ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ภาพยนต์หนังสั้น เรื่อง เนื้อทรายที่ใครเขารังเกียจแต่....

    ลำดับตอนที่ #4 : ตัดต่อและถ่ายทำ

    • อัปเดตล่าสุด 1 ต.ค. 54


     

    ขั้นตอนการตัดต่อ

                   โปรแกรม พรีเมียร์ มีหลายรุ่น ในยุคแรกเริ่มของการทำหนังสั้นส่วนใหญ่คือ พรีเมียร์ 6.5 และล่าสุดก็พัฒนากันมาเรื่อยๆ จนถึงในข่ายของ Element แต่ที่จะพูดถึงต่อไปนี้คือ พรีเมียร์ โปร ซีเอส 2 ขึ้นไป

                    สำหรับคนที่ไม่เคยใช้โปรแกรมมาก่อน ขอรับรองได้ว่าโปรแกรมนี้ไม่ได้ใช้ยากอะไร เมื่อเราลงโปรแกรมเรียบร้อย แล้วตั้งไอค่อนให้อยู่ตรงหน้าเดสท็อป เราก็ดับเบิ้ลคลิ้กที่ไอค่อนเพื่อเปิดโปรแกรม ตอนแรกมันก็จะมีให้เราเลือกว่า เราจะตั้งรูปแบบของการตัดต่ออย่างไร เช่น จะเห็นภาพบนคลิปในไทม์ไลน์หรือเปล่า (ผมก็จำไม่ได้ว่าต้องเลือกยังไง แต่ต้องเลือกก่อน) จากนั้น ก็จะขึ้นมาอีกหน้าต่าง ซึ่งมันก็จะเกี่ยวข้องกับโปรเจ็คท์ แรกเริ่มเลยมีให้เราเลือกว่าจะเปิดโปรเจ็คท์ใหม่ New Project หรือใช้โปรเจ็คท์ที่เปิดไว้แล้ว Recent Projects ในกรณีนี้จะต้องเปิดโปรเจ็คท์ใหม่นะครับ โดยเมื่อเลือกเปิดโปรเจ็คท์ใหม่ มันก็จะมีให้เราเลือก Available Preset คือเลือกฟอร์เม็ตของงานเรา คือ ระบบของกล้องวีดีโอมี พาว กับ เอ็นทีเอสซี พาวคือระบบในบ้านเราและประเทศแถบเอเซีย ก็เลือกพาวไปนะครับ ถ้าถ่ายเป็นธรรมดาก็เลือก สแตนดาร์ด 48 แต่ถ้าถ่ายมาเป็นไวด์สกรีนก็ ไวด์สกรีน แต่ต้องเป็น 48

     

               แล้วอย่าลืมลงไปเลือกข้างล่าง ว่าเราจะเก็บโปรเจ็คท์ไว้ไหน ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงจะไปเก็บไว้ในไดรฟ์ ซี เพราะว่าเป็นไดรฟ์สำหรับระบบปฎิบัติการณ์ แปลว่า มันมีไว้ลงโปรแกรมต่างๆ หากเราใช้งานตัดต่อของเราเสร็จแล้วและไปลบโปรเจ็คท์ ถ้าลบผิดลบโปรแกรมด้วยก็ซวยไป หรือในกรณีที่เครื่องเกิดเดี้ยงแล้วต้องลงโปรแกรมใหม่ การเก็บไว้ในไดรฟ์อื่นก็จะทำให้รอดพ้นจากความซวยในอีกรูปแบบไปด้วย .... ไฟล์วีดีโอของพรีเมียร์หนึ่งชั่วโมง เท่ากับ 13 กิ๊กกะไบท์ นะครับ ถ้าอยากรู้ว่าจะเก็บได้กี่ชั่วโมง ก็ลองเช็คพื้นที่ว่างของไดรฟ์นั่นๆ ด้วยนะครับ

     


                   เมื่อเปิดมาแล้วก็จะขึ้นหน้าต่างดังรูปนะครับ (แต่จะไม่มีอะไรเลยว่างเปล่า) สำหรับกระบวนการแรกในการตัด คือ แคปเจอร์ หรือดึงภาพลงมาบนคอม ซึ่ง ก่อนจะเปิดโปรแกรม เราต้องเอากล้องต่อกับคอมไว้ก่อน ต่อสายเสร็จก็เปิดกล้อง แล้วพอเครื่องแสดงตัวว่าเห็นกล้อง เราถึงค่อยเปิดพรีเมียร์ การแคปเจอร์ทำได้ไม่ยากครับ ไปที่ไฟล์ แล้วเลือก แคปเจอร์ ไม่ก็กด เอฟ5 มันก็จะมีให้เลือกว่า เพลย์ จะกรอกเทปหรือเดินหน้า ก็แล้วแต่ จากนั้นก็มีปุ่มแดงๆ สำหรับเร็คคอร์ด เลือกที่จะเอาฟุตเตจตรงไหนก็กดเร็ดคอร์ดเอานะครับ แต่ถ้าได้ดึงภาพมาเก็บไว้ในเครื่องในกรณีที่เป็นกล้องฮาร์ดดิสก์หรือกล้องดีวีดี ก็ไม่ต้องแคปเจอร์ครับ แต่อิมพอร์ตเข้ามาเลย กดคอนโทรล แล้วก็กดตัวไอ เพียงเท่านี้เราก็สามารถเลือกที่จะอิมพอร์ตไฟล์ไหนก็ได้ที่ซับพอร์ตกับโปรแกรม

     

                 เมื่อได้ไฟล์วีดีโอมาไว้ในโปรแกรมแล้ว มันจะถูกเก็บไว้ในบิน bin ซึ่งถ้าเราต้องการดูภาพก็เพียงแค่ดับเบิ้ลคลิ้กที่ตัวไฟล์ ภาพก็จะปรากฎที่จอด้านซ้ายมือ แปลว่านี่คือภาพที่เรากำลังเลือกว่าจะใช้หรือไม่ใช้ (ด้านขวาคือภาพที่จะปรากฎบนไทม์ไลน์ หรือก็คือภาพที่เราเลือกตัดไปแล้ว) เราสามารถกดเพลย์ได้ปรกติ หรือจะใช้ลูกศรช่วยกรอกภาพก็ได้ครับ (โดยการเอาไปชี้ที่ตัวสีน้ำเงินๆ น่ะครับ) เราสามารถกำหนดได้ว่าจะเอาตรงไหนบ้างโดยเริ่มจากเลือกจุดที่เราจะเอาก่อน จากนั้นก็คลิ้กที่ I หมายถึง in หรือ mark in คือเป็นการกำหนดจุดเริ่มต้นของส่วนที่เราจะเอาไปวางบนไทม์ไลน์ แล้วก็เลือกจุดสิ้นสุดของที่เราจะเอา แล้วค่อยกด O หรือ mark out จากนั้นก็เอาลูกศรจิ้มที่ภาพแล้วก็ดึงภาพมาวางไว้บนไทม์ไลน์ ค่อยๆ นำภาพมาเรียงต่อกัน แล้วเวลาจะเช็คดูก็ติ้กตรงช่องมอนิเตอร์หรือตรงไทม์ไลน์นะครับ แล้วกดสเปซบาร์ ภาพก็จะปรากฎให้ชมกัน ส่วนเอฟเฟกต์ในการ transition หรือเชื่อมภาพเข้าด้วยกัน พรีเมียร์โปร ไม่เหมือนเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ต้องไปเชื่อมภาพกันด้วย video 1a กับ 1b อะไรแบบนั้นนะครับ ก็สามารถเชื่อมภาพต่อภาพได้เลย ส่วนพวกตัวเชื่อมเหล่านี้ก็หาได้จากบ็อกซ์ที่อยุ่ข้างๆ ไทม์ไลน์นะครับ

     

     

    ขั้นตอนการถ่ายทำ

             ขั้นตอนการถ่ายทำ  เมื่อมาถึงขั้นตอนการถ่ายทำจริงนี้  ทุกฝ่ายต้องเตรียมพร้อม จะมีทีมงานเข้ามาดูแลรับผิดชอบหลายสิบชีวิตในกองถ่าย  ใครมีหน้าที่ดูแลส่วนไหนก็ต้องทำส่วนนั้นให้ดีที่สุด เช่น ฝ่ายจัดหาอาหาร ก็ต้องมากองถ่ายแต่เช้า เพื่อมาเตรียมอาหารให้ทีมงาน และนักแสดงทุกคนได้ทานกัน  ส่วนฝ่ายแต่งหน้าทำผม ก็ต้องออกแบบทรงผมให้เข้ากับบทบาทของนักแสดง  เป็นต้น 

                 ในกองถ่าย 1 กอง จะมีทีมงานไม่ต่ำกว่าครึ่งร้อย ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมาก  ในกองถ่ายนั้นคนทุกฝ่ายจะต้องทำงานประสานกับเป็นหนึ่งเดียว  โดยมีผู้กำกับเป็นหัวเรือใหญ่ คอยสั่งการนำทิศทางให้แต่ละฉากเป็นไปอย่างที่ตั้งใจไว้  วิธีทำให้คนทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันก็คือ  การใช้  “Story Board”  จะทำให้ทุกคนมองเห็นภาพและเข้าใจตรงกันมากที่สุด

                   ก่อนจะทำการถ่ายทำจริง ต้องมีการซักซ้อมกันก่อน ในส่วนของช่างภาพ ก็จะมีผู้ช่วยประมาณ 2-3 คน  จะต้องมีคนวัดระยะ  คนปรับโฟกัส   ซึ่งในส่วนนี้ช่างภาพจะทำคนเดียวไม่ได้   จึงต้องมีผู้ช่วย  ฟิล์มในการถ่ายภาพม้วนหนึ่งมีความยาวประมาณ 400 ฟุต ถ่ายได้ประมาณ 4 นาที  ราคาม้วนละ 5,000 บาท  ฟิล์มในการถ่ายหนังนี้ใช้บันทึกเสียงไม่ได้  ทำให้ต้องมีฝ่ายเสียงอีกทีหนึ่ง  วิธีทำให้เสียงและภาพไปด้วยกันเมื่อทำการตัดต่อคือ ใช้ สเลท เข้ามาช่วย ซึ่งเป็นตัวแยกภาพและเสียง

     

     

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×