ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Movement เขียนนิยายอย่างไรให้น่าสนใจ?

    ลำดับตอนที่ #8 : สไตล์การเขียน : มองให้ชัด ยึดให้มั่น แบบไหนใช่ตัวเรา

    • อัปเดตล่าสุด 7 ก.ย. 49



              แนวเรื่อง - สไตล์การเขียน สองอย่างนี้เกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งและมีอิทธิพลต่อกัน...

              บางครั้งที่คุณอ่านหนังสือสักเล่ม แล้วคิดว่า สำนวนมันช่างคุ้นๆ พอเปิดดูชื่อคนแต่ง ก็เป็นนักเขียนที่คุณคิดจริงๆด้วย นั่นแหละสไตล์การเขียน

              เรื่องของสไตล์การเขียนนี้ ยังมีเรื่องความถนัดของคนเขียนด้วย เช่น บางคนเขียนได้แต่สไตล์เฮฮาปาร์ตี้มิตรภาพ ต่อให้เขียนแนวสงครามก็จะเฮฮามิตรภาพ ต่อให้ไม่ใช่แกนของเรื่อง ก็ต้องมีแอบเฮฮาสไตล์นี้ออกมาบ้างแหละ ซึ่งถามว่าผิดมั้ย? มันไม่มีอะไรผิดหรอกครับ...

              อย่างเราเอง มารู้ตัวหลังจากเขียนมาได้สักพักว่าตัวเองถนัดเขียนแนวเศร้า ระทึก ประหลาด และเจ็บปวด ไม่ว่าเรื่องไหนที่เขียนออกมา แม้จะมีแกนหลักเป็นแนวอื่น แต่ฉากเศร้า ก็จะปนเข้ามาในเนื้อเรื่อง ต่อให้ฝืน ก็คงฝืนไม่ได้ และถนัดเน้นเรื่องชีวิตของตัวละคร

              ยกตัวอย่างอีกสักท่าน ที่เคยเห็นก็คือคุณแอ๊ด (ผู้เขียนผมคือ) ดูเหมือนจะถนัดแนวมิตรภาพ เรื่องวุ่นๆ น่ารักๆ แต่ก็มีความเศร้า ซึ้ง อยู่ด้วยเหมือนกัน (และมักมาในตอนท้ายๆ)

              เมื่อนักเขียนคนนั้นถนัดสไตล์ไหน ก็จะมีสไตล์นั้นแทรกอย่างโดดเด่นอยู่ในผลงานทุกเรื่อง ครั้งหนึ่งเราเคยคิดพล็อตแนวแฟนตาซีน่ารักๆ กะว่าจะให้ออกแนววรรณกรรมเยาวชน(ไม่มีพิษภัยต่อเด็ก) คิดเนื้อเรื่องไปพักหนึ่ง ยังไม่ทันจะอะไรเลย เนื้อเรื่องเริ่มมีความโหดร้ายเข้ามาอีกแล้ว มีควักหัวใจทะลวงไส้ปาดคออีกแล้ว 

              เอ่อ...พูดไปก็แซดเหมือนกันนะเนี่ย = ="

              ทั้งนี้ การที่เขาถนัดสไตล์หรือแนวใด ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะเขียนแนวหรือสไตล์อื่นไม่ได้

              แล้วคุณล่ะ? ค้นพบสไตล์ของตัวเองแล้วหรือยัง?


              ไม่ต้องรีบร้อน... เขียนไปธรรมชาติ แล้วคุณจะค้นพบตัวเองได้ในที่สุด...

     


              การที่เราจะมองหาสไตล์ที่ตัวเองถนัด ลองเริ่มจากการดูปฏิกิริยาของคนอ่าน ว่าคนอ่านมักจะพูดถึงฉากไหนของเรา หรือประทับใจจุดไหนในงานเขียนของเรา และรวมทั้งความรู้สึกของเราเองด้วย เราเขียนแล้วพอใจที่ได้เขียนฉากไหน หรืออารมณ์ไหนที่เราเขียนแล้วลื่นกว่าฉากอื่น ลองนึกดูดีๆ

              เมื่อเราได้ฉากแบบที่เราถนัดแล้ว นั่นคือเรารู้จักตัวเองและงานเขียนของตัวเองในระดับหนึ่ง เวลาที่เราเขียนฉากอารมณ์นั้น ก็ขอให้เรามั่นใจ และใส่ไปให้เต็มที่ เพราะนั่นคือจุดเด่นของเรานี่นา?

              ส่วนฉากที่เราไม่ค่อยถนัดก็ไม่ใช่ว่าจะละทิ้ง เขียนให้ดีที่สุด หรือลองอ่านงานของคนที่ถนัดฉากนั้น เพื่อดูว่าเขาเขียนอย่างไรจึงสื่ออารมณ์นั้นออกมาได้ดีกว่าเรา...

              มองตัวเองให้ชัด รู้ถึงข้อดีข้อด้อยของตัวเอง แล้วเราจะพัฒนาตัวเองได้เร็วขึ้น





     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×