ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โบราณคดี, อารยธรรมโบราณ

    ลำดับตอนที่ #5 : ไข ความลับ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

    • อัปเดตล่าสุด 5 เม.ย. 51


    ไขความลับ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

    เรื่องความลึกลับของ “ฝูงบินสาบสูญ” ฝูงหนึ่งที่บินหายไปในอากาศอันสงบเงียบ เป็นเวลาช้านานแล้ว เหนือท้องทะเลอันราบเรียบ เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความขลังให้กับตำนาน อันลึกลับซับซ้อนของ ท้องทะเลของโลก ที่มีชื่อว่า “สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา” อันตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา การที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาอย่างฮือฮานั้น อาจจะนับย้อนไปได้จนถึงปี 2507 เมื่อนักเขียนอเมริกันชื่อวินสตัน การ์ดช นำเอาเรื่องจริง ที่พิลึกกึกกือที่เกิดขึ้นในสถานที่นี้ มารวบรวมลงพิมพ์ไว้ในนิตยสารประเภทผจญภัยของอเมริกัน และหลังจากนั้นเขาก็นำเอาเรื่องนี้ไปรวมไว้ในหนังสือชื่อ “เดอะ อินวิซิเบิล ฮอริซัน” อันเป็นหนังสือที่บรรจุเรื่องต่างๆไว้ในทำนองเรือเดินทะเลหายสาบสูญ พร้อมลูกเรือนับร้อย เรือปิศาจ ฯลฯ เป็นต้น
     

    ปรากฏการณ์ของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดานั้น จนบัดนี้ยังไม่มีใครสามารถตัดสินได้ว่าเรื่องลึกลับ ทั้งหลายนั้นมีเหตุมาจากอะไร แต่บริเวณนี้หากเราจะกางแผนที่ของสหรัฐฯช่วงล่างๆดู แล้วลองลากเส้นตรงจากรัฐฟลอริดาในสหรัฐฯ ตรงไปยังบริเวณเกาะเบอร์มิวดา ทางตะวันออกเส้นหนึ่ง และลากเส้นตรงอีกเส้นหนึ่งจากเกาะเบอร์มิวดาตรงไปยังหมู่เกาะเปอร์โตริโก ทางใต้เข้าอีกเส้น แล้วลากจากเส้นที่สามจากเปอร์โตริโกไปบรรจบกับจุดตั้งต้น ของเส้นแรกที่ฟลอริดา เราก็จะได้สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาที่มาของเรื่องนี้
    “ซาลเวอร์ส” โครงการกู้สำรวจทางวิทยาศาสตร์ กำลังยื่นคำร้องต่อศาลสหรัฐฯ เพื่อขออนุญาตให้มีสิทธิครอบครองสิ่งที่ตนค้นพบใต้ท้องทะเลแห่งสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งเชื่อว่าเป็น “ฝูงบินสาบสูญ” ครั้งนี้ หลังจากที่โครงการนี้ได้ค้นพบซากเครื่องบินโบราณ ได้ลำหนึ่งโดยเหตุบังเอิญ ขณะที่สำรวจก้นทะเลเพื่อหาซากเรือสเปนโบราณ ด้วยการใช้อุปกรณ์การค้นหาที่ทันสมัยที่สุดในบริเวณก้นทะเลลึกประมาณ 700 เมตร หากศาลสหรัฐฯอนุมัติ การกู้ซากเครื่องบินนี้ก็จะได้เริ่มขึ้น และความลึกลับต่างๆเกี่ยวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาก็อาจจะคลี่คลายออกมาได้ไม่น้อยทีเดียว จากการใช้เครื่องตรวจจับสะท้อนเสียง หรือโซนาร์ พร้อมด้วยกล้องถ่ายภาพใต้ทะเล ทำให้คณะซาลเวอร์สควานพบเครื่องบินลำอื่นๆอีก 4 ลำ ในเวลา 24 ชั่วโมงต่อมา เครื่องบินเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องบินใบพัดเดี่ยว รุ่นทีบีเอ็ม อเวนเจอร์ ซึ่งมีรายงานว่าหายไปทั้งฝูงตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม ปี พ.ศ.2488 หรือ 61 ปีมาแล้ว

    จากเครื่องบินทั้งหมด และการสำรวจรอบๆบริเวณที่ตรวจพบ ไม่ปรากฏว่ามีซากมนุษย์หลงเหลืออยู่ และทางโครงการได้ส่งหุ่นยนต์ลงไปสำรวจอย่างละเอียดในเวลาต่อมา ซึ่งก็พบว่าเครื่องบินเหล่านี้เป็นชุด “เที่ยวบินที่ 19” ที่เรียกขานกันต่อมาว่า “ฝูงบินสาบสูญ” ที่หายไประหว่างการฝึกบินออกจากฐานบินที่ฟอร์ท เลาเดอร์เดล ซากเครื่องบินลำหนึ่งยังพอมองเห็นหมายเลขข้างลำตัวชัดเจนว่า “28” อันเป็นเครื่องบินที่ปรากฏในปูมว่าเป็นเครื่องจ่าฝูงด้วย
    ตามปูมบันทึกของฐานบิน “เที่ยวบินที่ 19” ฝูงนี้ เจอเข้ากับปัญหาหลังจากออกฝึกบินครั้งแรก เมื่อเข็มทิศในเครื่องจ่าฝูงเกิดไม่ทำงาน และฝูงบินกำลังฝ่าเข้าไปในบริเวณที่อากาศครึ้ม ทัศนวิสัยเลวมาก และการติดต่อทางวิทยุครั้งสุดท้าย นักบินแจ้งให้ทางภาคพื้นดินทราบว่า ตนพอมองเห็นหมู่เกาะหมู่หนึ่งอยู่ข้างใต้ที่อาจจะเป็นตอนปลายติ่งของรัฐฟลอริดา จากนั้นก็ขาดการติดต่อไปชั่วกัลปาวสาน เจ้าหน้าที่ยามฝั่งของสหรัฐฯกล่าวว่า แต่ละปีจะมีเรือที่แล่นผ่านสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาประมาณ 150,000 เที่ยว และจะมีสัญญาณขอความช่วยเหลือจากเรือ ขณะที่ผ่านบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดานี้ ราวๆปีละประมาณกว่า 10,000 รายด้วยกัน


    มีอีกหลายคนที่พยายามค้านตำนานลึก ลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เช่น ลอร์เรนซ์ ครูซ บรรณารักษ์ห้องสมุดมหา-วิทยาลัยอริโซนา สเตท อธิบายเรื่องเรือและเครื่อง บินที่หายสาบสูญไปในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์-มิวดานี้ว่า ในกรณีเรือลำหนึ่งชื่อ กลอเรีย คลาริต้า ซึ่งมีผู้กล่าวถึงว่า มีผู้พบเรือลำนี้ลอยเท้งเต้งปราศจากผู้คนแม้แต่คนเดียว อยู่บริเวณนอกชายฝั่งห่างเมืองโมไบล์ในเม็กซิโกไปทางใต้ประมาณ 200 กม. มองไม่เห็นเหตุผลว่าผู้คนทำไมต้องทิ้งเรือทั้งลำไปได้อย่างไร ทั้งๆที่เรือยังอยู่ในสภาพปกติเรียบร้อย และท้องทะเลก็สงบ
    ลอร์เรนซ์ ครูซ กล่าวว่า เมื่อเขาเอาเรื่องนี้ไปเทียบกับรายงานที่เกิดขึ้นจริงในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2483 ก็พบว่า ตอนนั้น บริเวณดังกล่าวเกิดพายุอย่างรุนแรง และมีรายงานข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ด้วยว่า เรือดังกล่าวหางเสือชำรุดไม่มีชิ้นดี พังงาเรือก็หักสะบั้น และน้ำท่วมเรือเต็มลำ ดังนั้น ที่จริงแล้วเรือลำนี้ถูกพายุกระหนํ่าอย่างแรง มิได้เกิดขึ้นจากสิ่งลึกลับมหัศจรรย์ใดๆทั้งสิ้น

    แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่งได้ลองตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกกรณีในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาดูเสียใหม่ และก็มีทัศนะที่แตกต่างจากการศึกษาของลอร์เรนซ์ ครูซ
    โดยระบุว่า เท่าที่มีการบันทึกกันมานั้น มีเรือที่หายไปเป็นประเภทเรือใช้ใบถึง 54 ลำ เรือที่ใช้เครื่องยนต์ 48 ลำ เครื่องบินทหาร 18 ลำ เครื่องบินเล็กๆ 5 ลำ เครื่องบินโดยสารพาณิชย์ 4 ลำ ซึ่งแต่ละรายล้วนมีสาเหตุที่แตกต่างกัน นอกเหนือจากที่ลอร์เรนซ์ ครูซ อ้างถึง
    สาเหตุของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ยังไม่มีใครอธิบายได้ แม้แต่ทฤษฎีแม่ เหล็กโลกที่บรรดานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า สร้างความปั่นป่วนในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา โดยก่อนที่เครื่องบิน หรือเรือเดินทะเลหายสาบสูญไป ในบริเวณนี้ มักจะมีอาการที่เข็มทิศประจำเครื่องหมุนจี๋ไปรอบๆตัว
    ตัวอย่างเช่น กรณีแรกเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.1452 เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และลูกเรือซานตา มาเรีย ซึ่งกำลังแล่นอยู่ทางตะวันออกของฝั่งไมอามีได้เห็นเปลวไฟแวบขึ้นทั่วท้องฟ้า หลังจากที่เข็มทิศในเรือใช้การไม่ได้ หรือในเดือนกันยายน ค.ศ.1527 ชาร์ลส์ ลินด์เบิร์ก นักบินชื่อเสียงโด่งดังของโลก ที่บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้สำเร็จเป็นคนแรก ก็สังเกตเห็นว่ามีกระแสแม่เหล็กรบกวนการบินของเขาขณะผ่านสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เล่นเอาเข็มทิศในเครื่องบิน “สปิริต ออฟ เซนต์หลุยส์” ของเขาใช้การไม่ได้ไปพักใหญ่
    ปีเดียวกันนั้น ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกราย โดยเครื่องบินสามเครื่องยนต์ลำหนึ่งบินเป๋ไปจากทิศทางเดิมถึง 50 องศา และเข็มทิศบอกทิศทางผิดพลาดจนกระทั่งเครื่องบินตกลงมาในที่สุด ถัดจากนั้นอีกหนึ่งปี นักบินนาวีของอเมริกันนายหนึ่ง คือฮิวสตัน จอห์นสัน ขับเครื่องบิน อยู่เหนือบาฮามา ขอบสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้สังเกตเห็นเข็มทิศประจำเครื่องหมุนจี๋รอบตัว แถมวิทยุติดต่อยังใช้การไม่ได้อย่างสิ้นเชิง
    ในเดือนพฤศจิกายน 2507 ชัค แบรดลีย์ นักบินอเมริกันอีกรายหนึ่งพบว่า มีแสงเรืองประหลาดฉาบไปทั่วเครื่องบินของเขา เข็มทิศและวิทยุประจำเครื่องก็ใช้การไม่ได้อีกเช่นกัน
    เดือนกรกฎาคม 2509 ดอน เฮนรี กัปตันเรือกู้ด นิวส์ มีอันต้องขึ้นไปบนดาดฟ้าเรือเพื่อหาเหตุว่า ทำไมเข็มทิศจึงใช้การไม่ได้ เมื่อเรือกำลังแล่นในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา แถมเครื่องยนต์ เรือก็เดินติดขัด และเรือที่ลากจูงตามมานั้น จู่ๆก็หายไปเฉยๆ เห็นแต่เชือกโยงเรือยังตึงอยู่ แล้วจึงค่อยปรากฏให้เห็นลำเรือทีละน้อยๆ ทั้งๆที่อากาศสดใสและทัศนียภาพดีมาก อุบัติภัยในสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา จึงเป็นที่หวาดหวั่นของผู้เดินทางอยู่จนกระทั่งบัดนี้

    เครติด:Thai_rath News   

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×