ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นอสตราดามุส (Nostradamus) กับเซนจูรี่ทั้ง 10

    ลำดับตอนที่ #1 : ++ ชีวประวัติ : ตอนที่ 1

    • อัปเดตล่าสุด 20 มิ.ย. 60



    นอสตราดามุส เป็นชาว ฝรั่งเศส เดิม มีชื่อว่า
    “มิเชล เดอ นอสเตรอดัม (Michel de Nostredame)” 
    ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “ ราชาโหรโลก ” หรือ “ ปรมาจารย์แห่งโหราศาสตร์เอกของโลก ”
    แต่โดยทั่วไปผู้คนรู้จักเขาในชื่อที่เป็นภาษาละตินว่า “นอสตราดามุส” (NOSTRADAMUS)

    เขาเกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1503 ตามแบบปฏิทินจูเลียนโบราณ
    ซึ่งตรงกับวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1503 สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ค.ศ. 1498 - ค.ศ.1515
    ตามแบบ ปฏิทินเกรกอเรีย**

    บ้านเกิดอยู่ที่ เมือง แซงต์ เรมี เดอ โปรวองซ์ ประเทศฝรั่งเศส
    ในครอบครัวของ “ช้าคส์ กับ เรอเน เดอ นอสเตรดัม”   นอสตราดามุสเป็นบุตรคนโต
    และมีน้องร่วมสายเลือดอีก 4 คนคือ  เบอร์ทรันต์ , เฮ็กโต , อังตวน  และ ณอง




    สำหรับตระกูลของนอสตราดามุสยังไม่สรุปแน่ชัด เนื่องจาก มีผู้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ต่างกัน

    โดยพวกแรก 
    ชี้ว่าคุณปู่และคุณตาของนอสตราดามุส 
    ชื่อ "ปีแอร์ เดอ นอสเตรดัม" กับ "ฌอง แช็งต์ เดอ เรมี" ต่างเป็นแพทย์หลวงในราชสำนักฝรั่งเศส
    ซึ่งทั้งสองต่างเป็นเพื่อนรักและสนิทสนมกัน เมื่อฝ่ายแรกมีบุตรชาย ชื่อ "ช้าคส์" และ
    ฝ่ายหลังมีบุตรสาวชื่อ "เรอเน"  จึงจับทั้งคู่แต่งงานจนกลายเป็นทองแผ่นเดียวกัน 

    ฝ่ายที่สอง
    ชี้ว่าจากหลักฐานที่ได้จากการค้นคว้าและวิจัยกลับพบว่า ตระกูลของนอสตราดามุส
    ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากขุนนางแพทย์ชาวอิตาเลียนเชื้อสายยิว  ซึ่งเป็นแพทย์หลวงประจำราชสำนัก
    ของพระเจ้าเรอเนแห่งอังจู แต่อย่างใด แต่หากตระกูลของนอสตราดามุสสืบทอดเชื้อสายมาจาก
    ตระกูลสามัญชนชาวเมืองอาวิยอง โดยปู่ของนอสตราดามุส มีชื่อว่า "ปีโรต์หรือปีแอร์ เดอ นอสตรอดัม"
    ซึ่งประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าขายข้าวผู้มีฐานะมั่งคั่ง และได้สมรสกับหญิงสาวนอกศาสนายิวคนหนึ่ง
    ชื่อ "บลังช์"  มีบุตรหนึ่งคนชื่อ "จูม , จาคส์ หรือ ช้าคส์" ซึ่งคือบิดาของนอสตราดามุสนี่เอง
    บิดาของนอสตราดามุส ได้ย้ายที่อยู่จากเมืองอาวิยองไปอยู่ที่เมือง แซงค์ เรมี เดอ โปรวองซ์
    ในปี ค.ศ. 1495 หลังจากย้ายมาอยู่ในเมืองแห่งนี้แล้ว นายช้าคส์ได้เลิกประกอบกิจการค้าข้าว
    และได้แต่งงานกับนาง "เรอเน แซงต์ เดอ  เรมี" หลานสาวของนายแพทย์ผู้หนึ่ง  



    นอสตราดามุส  เกิดร่วมสมัยกับ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther 1483-1546) ผู้นำแห่ง
    ศาสนาคริสเตรียน นิกายโปรเตสแตนต์ ซึ่งในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส 
    (วันที่ 26 กันยายน ค.ส. 1501) ทรงมีพระบรมราชโองการบังคับให้ชาวยิวทุกคน
    ต้องเปลี่ยนศาสนาเดิมมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เรียกว่า "คริสเตียน" 
    โดยเข้ารับศีลจุ่ม (บัปติสมา) โดยหากชาวยิวผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ต้องอพยพโยกย้ายออกจาก
    มณฑลโปรวองซ์ภายใน 3 เดือน  เมื่อมีพระบรมราชโองการเช่นนี้ ประกอบกับท่ามกลางบรรยากาศ
    การเมืองที่ล่อแหลม  ครอบครัวนอสเตรอดัม ไม่มีทางเลือกใดที่ดีกว่า จึงจำใจต้องเข้ารับศีล
    เปลี่ยนจากศาสนายูดายมาเป็นคริสเตียน  (มีหลักฐานปรากฎว่า เมื่อปี ค.ศ. 1512 ขณะที่
    นอสตราดามุสมีอายุเพียง 9 ขวบ บิดามารดาของเขามีชื่อยู่ในบัญชีของผู้เปลี่ยนศาสนา)

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น  ภายในบ้านครอบครัว นอสเตรอดัมก็ยังยึดถือปฏิบัติศาสนากิจตามความเชื่อ
    ของชาวยิวอย่างลับ ๆ มาโดยตลอด ชีวิตของนอสตราดามุสจึงเติบโตมาในสภาพที่เคยชิน
    ต่อการซ่อนเร้น ปกปิดสภาพที่แท้จริงของครอบครัวในสายตาชาวบ้านเรื่อยมา
    ภายใต้สภาวการณ์ดังกล่าว ทำให้นอสตราดามุสเรียนรู้ชีวิตของการหลบหลีก หนีภัยมาตั้งแต่เด็ก
    มีความระแวดระวังภัยรอบตัว มีสัญชาตญาณแห่งการเอาตัวรอดที่ดี และทำให้เล็ดรอดจากการ
    จ้องจับผิดของเจ้าที่สังฆจักรโรมันคาทอลิกเรื่อยมา


    มีข้อเท็จจริงที่น่าตระหนักอีกข้อที่ว่า  นอสตราดามุสมีพื้นเพสืบเชื้อสายมาจากยิว จึงเป็นที่เชื่อกันว่า
    เขาได้รับอิทธิพลจากการที่เคยได้อ่านตำราไสยศาสตร์ของยิว 
    นักเขียนชีวประวัติหลายคนได้เคยอ้างว่า ตระกูลของนอสตราดามุสสืบเชื้อสายมาจากยิวโบราณ
    "เผ่าอิสซาการ์" ซึ่งเป็นพวกที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์มาก สามารถตีความ
    ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่ปรากฎบนท้องฟ้าได้ โดย "โจเซฟุส"  นักประวัติศาสตร์ชาวยิว
    เคยได้กล่าวถึง "เผ่าอิสซาการ์"  ไว้ว่าเป็นพวกที่ "สามารถหยั่งรู้สิ่งทั้งหลายซึ่งจะอุบัติขึ้นในอนาคตได้"




     -------------------------------------------------

    ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calender) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในโลกตะวันตก
    ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2243 
    เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นมา เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งมีความยาว 365.25 วันนั้น 
    มีความยาวนานกว่าปีฤดูกาล (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย  ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย 
    เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม อันเป็นวันวสันตวิษุวัต จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน
    เนื่องจากการที่สมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 ทรงปรับปรุงปฏิทิน โดย กำหนดว่า หลังจากวันที่
    4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 ได้พ้นไปแล้ว  ให้กำหนดวันรุ่งขึ้นเป็นวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2125
    จึงทำให้วันขาดหายไป 10 วัน จึงเกิดความแตกต่างดังนี้

    จูเลียนวันที่ 5 ต.ค. พ.ศ. 2125                       เกรโกเรียน 15 ต.ค. พ.ศ. 2125
    จูเลียนวันที่ 29 ก.พ. พ.ศ. 2143                    เกรโกเรียน 10 ก.พ. พ.ศ. 2143
    จูเลียนวันที่ 29 ก.พ. พ.ศ. 2243                    เกรโกเรียน 11 ก.พ. พ.ศ. 2243
    จูเลียนวันที่ 29 ก.พ. พ.ศ. 2343                    เกรโกเรียน 12 ก.พ. พ.ศ. 2343
    จูเลียนวันที่ 29 ก.พ. พ.ศ. 2443                    เกรโกเรียน 13 ก.พ. พ.ศ. 2443
    จูเลียนวันที่ 29 ก.พ. พ.ศ. 2543                    เกรโกเรียน 13 ก.พ. พ.ศ. 2543

    ดังนั้นความแตกต่างระหว่างจูเลียนและเกรโกเรียนในเวลาปัจจุบันจึงเท่ากัน 13 วัน 
    แต่ในความเป็นจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ 1  ปีเท่ากับ 365 วัน 5 ชั่วโมง 48 นาที 46 วินาที
    (ประมาณ 365.242199074วั น) 
    แต่ปฏิทินเกรโกเรียนกำหนดให้หนึ่งปีมี 365.2425 วัน 
    ปฏิทินนี้จึงคลาดเคลื่อนไปโดยช้าลงปีละประมาณ 26 วินาที



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×