คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : โครงการการถ่ายและตัดต่อวีดีโอเรื่อง
บทที่1
บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญ
ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่ยอมรับว่าในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาก
โลกแห่งเทคโนโลยีเป็นที่ยอมรับและเป็นปัจจัยสำคัญของคนในยุคปัจจุบันอย่างยิ่ง ที่มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ในปัจจุบันภาพยนตร์หรือการทำภาพเคลื่อนไหว ได้มีการพัฒนาด้วยเทคนิคใหม่ที่ล้ำสมัยมากมาย
การบันทึกภาพ การตัดต่อวีดีโอ การสร้างภาพ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ทางเลือกใหม่เกิดขึ้นในการที่จะสรรค์สร้างผลงาน
ผลของโครงการ การฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ เรื่อง แสงแห่งเทียน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการถ่ายถอดประโยชน์ของเทียนที่มีต่อชีวิตประจำวัน ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง มีคุณค่าเช่นไร เพื่อแสดงออกมาในรูปแบบของ สื่อ ภาพยนตร์สั้น
1.2 ปัญหาของการวิจัย
ปัจจุบันได้มีการผลิตสื่อรูปแบบต่างๆออกมามากมาย การทำสื่อทางด้านภาพยนตร์นั้น จะต้องสื่อให้เข้าถึงได้ทางด้านอารมณ์ ความรู้สึก ได้อย่างมีประสิทธิภาพทางด้านการรับรู้ ทางด้านทฤษฎี และกระบวนการ โดยสื่อทางด้านภาพยนตร์นั้นซึ่งจะเน้นไปทางภาพและเสียงและรวมทั้งเรื่องที่สร้างขึ้นให้มีความเข้าใจง่ายเข้าถึงอารมณ์ของผู้รับชมโดยต้องอาศัยความรู้และหลักการผลิตเป็นอย่างมาก เพื่อให้สื่อนั้นออกมามีรูปลักษณ์ที่ดี การคิดกลักการและการออกแบบจึงเป็นส่วนที่สำคัญของการผลิตสื่อ ดังนั้นการสร้างภาพยนตร์จะให้ในเรื่องของการจินตนาการ การรับรู้ การรับฟัง และผ่านกระบวนการของความคิดทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ด้วยสาเหตุนี้การจัดทำโครงการในหัวข้อ การฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอเรื่อง “แสงแห่งเทียน”
เนื่องจาก การถ่ายทำหนังสั้นเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านทางความรู้สึกการรับรู้ และได้แง่คิดในด้านต่างๆทำให้เกิดความคิดความรู้สึกต่างๆนาๆ เป็นหนังสะท้อนสังคมให้ให้รู้ถึงคุณค่า ประโยชน์ โดยนำความรู้ความสามารถที่ได้ศึกษามาสร้างสรรค์ผลงาน ตามแนวทางการสรรค์สร้างเพื่อให้เกิดประโยชน์
สูงสุด โดยใช้หลักการออกแบบ การเขียนภาพประกอบ องค์ประกอบศิลป์ การถ่ายวีดีโอ การตัดต่อ เพื่อให้ผลงานออกมาสมบูรณ์ตามเป้าหมาย
1.3 วัตถุประสงค์การวิจัย
1.3.1 เพื่อการศึกษาการฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอเรื่อง “แสงแห่งเทียน”
1.3.2 เพื่อให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของเทียน
1.3.3 เพื่อการประเมินประสิทธิภาพของการฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอเรื่อง “แสงแห่งเทียน”
1.4 สมมติฐานการวิจัย
1.4.1 เพื่อให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของเทียน
1.4.2 เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอเรื่อง “แสงแห่งเทียน”
1.4.3 ได้ศึกษาแนวทางการฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอเรื่อง “แสงแห่งเทียน”
1.5 ขอบเขตของการวิจัย
1.5.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1.) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง การฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ เรื่อง แสงแห่งเทียน
ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไปไม่จัดเพศ ระหว่างอายุ 13 ปีขึ้นไป จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน
100 คน
2.) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเรื่อง การฝึกถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ เรื่อง แสงแห่งเทียนประกอบด้วย ประชาชนทั่วไปไม่จัดเพศ ระหว่างอายุ 13 ปีขึ้นไป จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มตัวอย่าง50 คน
1.5.2. ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย
1.) ตัวแปรต้น ประกอบด้วย ผลของประสิทธิภาพที่มีต่อการ วิจัยเรื่อง การฝึกถ่ายภาพและ
ตัดต่อวีดีโอ เรื่อง แสงแห่งเทียน
นิยามศัพท์เฉพาะ
การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวน
ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟโตกราฟฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน. เมื่อรวมกันแล้ว จึงมีความหมายตรงตัวว่า การวาดภาพด้วยแสง
เทียนหอม คือ ผลิตภัณฑ์ ที่ได้ จากการนำพาราฟิน และไขผึ้งมาหลอมละลายรวมกัน อาจเติมสีและเติมน้ำมันหอมระเหย นำไปปั้นด้วยมือ หรือหล่อแบบขึ้นรูป หรือกดจากพิมพ์ให้มีรูปทรงตามต้องการอาจประกอบด้วยวัสดุอื่นเพื่อให้ เกิดความสวยงาม เช่น ดอกไม้แห้ง มีไส้เทียนสำหรับจุดไฟ และมีกลิ่นหอมของน้ามันหอมระเหย เทียนหอมแฟนซีเน้นการใช้ประโยชน์และความสวยงาม โดยมีกลิ่นหอม แบบสวย และอาจจะใช้ไล่ยุงหรือแมลงได้อีกด้วย ทั้งนี้แล้ว เทียนหอมแฟนซี ยังมีการทำเป็นธุรกิจsMEขนาดย่อม มีการลงทุนที่น้อยกว่า แต่ได้กำไรเยอะ เนื่องจากเป็นงานhandmade ทำให้ผู้คนสนใจในตัวสินค้า เทียนหอมแฟนซี หรือ Fancy Aroma Candle นั้น ทำจากส่วนผสมไม่กี่อย่าง ทำง่าย และตกแต่งง่าย โดยใช้ต้นทุนเพียงไม่กี่บาท ก็สามารถประดิษฐ์มันขึ้นมาได้แล้ว
วีดีโอ คือ ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้านมัลติมีเดีย ที่ทำให้การนำเสนองานของเราน่าสนใจแล้ว ราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อ
วิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้ สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio 8 เพื่อเป็นพี้นฐานในการตัดต่อ
การตัดต่อ คือ การลำดับภาพจากภาพยนตร์ที่ถ่ายทำไว้ โดยนำแต่ละฉากมาเรียงกันตามโครงเรื่อง จากนั้นใช้เทคนิค การตัดต่อให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน เพื่อให้ได้ภาพยนตร์ที่เต็มรูปแบบ ถือได้ว่าการตัดต่อภาพยนตร์เป็นขั้นตอนสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการสร้างภาพยนตร์ก่อนการนำไปเผยแพร่
ประโยชน์ของงานวิดีโอ
1. แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงาน
และองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
2. บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในทุกสถานที่ต่างๆ งานวันเกิด
งานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
3. การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอ
โดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
4. การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพ
ประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
5. วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษอาจ หมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้อง
การ จะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไข้ภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1. เขียน Storyboard สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียน Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริงในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......
2. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี
3. ตัดต่องานวิดีโอ การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับ
การตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ / ตัดต่อใส่เสียง ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียง
ดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio 8สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต
แสง คือ เป็นพลังงานรังสี ( Radiation Energy ) ที่ตารับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยกระบวนการ วิเคราะห์แยกแยะของสมอง ตาสามารถวิเคราะห์ พลังงานแสงโดยการรับรู้วัตถุ สัมพันธ์กับตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ความเข้มของแสง และความยาวคลื่นที่มองเห็นได้
ความเป็นมาของเทียนหอม : เทียนหอม
ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ยังไม่มีการรู้จักใช้ไฟ รู้จักเพียงแต่ความมืดในเวลากลางคืน และความสว่างในเวลากลางวัน ต่อมาเริ่มรู้จักการใช้ไม้มาเสียดสีกันให้ได้ความร้อน แล้วเกิดเป็นเปลวไฟเกิดขึ้น และเริ่มใช้ไฟมาหุงหาอาหาร ให้แสงสว่าง และป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายต่างๆ และวิวัฒนาการก้อได้เริ่มพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการใช้คบเพลิง เพื่อเป็นการให้แสง ส่องสว่าง มีการประยุกต์นำมาใช้เป็นการติดต่อสื่อสารในระยะไกลจะเห็นได้จากไฟในประภาคาร ที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างยามฝั่งกับเรือ และให้สัญญาณต่างๆระหว่างภูเขาแต่ละลูก โดยมีรหัสที่เข้าใจตามแต่จะตกลงกันในสมัยนั้น จะเห็นได้ว่ามนุษย์ได้มีการใช้ไฟเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำเทียนเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไฟ มีเป็นสัญลักษณ์ของการเผาผลาญ และความโชติช่วงชัชวาลย์ และมนุษย์บางเผ่าในสมัยนั้นนับถือให้เป็นเทพไฟ มีการบวงสรวงและประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา หรือตามแต่ความเชื่อ จะเห็นได้จาก พิธีการแต่งงาน ซึ่งมีความหมายของการเริ่มต้น แสงแห่งเปลวเทียนจะนำทางไปสู่ความสว่างไสวในชีวิตคู่ ชาวอเมริกันนิยมนำเทียนมาประดับประดาบนโต๊ะอาหาร แสดงถึงฐานะ ความภูมิฐาน และมีรสนิยม และเพื่อให้เกิดความสว่างไสว อีกทั้งแสงสว่างของเทียน สามารถสร้างบรรยากาศ และดูสวยงามอีกด้วย ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ให้
นอกจากเทียนมีความสวยงามแล้ว ยังมีการนำกลิ่นหอม หรือน้ำมันหอมละเหยมาผสมเพื่อให้ได้กลิ่นตามต้องการ และนอกจากนี้ กลิ่นน้ำมันหอมละเหยนี้ มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งแตกต่างกันออกไป เช่น บางชนิดสามารถที่จะรักษาโรคได้ แก้อาการเครียด และทำให้ร่างกายผ่อนคลาย กลิ่นบางชนิด สามารถไล่ยุงได้ น้ำมันหอมละเหยเหล่านี้ได้มาจากการสกัดจากพืช และสมุนไพรทางธรรมชาติ และบางชนิดได้มาจากการสังเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยม ด้วยคุณลักษณะที่เป็นสิ่งที่ได้จากธรรมชาติ และ
ช่วยรักษาสุภาพ ราคาไม่แพง เหมาะที่จะนำไปเป็นของขวัญ ของที่ระลึกฝากคนที่คุณรัก เพื่อแสดงความห่วงใยต่อสุขภาพของคนที่คุณรัก
ประวัติความเป็นมาของเทียนหอม : เทียนหอม
แสงสว่าง นับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นมากต่อมนุษย์ และแสงสว่างนี้ก็ถือกำเนิดมานานมากแล้ว นับได้ว่าแสงสว่างจะมีในทุกๆที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ มนุษย์ (บรรพบุรุษสุดฉลาด) ก็ได้คิดหาวิธีที่จะให้กำเนิดแสงสว่างที่นอกเหนือจากดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและพลังงานแสงที่ใหญ่ที่สุด จนบังเกิดเทียนที่ให้แสงสว่างหลักๆ ในยามค่ำคืนแก่มนุษย์ในอดีต แต่ในปัจจุบันเทียนไขก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างแก่มนุษย์อยู่ดี ถึงแม้ว่าวิวัฒนาการจะก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมนุษย์มีไฟฟ้าใช้ แต่ในยามที่ไฟฟ้าดับ เทียนไขเพื่อนยากก็เป็นที่พึ่งที่คอยส่องแสงสว่างสุกใสให้แก่มนุษย์
นอกจากเทียนไขจะให้แสงสว่างในบ้านในยามไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้าแล้ว เทียนไขยังมีความสามารถที่จำเป็นมากในทางด้านพระพุทธศาสนา เพราะจะเห็นได้ว่ามนุษย์ชาวพุทธมักจะใช้เทียนไขจุดก่อนไหว้พระ และมีการถวายเทียนพรรษาแด่วัดต่างๆในวันเข้าพรรษา จะเห็นได้เด่นชัดเลยทีเดียวว่า เทียนมีความสำคัญมาก แต่วิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เทียนมีการสร้างสรรค์ลูกเล่นต่างๆ ลงไปในเทียน หนึ่งในนั้นก็มีวิธีการใส่น้ำหอมให้ เทียนเกิดกลิ่นที่หอมบางๆเวลาที่ถูกไฟจุดที่ไส้เทียนสีขาวนวล
ประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงนับเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของเทียน แต่นอกจากนั้นแล้ว เทียนที่มีกลิ่นหอมของเรานั้นตีตลาดการเปิดสถานบริการนวดแผนต่างๆ และสปา ที่หลายๆคนคงจะเคยได้ยินกัน ในอดีต เทียน มีความจำเป็นกับมนุษย์มาก เนื่องจากในอดีตไม่มีไฟฟ้าใช้ เหมือนอย่างปัจจุบัน และในปัจจุบันรูปแบบของเทียนก็มีการวิวัฒนาการไปมาก ไม่ว่าจะเป็นเทียนไล่ยุง เทียนหอม หรือจะเป็นเทียนลายดอกไม้อบแห้ง เป็นต้น ที่กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกเทียนหอม เพราะนอกจากจะเป็นสินค้า OTOP แล้ว ยังมีสีสันสวยงาม สามารถนำไปประดับตกแต่ง เพิ่มความสวยงามให้กับบริเวณต่างๆของห้องได้ หรือจุดเทียนเพื่อเพิ่มบรรยากาศในโอกาส พิเศษต่างๆ ได้มากมาย นอกจากนี้ยังขยายไปถึงธุรกิจอื่นๆ ได้ด้วย นั่นคือ สปา คือ สปามักจะใช้จุดเทียนหอมเพื่อช่วยในการผ่อนคลายแก่ลูกค้าและสร้างความประทับใจ ให้กับผู้ที่เข้าไป ด้วยรูปลักษณ์ที่ถูกออกแบบอย่างสวยงานและมีการพัฒนาให้รูปแบบสวยงาม ขึ้นเรื่อยจึงทำให้ “เทียนหอม” เป็นที่นิยมกันมาจนถึงทุกวันนี้และมีแนวโน้มว่าจะคงความ เป็นที่นิยมแบบนี้ไปอีกในอนาคต ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki
http://61.7.221.103/40202multimedia/40202multimedia/unit8/unit841.htm
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกการถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ เรื่อง แสงแห่งเทียน ดังหัวข้อต่อไปนี้
2.1 ประวัติความเป็นมาของการถ่ายภาพและภาพถ่าย
2.2 การจัดองค์ประกอบศิลป์
2.3 ทฤษฎีและหลักในการสร้างสื่อวีดีโอ
2.4 การตัดต่อวีดีโอ
2.5 ประวัติความเป็นมาของเทียน
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ประวัติความเป็นมาของการถ่ายภาพและภาพถ่าย
การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพในภาษาอังกฤษคำว่า
การถ่ายภาพ คือ Photography ( อ่านว่า โฟโตกราฟฟี ) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน. เมื่อรวมกันแล้ว จึงมีความหมายตรงตัวว่า การวาดภาพด้วยแสง นั่นเอง
2.1.1 ประวัติการถ่ายภาพ
พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) - นิเซฟอร์ นิเอปเซ่ ( Nicéphore Niépce ) ถ่ายภาพเป็นครั้งแรก โดยใช้ยางมะตอยจูเดีย (bitumen of Judea)
พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) - ฌากส์ ดาแกร์ (Jacques Daguerre) ซึ่งเคยทำงานกับนิเอปเซ่ ประดิษฐ์วิธีการถ่ายภาพใหม่ คือ ดาแกโรไทป์ ( Daguerreotype ) โดยใช้โลหะเงินบนแผ่นทองแดงในการถ่ายภาพ. ซึ่งดารแกร์พบว่า เมื่อนำเงินมาอังด้วยไอของไอโอดีนก่อนใช้ถ่ายภาพ แล้วนำไปอังด้วยไอปรอท จะได้ภาพออกมา
พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต ( William Fox Talbot ) ประดิษฐ์คาโลไทป์ ( Calotype ) โดยการชุบกระดาษด้วยซิลเวอร์คลอไรด์ เพื่อทำภาพเนกาทิฟ แล้วนำมาใช้ทำพอซิทิฟได้ เป็นวิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน
พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) - เจมส์ คลาร์ก แม็กซ์เวล ( James Clerk Maxwell ) ถ่ายภาพสีเป็นครั้งแรก (http://th.wikipedia.org/wiki)
2.2 การจัดองค์ประกอบศิลป์
การจัดองค์ประกอบศิลป์เป็นหลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะและการออกแบบ การจัดองค์ประกอบศิลป์มีหลักที่ควรคำนึงอยู่ 5 ประการ คือ
1. สัดส่วน (proportion)
หมายถึง ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดขององค์ประกอบที่แตกต่างกันทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรงและรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจพิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
· สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาติ ของ คน สัตว์ พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการสร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม" ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว
· สัดส่วนจากความรู้สึก โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย สัดส่วนจะช่วยเน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่นนี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น กรีก นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็นอุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง จึงแสดงถึงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญาณที่น่ากลัว ดังนั้นรูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป
2. ความสมดุล (balance) หมายถึงน้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ฉะนั้นในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไปหรือเบาบางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียงและเกิดความรู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงามดุลยภาพในงานศิลปะมี2ลักษณะคือ
· ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือการวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ
· ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกันมักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความสมดุลกัน อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้ การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า หรือ
เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาด
เล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา
3. จังหวะลีลา (Rhythm)
หมายถึง การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการซ้ำกันขององค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ เนื่องจากจังหวะของลายนั้น ซ้ำตัวเองอยู่ตลอดไปไม่มีวันจบ และมีแบบรูปของการซ้ำที่ตายตัว แต่งานศิลปะแต่ละชิ้นจะต้องจบลงอย่างสมบูรณ์ และมีความหมายในตัว งานศิลปะทุกชิ้นมีกฎเกณฑ์และระเบียบที่ซ่อนลึกอยู่ภายในไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนงานชิ้นใดที่แสดงระเบียบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกินไป งานชิ้นนั้นก็จะจำกัดตัวเอง ไม่ต่าง อะไรกับลวดลายที่มองเห็นได้ง่าย ไม่มีความหมาย ให้ผลเพียงความเพลิดเพลินสบายตาแก่ผู้ชม
4. การเน้น (Emphasis) หมายถึง การทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดาในงานศิลปะจะต้องมีส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่งที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่นๆเป็นประธานอยู่ ดังนั้นส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้นให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา ซึ่งจะทำให้ผลงานมีความงามสมบูรณ์ ลงตัวและน่าสนใจมากขึ้นการเน้นจุดสนใจสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
· การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast) สิ่งที่แปลกแตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงาน จะเป็นจุดสนใจ ดังนั้น การใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะ แตกต่าง หรือขัดแย้งกับส่วนอื่น ก็จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะความแตกต่างที่นำมาใช้ด้วยว่า ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในส่วนรวมและทำให้เนื้อหาของงานเปลี่ยนไปหรือไม่โดยต้องคำนึงว่า แม้มีความขัดแย้ง แตกต่างกันในบางส่วนและในส่วนรวมยังมีความกลมกลืนเป็นเอกภาพเดียวกัน
· การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation) เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยก
ออกไปจากส่วนอื่นๆของภาพหรือกลุ่มของมันสิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจเพราะเมื่อแยกออกไปแล้วก็จะเกิดความสำคัญขึ้นมาซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างที่ไม่ใช่แตกต่างด้วยรูปลักษณะ แต่เป็นเรื่องของตำแหน่งที่จัดวางซึ่งในกรณีนี้ รูปลักษณะนั้นไม่จำเป็นต้องแตกต่างจากรูปอื่น แต่ตำแหน่งของมันได้ดึงสายตาออกไปจึงกลายเป็นจุดสนใจขึ้นมา
· การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมาและการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้จุดนั้นเป็นจุดสำคัญขึ้นมาได้เช่นกัน พึงเข้าใจว่า การเน้น ไม่จำเป็นจะต้องชี้แนะให้เห็นเด่นชัดจนเกินไป สิ่งที่จะต้องระลึกถึงอยู่เสมอ คือ เมื่อจัดวางจุดสนใจแล้ว จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งอื่นมาดึงความสนใจออกไป จนทำให้เกิดความสับสน การเน้น สามารถกระทำได้ด้วยองค์
ประกอบต่างๆของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น เส้น สี แสง-เงา รูปร่าง รูปทรง หรือ พื้นผิว ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความต้องการในการนำเสนอของศิลปินผู้สร้างสรรค์
5. เอกภาพ (unity) หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบส่วนต่างๆให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียว เอกภาพของงานศิลปะมีอยู่ 2ประการคือ
เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมีความเรียบง่าย งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน
ขาดเอกภาพ และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้ เกิดเอกภาพแก่ผลงานได้
เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะ
เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว ความคิด และอารมณ์ ดังนั้น
กฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ (http://www.prc.ac.th/newart/webart/composition05.html)
2.3 ทฤษฎีและหลักในการสร้างสื่อวีดีโอ
2.3.1 แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย โดยไม่มีการคิดให้ดีก่อนที่จะถ่ายทำ เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการเนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวิดีโออย่างมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการจะไม่ต้องมาเสียเวลาแก้ไข้ภายหลัง โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1. เขียน Storyboard สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ การเขียนStoryboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริงในการเขียน Storyboard อาจวิธีง่ายๆ ไม่ถึงขนาดวาดภาพปรกอบก็ได้ เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน จากนั้นดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......
2. เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี
3. ตัดต่องานวิดีโอ การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับ
การตัดต่อเป็นสำคัญ ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียงในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแด่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริงขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio 8สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต
2.4 การตัดต่อวีดีโอ
ในปัจจุบันงานวิดีโอได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น ด้วยความสามารถของงานทางด้านมัลติมีเดีย ที่ทำให้การนำเสนองานของเราน่าสนใจแล้ว ราคากล้องวิดีโอก็ราคาถูกลงมามากและหาซื้อได้ไม่ยาก พร้อมกับโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อวิดีโอก็มีให้เลือกใช้มากมายและก็ไม่ยากจนเกินไปที่จะเรียนรู้ สำหรับสื่อนี้จะขอนำเสนอการตัดต่อด้วยโปรแกรม Ulead Video Studio 8 เพื่อเป็นพี้นฐานในการตัดต่อ
2.5.1 ประโยชน์ของงานวิดีโอ
1. แนะนำองค์กรและหน่วยงาน การสร้างงานวิดีโอเพื่อแนะนำสถานที่ต่างๆ หรือในการนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงานและองค์กร เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ชมผู้ฟังและยังก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
2. บันทึกภาพความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น การเดินทางไปท่องเที่ยวในสถานที่ต่างๆ งานวันเกิด งานแต่งงาน งานรับปริญญางานเลี้ยงของหน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งเดิมเราจะเก็บไว้ในรูปแบบภาพนิ่ง
3. การทำสื่อการเรียนการสอน คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวิดีโอไว้นำเสนอได้หลายรูปแบบ เช่น เป็นวิดีโอ
โดยตรง เป็นภาพวิดีโอประกอบในโปรแกรม POWER POINT เป็นภาพวิดีโอประกอบใน Homepage และอื่นๆ
4. การนำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ ซึ่งปรับเปลี่ยนการนำเสนองานจากรูปแบบเดิม ที่เป็นเอกสารภาพประกอบ แผ่นชาร์จแผ่นใส ให้ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
5. วิดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ บุคคลสำคัญในโอกาสพิเศษ อาจหมายถึง วิทยากรที่เชิญมาบรรยาย ผู้จะเกษียณอายุจากการทำงาน เจ้าของวันเกิดคู่บ่าวสาว โอกาสของบุคคลที่ได้รับรางวัลต่างๆ
2.5 ประวัติความเป็นมาของเทียน
ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ยังไม่มีการรู้จักใช้ไฟ รู้จักเพียงแต่ความมืดในเวลากลางคืน และความสว่างในเวลากลางวัน ต่อมาเริ่มรู้จักการใช้ไม้มาเสียดสีกันให้ได้ความร้อน แล้วเกิดเป็นเปลวไฟเกิดขึ้น และเริ่มใช้ไฟมาหุงหาอาหาร ให้แสงสว่าง และป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายต่างๆ และวิวัฒนาการก้อได้เริ่มพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการใช้คบเพลิง เพื่อเป็นการให้แสง ส่องสว่าง มีการประยุกต์นำมาใช้เป็นการติดต่อสื่อสารในระยะไกลจะเห็นได้จากไฟในประภาคาร ที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างยามฝั่งกับเรือ และให้สัญญาณต่างๆระหว่างภูเขาแต่ละลูก โดยมีรหัสที่เข้าใจตามแต่จะตกลงกันในสมัยนั้น จะเห็นได้ว่ามนุษย์ได้มีการใช้ไฟเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และต่อมาในสมัยศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำเทียนเข้ามาเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากไฟ มีเป็นสัญลักษณ์ของการเผาผลาญ และความโชติช่วงชัชวาลย์ และมนุษย์บางเผ่าในสมัยนั้นนับถือให้เป็นเทพไฟ มีการบวงสรวงและประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนา หรือตามแต่ความเชื่อ จะเห็นได้จาก พิธีการแต่งงาน ซึ่งมีความหมายของการเริ่มต้น แสงแห่งเปลวเทียนจะนำทางไปสู่ความสว่างไสวในชีวิตคู่ ชาวอเมริกันนิยมนำเทียนมาประดับประดาบนโต๊ะอาหาร แสดงถึงฐานะ ความภูมิฐาน และมีรสนิยม และเพื่อให้เกิดความสว่างไสว
อีกทั้งแสงสว่างของเทียนสามารถสร้างบรรยากาศและดูสวยงามอีกด้วย
ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์ให้นอกจากเทียนมีความสวยงามแล้ว ยังมีการนำกลิ่นหอม หรือน้ำมันหอมละเหยมาผสมเพื่อให้ได้กลิ่นตามต้องการ และนอกจากนี้ กลิ่นน้ำมันหอมละเหยนี้ มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งแตกต่างกันออกไป เช่น บางชนิดสามารถที่จะรักษาโรคได้ แก้อาการเครียด และทำให้ร่างกายผ่อนคลายกลิ่นบางชนิดสามารถไล่ยุงได้น้ำมันหอมละเหยเหล่านี้ได้มาจากการสกัดจากพืช
และสมุนไพรทางธรรมชาติ และบางชนิดได้มาจากการสังเคราะห์ ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยม ด้วยคุณลักษณะที่เป็นสิ่งที่ได้จากธรรมชาติ และช่วยรักษาสุภาพ ราคาไม่แพง เหมาะที่จะนำไปเป็นของขวัญ
ของที่ระลึกฝากคนที่คุณรัก เพื่อแสดงความห่วงใยต่อสุขภาพของคนที่คุณรัก แสงสว่าง นับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นมากต่อมนุษย์ และแสงสว่างนี้ก็ถือกำเนิดมานานมากแล้ว นับได้ว่าแสงสว่างจะมีในทุกๆที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ มนุษย์ (บรรพบุรุษสุดฉลาด) ก็ได้คิดหาวิธีที่จะให้กำเนิดแสงสว่างที่นอกเหนือจากดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานความร้อนและพลังงานแสงที่ใหญ่ที่สุด จนบังเกิดเทียนที่ให้แสงสว่างหลักๆ ในยามค่ำคืนแก่มนุษย์ในอดีต แต่ในปัจจุบันเทียนไขก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างแก่มนุษย์อยู่ดี ถึงแม้ว่าวิวัฒนาการจะก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมนุษย์มีไฟฟ้าใช้ แต่ในยามที่ไฟฟ้าดับ เทียนไขเพื่อนยากก็เป็นที่พึ่งที่คอยส่องแสงสว่างสุกใสให้แก่มนุษย์ นอกจากเทียนไขจะให้แสงสว่างในบ้านในยามไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้าแล้วเทียนไขยังมีความสามารถที่จำเป็นมากในทางด้านพระพุทธศาสนา เพราะจะเห็นได้ว่ามนุษย์ชาวพุทธมักจะใช้เทียนไขจุดก่อนไหว้พระ และมีการถวายเทียนพรรษาแด่วัดต่างๆในวันเข้าพรรษา จะเห็นได้เด่นชัดเลยทีเดียวว่า เทียนมีความสำคัญมาก
แต่วิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เทียนมีการสร้างสรรค์ลูกเล่นต่างๆ ลงไปในเทียน หนึ่งในนั้นก็มีวิธีการใส่น้ำหอมให้ เทียนเกิดกลิ่นที่หอมบางๆเวลาที่ถูกไฟจุดที่ไส้เทียนสีขาวนวล ประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงนับเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของเทียน แต่นอกจากนั้นแล้ว เทียนที่มีกลิ่นหอมของเรานั้นตีตลาด
การเปิดสถานบริการนวดแผนต่างๆ และสปา ที่หลายๆคนคงจะเคยได้ยินกัน
ในอดีต เทียน มีความจำเป็นกับมนุษย์มาก เนื่องจากในอดีตไม่มีไฟฟ้าใช้ เหมือนอย่างปัจจุบัน และในปัจจุบันรูปแบบของเทียนก็มีการวิวัฒนาการไปมาก ไม่ว่าจะเป็นเทียนไล่ยุง เทียนหอม หรือจะเป็นเทียนลายดอกไม้อบแห้ง เป็นต้น ที่กลุ่มของข้าพเจ้าเลือกเทียนหอม เพราะนอกจากจะเป็นสินค้า OTOP แล้ว ยังมีสีสันสวยงาม สามารถนำไปประดับตกแต่ง เพิ่มความสวยงามให้กับบริเวณต่างๆของห้องได้ หรือจุดเทียนเพื่อเพิ่มบรรยากาศในโอกาส พิเศษต่างๆ ได้มากมาย นอกจากนี้ยังขยายไปถึงธุรกิจอื่นๆ ได้ด้วย นั่นคือ “สปา” คือสปามักจะใช้จุดเทียนหอมเพื่อช่วยในการผ่อนคลายแก่ลูกค้าและสร้างความประทับใจ ให้กับผู้ที่เข้าไป ด้วยรูปลักษณ์ที่ถูกออกแบบอย่างสวยงานและมีการพัฒนาให้รูปแบบสวยงาม ขึ้นเรื่อยจึงทำให้ “เทียนหอม” เป็นที่นิยมกันมาจนถึงทุกวันนี้และมีแนวโน้มว่าจะคงความเป็นที่นิยมแบบนี้ไปอีกในอนาคต (http://crafts.ohojunk.com/?p=17)
2.5.1 อุปกรณ์ในการตัดต่อวิดีโอ
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกาณ์ชิ้นแรกที่จำเป็นต้องมี ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทำให้เราสามารถมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัด สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการตัดต่อควรมีสเป็คเครื่องขั้นต่ำ ดังนี้
ซีพียู แนะนำ Pentium 4 ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป
แรมหรือหน่วยความจำ ขนาด 512 MB ขึ้นไป
ฮาร์ดดิสก์ 80 GB ซึ่งปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ มีความจุ ฮาร์ดดิสก์มากพออยู่แล้ว
ระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้ Windows XP/2000
2. กล้องถ่ายวิดีโอ กล้องถ่ายวิดีโอ มีหลายประเภท หลายรูปแบบ แต่ในที่จะกล่าวถึงการใช้งานเฉพาะกล้องถ่ายวิดีโอแบบดิจิตอล หรือ กล้องดิจิตอลแบบ MiniDV
3. Capture Card (การ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ) เนื่องเราไม่สามารถนำภาพวิดีโอที่อยู่ ในกล้องวิดีโอมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ที่เรียกว่าการ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ช่วยเปลี่ยนเสมือนเป็นสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล จากกล้องมายังเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง และแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวิดีโอ ก็มีหลายรูปแบบเช่นกัน
4. ไดรว์สำหรับเขียนแผ่น CD หรือ DVD
อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องมีหากเราต้องการสร้างงานให้อยู่ในรูปแบบ VCD หรือ DVD ซึ่งในปัจจุบันก็หาซื้อได้ไม่ยาก ราคาก็ไม่แพง
5. แผ่น CD สำหรับบันทึกข้อมูลแผ่น CD-R (CD-ReWrite หรือ CD Record) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลต่างๆ โปรแกรมเพลง รูปภาพ และภาพยนตร์ สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียวจนกว่าจะเต็มแผ่น แผ่น CD-RW (CD-Write) ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลทั่วไป เช่นเดียวกับแผ่น CD-R แต่มีความพิเศษกว่าตรงที่สามารถที่จะเขียนหรือบันทึกซ้ำ และลบข้อมูลที่เขียนไปแล้วได้
6. ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ ดีวดีดีอาร์ดับบลิวไดรว์ (DVD+-RW drive) ก็คล้ายกับ ซีดีอาร์ดับบลิวไดรว์นั่นเอง คือสามารถอ่านและขียนแผ่นดีวีดี แบบพิเศษ คือแผ่น DVD+-R และแผ่น DVD+-RW ได้
2.6.2 รูปแบบของแผ่นดีวีดี
1. แผ่นดีวีดีอาร์
ดีวีดีอาร์ (DVD+R : Digital Versatile Disc-Recordable)
เป็นแผ่นดีวีดีที่ผู้ใช้สามารถบันทึก หรือเขียนข้อมูลลงไปได้ครั้งเดียว จนกว่าจะเต็มแผ่น มีให้เลือกแบบด้านเดียว และ 2 ด้าน ในความจุด้านละ 4.7 GB แผ่น ประเภทนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 มาตรฐาน (จาก 2 ค่าย) คือ แผ่น DVD-R DVD+R
2. แผ่นดีวีดีอาร์ดับบลิว
ดีวีดีอาร์ดับบลิว (DVD+RW : Digital Versatile Disc-Re-recordable) เป็นแผ่นดีวีดีที่ใช้เขียน และลบข้อมูลได้หลายครั้งมีความจุ 4.7 GB
วิธีการดำเนินงาน
การวิจัยครั้งนี้เป็นการค้นคว้าในเรื่อง การฝึกการถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ เรื่อง แสงแห่งเทียนโดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังนี้
3.1 เสนอโครงการการถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ เรื่อง “แสงแห่งเทียน”
3.2 เก็บรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับเทียน
- ความเป็นมาของเทียน
- วิธีทำเทียน
- ประโยชน์ของเทียน
-ประเภทของเทียน
3.3 นำเนื้อหางานไปนำเสนอ
3.4 วางแผนการทำงาน
- หาสถานที่
- เขียนบท
- เขียนสตรอรี่บอร์ด
- ถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอ
- ตัดต่อวีดีโอ
3.5 ถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ
- ประวัติการถ่ายภาพ
- การจัดองค์ประกอบ
3.6 นำไปประเมิน
3.7 ปรับปรุงแก้ไข
3.8 นำผลมาวิเคราะห์การประเมิน
3.9 นำไปประเมินประสิทธิภาพ
3.10 นำเสนอผลงาน , เข้าเล่มโครงการ
เสนอโครงการการถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ เรื่อง “แสงแห่งเทียน”
ในการนำเสนอโครงการควรนำเรื่องที่น่าสนใจ ให้ความรู้ได้ดี มีเนื้อหาความหมายที่เข้าใจง่าย
สื่อเข้าถึงคนดู
เก็บรวบรวมข้อมูลเนื้อหาเกี่ยวกับเทียน
เนื่องจากเทียนมีหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นเทียนไข เทียนเจล เทียนหอม เป็นต้น
แสงสว่าง นับว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่จำเป็นมากต่อมนุษย์และแสงสว่างนี้ก็ถือกำเนิดมานานมากแล้ว แต่ในปัจจุบันเทียนไขก็ยังคงเป็นอุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างแก่มนุษย์อยู่ดีถึงแม้ว่าวิวัฒนาการจะก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมนุษย์มีไฟฟ้าใช้ แต่ในยามที่ไฟฟ้าดับ เทียนไขเพื่อนยากก็เป็นที่พึ่งที่คอยส่องแสงสว่างสุกใสให้แก่มนุษย์
นอกจากเทียนไขจะให้แสงสว่างในบ้านในยามไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้าแล้วเทียนไขยังมีความสามารถที่จำเป็นมากในทางด้านพระพุทธศาสนาเพราะจะเห็นได้ว่ามนุษย์ชาวพุทธมักจะใช้เทียนไขจุดก่อนไหว้พระและมีการถวายเทียนพรรษแด่วัดต่างๆในวันเข้าพรรษาจะเห็นได้เด่นชัดเลยทีเดียวว่า เทียนมีความสำคัญมาก ประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นจึงนับเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของเทียนแตนอกจากนั้นแล้ว เทียนที่มีกลิ่นหอมของเรานั้นตีตลาดการเปิดสถานบริการนวดแผนต่างๆ และสปา ที่หลายๆคนคงจะเคยได้ยินกัน (http://crafts.ohojunk.com/?p=17)
ความเป็นมาของเทียน
ในบรรดาสิ่งที่นำมาใช้เพื่อความสว่างในบ้านเรือน (ก่อนยุคอิเล็กทรอนิกส์) แล้ว เทียนไขเกิดขึ้นทีหลังสุด เรื่องราวของมันเริ่มปรากฏในเอกสารของชาวโรมันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑ ซึ่งชาวโรมันบันทึกไว้ว่า เป็นประดิษฐกรรมชิ้นใหม่ที่ใช้แทนตะเกียงน้ำมันได้
เทียนไขในยุคนั้นทำจากไขสัตว์และพืชซึ่งไม่มีสีและรสชาติ แต่รับประทานได้ ทหารในกองทัพที่อดอยากจะได้รับปันเทียนไขเป็นอาหาร และหลายร้อยปีต่อมาการรับประทานเทียนไขก็เป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ดูแลประภาคาร ซึ่งมักจะอยู่โดดเดี่ยวครั้งละนาน ๆ อีกด้วย
ปัญหาของเทียนไขในยุคก่อนคือ การตัดไส้เทียน แม้จะเป็นเทียนไขที่มีราคาแพงมากก็ยังจำเป็นต้องตัดไส้เทียนทิ้งทุกครึ่งชั่วโมง การตัดไส้เทียนคือการค่อย ๆ ขริบเอาส่วนที่ไหม้ออกโดยไม่ทำให้เทียนดับถ้าไม่ตัดจะทำให้เทียนไขไม่สว่างเท่าทีควรและยังเปลืองเนื้อเทียนอีกด้วย คือเนื้อเทียนจะถูกใช้ไปในการเผาไหม้เพียงร้อยละ ๕ ที่เหลือจะละลายหมด และแม้จะมีการตัดไส้เทียน แต่ถ้าทำไม่ถูกวิธีเทียนไขจำนวน ๘ แท่งหนักประมาณ ๑ ปอนด์จะหมดไปภายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ปราสาทหลังหนึ่ง ๆ ใช้เทียนไขสัปดาห์ละหลายร้อยเล่มและมี 'เจ้าพนักงานตัดไส้เทียน' โดยเฉพาะอีกด้วย
การตัดไส้เทียนต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ นักกฎหมายชาวสก็อตซึ่งเป็นผู้เขียนอัตชีวประวัติของซามูเอล จอห์นสัน ที่ชื่อเจมส์ บอสเวล เคยต้องตัดไส้เทียนเองหลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จสักครั้ง ในปี ๒๓๓๖ เขาเขียนถึงเรื่องนี้ว่า “ผมยอมจะนั่งอยู่ทั้งคืนเพื่อตัดไส้เทียนให้ได้ จนประมาณตีสองผมพลาดไปดับเทียนเข้า...แล้วก็ไม่สามารถจุดมันขึ้นใหม่ได้"
การจุดเทียนไขโดยที่สิ่งให้แสงสว่าง ๆ อื่น ๆ ดับหมดทั่วบ้านแล้วเป็นงานที่ต้องใช้เวลาอย่างมาก เนื่องจากยังไม่มีใครคิดค้นไม้ขีดไฟขึ้นได้ ใครที่เคยอ่านหรือดูเรื่องดอนกีโฮเต คงจำความหงุดหงิดของพระเอกเซอว์วานเตสขณะจุดเทียนไขจากไฟในเศษถ่านได้ดี นอกจากนี้การตัดไส้เทียนมักทำให้เทียนดับ จนคำว่า 'snuff’ ซึ่งแปลว่า 'ตัดไส้เทียน' ได้เพี้ยนความหมายกลายเป็น 'extinguish' หรือ 'ดับไฟ' ไป
กระทั่งในศตวรรษที่ ๑๗ คณะละครจะต้องมีเด็กคอยทำหน้าที่ตัดไส้เทียน (snuff boy) โดยถือว่าการตัดไส้เทียนเป็นศิลปะอย่างหนึ่งเด็กที่ทำหน้าที่นี้ต้องเดินขึ้นไปบนเวทีขณะที่ละครกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น เพื่อตัดไส้เทียนอย่างประณีตและชำนาญ ไม่ทำให้เปลวไฟแกว่งดับ หรือสะดุด อันจะรบกวนความรู้สึกของผู้ชมซึ่งกำลังสนใจและเคลิ้มไปกับเรื่องราวการแสดงบนเวทีอยู่ ถ้างานสำเร็จลุล่วงด้วยดี เขาจะได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชมหนึ่งรอบเฉกเช่นนักแสดงคนหนึ่งศิลปะการตัดไส้เทียนหมดลงในปลายศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อมีการใช้เทียนขี้ผึ้งกันอย่างแพร่หลาย เทียนขี้ผึ้งมีราคาแพงกว่าเทียนไขถึงสามเท่า แต่ให้ความสว่างมากกว่า และเนื้อขี้ผึ้งระเหยได้บ้าง ซามูเอล เป๊ปปีส์ ชาวอังกฤษ ได้บันทึกไว้ในปี พ.ศ. ๒๒๑๐ ถึงการใช้เทียนขี้ผึ้งในโรงละคร ดรูรี เลน เธียเตอร์ ในลอนดอนว่า “เดี๋ยวนี้โรงละครสว่างขึ้นเป็นพันเท่าและดูสวยกว่าด้วย”
นอกจากนั้นผู้ที่มีฐานะร่ำรวยจะใช้เทียนขี้ผึ้งประดับบ้านในโอกาสพิเศษที่ต้องการความหรูหรา มีบันทึกระบุว่าบ้านหลังใหญ่แห่งหนึ่งในอังกฤษใช้เทียนขี้ผึ้งมากกว่าหนึ่งร้อยปอนด์ในหนึ่งเดือนในช่วงฤดูหนาวของปี พ.ศ. ๒๓๐๘ (http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=13549.0)
วิธีทำ
ผสมพาราฟิน และแว๊กซ์ในสัดส่วนที่เท่ากัน ( ถ้าชั่งเป็นน้ำหนักให้ใช้ สัดส่วนพาราฟิน 100 กรัม ต่อแว๊กซ์ 30 กรัม) ต้มจนหลอมละลายเข้ากัน ผสมสี (ให้ แผ่นสีเทียน หรือสีมัตสุตะ) ผสมให้เข้ากันดี ยกหม้อลงจากเตา ใส่หัวน้ำ หอม กลิ่นที่ชอบ ทิ้งให้ส่วนผสมเย็นลงเล็กน้อย (สังเกตุดูเทียนจะเริ่มขุ่น)
ใส่ไส้เทียน ในพิมพ์ให้ยาวพ้นพิมพ์ประมาณ 4 - 5 ซ.ม. เทเทียนที่ยังร้อนอยู่ ประมาณ 92 องศา) ลงในพิมพ์ ทิ้งให้เย็น จึงค่อยแกะออกจากพิมพ์
ข้อควรระวังขณะทำเทียน
1. ใช้หม้อ 2 ชั้นในการต้มเทียน ซึ่งจะเป็นวิธีที่ดี และปลอดภัย
2. อย่าต้มเทียนในอุณหภูมิที่สูงเกินกว่า 100 องศา เพราะน้ำเทียนจะติดไฟ ได้ง่าย
3. ถ้าเทียนที่กำลังต้มอยู่ติดไฟ ให้ปิดแก๊ส หรือดึงปลั๊กไฟออกทันทีอย่าเคลื่อน ย้ายหม้อต้ม หรือใช้น้ำดับไฟ (ถ้าต้องการดับไฟให้ปิดฝาหม้อหรือใช้ ผ้าชื้นๆ ปกคลุมฝาหม้อไว้)
4. ถ้าเทียนหกบนพื้นหรือโต๊ะ ต้องคอยจนกว่าเทียนเย็น หรือแข็งตัวแล้วขูดออก
5. อย่าเทเทียนเหลวลงในท่อน้ำ เพราะจะทำให้ท่อน้ำอุดตัน
ส่วนผสมเพิ่มเติม
สเตียริน (Stearin) คือ แว๊กซ์แข็งสีขาวใช้เป็นส่วนผสมของพาราฟีน ประมาณ 10% เพื่อเพิ่มการหดตัวในการทำเทียนหล่อ ทำให้เทียนหลุดจาก พิมพ์ง่าย เทียนจะเป็นเงา และมีสีสดใส
พี.อี. (Polyester Easterien) ใช้ 5% - 10% ของน้ำหนักพาราฟิน จะช่วยทำให้เทียนแข็งตัว และจุดติดไฟนานขึ้น ที่สำคัญ เมื่อจุดเทียน จะมี ควันน้อย
ขี้ผึ้ง (Beeswax) คือ แว๊กซ์ทำจากธรรมชาติมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ใช้ผสมกับพาราฟิน ประมาณ 1% เพื่อเพิ่มระยะเวลาผาไหม้ของเทียน และช่วยทำให้สีของเทียนสดขึ้น
สี ช่วยทำให้เทียนมีสีสวยน่าใช้ การใช้แผ่นสีเทียนช่วยให้สะดวกในการ ผสมสีเข้ากับเทียน หากใส่สีมาก สีจะเข้มมาก
หัวน้ำหอม ช่วยทำให้เทียนมีกลิ่นหอมน่าใช้ มีหลายกลิ่นให้เลือกใช้ เช่น กลิ่นกุหลาบ ส้ม สตรอเบอร์รี มะลิ ลาเวนเดอร์ กำยาน ฯลฯ เลือกใช้ได้ตาม สีของเทียน หรือโอกาส
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากบทความ "เทียนหอมแฟนซี" ของสำนัก พิมพ์แม่บ้าน)
การตกแต่งเทียนเพิ่มเติม
1. หั่นแผ่นสีเทียนเป็นชิ้นสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ แล้วโรยในพิมพ์ จากนั้นจึงเทเทียนที่ผสมแล้วลงพิมพ์ ควรใช้ชิ้นสีหลาย ๆ สี และเลือกสีที่เข้มกว่าสีเทียนที่จะเท เพื่อให้สีต่าง ๆ สามารถมองทะลุเทียน ออกมาได้
2. ตกแต่งพื้นผิวด้านนอกของเทียนด้วยเทียนแฟนซีที่เป็นรูปดอกไม้ หรือรูปทรงอื่น ให้ตกแต่งทีละด้าน จุ่มเทียนแฟนซีในน้ำเทียนบาง ๆ แล้วนำไปติดข้างในพิมพ์ด้านที่ต้องการตกแต่ง จากนั้นจึงเทเทียน ที่ผสมแล้วลงไป หรือวางชิ้นเทียนแฟนซีลงบนพิมพ์ด้านใน จากนั้นนาบด้วยมีด หรือโลหะที่ร้อนที่ด้านนอกของพิมพ์ เพียง 1 นาที ชิ้นเทียนแฟนซีก็จะติดที่พิมพ์ จากนั้นจึงเทเทียนที่ผสมแล้วลงไป
3. การทำเทียน 2 สี ให้เทเทียนสี ที่ 1 ลงไปในพิมพ์ ปล่อยให้เทียนเกือบแข็งตัว( สังเกตุดูเนื้อเทียนจะเป็นสีขุ่นมาก )แล้วเทเทียนสี ที่ 2 ลงไป อาจทำสลับกันเป็นชั้นๆ แต่ต้องทิ้งให้แต่ละชั้นเย็นตัวเสียก่อน แต่ไม่แข็ง (http://www.clicknamjai.com/ths/handi/tm_workshop/ce/ce012.html)
ประโยชน์ของเทียน
1. จุดเพื่อให้เกิดแสงสว่างและเพิ่มบรรยากาศ
2. ประดับตกแต่งในสถานที่ต่างๆ ได้อย่างสวยงาม
3. ดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
4. ทำเป็นเทียนวันเกิด
5. ใช้ในพิธีต่างๆ เช่นงานแต่งงาน งานดินเนอร์ งานเลี้ยง
6. ใช้เป็นของชำร่วยในงานต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน
7. ใช้เป็นของฝากของขวัญ
8. จุดเพื่อไล่ยุง(ใช้นำมันหอมกลิ่นตะไคร้หอม)
(http://sites.google.com/site/mor54gr02/prayochn)
ประเภทของเทียน
(http://translate.google.co.th/translate?hl=th&langpair=en%7Cth&u=http://www.wsac.com/candles-types.htm)
นำเนื้อหางานไปนำเสนอ
การนำเนื้อหาไปนำเสนอเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ บอกข้อผิดพลาด เพื่อนำกลับมาปรับปรุงแก้ไข
วางแผนการทำงาน
การวางแผน คำภาษาอังกฤษใช้ Planning ซึ่งหมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และการ
ตัดสินใจ ของผู้บริหารที่จะกำหนดวิธีการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุผล ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเอาข้อมูลข่าวสาร ( Information ) ในอดีตมากำหนดหรือพยากรณ์อนาคต ดังนั้นแนวคิดของการวางแผนจึงมีลักษณะเป็น . ศาสตร์ . ที่ต้อง ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ( Empirical Information ) ที่มีความแม่นตรง และเชื่อถือได้ และจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจน และมีความต่อเนื่องกันตามลำดับ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แผน มีความรู้ และความเข้าใจที่จะสามารถนำแผนไปปฏิบัติ ให้บรรลุผลสำเร็จได้
องค์ประกอบของการวางแผนที่สำคัญ คือ
1. การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Ends) ที่ต้องการบรรลุ ซึ่งมีหลายระดับคือ
1.1 จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals) เป็นการแสดงถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิด
ขึ้นในช่วงระยะเวลาข้างหน้า ซึ่งมักจะมองในรูปของผลลัพธ์ ( Outcomes ) ในอนาคตกำหนดอย่างกว้างๆ
1.2 วัตถุประสงค์ (Objective) เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงจุดมุ่งหมาย
( Goal ) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อง่ายในการนำไปปฏิบัติ วัตถุประสงค์จึงเป็นการกำหนดผลผลิต
( Output ) ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นอย่างกว้าง ๆ แต่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้
1.3 เป้าหมาย (Targets) เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงวัตถุประสงค์ให้เป็น
รูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น เป้าหมายจึงเป็นการกำหนดผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตาม
แผนโดยจะกำหนดเป็นหน่วยนับที่วัดผลได้เชิงปริมาณ และกำหนดระยะเวลาที่จะบรรลุผลสำเร็จนั้นด้วย (http://library.uru.ac.th/article/htmlfile/article21.pdf)
- หาสถานที่
หาสถานที่ถ่ายทำให้เรียบร้อยเพือที่จะดำเนินการขั้นต่อไปได้อย่างราบรื่น
- เขียนบท
เขียนบทโทรทัศน์ ใส่เนื้อหา คำพูดเกี่ยวกับเนื่อหา มีบทพูด เพื่อที่นำไปทำจริงจะได้ง่ายแก่การถ่ายทำ
- เขียนสตรอรี่บอร์ด
การเขียนสตรอรี่บอร์ด จะมีภาพประกอบ ฉาก สี แสง เสียง คำพูด มุมกล้อง เวลาในการถ่ายทำ สตรอรี่บอร์ดจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะถ่ายทำจริง
- ถ่ายภาพและถ่ายวีดีโอ
ถ่าพภาพและถ่ายวีดีโอตามขั้นตอนของสตรรี่บอร์ด
- ตัดต่อวีดีโอ
ในการตัดต่อวีดีโอนั้น จะใช้โปรแกรมในการตัดต่อได้หลายโปรแกรม แต่ส่วนมากจะใช้โปรแกรม
พรีเมียโปร และ โปรแกรม Ulead Studio เราจะมาดูวีธีการตัดต่อด้วยโปรแกรม Ulead Studio
การทำงานในส่วนของการตัดต่อนั้นก็จะมีรายละเอียดเพิมเติมเข้ามาอีกนิดหน่อย เรื่องเทคนิคนั้น โปรแกรมนี้อาจจะไม่เทพอย่างรุ่นพี่ๆ ไม่ว่าจะเป็น พรีเมียร์ หรือ เอวิด หรือ ไฟนอลคัทของพี่ใหญ่อย่างแมค หลังจากที่เราได้ไฟล์วิดีโอที่หันมาแล้วนะก็จะเป็นอย่างที่เห็น
ได้ไฟล์ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อไป จะมาทำการตัดต่อ
จะเห็นได้ว่า ไฟล์วิดีโอมันอยู่ชิดขอบไทม์ไลน์เลย ทำให้เวลาเพลย์มัน วิดีโอมันขึ้นมาเลย แต่ก็ใช้วิธีแก้ โดยการใช้ ไฟล์ภาพ มืดๆนี่แหล่ะ มาแทรกลงไป
เข้าไปที่ Photoshop (โฟโต้ช็อป)แล้วสร้างภาพสีดำมา 1 อัน ขนาดสัก ตามความกว้างหน้าจอ สัก 720X576 เพื่อจะเอามาไว้ก่อนไฟล์วิดีโอ
1. เลือกที่ช่องนี้
2. แล้วเลือกที่ อิมเมจ
ทำการเลือก อินเสิร์ต ไฟล์ภาพนิ่งที่เป็นสีดำ เข้ามาไว้
ก็ลากมันมาวางไปก่อน ฟุจเทจแรกซะ(คลิปแรก) แบบนี้ มันก็จะเป็นแบบนี้ ปกติแล้วนั้นโปรแกรมจะตั้งความยาวของ ไฟล์ภาพมาให้ประมาณ 3 หรือ 5 นาที
เมื่อเราจิ้มที่ คลิปไหน หรือ ไฟล์ภาพไหน ก็จะปรากฎ เวลาตามลูกศรเลยครับ เหอะๆ โปรแกรมมันจะตั้งมาให้ 3 วินาทีครับสำหรับไฟล์ภาพนิ่ง และหากเราอยากจะเพิ่มเวลาหรือลดเวลาก็ทำได้โดย
คลิกเลือกคลิปหรือภาพแล้วก็ไปคลิ๊กที่ เวลาของ แล้วก็พิมพ์เวลาที่เราต้องการลงไปเลย จะ 10 วิ 10 เซกัน ก็เอาโล้ด
อย่างไฟล์ภาพนิ่งสีดำที่นำมาแทรกก็จะทำการลดเวลาลงเหลือสัก 2 วินาทีก็จะได้แบบนี้
เมื่อลดเวลาลง ฟุจเทจวิดีโอหรือไฟล์ภาพก็ลดลง หดลงแล้ว โอ๊วจอร์จของคุณมันหดลงแล้ว
เมื่อเราจิ้มไปที่ ฟุจเทจวิดีโอ หรือภาพนิ่ง มันก็จะมีคุณลักษณะพิเศษของมัน มีดังนี้ เวลาของคลิปที่เราเลือก
1. จะให้ภาพตีลังกาไปทางไหนก็สุดแท้แต่ 360 องศา(555)
2. การปรับค่าสี
3. การเพิ่มหรือลดความเร็วของคลิปที่เราเลือก
4. ถ้าเลือกตรงนี้ไฟล์วิดีโอจะเล่นกลับหลังครับท่าน
5. ตรงนี้เพิ่มเสียงลดเสียงของความยาวทั้งหมดของคลิปเลยครับเสียงมาตรฐานก็อยู่ที่ 100 หรืออยากให้ดังกว่านั้นก็เพิ่ม อยากให้เบาก็ลดเท่านั้น เลือกที่นี่จะเป็นการเฟดเสียง เข้า เฟดเสียงออกสองอัน อันนี้เป็นการ ถ่ายภาพ หมายถึงว่าเราอยากได้ภาพนิ่งจากวิดีโอ กดตรงนี้ แล้วภาพที่ได้มันจะไปอยู่ที่ ไลท์เบอร์รี่ชื่อ อิมเมจ ที่เก็บภาพ
6. ตรงนี้จะเป็นการแยกเสียง กับภาพออกจากกันครับ กดเลยถ้าอยากรู้
7. ตรงนี้ทริมวิดีโอ
หลังจากที่เราหั่นวิดีโอเรียบร้อยแล้วเราจะมาเรียนรู้แต่ละคุณลักษณะพิเศษของมันตามที่กล่าวไป
มันจะมี 2 แท็ป แต่เราจะมาดูที่แท็ปวิดีโอ
1. ก็คือเวลา พิมพ์กำหนดค่าลงไปได้เลยสบายใจ
2. ความดังของเสียง กำหนดค่าลงไปเลยเหมือนกัน ให้ดังก็เพิ่ม ให้เบาก็ลด เฟดเสียงครับ ให้เฟดตอนเริ่มก็คลิ๊ก เฟดตอนจบก็คลิ๊กครับ สุดแท้แต่จินตนาการ
3. รูปลำโพงเล็กๆที่มีกากบาทไขว้อยู่นั้นคือ ปิดเสียงทั้งหมด
1. นี่คือการกลับทิศทางของไฟล์วิดีโอหรือไฟล์ภาพ
2. ส่วนที่เซฟภาพจากวิดีโอเป็นภาพนิ่ง
มันจะมีค่าออโต้ จนถึงการปรับค่าสีเอง เมื่อเราเลือกที่ Color คอเรคชั่นครับก็จะเป็นการปรับค่าสีของไฟล์วิดีโอ ใน Ulead นี้ การปรับสีอาจจะไม่ได้สุดยอดอะไรมากมายแต่ก็ช่วยเราได้ ลองเลื่อนๆดู จะได้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว
ส่วนตัวนี้ ปรับความเร็วของคลิปที่เราเลือก ถ้าเลื่อนไปซ้ายมันจะช้า ก็จะได้ภาพ สโลวโมชั่น แต่ถ้าเลื่อนไปทางขวาเร็วปรี๊ดครับพี่น้อง ส่วนค่าปลีกย่อยมันอย่าไปสนใจมัน
ส่วนนี่ก็อย่างที่บอก เป็นการเล่นวิดีโอ หรือคลิปที่เราเลือกแบบตรงกันข้าม ก็คือ รีเวิร์ส
ส่วนนี่หากว่าเราเลือกเซฟภาพ มันก็จะไปปรากฎเป็นภาพนิ่งที่ ไลเบอร์รี่ของ อิมเมจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับการตัดต่อของเราได้ เอาไว้แบบ Advance
(http://maxcreative.exteen.com/ulead-studio)
ถ่ายภาพและตัดต่อวีดีโอ
การถ่ายภาพ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ (http://th.wikipedia.org/wiki)
ประวัติการถ่ายภาพ
- พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) - นิเซฟอร์ นิเอปเซ่ (Nicéphore Niépce) ถ่ายภาพเป็นครั้งแรก โดยใช้ยางมะตอยจูเดีย (bitumen of Judea)
- พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) - ฌากส์ ดาแกร์ (Jacques Daguerre) ซึ่งเคยทำงานกับนิเอปเซ่ ประดิษฐ์วิธีการถ่ายภาพใหม่ คือ ดาแกโรไทป์ (Daguerreotype) โดยใช้โลหะเงินบนแผ่นทองแดงในการถ่ายภาพ. ซึ่งดารแกร์พบว่า เมื่อนำเงินมาอังด้วยไอของไอโอดีนก่อนใช้ถ่ายภาพ แล้วนำไปอังด้วยไอปรอท จะได้ภาพออกมา
- พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - วิลเลียม ฟอกซ์ แทลบอต (William Fox Talbot) ประดิษฐ์คาโลไทป์ (Calotype) โดยการชุบกระดาษด้วยซิลเวอร์คลอไรด์ เพื่อทำภาพเนกาทิฟ แล้วนำมาใช้ทำพอซิทิฟได้ เป็นวิธีการที่ใช้ในปัจจุบัน
- พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) - เจมส์ คลาร์ก แม็กซ์เวล (James Clerk Maxwell) ถ่ายภาพสีเป็นครั้งแรก (http://th.wikipedia.org/wiki)
การจัดองค์ประกอบ
การจัดองค์ประกอบจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญหลักและสำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพ เพราะองค์ประกอบ สามารถดึงดูดความสนใจ สามารถชี้แจงบอกเรื่องราวในภาพและเน้นความคัญในสิ่งที่เราสื่อออกมา เพราะฉะนั้น การจัดองค์ประกอบได้แบบถูกต้องและลงตัวนั่นคือ การสื่อความหมายโดยที่แทบจะไม่ต้องบรรยายเลยก็ว่าได้ การจัดองค์ประกอบ ต้องมีการแบ่งความสมดุลในภาพเว้นระยะไม่ให้เกิดความอึดอัดเวลามองภาพเช่น สายตา การชี้ เหมือนกับการจ้องมองของสัตว์ หรือ อาการหวาดกลัว หลบหลีก ที่จะฟ้องให้มองเห็นถึงความน่ากลัว (http://th.wikibooks.org/wiki)
วีดีโอ (video) หรือ วิดีทัศน์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิงในบ้าน ใช้ต่อพ่วงกับโทรทัศน์ มีระบบหลักๆ คือ NTSC PAL และ SECAM(http://th.wikipedia.org )
นำไปประเมินผลงานเพื่อหาข้อผิดพลาด และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขในการทำงานขั้นตอนต่อไป
ปรับปรุงแก้ไข
นำมาปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานให้ถูกต้อง แร้วดำเนินงานขั้นต่อไป
นำผลมาวิเคราะห์การประเมิน
นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ข้อมูล ว่าควรทำขั้นตอนยังไงต่อไป ปรับปรุงแก้ไขส่วนไหน แล้วทำให้ถูกต้องที่สุด
นำไปประเมินประสิทธิภาพ
นำไปประเมินประสิทธิภาพกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความถูกต้องของชิ้นงาน และตามจุดประสงค์และเป้าหมายของชิ้นงาน
นำเสนอผลงาน , เข้าเล่มโครงการ
นำชิ้นงานมานำเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษาและบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นการประเมินผลในการทำงานว่าดีมากน้อยเพียงใด นำเนื้อหาโครงการทั้งหมดที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วนำมาเข้าเล่มให้สมบูรณ์
ความคิดเห็น