ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    + Ice - CReaM +

    ลำดับตอนที่ #1 : ประวัติของไอศกรีม

    • อัปเดตล่าสุด 13 ต.ค. 50




    ประวัติของไอศกรีมย้อนหลังไปได้ถึง ๒๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล
    คนจีนรู้จักกินไอศกรีมกันมาก่อน แล้วมาร์โค โปโลกลับจากจีนก็เอาสูตรไปเผยแพร่ในยุโรป
    แต่ไอศกรีมของจีน ไม่มีนม คล้ายน้ำแข็งไส มากกว่าไอศกรีมอย่างปัจจุบัน

    จักพรรดิเนโรเองก็ชอบให้ทาสขึ้นไปตักหิมะจากยอดเขาลงมาอย่างด่วนจี๋ นำมาถึงโรมก่อนทันละลาย แล้วพ่อครัวก็ตักหิมะใส่ชาม ราดหน้าด้วยผลไม้สด ให้เนโรเสวยเป็นอาหารจานเด็ดเรื่อยมาจนถึงอังกฤษสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ๑ พ่อครัวมีสูตรเด็ดคือครีมแช่แข็งปรุงรส สูตรลับสุดยอด ส่งขึ้นไปเป็นของหวาน
    เมื่อพระองค์ถูกประหารด้วยฝีมือโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ พ่อครัวก็ลี้ภัยไปยุโรป แล้วนำสูตรไอศกรีมไปเผยแพร่เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในหมู่เจ้านายขุนนาง

    จนค.ศ. ๑๘๓๔ จึงมีผู้คิดทำถังปั่นไอศกรีม แบบใช้มือ ขึ้นในสหรัฐอเมริกา
    ไอศกรีมจึงขยายจากในครัวเรือนออกไปเป็นอุตสาหกรรม ในวรรณกรรมเด็กชุด "บ้านเล็ก"ของลอรา อิงกัลส์ ไวล์เดอร์ เล่าถึงการทำไอศกรีมไว้ในเรื่อง"เด็กชายชาวนา" ว่าพี่น้องทำกันเองในบ้าน
    กรรมวิธีก็ง่ายๆคือทำด้วยไข่ขาวตีจนฟูแข็ง เติมนม ครีม น้ำตาลทรายขาว เข้าด้วยกัน แล้วใส่ลงในถังปั่น ด้านนอกใส่น้ำแข็งทุบละเอียดสลับเกลือเป็นชั้นๆ เพื่อแช่ให้เย็นจัด คนหนึ่งก็เขย่าน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา เติมน้ำแข็งลงไปใหม่ถ้าของเก่าเริ่มละลาย แล้วอีกคนก็กวนครีมในถัง จนแข็งเป็นไอศกรีม

    ส่วนของไทย ลาวัณย์ โชตามระ เล่าไว้ในหนังสือ มรดกไทย ว่า
    ไอศกรีมเพิ่งเป็นที่รู้จักในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาเผยแพร่ในสยาม หลังเสด็จประพาสอินเดีย ชวาและสิงคโปร์
    น้ำแข็งในตอนแรกๆ สยามผลิตไม่ได้เอง ต้องสั่งเข้ามาจากสิงคโปร์
    ต่อมาไทยสั่งเครื่องทำน้ำแข็งเข้ามาทำไอศกรีม ถือว่าเป็นของเสวยชั้นดีเลิศ สำหรับเจ้านายในพระบรมมหาราชวังเท่านั้น
    สมเด็จกรมพระยาดำรงฯทรงบันทึกไว้ว่า
    "ไอศกรีมเป็นของที่วิเศษในเวลานั้น เพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กๆที่สำหรับเขาทำกันตามบ้านนอกเข้ามาถึงเมืองไทย
    ทำบางวันน้ำก็แข็ง บางวันก็ไม่แข็ง มีไอศกรีมตั้งเครื่องแต่บางวัน จึงเห็นเป็นของวิเศษ"
    ไอศกรีมสมัยนั้นเสิฟในแก้วแชมเปญค่ะ ไอศกรีมในพระบรมมหาราชวัง ทำด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน ใส่เม็ดมะขามคั่ว น่าจะแบบเดียวกับใส่เมล็ดอัลมอนด์สมัยนี้ เคี้ยวมันๆ อร่อยดี
    ดิฉันไม่แน่ใจว่าใส่นมลงไปหรือเปล่า ถ้าไม่ใส่ก็จะเป็นเชอร์เบ็ต มากกว่าไอศกรีม

    ส่วนไอศกรีมอย่างของฝรั่งใส่นมสด นมข้น เติมกาแฟ ช็อกโกแลต จะมีได้ก็ต่อเมื่อมีงานเลี้ยงใหญ่ๆรับแขกเมืองเท่านั้น เพราะของประกอบพวกนี้แพงมาก

    จนกระทั่งคนไทยมีโรงงานทำน้ำแข็ง ไอศกรีมถึงได้แพร่หลายให้ประชาชนได้ลิ้มรสกัน
    ไอศกรีมชั้นดีทำแบบไอศกรีมฝรั่ง อย่างที่เรากินกันทุกวันนี้ คนทำเป็นฝรั่งที่มาทำงานเป็นเชฟในวัง มีคนจีนเป็นลูกมือ ถ่ายทอดวิชาทำไอศกรีมเอาไว ้เมื่อฝรั่งหมดสัญญาจ้างเดินทางกลับบ้านเมืองไปแล้ว คนจีนก็ขายไอศกรีมแทน 

    ส่วนไอศกรีมแบบชาวบ้าน ทำอย่างประหยัดเงินด้วยการใช้น้ำตาลทรายละลายน้ำ เติมมะพร้าวน้ำหอมลงไปพอได้กลิ่นรส หั่นเนื้อมะพร้าวสับโรยลงไปอีกที
    แล้วใส่ถังสังกะสี สวมลงไปบนถังไม้ โรยน้ำแข็งทุบกับเกลือลงบนชั้นนอกถังสังกะสี
    เขย่าจนน้ำผสมในถังแข็งตัวเป็นเกล็ด

    ไอศกรีมที่ตามมาทีหลังในสมัยรัชกาลที่ ๗ คือไอศกรีมหลอด ไม่มีน้ำมะพร้าว ใช้น้ำผสมสีต่างๆละลายน้ำตาลจนเข้ากัน ใส่ลงหลอดสังกะสีแล้วเขย่าให้แข็งแบบเดียวกับไอศกรีม ถ้าเป็นเดี๋ยวนี้ก็ต้องเรียกว่า เชอร์เบ็ตเพราะไม่มีนมหรือครีมผสม
    ราคาถูกมาก เพียงหนึ่งสตางค์แดงเท่านั้นเอง

    ไอศกรีมชาวบ้านทำ ไม่ค่อยสะอาดนัก ใช้น้ำคลอง ไม่มีการฆ่าเชื้อ ความเย็นของไอศกรีมฆ่าเชื้อโรคไม่ได้คนกินไอศกรีมหลอดจึงท้องร่วงกันง่ายมากต่อมาก็มีการผลิตไอศกรีมเป็นอุตสาหกรรม ใส่ถ้วยกระดาษเล็กๆมีฝาปิดเหมือนไอศกรีมวอลล์เดี๋ยวนี้ ชื่อไอศกรีมห้องเย็นเริ่มขายเมื่อประมาณ ๕๐ ปีก่อน
    ต่อมาก็มีไอศกรีมป๊อบ และไอศกรีมยี่ห้ออื่นๆเช่น foremost
    จนถึงปัจจุบัน มีไอศกรีมของฝรั่งเข้ามาขายในเมืองไทยมากมาย เช่น Baskin Robbins

    ไอศกรีมที่รู้จักกันดีประเภทหนึ่งคือไอศกรีมซันเด เป็นไอศกรีมรสอะไรก็ได้ ที่ใส่ถ้วยแก้ว หรือชามแก้วรูปรี ราดด้วยน้ำเชื่อมรสต่างๆ บีบวิปครีมขาวฟูบนหน้า เติมยอดด้วยเชอรี่เชื่อมหรือสตรอเบอรี่ ให้สีสันสวยน่ากิน บางทีก็เติมแต่งเครื่องประกอบ อย่างกล้วยหอมผ่าซีก เรียกว่าบานาน่าสปลิท

    ประวัติความเป็นมาของไอศกรีมซันเดยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ใน ๒ เมืองว่าใครค้นคิดขึ้นมาแน่
    คือเมือง Evanston, Illinois และ Two Rivers, Wisconsin
    คือตอนปลายๆศตวรรษที่ ๑๙ ชาวบ้านนิยมกินไอศกรีมใส่โซดา
    ทีนี้โซดาเป็นเครื่องดื่มต้องห้ามในวันพระ คือวันอาทิตย์
    ชาวบ้านก็เลยพลอยอดกินไอศกรีมไปด้วย ทำให้มีการค้นคิดทำไอศกรีม ราดหน้าด้วยน้ำตาลเชื่อมขึ้นมากินแทน ไม่เกี่ยวกับโซดาอีก ตั้งชื่อว่า Ice Cream Sundae อ่านกันเหนื่อยแล้วก้ออย่าลืม หาไอศกรีมเย็นๆ
    มาทานกันบ้างนะคะ




    เครดิต
    http://www.icecreamfanclub.com/index.php?name=News&new_topic=0&pagenum=1
    http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=12937

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×