ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    '' คำแนะนำ '' วิธีเตรียมตัวสอบเข้า ม.4

    ลำดับตอนที่ #2 : [คำแนะนำ] การเตรียมตัว 1

    • อัปเดตล่าสุด 10 พ.ย. 53


    คำแนะนำ

     

                การที่เราจะสอบติดที่ใดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ หลายๆ คนก็ต้องทำความเข้าใจก่อนจึงเริ่มปฏิบัติอย่างจริงจัง  ข้อมูลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มาจากความคิดของผู้เขียน และอาจเป็นคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งมีขั้นตอนในการเตรียมตัวสอบเข้า ม.4 ดังนี้

     

    1. การตั้งเป้าหมาย

            คนหลายคนมีความใฝ่ฝันอยากจะเข้าโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงอาทิเช่น โรงเรียนเตรียมอุดมและโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นต้น เราควรมีการตั้งเป้าหมายที่เด็ดเดี่ยว สมมุติว่าถ้าเราอยากเข้าโรงเรียนเตรียมอุดม เราต้องทำความต้องการให้เป็นที่แน่วแน่ ไม่ลังเล และพยายามจนถึงที่สุด ไม่เกรงกลัวต่อคำครหาว่าร้าย ดูถูกดูหมิ่น ต้องนึกไว้เสมอว่านี่คือเป้าหมายของเรา เราต้องทำได้ด้วยความสามารถของเราเอง

     

    2. ค้นหาทางเลือกของตัวเอง

                เมื่อเราเลือกโรงเรียนที่จะสอบเข้าไว้เป็นที่แน่นอนแล้ว เราต้องถามตัวเองก่อนว่าเราจะไปสอบสายอะไร พูดง่ายๆ คือเราชอบที่จะเรียนอะไรหรืออยากเป็นอะไร ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว สมมุติว่าถ้าอยากเป็นทันตแพทย์ แต่ไม่ชอบเรียนเลขเลย มีอยู่สองทางเลือกคือ หนึ่ง พยายามเปิดใจ เรียนเลขใหม่ตั้งแต่ต้น หรือ สอง เปลี่ยนอาชีพที่อยากเป็น และเลือกทำในทางที่ตนถนัด  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เรารู้สึกมีความสุขที่ได้ทำมัน การเลือกสายเรียนคือการเลือกความถนัดของเรา ไม่ใช่การเลือกอาชีพ

    นี่ถือเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญมากอีกข้อหนึ่ง เพราะเมื่อเราเลือกเรียนไปแล้ว และพบว่าไม่มีความสุขเลย นั่นคือความผิดพลาดที่ยากจะกลับแก้ อาจมีคนเคยพูดว่าสายวิทย์คณิตคือสายที่ดีที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่ามีทางเลือกเยอะ แต่ทางเลือกจะไปมีความหมายได้อย่างไรเมื่อตัวผู้เรียนเองนั้นไม่ได้มีความสุขเลย เมื่อเราลองมองดูที่สายศิลป์คำนวณหรือศิลป์ภาษา ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดหางานทำไม่ได้ คนทุกคนเมื่อได้พยายามแล้วอะไรๆ ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น สรุปแล้วนั่นคือเราต้องเลือกเรียนในสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราถนัด ถ้าเราเลือกเดินทางในสายที่ถูกต้อง เราจะพบถึงความสุขในการเรียนอย่างแน่นอน   

    3. พิจารณาวิชาที่ใช้สอบ

    ถัดมาหลังจากตัดสินใจเลือกสายเรียนที่จะใช้เข้าสอบได้แล้ว เราจะมาดูที่องค์ประกอบวิชาที่ใช้สอบของแต่ละสาย ยกตัวอย่างถ้าจะสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดม สายวิทย์คณิตนั้นประกอบไปด้วย

    1. คณิตศาสตร์                         50 ข้อ

    2. วิทยาศาสตร์                         50 ข้อ

    3. ภาษาอังกฤษ                        50 ข้อ

    4. ภาษาไทย                           25 ข้อ

    5. สังคม ถ้าเป็นสายศิลป์คำนวณ         25 ข้อ

     

    สายศิลป์คำนวณนั้นประกอบไปด้วย

    1. คณิตศาสตร์                                            50 ข้อ

    2. ภาษาอังกฤษ                                          50 ข้อ

    3. ภาษาไทย                           75 ข้อ

    4. สังคม                                                     25 ข้อ

     

    และสุดท้าย สายศิลป์ภาษานั้นประกอบไปด้วย

    1. ภาษาอังกฤษ                        100 ข้อ

    2. ภาษาไทย                           75  ข้อ

    3. สังคม                                                      25  ข้อ

                พิจารณาตามสายที่เราเลือก ชั่งน้ำหนักความเป็นไปได้ที่เราควรทำได้ นั่นคือความยากง่ายของข้อสอบ สมมุติว่าถ้าเราอยากสอบสายศิลป์คำนวณ จะพบว่าภาษาไทยต้องใช้ถึง 75 ข้อ พิจารณาว่าแต่ละสายๆ นั้น ต้องการเน้นอะไรเป็นพิเศษ

                                                   

    4. หาที่เรียนพิเศษ

                เมื่อเราพิจารณาวิชาที่ต้องใช้สอบแล้ว ถึงเวลาต้องมานั่งคัดสรรที่เรียนพิเศษดีๆ ซักที่เพื่อเพิ่มความแน่นในเนื้อหาให้กับตัวเรา ต่อจากข้อ 3. ถ้าเราต้องการสอบสายศิลป์คำนวณ นั่นหมายความว่าเราต้องมีใจรักเลข ซึ่งต้องคิดมาดีแล้ว จากข้อ 2. แต่เมื่อดูที่จำนวนข้อของภาษาไทยนั้นถือว่าเป็นจำนวนเยอะทีเดียวเมื่อเทียบกับการสอบในวิชาอื่นๆ แล้ว นั่นหมายความว่าในส่วนที่เราควรเน้นเพื่อทำคะแนนคือวิชาภาษาไทย หาที่เรียนพิเศษซักที่หรือสองที่ เพื่อความชำนาญในการทำข้อสอบ และขอยกตัวอย่างคนที่อยากสอบสายศิลป์ภาษา ส่วนนี้ต้องเน้นด้านภาษาเป็นอย่างหนัก เพราะไม่มีวิชาเลขให้สอบ นอกจากจะหาที่เรียนภาษาไทยแล้ว ยังต้องหาที่เรียนภาษาอังกฤษอีกด้วย


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×