ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #35 : เมาท์ : วิชาหมอ : Physiology

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 10.79K
      5
      7 ก.ค. 53

    Physiology


                Physiology  มันคืออะไร    ไม่เคยได้ยิน   แน่นอนค่ะ  พี่ก็ไม่เคยได้ยินเหมือนกับน้อง ๆ เมื่อรู้ว่าจะต้องเรียนวิชานี้ในปี 2   เราลองมาดู definition จาก  wikipedia  กันก่อนดีกว่า ( เว็บนี้เป็นเว็บยอดฮิตสำหรับนศพ.ในการหาข้อมูลเบื้องต้นในการรายงานเลยนะคะ   ^,^  )  Physiology is the science of the functioning of living systemsphysiologyหรือพูดง่าย ๆ  physiology  คือ   วิชาที่เรียนเกี่ยวกับการทำงานของร่างกายนั่นเอง    เป็นวิชาที่จะบอกเราว่า   ร่างกายทำงานยังไงโดยแยกตามระบบต่าง ๆ ได้แก่  

     

    ·      ระบบหายใจ ( CVS = Cardiovascular system )    

    ระบบนี้   เรียนเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง    เป็นวิชาที่นักศึกษาแพทย์ทุกรุ่น ( รวมทั้งรุ่นพี่ด้วย )  ได้รับการพูดต่อ ๆ กันมารุ่นต่อรุ่นว่า   มันยากส์มาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  เลยนะน้อง   ขนาดพี่ .... (ขอไม่เอ่ยนาม   ไม่งั้นพี่อาจจะโดนนอกรอบได้   )   ได้  มาตลอด   มาเจอตัวนี้   ได้  C+”   โอ้โห   นี่ขนาดพี่ที่เค้าได้  มาตลอด   เค้ายังได้  C+  ในวิชานี้    แล้วพี่ล่ะไม่ได้  A มาตลอด มาเรียนแล้วจะได้เกรดอะไร     แล้วมันเรียนเกี่ยวกับอะไรน้า    ทำให้เกรดถูกฉุดลงกระจุยกระจายขนาดนี้  มาดูกันดีกว่า  วิชานี้จะแบ่งออกเป็น ส่วน คือ

     

    ส่วนแรก      เรียนเกี่ยวกับของเหลวในร่างกาย   อันนี้พี่ว่าน้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกันนะคะ  เช่น   ถ้าให้สารที่เป็น  hypotonic  solution ( สารที่ความเข้มข้นน้อยกว่าของเหลวในร่างกายนั่นเอง  )  จะทำให้น้ำจากภายนอกออสโมซิสเข้ามาในเซลล์   ทำให้เซลล์บวม , เซลล์เต่ง   หรือ edema  .......  เริ่มคุ้น ๆ กันแล้วเนอะ เนื้อหาของชีวะม.4 เล่มเตะตะกร้อนั่นเอง     อีกเรื่องคือเรื่องกล้ามเนื้อนั่นเอง    โดยเรียนเกี่ยวกับเส้นใย  actin , myosin  มีการใช้  ATP  ในการหดตัว  ทำให้กล้ามเนื้อขยับได้   เป็นต้น 

     


    นอกจากทฤษฎีแล้ว   ในส่วนนี้ มีการทำแลปด้วย   โดยการนำกบที่ยังมีชีวิตอยู่มาผ่าเปิดขาเพื่อหาเส้นประสาทที่สั่งการกล้ามเนื้อที่ขาแล้วลองใช้ไฟฟ้ากระตุ้นเส้นประสาท   แล้วดูความถี่และความแรกในการหดตัวของกล้ามเนื้อกบ    เป็นการทดลองที่ลำบากใจมาก ๆ ค่ะ   ตั้งแต่หาผู้กล้าไปจับกบออกมาจากกระสอบ   ตัดไขสันหลังเพื่อไม่ให้มันเจ็บ    แล้วยังต้องผ่าเปิดขามันอีก  หลังจากที่ทำการทดลองจบแล้ว   เจ้ากบที่น่าสงสารตัวนั้นจะได้ไปดีสู่สุขคติ     จากการทดลองนี้ทำให้เพื่อน ๆ พี่หลายคนถึงกับไปทำบุญตักบาตร   ถวายสังฆทานเพื่อกบที่ใช้ในการทดลองเลยทีเดียว      ซึ่งเรื่องนี้พวกพี่ส่วนใหญ่ก็ยังผ่านมันไปได้  และกระหยิ่มยิ้มย่องในใจว่า   โฮะ โฮะ โฮะ  physio  ก็แค่นี้เอ๊งงง ”    โดยหารู้ไม่ว่า   นรกอะ มีจริง ๆ นะ  หึหึหึ

     

    ส่วนที่สอง   เรียนเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดจริง ๆ ละ   โอ้โห น้อง ๆ คะ   แค่ชั่วโมงแรก  พี่ก็จะแย่แล้ว   อะไรกันนี่ !!  หัวใจที่เคยเรียนมาตอนม.ปลาย  มันมีแค่เส้นเลือด 5-6  เส้น   ลิ้นหัวใจอีกไม่กี่อันเอง    แล้วพี่ก็รู้แค่ว่าหัวใจเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอดและนำเลือดที่ฟอกแล้วไปเลี้ยงร่างกายเท่านั้นเอง     แต่นี่อะไรกัน  SV ( stroke volume ) คือปริมาณที่หัวใจปั๊มเลือดออกไปใน 1 ครั้ง  CO ( cardiac output ) คือปริมาณเลือดที่หัวใจปั๊มออกไปได้ใน 1 นาที   TPR ( total peripheral resistance )    คือ ความต้านทานของหลอดเลือดในร่างกายทั้งหมด   mABP ( mean arterial blood pressure ) คือ  ความดันเลือดรวมของร่างกายนั้นเอง  และ  HR ( heart rate )   คือ  อัตราการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาที   มีสูตรให้จำอีกนิดนึงคือ   CO = SV x HR   ;   mABP =  TPR x CO    แล้วยังจะการเต้นของหัวใจอีก  หัวใจมีการเต้น  จังหวะ   แต่ละจังหวะ กล้ามเนื้อส่วนนี้มีการส่ง  action potential  ไปทางเส้นทางนี้   แต่ถ้ามัดตรงนี้เต้นจะส่งไปอีกทางนึงแล้วไปต่อทางเดิม   อะไรอีกมากมาย เอาแค่เบาะ ๆ   สำหรับวันแรก    พี่ก็ไม่ไหวละ มันงง ไปหมด   นี่ยังไม่รวมถึงวิธีใช้นะ  แล้วยังในภาวะที่ร่างกายมีความผิดปกติ  เช่น  อายุมากมีไขมันในเส้นเลือด,    เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด   อีกมากมาย   

     

    เฮ้อ..........  พี่เริ่มเข้าใจแล้วสิ   ว่าวิชานี้มันน่ากลัวยังไง   แล้วคำอวยพร ? ของรุ่นพี่ของพี่ก็เป็นผลสำเร็จ    วิชานี้เป็นวิชาที่หลายคนได้เกรดต่ำที่สุดในบรรดาทั้งหมดที่เรียนในปี  ฮือ ฮือ    สำหรับคนที่ได้   A  ในวิชานี้  พวกเค้าเป็นคนพิเศษ  เพราะต้องเข้าใจแบบถึงแก่น  แบบแก่นของวิชานี้จริง ๆ   สงสัยความเข้าใจของพี่มันยังเป็นแค่กระพี้  ไม่ก็เป็นแค่  xylem phloem  เท่านั้น  นอกจากนี้จะได้  A   ยังต้องมีหัวคิดดัดแปลงให้เข้ากับอาการของผู้ป่วยด้วย   เพราะฉะนั้น  คนที่ได้ A ตัวนี้   นี่  ขอคารวะงาม ๆ สามที  หนึ่ง ... สอง .... สาม....


    ปล.  สำหรับวิชานี้     หัวใจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะนอกจากจะทำให้เกรดน้องดิ่งขึ้นหรือลงได้จากหน่วยกิตของวิชานี้ซึ่งมากกว่า  anatomy  สองตัวรวมกัน   หัวใจยังเป็นสิ่งสำคัญในโลกใบนี้   เพราะหัวใจทำให้เกิดความรักค้ำจุนโลกนั่นเอง     เพราะฉะนั้น   รักษา(หัว)ใจกันให้ดี ๆ นะคะทุก ๆ  คน  ฮิ้ววววว

     

    ·        Respiation        หรือระบบหายใจนั่นเอง    ตัวนี้เน้นเรียนเกี่ยวกับปอดเป็นส่วนใหญ่    เราหายใจ  ครั้ง   เอาอากาศเข้าไปเท่าไหร่   เข้าส่วนไหนของปอดก่อน  ส่วนบนหรือส่วนล่าง  แล้วถ้าหายใจเข้าไปลึก ๆ  อากาศในปอดจะเป็นยังไง   การแลกเปลี่ยนก๊าซจะถูกขัดขวางมั๊ย   แล้วถ้าเราออกกำลังกายล่ะ  หรือว่าอยู่ที่สูงมาก ๆ หรือที่ต่ำมาก ๆ  ร่างกายจะปรับตัวยังไง  จะเพิ่มอัตราการหายใจ  หรือ  เพิ่มความลึกและความแรงในการหายใจ    คำถามทั้งหมดนี้น้อง ๆ สามารถหาคำตอบได้จากการเรียนวิชานี้ค่ะ    มีกราฟนึงที่เป็นหัวใจของวิชานี้คือ  กราฟการหายใจนั่นเอง   โดยแกน x คือ  เวลา  และแกน y  คือ  ปริมาตรปอดที่เปลี่ยนไปนั่นเอง    ช่วงกราฟที่แอมพลิจูดต่ำ ๆ คือหายใจธรรมดา ๆ แต่ช่วงที่แอมพลิจูดสูงๆ คือ  ช่วงที่หายใจลึก ๆ  ค่ะ  กราฟนี้   ทุกคนที่เรียนวิชานี้จะต้องหลับตาแล้วเห็น  เหมือนกับการทำกรอสที่หลับตาแล้วต้องเห็นกล้ามเนื้อ   เส้นประสาท   เส้นเลือด   อยู่ตรงนี้ ๆ ๆ เป๊ะ ๆ      อันนี้พี่ลองเอากราฟมาให้ดูเล่น ๆ นะ  ถ้าสนใจหรือมีคำถามก็หลังไมค์ได้ค่ะ   แต่ต้องให้เวลาพี่ไปเตรียมตัวก่อนนะ เพราะมันผ่านมานานแล้วจ้า


      

    อ้อ วิชานี้  มีการทำแลปการหายใจด้วย   เป็นแลปที่น้อง ๆ ผู้หญิงและผู้ชายที่ใจเป็นผู้หญิงจะได้กรี๊ดกร๊าดดดดด กัน  เพราะแลปนี้ใช้อาสาสมัครเป็นผู้ชาย อ่า  ทำไมต้องเป็นผู้ชายด้วย  เพราะว่าแลปนี้วัดปริมาตรปอดโดยใส่สายรัดลำตัวเชื่อมกับเครื่องวัดปริมมาตรค่ะน้อง    แล้วยังไงล่ะ   เค้ากลัวว่าถ้าใส่เสื้อเนี่ย  อาจจะทำให้การวัดปริมาตรปอดคาดเคลื่อนได้  เค้าก็เลยให้อาสาสมัครคนนั้น   ถอดเสื้อค่ะคุณน้อง   อ่านไม่ผิดหรอก ไม่ใช่ถอดอย่างอื่นนะคะ  อุ๊ยตาย !  ทะลึ่งนะเนี่ย   คริ คริ คริ  นั่นแหละค่ะ   ใครมีไม่มีพุงยังไง   ได้รู้กันเดี๋ยวนั้น   ถอดกันให้เห็น ๆ  โอ้ววววววว

     

    ·        Digestion             ระบบนี้เรียนเกี่ยวกับการย่อยค่ะ   ตั้งแต่เริ่มทานจนถึงขับออกกันเลยทีเดียว    วิชานี้  คล้าย ๆ กับที่น้องเรียนตอนม.ปลายค่ะ    เช่น  lipase ย่อย ไขมัน  ,   lactase  ย่อย  lactose  , protease ย่อย  protein   แต่มีเพิ่มเติมจากม.ปลาย  เช่น  ระบบประสาท หรือว่าเส้นเลือดที่เลี้ยงทางเดินอาหาร   และโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติ  เช่น   ผนังหน้าท้องไม่ปิด  ทำให้ลำไส้บางส่วนทะลักออกทางสะดือ  เป็นต้น   และความรู้ปึ้ก ๆ ที่ได้จากวิชานี้คือ    ไส้ติ่งอักเสบ  จะมีอาการเริ่มปวดจากสะดือก่อน   แล้วถ้าไม่ได้รับการรักษา   ความเจ็บปวดจะเริ่มลามไปข้างขวานะจ้ะ  น้อง ๆ   ไม่ใช้ข้างซ้าย

     

    ·        Endocrine            คือ  ระเบบฮอร์โมนในร่างกายเรานี่เอง    เนื้อหาคล้าย ๆ กับที่น้อง ๆ เรียนในม.ปลายเลย    แต่จะไม่เหมือนเดิมตรงที่จะละเอียดกว่า    อย่างเช่น   ต่อมไธรอยด์   ว่ากันตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บไอโอดีนเข้าเซลล์, ออกเซลล์  เพื่อไปสังเคราะห์เป็นฮอร์โมน, สารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น    แล้วค่อยปล่อยไธรอยด์ฮอร์โมนออกมาสู่ร่างกาย  กันเลยทีเดียว   ในบรรดา  physiology  ทั้งหมด  พี่ว่าเรื่องนี้ง่ายที่สุด   เพราะเนื้อหาคล้ายม.ปลายและไม่ต้องอาศัยความเข้าใจและการประยุกต์ใช้มาก    อาการของโรคที่ขาดหรือมีฮอร์โมนตัวไหนมากเกินไปก็จะเป็นไปตามผลของฮอร์โมนนั้น ๆ    สำหรับ  endocrine นี้จึงเป็นอีกเรื่องที่ชิว ๆ สำหรับนศพ.ส่วนใหญ่    และจะไปยากอีกทีก็  renal system ที่จะกล่าวต่อไป

                      ·       Renal  system   ระบบไตค่ะน้อง ๆ  เรื่องนี้นับเป็นเรื่องยากอีกเรื่องหนึ่ง     หรือเพราะพี่ไม่ชอบท่อง ๆ โดยไม่เข้าใจก็ได้มั้ง     พี่ว่ามันยากเพราะต้องจำเยอะ    ตั้งแต่ส่วนต่าง ๆ ของไต  เป็น  renal medulla  , renal  calyx  , medullary pyramid , Henle’s loop , collecting tubule , distal tubule บลา ๆ ๆ   และจำว่าส่วนต่าง ๆ ทำหน้าที่กรองสารอะไรออกบ้างและดูดกลับอะไรบ้าง    ใช้หลักการอะไร   ออสโมซิส   การแพร่  ฟาซิลิเทต  หรือการหลั่งจากร่างกายเอง  และปัสสาวะที่ได้จากการกรองของท่อไตแต่ละส่วนก็จะมีความเข้มข้นไม่เท่ากันด้วย   แต่วิชานี้ ถึงจะยากที่การท่องจำ  ก็ยังแพ้  CVS (หัวใจ)  เพราะ  CVS  ต้องใช้ทั้งความจำ ( ความถึก ) ความเข้าใจ  และความเทพส่วนตัว  อิอิ

     

    สุดท้ายแล้วเนอะ    มากกว่านี้เดี๋ยวบก.เค้าจะด่าเอา    physiology เป็นวิชาที่ใช้ความเข้าใจและมีเหตุผลมากที่สุดในบรรดาวิชาที่เรียนมาแล้วค่ะ  ไม่ว่าจะเป็น  biochemistry , pharmacology   anatomy , neurology  หรือ histology   เพราะเป็นการเรียนรู้การทำงานของร่างกายที่เป็นระบบ   โรคที่เกิดและสาเหตุของโรค  ก็จะอิงจากความผิดปกติในการทำงานของระบบนั้น ๆ   นอกจากนี้ physiology ต่างจากวิชาอื่นตรงที่  วิชาอื่นยังเป็นวิชาที่เน้นความจำ   ประมาณว่า   ถ้าน้องจำได้  ก็ทำได้    แต่ใน  physiology  นี้  ถ้าน้องจำได้อย่างเดียวก็ไม่พอ  ต้องเข้าใจด้วย  

                              
    ก่อนจากกัน  พี่หวังว่าบทความที่พี่เขียนนี้จะเป็นกำลังใจให้น้องหลาย ๆ คนในการอ่านหนังสือสอบนะคะ  ไม่ว่าความฝันของน้อง ๆ จะอยู่ที่คณะแพทยศาสตร์หรือไม่ก็ตาม     ถ้าน้องและพี่ทำบุญมาร่วมกัน เราคงจะได้พบกันในวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิระพยาบาล และพี่หวังว่าน้อง ๆ จะได้นำความรู้ความทรงจำดี ๆ ที่ได้จากค่ายโอเพ่นกาวน์   11  นี้ ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์คนอื่น ๆ นะคะ    สุดท้ายแล้วจริง ๆ พวกพี่ทุก ๆ คนขอให้น้องสุขสมหวังในทุก ๆ เรื่อง   สุขภาพร่างกายแข็งแรง ๆ   ได้เรียนในสิ่งที่ชอบนะคะ


    นศพ.เชอรี่ประจำคณะ


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×