คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : มู...ทวีป แห่งมาดร
มูทวีปแห่งมาดร
James Churchward นายพันผู้สนใจปรัชญาตะวันออก ได้เดินทางไปพำนักที่อินเดีย โดยอาศัยอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งใกล้เมือง Rishi ด้วยความสนใจด้านตำนานโบราณ เชิร์ชวาร์ดได้สนิทสนมกับนักบวชผู้ใหญ่รูปหนึ่งอย่างรวดเร็ว ความใฝ่รู้ของเขาทำให้นักบวชเกิดความพอใจ และถ่ายทอดตำนานเร้นลับที่สาปสูญมานานนับพันปีเรื่องหนึ่งให้กับเขา ไม่เพียงแต่ตำนานครับ นักบวชท่านนั้นยังได้ถ่ายทอดภาษาโบราณที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นภาษาดั้งเดิมของมนุษยชาติให้กับเชิร์ชวาร์ด นายพันหนุ่มใหญ่รู้สึกทึ่งระคนกับอัศจรรย์ใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเรื่องราวที่เขาได้ศึกษามาหลังจากนั้น ยิ่งแกะรอยลึกเข้าไปเขาก็ยิ่งงงงัน เพราะเรื่องราวทั้งหลายทั้งปวงที่เขาเรียนรู้มา มันเพียงพอที่จะพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้เลยทีเดียว เจมส์ เชิร์ชวาร์ดตั้งปณิธานไว้กับตัวเองว่า เขาจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เพราะทั่วโลกยังทีดินอดนต่างๆอีกมากมายที่รอให้เขาบุกเบิก เพื่อศึกษาเข้าไปถึงแก่นลึกของอาณาจักรโบราณที่ล่มสลายไปแล้วเมื่อหลายหมื่นปีก่อน ทวีปแห่งมารดร... มู เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2411 ครับ
หลักฐานที่ค้นพบทั้งหลายแหล่นำมาสู่คำถามที่ว่า ทวีปแห่งมารดรหรือมูนี้ได้สูญหายไปในอดีตกาลหรือไม่ หรือว่าเป็นเพียงแค่ตำนานของคนรุ่นก่อนเท่านั้น หากมีจริง มู ตั้งอยู่ที่ไหน ควรจะมีลักษณะของภูมิศาสตร์หรืออารยธรรมเป็นเช่นไร?
ว่ากันว่าทวีปมู ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งประสบภัยพิบัติคล้ายกับแอตแลนติส และปัจจุบันคงเหลือเพียงหมู่เกาะเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปให้เราเห็นเท่านั้น เป็นเรื่องน่ากลัวเหมือนกันนะครับ เพราะในตำนาน มู เป็นดินแดนที่กว้างใหญ่มหาศาล แต่กลับหายไปจนแทบไม่เหลือร่องรอย ทั้งที่ตามหลักฐานที่เราพอจะมีอยู่ ตำนานของอาณาจักรนี้ บอกกับเราว่า ครั้งหนึ่ง ที่นี่เป็นจุดกำเนิดอารยธรรมของมนุษยชาติ มีอายมากกว่า 50,000 ปี ซึ่งแน่นอนว่า เก่าขนาดนี้ร่องรอยอะไรก็คงไม่เหลือแล้ว เราจะเอาอะไรไปศึกษา แล้วเรื่องนี้มันน่าเชื่อถือได้ไหม? อารยธรรมโบราณต่างๆสืบทอดมาจากมูใช่หรือไม่ และประการสำคัญ มูกับแอตแลนติส เป็นดินแดนเดียวกันหรือเปล่า เดี๋ยวเราจะค่อยๆมาค้นหาคำตอบกันครับ
มากล่าวถึงเชิร์ชวาร์ดกันต่อ จากการศึกษาทำให้นักโบราณคดีผู้นี้สนใจเรื่องของมูเป็นอย่างมาก เขาได้เดินทางสำรวจไปทั่วโลก โดยเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและหมู่เกาะในทะเลใต้ ซึ่งเชิร์ชวาร์ดเองเชื่อว่าเคยเป็นที่ตั้งของมูมาก่อน หลักฐานที่ทำให้เขาปักใจเรื่องของดินแดนโบราณนี้ อย่างแรกคือแผ่นจารึกที่เขาได้ทำการศึกษาในอินเดียครับ เราเรียกกันว่าจารึกนาอะคัล(Naacal) อย่างที่สองก็คือ เมื่อนำเอาเรื่องราวจากจารึกนี้ไปโยงใยกับอารยธรรมโบราณ ที่มีความเจริญแบบผิดยุคสมัยและมีที่มาที่ไปอันมืดมน(สำหรับนักโบราณคดีน่ะนะ) เช่น อียิปต์ แอซเท็ค อินคา จะพบว่า มันมีความสัมพันธ์กันอย่างน่าประหลาด ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีโบราณ หรือตำนานอันน่าทึ่งที่บังเอิญมาพ้องต้องกัน จนเราอาจจะยืนยันได้ว่า ทวีปซึ่งครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองเป็นศูนย์กลางของโลก เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมของมนุษยชาตินั้นมีอยู่จริง
แต่จะใช่อันเดียวกับแอตแลนติสไหม หลักฐานของใครหนักแน่นกว่า เพราะหลายคนก็มีแนวคิดที่ไม่เหมือนกัน ประการสำคัญ นักคิดนักเขียนพวกนี้ไม่มีใครยอมใครด้วย ก็ขอให้ใช้วิจารณญาณในการอ่านและเลือกที่จะเชื่อ (หรือรับฟังไว้ก่อน)ก็แล้วกันนะครับ
เมื่อกล่าวถึงอาณาจักรมูแล้วไม่กล่าวถึงคนๆนี้ก็ดูดหมือนจะขาดอะไรไปสักอย่างครับ บุคคลที่ว่าเป็นนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสชื่อ ชาร์ลส-เอเตียน บราสเซอร์ เดอ บอร์บอร์ก ซึ่งนับเป็นคนแรกเลยที่ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับทวีปมูขึ้นมา
เดอ บอร์บอร์ก เคยศึกษาอยู่ในอเมริกาครับ ระหว่าที่เขากำลังศึกษาเรื่องราวของชาวมายาอยู่นั้น (พ.ศ. 2407) เขาได้แปลเอกสารโบราณส่วนหนึ่งของชาวมายาออกมา โดยเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดที่รอดจากการเผาทำลายของชาวสเปนมาได้ ผลจากความพยายามของบอร์บอร์กทำใหอนุชนรุ่นหลังอย่างพวกเราได้ทราบว่า ครั้งหนึ่งเคยมีนครโบราณที่ต้องมีอันเป็นไป ด้วยการจมลงสู่ก้นมหาสมุทรเพราะการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟ เดอ บอร์บอร์กพบอักษรภาพคู่หนึ่งในเอกสารโบราณนั้น ซึ่งการออกเสียงของอักษรดังกล่าวตรงกับตัวเอ็มและตัวยูในภาษาอังกฤษ เขาจึงอนุมานว่า นครโบราณที่จมหายลงสู่ใต้น้ำนั้น น่าจะมีชื่อว่านครมูหรืออาณาจักรมูครับ
การค้นพบของเดอบอร์บอร์กสร้างความตื่นตัวให้วงการโบราณคดีอยูไม่น้อยครับ นักโบราณคดีหลายคนพยายามแกะรอยอาณาจักรดังกล่าวจากเอกสารต่างๆที่พอจะหาได้ ซึ่งผลงานที่ออกมาก็มีทั้งตั้งอกตั้งใจและแหกตา เนื่องมาจากมูลเหตุอยู่ที่เอกสารโบราณของชาวมายา ดังนั้นหลักฐานเพิ่มเติมที่ควรสนใจจึงน่าจะอยู่ที่แหล่งอารยธรรมของมายา ซึ่งก็โชคดีอีกนั่นแหละ ที่นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสอีกทีมได้ค้นพบหลักฐานน่าสนใจที่โยงใยถึงอาณาจักรมูอีกชิ้นหนึ่ง นักโบราณคดีชุดนี้นำทีมโดย ออกัสตัส เลอพอง กีออง ครับ
เลอพอง กีออง แถลงว่า สิ่งที่พวกเขาค้นพบคือหลักฐานที่ว่าด้วยตำนานของชาวมายาครับ กล่าวถึงนครโบราณที่มีนามว่า มู มีผู้ปกครองเป็นราชินีนามเหมือนชื่อนครนั่นคือ ราชินีมู(Moo) พระนางมีสวามีเป็นพี่น้องกันแต่ต่อมาได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยการแย่งอำนาจ จนนางต้องอภิเษกกับน้องชายอีกคนหนึ่ง กระทั่งเมื่อนครนี้ประสบภัยจากภูเขาไฟระเบิด ราชินีมู ได้พาผู้คนอพยพไปตั้งรกราก ณ ดินแดนแห่งใหม่ ซึ่งนักโบราณคดีกลุ่มนี้ตีความว่าน่าจะเป็นดินแดนอียิปต์ เพราะตำนานไปสอดพ้องต้องกันกับเรื่องราวของ เทวีไอซิส อย่างเหลือเชื่อ - - สวามีของไอซิสคือโอสิริสซึ่งสิ้นชีพไปเพราะการกระทำของเซธผู้เป็นน้องชาย สุดท้ายเซธก็ต้องมารบกับโฮรัสบุตรของโอสิริสซึ่งมาล้างแค้นแทนบิดา ส่งผลให้ทะเลทรายซาฮาร่ากลายสภาพจากป่าดงดิบเป็นทะเลทรายอันไพศาลไป รายละเอียดของเรื่องราวนับว่าคล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมล่ะครับ?
นักโบราณคดีชุดนี้เชื่อว่า ทวีปมูน่าจะตั้งอยู่ในอ่าวเม็กซิโก และอยู่ทางตะวันตกของทะเลแคริบเบียน โดยทวีปมูมีการแบ่งดินแดนในปกครองออกเป็นนครเล็กๆสิบแห่ง ซึ่งนับว่าคล้ายคลึงกับเรื่องแอตแลนติสของเพลโตเป็นที่สุด และที่สำคัญ ชาวมายากล่าวถึงมูว่า ทวีปนี้ได้จมหายสู่ก้นมหาสมทุรเมื่อราว 8 พันปีมาแล้ว อันเป็นระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันกับการล่มสลายของแอตแลนติสภายใต้สมมติฐานของนักโบราณคดีปัจจุบัน
หรือว่า... มูกับแอตแลนติสนั้นคือดินแดนเดียวกัน แต่ถูกเรียกต่างกันไปตามภาษาต่างๆ?
หลายคนว่ามันไม่น่าจะใช่ ลืมเจมส์ เชิร์ชวาร์ดไปแล้วหรือยังครับ นักโบราณคดีผู้แปลตัวอักษรที่มีการจารึกไว้บนศิลาโบราณในอินเดีย เชิร์ชวาร์ดได้พบเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับมู เขาบรรยายว่าดินแดนแห่งมูนั้นราวกับสวนสวรรค์บนโลกมนุษย์ก็มิปาน เป็นอาณาจักรใหญ่ที่มีประชากรอยู่มากถึง 64 ล้านคน เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ทำให้ดินแดนนี้ถึงแก่การล่มสลาย มีประชาชนเพียงส่วนน้อยที่อพยพหนีออกมากันได้ และต้องเริ่มต้นตั้งอารยธรรมมนุษย์กันใหม่หมด ดังนั้นพวกเขาจึงจารึกเรื่องราวทั้งหลาย เพื่อถ่ายทอดสู่อนุชนรุ่นหลังให้รับทราบ
... เอ ชักจะยังไงแล้วสิ เพราะเรื่องราวของทั้งสองดินแดนนี้ดูคล้ายคลึงกันมาก เรามาดูรายละเอียดกันต่อสักนิดดีไหมครับ ว่า "มู" คงหลงเหลือหลักฐานอะไรไว้ให้พวกเรารุ่นหลังได้ศึกษากันอีก
ที่มาของคำว่า เลมูเรีย
ปัจจุบัน ทฤษฎีของ ชาร์ลส ดาร์วิน ที่ว่าด้วยเรื่องวิวัฒนาการก็ยังถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะกรณีศึกษาของเขาที่เกาะกาลาปากอสนั้น สามารถอธิบายถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์และผลพวงของการวิวัฒนาการได้เป็นอย่างดี เพราะการศึกษาของดาร์วิน จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดพืชแบบนี้จึงมีถิ่นฐานอยู่ในภูมิภาคนี้ สัตว์จำพวกไหนควรอยู่ที่ภูมิภาคใดได้บ้าง แต่ยังมีสัตว์อีกชนิดหนึ่งครับ ซึ่งสร้างความสับสนงงงันให้แก่วงการวิทยาศาสตร์มาก เป็นสัตว์ที่เรียกกันว่า ลิงเลมูร์ (Lemur) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายลิงแต่เล็กกว่า
นักวิชาการพบว่า ลิงเลมูร์นี้อาศัยอยู่เป้นจำนวนมากบนเกาะมาดากัสก้า ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้ของทวีปแอฟริกา และมีอยู่อีกจึ๋งนึงที่ปรากฏกระจัดกระจายอยู่ในประเทศอินเดียและมาเลเซีย จุดนี้เองทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่า ในอดีตน่าจะมีเกาะแห่งหนึ่งตั้งอยู่ และน่าจะเป็นเกาะที่เชื่อมดินแดนทั้งสองแห่งนี้เข้าด้วยกัน ฟิลลิปป์ สคาเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกครับ ที่ตั้งสมมติฐานว่า น่าจะมีเกาะขนาดใหญ่ซักแห่งเคยตั้งอยู่นอกชายฝั่งทะเลของแอฟริกา และได้จมหายไปเนื่องจากสาเหตุบางประการ เขาศึกษาสภาพภูมิศาสตร์และการกระจายตัวของลิงเลมูร์ ในที่สุด เขาได้ให้ชื่อเกาะที่ไม่มีอยู่เสียแล้วในปัจจุบันว่า เลมูเรีย ตามชื่อของลิงเลมูร์ที่ถูกค้นพบในบริเวณนั้นนั่นเอง...
ลิงเลมูร์ไม่ใช่สัตว์ชั้นสูงที่ชาญฉลาดนัก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ต้องกุมขมับปวดหัวกับลักษณะการกระจายตัวของมัน นั่นหมายความว่าไงงั้นหรือครับ ก็หมายความว่าลิงพวกนี้สามารถข้ามมหาสมุทรและขยายเผ่าพันธุ์ออกไปในดินแดนที่อยู่ห่างไกลกันปานนั้นได้น่ะสิ นักชีววิทยาจำนวนหนึ่งจึงพากันตั้งข้อสันนิษฐานว่า ดินแดนที่เคยเป็นต้นกำเนิดของตัวเลมูร์พวกนี้ ครั้งหนึ่งน่าจะเป็นดินแดนที่ติดกับทวีปใหญ่ จึงทำให้เลมูร์สามารถเดินทางขยายเผ่าพันธุ์ออกมาได้ไกลถึงขนาดนั้น เมื่อโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ทวีปต่างๆค่อยเคลื่อนออกจากกัน จึงทำให้เราพบตัวเลมูร์พวกนี้อยู่ในบางส่วนของทวีปอื่นๆด้วย
ถ้าเคยมีดินแดนดังกล่าว - - ที่เรียกว่าเลมูเรียอยู่จริง ถ้าอย่างนั้นจะเป็นไปได้ไหมที่ดินแดนดังกล่าว เคยเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีมนุษย์อาศัยอยู่?
ไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้หรอกครับ เนื่องมาจากดินแดนดังกล่าวน่าจะจมหายลงสู่ก้นมหาสมุทรหลายหมื่นปีมาแล้ว แต่ถ้ามันเคยมีอยู่จริง เลมูเรีย ก็นับเป็นดินแดนแรกที่เป็นต้นกำเนิดอารยธรรมของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา ไฮริช ฮัคเกิล นักวิชาการชาวเยอรมันผู้ปักอกปักใจเกี่ยวกับการศึกษาค้นหาเลมูเรียได้กล่าวไว้ว่า หลักฐานหลายประการบ่งชี้ว่า ดินแดนนี้น่าจะเคยมีอยู่จริง มันคั่นกลางระหว่าง เอเชีย แอฟริกา และ อเมริกา โดยทอดเป็นแนวยาวขนานไปกับฝั่งทะเลแอฟริกา (แต่ผมเปิดแผนที่โลกดูแล้วไม่ get กะแกเหมือนกันนะครับ ว่ามันควรจะตั้งอยู่ที่ไหน) ฮัคเกิล เรียกเลมูเรียว่า สรวงสวรรค์ (Paradise) เพราะเขาเชื่อมั่นเอามากๆว่านั่นคือต้นกำเนิดแห่งอารยธรรมทั้งปวงของมนุษยชาติ เหมือนกับที่หลายๆคนเรียกเลมูเรียหรือมูว่า ทวีปแห่งมารดร เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมมนุษย์นั่นเอง
ร่องรอยบนเกาะอีสเตอร์
ในเย็นวันหนึ่งของเทศกาลอีสเตอร์ (พ.ศ. 2265) หนึ่งในกองเรือของดัทช์ได้ค้นพบเกาะเล็กๆแห่งหนึ่งที่อยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค พวกเขาอ้างการค้นพบนี้ให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งการครอบครองเกาะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ผู้บังคับการกองเรือ ยาคอบ ร็อกเกเวเอน และลูกเรือของเขาเดินทางมาถึงเกาะนี้ในตอนเช้ามืด เป้าหมายของชาวดัทช์เหล่านี้คือการออกหาสัตว์และแหล่งน้ำจืดเพื่อเป็นเสบียง รวมทั้งร่องรอยของชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้ (ถ้ายังมีอยู่) ในระหว่างที่ทอดสมอรอจะขึ้นฝั่งนั้น ลูกเรือชาวดัทช์เห็นกองไฟปรากฏเป็นกลุ่มๆบริเวณชายฝั่งของเกาะ ทำให้มั่นใจได้ว่า เกาะนี้ต้องมีผู้คนอาสัยอยู่อย่างแน่นอน
ครั้นเมื่อถึงยามอรุโณทัย ลูกเรือชาวดัทช์ต้องประหลาดใจเป็นอย่างมากกับภาพที่พวกเขาได้เห็น เพราะตลอดความยาวของชายฝั่ง ผู้คนผิวสีต่างๆกันกำลังทำพิธีสักการะและบวงสรวงรูปสลักหินขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า
ร็อกเกเวเอนตั้งชื่อเกาะนี้ตามภาษาดัทช์ว่า พาชช์ อีลันด์ (Paasch Ey land) หรือในภาษาอังกฤษว่า Easter เนื่องจากค้นพบเกาะแห่งนี้ในวันอีสเตอร์นั่นเอง พวกดัทช์ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงในการสำรวจเกาะเล็กๆแห่งนี้ โดยเฉพาะประติมากรรมรูปหัวคนขนาดใหญ่ ร็อกเกเวเอนสรุปในปูมเรือของเขาว่า ประติมากรรมเหล่านี้สูงต่ำต่างกัน แต่ลักษณะโดยรวมเหมือนกันมาก จากการสำรวจเศษหินบริเวณนั้น เขาคิดว่ามันน่าจะถูกสร้างขึ้นจากดินเหนียวผสมดินธรรมดาและก้อนกรวด โดยหารู้ไม่ว่าประติมากรรมหัวคนเหล่านั้น (ที่ภายหลังเรารู้จักกันในนามของโมอาย) ทำมาจากหินสุดแข็งชนิดหนึ่ง และเกาะนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งศึกษาทางอารยธรรมของมนุษย์อีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งยังมีการถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบในภายหลัง
แม้ในปัจจุบัน ปริศนาต่างๆบนเกาะอีสเตอร์ก็ยังไม่มีผู้ใดคลี่คลายออกมาได้หมด เรามาดูกันไหมครับว่า เกาะเล็กๆแห่งนี้ ที่ใครๆเชื่อกันว่า มันคือกุยแจอีกดอกที่จะไขสู่ความลับของอารยธรรมโบราณที่ล่มสลายไปแล้วนั้น มันมีอะไรน่าสนใจบ้าง
ในปี พ.ศ. 2313 ฟิลิเป้ กอนซาเลส นักสำรวจชาวสเปนได้ดั้นด้นไปถึงเกาะอีสเตอร์เพื่อพิสูจน์คำร่ำลือเกี่ยวกับเกาะแห่งนี้ ฟิลิเป้เดินท่อมๆสำรวจตรงนู้นทีตรงนี้ที และฉงนฉงายอย่างมากกับรูปปั้นขนาดใหญ่เหล่านั้น ซึ่งนักสำรวจรุ่นก่อนๆบอกว่ามันถูกทำมาจากดินปั้น
ฟิลิเป้ กอนซาเลส ลงทุนเอาพลั่วทุบรูปปั้นเหล่านั้นและพบว่ามันแข็งแถมมีสะเก็ดไฟแลบเสียด้วย หมายความว่าอะไรหรือครับ ก็หมายความว่า รูปปั้นโมอายเหล่านี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากดินเหนียวอย่างที่คิดกันไว้แต่แรกน่ะสิครับ มันถูกสร้างขึ้นจากหินแข็งแท้ๆ ถ้ามันเป็นดินเหนียวปั้นป่านนี้ก็ไม่มีใครสนใจมันแล้วล่ะครับ แต่ในเมื่อสร้างจากหินแท่งมหึมาขนาดนี้ มันก็เกิคำถามขึ้นแล้วล่ะครับว่า ชาวพื้นเมืองไปเรียนวิธีสกัดหินเหล่านี้จากไหน ใช้เครื่องมืออะไรสกัดและขนย้าย ประการสำคัญที่สุด พวกเขาเอาหินพวกนี้มาจากไหน นั่นเป็นคำถามที่แม้ปัจจุบันก็ยังถกเถียงกันไม่จบเลยครับผม
ดูขนาดของโมอายแต่ละตัวและน้ำหนักของมันสิครับ ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือแบบยังชีพของชาวเกาะ มันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะสกัดรูปออกมาให้ได้ในลักษณะดังกล่าว ไหนจะลากมาตั้งไว้ริมหาดและรั้งรูปเหล่านั้นให้ตั้งตรงได้อีก ดูแล้วออกจะเหลือเชื่อมากๆครับ...
ในระยะต่อมามีนักสำรวจชาวยุโรปเดินทางมาที่เกาะอีสเตอร์เรื่อยๆ แม้จะพยายามขบกันจนหัวแตก แต่ก็ได้เรื่องราวออกมาน้อยเต็มที กระทั่งชั่วระยะเวลาหนึ่งผ่านไป ปริศนาชิ้นใหม่ๆก็เกิดขึ้นมาอีกพอกับการสะสมศิลาใน Dragon Quest VII ปริศนาดังกล่าวคือไม้กระดานที่ใช้ปักหลุมศพของชาวพื้นเมือง ซึ่งเรารู้จักกันในปัจจุบันว่า รองโกรองโก้ (RongoRongo) เป็นอักษรภาพที่แม้ปัจจุบันก็ไม่มีใครอ่านออก ชาวพื้นเมืองปัจจุบันเองก็ให้ข้อมูลได้แค่มนอยู่อย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แม้นักโบราณคดีในปัจจุบันจะพอแะอักษรนี้ได้บางส่วน แต่ก็ยังมืดมนนักหากต้องการจะอ่านอักษรภาพเหล่านี้ได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
จารึกรองโกรองโก้มาจากไหน ใครเป็นผู้จัดทำมันขึ้นมา และมันบันทึกเรื่องราวอะไรเอาไว้บ้าง เรื่องนี้ยังคงติดค้างอยู่ในใจของนักโบราณคดีมานานกว่า 200 ปี นับจากครั้งแรกที่มีการค้นพบ เอาล่ะครับ ตีไม่แตกก็ช่างมันก่อน เราลองมาสำรวจดูสภาพรอบๆเกาะกันดีกว่าครับ เผื่อจะพบร่องรอยอะไรที่น่าสนใจบ้าง
เกาะเล็กๆแห่งนี้มีภูเขาไฟอยู่สามลูกด้วยกันครับ เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า ราโน รากากู(Rano Rakaku) ราโน กาโอ(Rano Kao) และ ราโน อาโรย(Rano Aroi) ตัวเกาะมีความยาว 21 กิลเมตรและกว้างเพียง 11 กิโลเมตรเท่านั้น มันเป็นเกาะที่ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวกลางมหาสมุทรแปซิฟิค เกาะที่ใกล้ที่สุดกับอีสเตอร์ชื่อปิตการินก็อยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันตกประมาณพันกิโลเมตร นอกนั้นก็มีแต่ทะเลกับทะเลรายรอบ อะไรกันครับ ที่ดลใจให้บรรพบุรุษแห่งเกาะอีสเตอร์มาตั้งรกรากบนเกาะที่แร้นแค้นและโดดเดี่ยวเช่นนี้?
สภาพภูมิศาสตร์บนเกาะนั้นเล่าก็ประหลาดนัก นักสำรวจพบว่าบนเกาะไม่มีแหล่งน้ำจืดเลยครับ พวกต้นน้ำลำธารไม่มีเลย แถมลมทะเลยังหอบเอาความเค็มและเกลือจากมหาสมุทรมาเป็นระลอกๆ ทำให้ต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่และพืชผลไม่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นป่าอย่างเต็มที่ เมื่อไม่มีป่าก็ไม่มีสัตว์ให้ล่ากันล่ะครับทีนี้ การอยู่กินของชาวเกาะจึงนับได้ว่าแร้นแค้นยิ่ง
เดาได้เลยว่า บรรพบุรุษของชาวเกาะที่มาตั้งรกรากในตอนแรกๆคงเลือดตากระเด็นกันไปเป็นแถบๆ แต่ก็ดูเหมือนว่าพวกเขาจะมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น มีการพัฒนาภาษาเขียนเป็นของตัวเอง รู้จักสร้างถนนและวิศวกรรมโยธาอย่างง่าย มีการตั้งสถานบวงสรวงสำหรับสังเกตดวงอาทิตย์ และที่สำคัญ พวกเขาสร้างโมอายขนาดยักษ์เหล่านี้ขึ้นมาถึง 600 กว่าตัว มันน่าประหลาดไหมล่ะ?
ประติมากรรมเหล่านี้จะถูกนำมาวางเรียงรายยาวไปตามชายฝั่ง ส่วนที่เหลือเป็นจำนวนมากถูกนำไปตั้งเพื่อบอกความยาวและตำแหน่งของถนน งานประติมากรรมชิ้นที่ใหญ่ที่สุดนั้นสูงกว่า 10 เมตรและหนักถึง 80 ตัน รวมหมวกครอบหัวเข้าไปด้วยก็บวกเข้าไปอีกเถอะครับ 12 ตัน หรือหมื่นสองพันกิโลกรัม รูปที่เหลือก็ขนาดย่อมลงมาแต่ก็ใหญ่อยู่ดี
สิ่งที่ทำให้นักโบราณคดีท้อแท้ที่สุดก็คือชาวพื้นเมืองบเกาะนั่นแหละครับ พวกเขาไม่รู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับโมอายเล่านั้นเอาเสียเลย ดูเหมือนว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นพวกที่เพิ่งอพยพมาตั้งรกรากได้ไม่นานด้วยซ้ำ พวกเขาไม่สนใจใยดีโมอายเหล่านั้นเหมือนกับว่าต่างคนก็ต่างอยู่ ผู้เฒ่าผู้แก่ของชาวพื้นเมืองเคยให้ข้อมูลกับนักโบราณคดีว่า บรรพบุรุษของพวกเขาเคยเล่าว่าหินพวกนี้มันเดินขึ้นมาจากทะเลครับ แหม... พอๆกับที่ชาวเขมรแถบนครวัดเล่าให้นักสำรวจฟังว่า นครวัดนครธมมันงอกขึ้นมาจากดิน บรรพบุรุษของชาวเขมรไม่ได้สร้างเอาไว้ ก็ประมาณว่ามันใหญ้โตอลังการเสียจนไม่มีชาวบ้านคนเชื่อแหละครับว่าเกิดจากฝีมือของมนุษย์
นักคิดนักเขียนหลายคนเชื่อกันว่า อีสเตอร์ คือร่องรอยที่เหลืออยู่ของทวีปบางทวีปที่สูญหายไปแล้ว เนื่องมาจากอารยธรรมอันแปลกประหลาดของมัน รวมทั้งตำนานของมนุษย์ปักษีหรือมนุษย์นกที่เล่าขานกันในกลุ่มชนพื้นเมือง ยิ่งทำให้นักคิดนักเขียนหลายคนตีความไปถึงมนุษย์อวกาศโน่นเลยครับ เอาเป็นว่าเดี๋ยวผมค่อยจะย้อนมาเล่าถึงรายละเอียดส่วนนี้กันในภายหลัง สำหรับตอนนี้เราไปดูหลักฐานอื่นๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับทวีปมูเพิ่มเติมกันก่อนดีกว่านะครับ
ความคิดเห็น