คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ฟาร์มที่ 2: บอนสี
บอนสี เป็นไม้ประดับที่มีความสวยงามโดยเฉพาะใบที่มีรูปทรงและสีสันสวยงามแปลกตาจนได้ชื่อว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้ใบ" เป็นพืชในวงศ์ Araceae สกุล Caladium มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปอเมริกาใต้และประเทศในเขตร้อนทั่วไป บอนสีเป็นไม้ประเภทล้มลุกที่มีหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดินคล้ายหัวเผือกหรือมัน มีรากเป็นเส้นฝอยเล็กๆ แทงออกมาระหว่างหัวกับลำต้นและพักตัวในฤดูหนาวโดยจะทิ้งใบจนหมดและเริ่มผลิใบเจริญเติบโตอีกครั้งในฤดูฝน | |
บอนสี หรือที่เรียกกันแต่เดิมว่า "บอนฝรั่ง" (Caladium Becolor) จากชื่อทำให้คาดเดาได้ว่าเป็นพืชที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จากหลักฐานพอสรุปได้ว่าบอนสีปลูกเลี้ยงกันในต่างประเทศมานานกว่า 300 ปีแล้ว มีการสันนิษฐานว่า บอนสีบางต้นมีผู้นำเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีการติดต่อค้าขายกับชาวจีน ชวา เปอร์เซีย และมีความสัมพันธุ์กับชาวยุโรปเป็นอย่างดี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเสด็จนิวัตพระนครหลังเสด็จประภาสยุโรป ราวปี พศ. 2444 ทรงนำพันธุ์ไม้หลายชนิดจากยุโรปเข้ามาปลูกในประเทศไทย ในจำนวนพันธุ์ไม้เหล่านี้มีบอนฝรั่งหรือบอนสีรวมอยู่ด้วย ในช่วงแรกปลูกเลี้ยงกันเฉพาะในกลุ่มของเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และมักปิดบังวิธีการปลูกเลี้ยงและการผสมพันธุ์บอน จนกระทั่งความนิยมปลูกเลี้ยงบอนสีเสื่อมลง บอนสีพันธุ์ต่างๆ จึงได้แพร่หลายสู่ประชาชนทั่วไป การปลูกเลี้ยงบอนสีได้มีต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงประมาณปี พศ.2470-2475 เป็นช่วงที่บอนสีได้รับความนิยมมากที่สุด มีการผสมพันธุ์บอนขึ้นใหม่มากมาย มีสีสันสวยงามแปลกตาต่างไปจากบอนสีดั้งเดิม มีการแลกเปลี่ยซื้อขายกันอย่างแพร่หลาย มีการตั้งชื่อแยกหมวดหมู่ตามลักษณะและสีสันของใบออกเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า "ตับ" นอกจากนี้ยังมีการจัดประกวดบอนสีที่ "สนามบาร์ไก่ขาว" หลังจากปี พศ.2475 บอนสีก็ค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง จนกระทั่งราวปี พศ.2508 มีผู้สั่งบอนใบยาวจากสหรัฐเข้ามาในประเทศไทย ทำให้มีการผสมพันธุ์บอนสีพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก บอนสีกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งราวปี พศ.2522-2525 มีการจัดตั้ง สมาคมบอนสีแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์และพัฒนาการปลูกเลี้ยงบอนสีรวมถึงการรับจดทะเบียนชื่อบอนสีที่ได้รับการผสมขึ้นใหม่ และด้วยความสามารถของคนไทย ปัจจุบันการปลูกเลี้ยงบอนสีได้มีการพัฒนาวิธีการปลูกเลี้ยงและสายพันธุ์ให้มีสีสันสวยงามแปลกตาไปจากเดิมมาก จนอาจกล่าวได้ว่าบอนสีคือบอนของคนไทย หัว มีลักษณะคล้ายหัวมันฝรั่งหรือหัวเผือก มีรากฝอยขนาดเล็กแตกออกรอบๆ หัว และที่ใกล้ๆ กับรากหรือระหว่างรากจะมีหน่อเล็กๆ หรือที่เรียกกันว่า เขี้ยว ซึ่งสามารถงอกออกเป็นบอนต้นใหม่ได้ กาบและก้านใบ คือส่วนที่ต่อจากหัวบอน กาบเป็นส่วนโคนของก้านใบ แต่ไม่กลมเหมือนก้านใบ คือมีลักษณะเป็นกาบคล้ายกาบของใบผักกาดเป็นที่พักของใบอ่อน ส่วนก้านใบคือส่วนที่ต่อจากกาบใบขึ้นไปยังใบบอน ที่กาบและก้านใบนี้จะมีลักษณะของสีที่แตกต่างไปจากสีของกาบและใบอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะของสีนี้เรียกแตกต่างกันไป ดังนี้
แข้ง คือส่วนที่ยื่นออกจากก้านใบ คล้ายใบเล็กๆ อยู่กึ่งกลางก้านหรือต่ำกว่าใบจริง อาจมี 1 หรือ 2 ใบขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และมักพบในบอนสีประเภทใบกาบ คอใบ คือ ช่วงปลายของก้านใบไปถึงสะดือใบ สะดือ คือ ส่วนปลายสุดของก้านใบจรดกับกระดูก กระดูก คือ เส้นกลางใบที่ลากจากสะดือไปจนสุดปลายใบ เส้น คือ เส้นใบย่อยที่แยกจากกระดูกหรือเส้นกลางใบ ใบ ของบอนสีมีขนาดและรูปแบบของใบแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของใบได้ 4 ลักษณะ คือ
|
ความคิดเห็น