiply.com/journal/item/11/11 (11/07/2554)
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานครั้งนี้ ภาพยนตร์ 1 เรื่อง และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 1 ฉบับ จำนวน 15ข้อ เพื่อสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของภาพยนตร์ที่มีผลต่อการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการใช้ภาษาและภาพว่ามีความเหมาะสมและสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์เพียงใด
สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์นั้น ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ดังนี้
1. อุปกรณ์การถ่ายทำ ก. กล้อง VDO (Sony Handycam)
ข. ฉาก
ค. เสื้อผ้า
ง. ผู้มุ่งหวัง
2. อุปกรณ์ในการตัดต่อ ก. เครื่องคอมพิวเตอร์ (MAC Book) ข. สาย USB
- ดำเนินการถ่ายทำ
เพื่อนำภาพมาคัดต่อเป็นเรื่องโดยภาพเป็นภาพเคลื่อนไหว สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้อย่างชัดเจนเป็นการเก็บการกระทำต่าง ๆ ของร่างกาย
ตัดต่อวีดิโอ
เป็นการนำภาพวีดิโอที่เราถ่ายทำมาทำการตัดต่อในโปรแกรมตัดต่อวีดิโอ เช่น โปรแกรม I Moive เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่อยู่ใน MAC Book เป็นโปรแกรมที่มีฟังก์ชันที่สมบูรณ์ จะได้เล่าเรื่องของภาพเสียงที่เหมาะสมกับงานวีดิโอ
การตัดต่อวีดีโอ ช่วยให้เข้าตรงเนื้อหาตัดส่วนที่ผิดหรือบกพร่องออกจากไฟล์ วีดิโอ ให้กลายเป็นวีดิโอที่สมบูรณ์
- รวบรวมงาน
เป็นการนำชิ้นงานทั้งหมดมารวบรวมและเรียงลำดับ เช็คความเรียบร้อย และนำ บทภาพยนตร์ สตอรี่บอร์ดทั้งแบบร่างและฉบับสมบูรณ์เข้าเล่ม
7. ประเมินผลงาน
7.1 ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษารวบรวมข้อมูลด้านเอกสารและจากการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา นำมาใช้วิเคราะห์สรุปหาแนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์โครงการในหัวข้อ กรณีศึกษาและออกแบบหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้ “เรื่อง วิกฤตภาวะโลกร้อน”
7.2 ทำการออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน ภาพยนตร์ กรณีศึกษาและออกแบบหนังสั้นเพื่อการเรียนรู้ “เรื่อง วิกฤตภาวะโลกร้อน” จากผลสรุปข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า เช่นการออกแบบ ฉากต่างๆ ผลงาน Story board ภาพร่างวิธีการดำเนินเรื่องต่างๆ ในภาพยนตร์ และนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อการตรวจสอบ สรุปผลและหาข้อเสนอแนะ เพื่อความสมบูรณ์ของงานวิจัยและงานออกแบบ
7.3 นำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานในขั้นเสร็จสมบูรณ์ ที่ได้รับการแก้ไข จากการนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญในครั้งแรกแล้ว ต่อผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยแต่ละดานอีกครั้ง เพื่อทำการสรุป วิเคราะห์ หาขอเสนอแนะ เพิ่มเติม และดำเนินการอภิปรายผลงานในขั้นสุดท้าย
8. ส่งงาน
นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลของผู้ทรงคุณวุฒิมาสรุปและอภิปรายผลโดยนำประเด็นที่มีความคิดเห็นรวมกันมานำเสนอ จากนั้นจึงอภิปรายวิธีแนวทางการนำเสนอและผลของภาพยนตร์สั้นที่มีผลต่อการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อโลกและสิ่งแวดล้อมเรียงตามลำดับ
รายชื่อ ผู้ทรงคุณวุฒิ
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เสรภูมิ วรนิมมานนท์
ความคิดเห็น