เทพเจ้าเมโสโปเตเมีย - เทพเจ้าเมโสโปเตเมีย นิยาย เทพเจ้าเมโสโปเตเมีย : Dek-D.com - Writer

    เทพเจ้าเมโสโปเตเมีย

    วันนี้ก็เอาเรื่องแบบเทพๆมาฝากอีกนะชาวแพน แพน

    ผู้เข้าชมรวม

    2,202

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    2.2K

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 พ.ย. 50 / 19:46 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เมโสโปเตเมียนั้นแปลได้ว่า"ดินแดนแห่งแม่น้ำทั้ง2"

      เพราะว่าในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่าเอเซียไมเนอร์นั้น

      มีแม่น้ำสายสำคัญ2สายคือไทกริล(tigris)และยุเฟรติส

      (Euphrates)หรือยูเฟรเตสไหลลงมาจากต้นน้ำทาง

      เหนือไทกริสนั้นไหลอยู่ทางตะวันออกส่วนยูเฟรติส

      ไหลลงมาทางตะวันตกแล้วคู่ขนานระเรื่อยกันลงมาจน

      ลงสู่อ่าวเปอร์เซียดินแดนตลอดลุ่มแม่น้ำทั้ง2นี่ละครับ

      คือดินแดนที่รวมแล้วเรียกว่าเมโสโปเตเมียที่ปัจจุบัน

      คือประเทศอิรักนั่นเองดินแดนดังกล่าวมีชนชาติต่างๆ

      ตั้งถิ่นฐานเจริญรุ่งเรืองจนถึงเป็นอาณาจักรอันเกริก

      ไกรแล้วก็ล่มสลายเปลี่ยนมาเป็นอาณาจักรต่างๆ

      ซ้อนกันอยู่เริ่มด้วยสมัยก่อนสุเมเรียน

      (Pre-Sumerian)

      ที่อยู่ในระยะ5,000-3,500ปีก่อนคริสตกาล

      ซึ่งในระยะนี้มีวัฒนธรรมต่าง ๆ

      ตั้งแต่จาร์โมที่สร้างบ้านเรือนอย

      ู่ด้วยต้นอ้อและโคลนง่าย ๆ

      ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ต่อมาในราว 4,500 ปี

      ก่อนค.ศ.ก็เปลี่ยนไปเป็นวัฒนธรรมฮัสสุนา

      (Hassuna)แล้วจึงถึงวัฒนธรรมซามาร์ร่า

      (Samarra) ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาเมื่อราว

      4,200ปีก่อนค.ศ.ในตอนนี้เองครับที่ปรากฏ

      ชื่อเมืองเป็นครั้งแรกในยุคนี้คือเมืองอีริดุ

      (Eridu) และปรากฏว่าได้ขุดพบซากของ

      โบสถ์ทางตอนเหนือของเทป กอว์รา (Tep

      Gawra) ที่มีกำแพงซึ่งใช้ไม้ค้ำยันเอาไว้

      อันเป็นแบบหนึ่งที่สร้างโบสถ์บูชาเทพเจ้า

      ในดินแดนนี้ในเวลาต่อมาและจากนามอารย

      ธรรมซามาร์ร่านี้เองครับอาณาจักรสุเมอร์

      จึงเกิดขึ้น แต่ในบางเอกสารที่โยนเอา

      เรื่องราวของอารยธรรมซามาร์ร่าทิ้งไปโดย

      ไม่กล่าวไว้และให้เมืองอีริดุมาอยู่ในสมัย

      หลังกว่า คือ สมัยฮาลาฟ (Halaf) หรือ

      ฮาลาเฟี่ยน (Halafian) ที่มีอายุราว

      4,000 ปี ก่อน ค.ศ

      และกล่าวว่าค้นพบสถูป (Shrines)แล้วนำเอาไปต่อกับวัฒนธรรมฮัสสุนาซึ่ง

      ผมจะเชื่อเอกสารแรกมากกว่าครับ การค้นพบโบสถ์นี้เองเป็นสิ่งที่กำหนดได้ว่า

      เรื่องราวของการบูชาเทพเจ้าในดินแดนเมโสโปเตเมียได้เกิดขึ้นแล้วและ

      ดินแดนแห่งนี้ได้ก้าวเข้าไปสู่ยุคสุเมเรียนโบสถ์หรือวิหารในเมืองอีริดุสมัยนั้น

      เป็นศิลปะการก่อสร้างที่ทำเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป และอาจมีที่บูชาอยู่ตอนบนเรียกว่า

      "ซิกกูรัต (Ziggurat)" ซึ่งในสมัยแรกยังมี ขนาดไม่ใหญ่โตนักยังมีซากปรากฏ

      ให้เห็นอยู่ หลายแห่งที่มีบันไดทางขึ้นไปสู่ตอนบนเหลืออยู่และในขณะนั้นก็เริ่ม

      มีการทำกระเบื้อง โมเสคสีต่าง ๆ ที่ออกแบบได้สวยงามใช้ประดับโบสถ์นั้น ๆ

      และก็เริ่มมีการวาดภาพสีเกิดขึ้นแล้ว จากนั้นอาณาจักรสุเมเรียนก็ยิ่งใหญ่

      เริ่มมีราชวงศ์ปกครองดินแดนสุเมอร์ ที่อยู่ทางตอนใต้ของดินแดน เมโสโปเตเมีย

      โดยมีเมืองอูรุค (Uruk) หรืออีเร็ค (Erech) ซึ่งยังมีซากปรากฏอยู่ทางตอนเหนือ

      ของนครเออร์ (Ur) ที่ยังไม่ถือกำเนิดเกิด ขึ้นในขณะนั้นอยู่คนละฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส

      ห่างขึ้นไปราว 100 กม. ครับถ้าเปรียบเทียบกับอียิปต์จะเห็นได้ชัดว่าทางดินแดน

      เมโสโปเตเมียก้าวหน้าไปก่อน มากทีเดียวครับผม เพราะเมื่อพระเจ้านาร์เมอร์

      (Na'r Mer) ของอียิปต์ เริ่มตั้งราชวงศ์เมื่อปีที่ 3000 ก่อน ค.ศ.ดินแดนเมโสโปเตเมีย

      ก็มีกษัตริย์มาถึงสมัยกษัตริย์อูรุคหรืออูรัค องค์ที่ 4 แล้วที่กล่าวมาดังนี้เพื่อให้ทราบ

      ถึงความเป็นมาก่อนที่เล่าถึงเทพเจ้า เพราะในระยะนี้เองเมื่อถึงปีที่ 2400 ก่อน ค.ศ.

      ราชวงศ์ที่ 3ของพวกสุเมอร์ก็สิ้นสุดลง ทางตอนเหนือของดินแดนสุเมอร์นั้นมีอาณาจักร

      ใหญ่ อีกอาณาจักรหนึ่ง คือ อาณาจักรอัคคัต (Akkad) หรือ Agade หรือ อัคคาเดี่ยน

      (Akkadian) ที่เริ่มมีอานุภาพตั้งแต่ปีที่ 2371 ก่อน ค.ศ. โดยมีกษัตริย์ที่เข้มแข็งคือ

      พระเจ้าชาร์รัม - กิน (charrum - kin) ที่รู้จักกันดีในชื่อ พระเจ้าสาร์กอน

      (sargon 2371 - 2316) ปราบปรามแผ่อำนาจไปทั่ว และมีกษัตริย์ปกครองต่อ ๆ กันมา

      พวกสุเมอร์ก็หมดอำนาจและสูญไปชั่วขณะดินแดนเมโสโปเตเมียถูกพวกอัคคัดครอบ

      ครองอยู่จนถึงปีที่ 2230 ก็หมดอำนาจลง เพราะพวกกูเชียนยังไงก็ยังไม่หมดนะครับ

      ไว้ผมจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง ขอขอบคุณที่อ่านบทความ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×