ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : ตำนานหมุ่บ้านผีปอบ
ตำนาน "หมู่บ้านผีปอบ" กับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
เรื่องของ "ปอบ" จะเป็น "ความเชื่อ" หรือ "ความจริง" ยังคงถกเถียงกันไม่สิ้นสุด เมื่อถึงยุคดิจิตอล เรื่องราวของ "ปอบ" ก็ยังคลอดออกมาเป็นระยะ จะว่าไปแล้ว พวกที่ "เชื่อ" ก็จะเชื่ออยู่วันยันค่ำ ส่วนที่ไม่เชื่อก็วิจารณ์กันไป
และที่หมู่บ้านนาสาวนาน ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นหมู่บ้านที่ถูกเรียกว่า "หมู่บ้านผีปอบ" ทั้งนี้ นายเข็มทอง คำภูแสน ผอ.ร.ร.บ้านนาสาวนาน เล่าให้ฟังว่า หมู่บ้านแห่งนี้มีพื้นที่ติดเทือกเขาภูพาน ใกล้กับวัดถ้ำขามของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำโขง
ครั้งแรกมีชาวบ้านที่อพยพขึ้นมาทำนาทำสวนครอบครัวหนึ่ง ชื่อหมู่บ้านเรียกตามชื่อของครอบครัวนั้น ที่มีลูกสาวชื่อ “นาน” ต่อมาชาวบ้านจากหลายแห่งได้อพยพขึ้นมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งทราบว่าแต่ละครอบครัวที่มามักถูกตราหน้าหาว่าเป็น "ผีปอบ" จึงถูกขับไล่ออกมาจากหมู่บ้านมุ่งมาอยู่ที่นี่
หมู่บ้านแห่งนี้เป็นถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ชาวบ้านจึงได้มีการรวมกันขุดบ่อน้ำขึ้น เมื่อพระอาจารย์ฝั้นทราบข่าวก็มอบพระเครื่องและสิ่งที่เป็นมงคลให้ ชาวบ้านจึงนำมาไว้ในบ่อน้ำกลางหมู่บ้าน โดยให้เหตุผลว่าเป็นของดีที่พระให้มาและแช่น้ำไว้ เพื่อให้ชาวบ้านดื่มกินและนำไปอาบจะได้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเชื่อว่ายังจะช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ชาวบ้านได้จัดหาไม้แผ่นทำเป็นแผงกั้น 4 แผ่น พร้อมนำไปให้พระสงฆ์ลงอักขระเป็นภาษาขอม เชื่อว่าเป็นคาถาอาคมป้องกันภูติผี ต่อมาข่าวแพร่กระจายออกไปว่าหมู่บ้านนี้มีบ่อน้ำรักษาคนที่เป็นผีปอบให้หายได้ จึงทำให้บุคคลทุกสารทิศทั้งที่ถูกขับไล่ออกจากสังคมหาว่าเป็นปอบ และคนที่ต้องการรักษาปอบที่สิงอยู่ในตัวเองให้ออกไป ได้เดินทางมาเพื่อรักษาตัวเอง
เมื่อมาถึง หัวหน้าหมู่บ้านที่ได้รับการถ่ายทอดการรักษามาจากพระธุดงค์ ก็จะให้ครอบครัวนั้นมาพบ สอนให้นับถือพระ ทำแต่สิ่งดีๆ และทำพิธีแต่งขัน 5 พร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปที่บ่อน้ำแล้วตักขึ้นมาอาบ มาดื่มกิน พร้อมกับจัดแบ่งที่ดินให้อยู่เป็นสัดส่วน จนทำให้หมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้น จนทางการต้องเข้ามาตั้งโรงเรียนให้จนถึงปัจจุบัน
ในวันนี้ก็ยังมีผู้ที่ถูกหาว่าเป็น “ผีปอบ” เดินทางมาขออาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก "หมู่บ้านผีปอบ" จึงถูกเรียกขานเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม เรื่องราว "ผีปอบ" แทบไม่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้เพราะชาวบ้านเชื่อว่ามาจากน้ำศักดิ์สิทธิ์ และอีกไม่นาน "หมู่บ้านผีปอบ" คงกลายเป็นเพียงตำนานให้เล่าขานเท่านั้น!!
เรื่องของ "ปอบ" จะเป็น "ความเชื่อ" หรือ "ความจริง" ยังคงถกเถียงกันไม่สิ้นสุด เมื่อถึงยุคดิจิตอล เรื่องราวของ "ปอบ" ก็ยังคลอดออกมาเป็นระยะ จะว่าไปแล้ว พวกที่ "เชื่อ" ก็จะเชื่ออยู่วันยันค่ำ ส่วนที่ไม่เชื่อก็วิจารณ์กันไป
และที่หมู่บ้านนาสาวนาน ต.นาหัวบ่อ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นหมู่บ้านที่ถูกเรียกว่า "หมู่บ้านผีปอบ" ทั้งนี้ นายเข็มทอง คำภูแสน ผอ.ร.ร.บ้านนาสาวนาน เล่าให้ฟังว่า หมู่บ้านแห่งนี้มีพื้นที่ติดเทือกเขาภูพาน ใกล้กับวัดถ้ำขามของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำโขง
ครั้งแรกมีชาวบ้านที่อพยพขึ้นมาทำนาทำสวนครอบครัวหนึ่ง ชื่อหมู่บ้านเรียกตามชื่อของครอบครัวนั้น ที่มีลูกสาวชื่อ “นาน” ต่อมาชาวบ้านจากหลายแห่งได้อพยพขึ้นมาอยู่ด้วยกัน ซึ่งทราบว่าแต่ละครอบครัวที่มามักถูกตราหน้าหาว่าเป็น "ผีปอบ" จึงถูกขับไล่ออกมาจากหมู่บ้านมุ่งมาอยู่ที่นี่
หมู่บ้านแห่งนี้เป็นถิ่นทุรกันดาร ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ชาวบ้านจึงได้มีการรวมกันขุดบ่อน้ำขึ้น เมื่อพระอาจารย์ฝั้นทราบข่าวก็มอบพระเครื่องและสิ่งที่เป็นมงคลให้ ชาวบ้านจึงนำมาไว้ในบ่อน้ำกลางหมู่บ้าน โดยให้เหตุผลว่าเป็นของดีที่พระให้มาและแช่น้ำไว้ เพื่อให้ชาวบ้านดื่มกินและนำไปอาบจะได้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต และเชื่อว่ายังจะช่วยรักษาโรคภัยต่างๆ ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ชาวบ้านได้จัดหาไม้แผ่นทำเป็นแผงกั้น 4 แผ่น พร้อมนำไปให้พระสงฆ์ลงอักขระเป็นภาษาขอม เชื่อว่าเป็นคาถาอาคมป้องกันภูติผี ต่อมาข่าวแพร่กระจายออกไปว่าหมู่บ้านนี้มีบ่อน้ำรักษาคนที่เป็นผีปอบให้หายได้ จึงทำให้บุคคลทุกสารทิศทั้งที่ถูกขับไล่ออกจากสังคมหาว่าเป็นปอบ และคนที่ต้องการรักษาปอบที่สิงอยู่ในตัวเองให้ออกไป ได้เดินทางมาเพื่อรักษาตัวเอง
เมื่อมาถึง หัวหน้าหมู่บ้านที่ได้รับการถ่ายทอดการรักษามาจากพระธุดงค์ ก็จะให้ครอบครัวนั้นมาพบ สอนให้นับถือพระ ทำแต่สิ่งดีๆ และทำพิธีแต่งขัน 5 พร้อมดอกไม้ธูปเทียนไปที่บ่อน้ำแล้วตักขึ้นมาอาบ มาดื่มกิน พร้อมกับจัดแบ่งที่ดินให้อยู่เป็นสัดส่วน จนทำให้หมู่บ้านขยายใหญ่ขึ้น จนทางการต้องเข้ามาตั้งโรงเรียนให้จนถึงปัจจุบัน
ในวันนี้ก็ยังมีผู้ที่ถูกหาว่าเป็น “ผีปอบ” เดินทางมาขออาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก "หมู่บ้านผีปอบ" จึงถูกเรียกขานเรื่อยมา อย่างไรก็ตาม เรื่องราว "ผีปอบ" แทบไม่เกิดขึ้นในหมู่บ้านนี้เพราะชาวบ้านเชื่อว่ามาจากน้ำศักดิ์สิทธิ์ และอีกไม่นาน "หมู่บ้านผีปอบ" คงกลายเป็นเพียงตำนานให้เล่าขานเท่านั้น!!
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น