ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    บุคคลสำคัญ

    ลำดับตอนที่ #2 : พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    • อัปเดตล่าสุด 1 ก.พ. 52


    พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจักรีบรมนาถฯ

    พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

    พระนาม

    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  

    พระนามเต็ม

    สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร  ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาศกรวงษ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรนาถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไศรย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร หริหรินทราชาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอัขณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราช เดโชไชยพรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร ภูมินทรปรมาธิเบศรไลกเชฐวิสุทธรัตนมงกุฏ ประเทศคตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ 

    พระนามย่อ

     -

    พระนามเดิม

    ทองด้วง 

    พระราชสมภพ

    ที่นิวาสสถานภายในกำแพงพระนครศรีอยุธยา ตำบลป่าตอง 
    วันพุธ เดือน ๔ แรม ๕ ค่ำ เวลา ๓ ยาม ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๐๙๘   
    ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พุทธศักราช ๒๒๗๙ ในรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ 
    เป็นบุตรคนที่ ๔ ของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระนามเดิม "ทองดี" ดำรงบรรดาศักดิ์เป็น หลวงพินิจอักษร ตำแหน่งเสมียนตรา ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) และพระอัครชายา (พระนามเดิม "หยก") 

    เสวยราชสมบัติ

    ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม 
    เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๒๕ (ตรงกับ วันเสาร์ เดือน ๕ แรม ๙ ค่ำ ปีขาล จัตราศก จุลศักราช ๑๑๔๔) ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา 

    พระราชโอรส-ราชธิดา

    รวมทั้งสิ้น ๔๒ พระองค์ 

    เสด็จสวรรคต

    เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ 
    ตรงกับวันที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๕๒  พระชนมพรรษา ๗๔ พรรษา 
    เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๒๗ พรรษา  

    วัดประจำรัชกาล

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) 

    เหตุการณ์สำคัญ

    พ.ศ.2325

    -ขึ้นครองราชย์ สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์

    -ตั้งพิธียกเสาหลักเมืองพระนครใหม่

    พ.ศ.2327

    -สงครามเก้าทัพ พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าทรงกรีธาทัพเข้ามาตีเมืองไทยตั้งแต่เหนือ จดใต้ รวม ๙ ทัพ  กองทัพไทยตีกองทัพพม่าแตกพ่ายยับเยินไปทุกทัพ 

    พ.ศ.2328

    -โปรดให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมบูรณ์แบบ อย่างโบราณราชประเพณี ณ พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท  โปรดให้สร้างขึ้นด้วยไม้ทั้งองค์ หลังคาคาดด้วยดีบุก โดยถ่ายแบบจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาทในพระนครศรีอยุธยา 


    พ.ศ.23
    31

    -โปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระสงฆ์ชั้นพระราชาคณะและราชบัณฑิตทั้งหลาย ประชุมทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นที่วัดนิพพานาราม ใช้เวลา ๕ เดือน แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๓๓๒       แล้วโปรดให้จารึกลงลานไว้เป็นพระไตรปิฎกฉบับหลวง ปิดทองทึบทั้งใบปกหน้าและหลังกรอบ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับทอง ให้เก็บรักษาไว้ที่หอพระมนเทียรธรรม ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมาเกิดเพลิงไหม้หอพระมนเทียรธรรม แต่มิทันไหม้พระไตรปิฎกเพราะอัญเชิญออกมาทัน จึงโปรดให้สร้างพระมณฑปขึ้นเป็นที่เก็บพระไตรปิฎกแทน ส่วนหอพระมนเทียรธรรมนั้น โปรดให้สร้างขึ้นใหม่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระมณฑป


    พ.ศ.2347

     -โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต ประชุมชำระพระราชกำหนดบทอัยการบรรดามีอยู่ในหอหลวง ที่ตกทอดมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จัดประมวลหมวดหมู่ให้ถูกต้องยุติธรรม พร้อมกับเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรรวม ๓ ฉบับ ให้เก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง ที่หอหลวงฉบับหนึ่ง และที่ศาลหลวงสำหรับลูกขุนฉบับหนึ่ง โดยประทับตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ ตราบัวแก้ว เป็นสำคัญทุกฉบับ  กฎหมายฉบับนี้จึงเรียกว่า  "กฎหมายตราสามดวง"


    พ.ศ.2352

    -เสด็จสวรรคต

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×