คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #13 : 5 สกนธ์ sastra
มหายานปัญจขันธศาสตร์
จากหนังสารัตถธรรมมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย แห่งประเทศไทย วัดโพธิ์แมนคุณาราม
รจนาโดย พระสถิรมติ พระอาจารย์องค์สำคัญองค์หนึ่งของนิกายโยคาจารย์ ท่านเป็น
ศิษย์ของ พระวสุพันธุ นิกายโยคาจารย์หรือวิชญาณวาท ปรัชญาโยคาจารย์ต้นคิดคือ พระไมตรีนาถ แต่ผู้สานต่อแนวคิดและดำเนินการก่อตั้งนิกายโยคาจารย์ คือศิษย์ของท่าน พระอสังคะ (พ.ศ.853-933) ท่านบวชตั้งแต่เป็นเณรในนิกายสรวาสติวาทของเถรวาท และต่อมาได้กราบพระไมตรีนาถ คณาจารย์ของมหายานเป็นพระอาจารย์และได้เปลี่ยนมาเป็นมหายาน แรกเริ่มงานสถาปนาแนวคิดโยคาจารย์มิได้ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ท่านอสังคะ จึงได้ไปชักชวนให้ พระน้องชาย พระวสุพันธุ(859-939) ซึ่งบวชอยู่ในนิกายสรวสติวาส ให้หันมาเข้าสู่มหายานและร่วมกันเผยแพร่หลักปรัชญาโยคาจารย์จนแพร่หลายเป็นนิกายใหญ่หนึ่งในสี่นิกายหลักของอินเดียในยุคนั้น
แปลจีน พระทิวากร แห่งราชวงศ์ถัง
แปลไทย เสถียร โพธินันทะ
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนานัยแห่งปัญจขันธ์ มีรูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์
รูปขันธ์นั้นเป็นไฉน? คือมหาภูตรูป 4 และอุปาทายรูปอันอาศัยมหาภูตรูปเกิดนั้น
มหาภูตรูปทั้ง 4 นั้นเป็นไฉน? คือปฐวีธาตุ 1, อาโปธาตุ 1, เตโชธาตุ 1, วาโยธาตุ 1, นั้นคืออย่างไร? คือ ปฐวีธาตุมีความแค่นเข็งเป็นสภาวะ, อาโปธาตุมีความชุ่มไหลเป็นสภาวะ, เตโชธาตุมีความร้อนอุ่นเป็นสภาวะ, วาโยธาตุมีความหวั่นไหวเป็นสภาวะ
อุปทายรูปอันอาศัยเกิดแต่มหาภูตรูปนั้นเป็นไฉน? คือ จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานิน-ทรีย์, ชิวหินทรีย์, กายินทรีย์, รูปะ, สัททะ, คันธะ, รสะ, โผฎฐัพพะส่วนหนึ่ง, อวิญญัติรูป เหล่านี้เป็นต้น
จักขุทรีย์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่ควรแก่รูปารมณ์มีความใสของประสาทเป็นสภาวะ
โสตินทรีย์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่ควรแก่สัททารมณ์มีความใสของประสาทเป็นสภาวะ
มานินทรีย์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่ควรแก่คันธารมณ์มีความใสของประสาทเป็นสภาวะ
ชิวหินทรีย์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่ควรแก่รสารมณ์มีความใสของประสาทเป็นสภาวะ
กายินทรีย์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่ควรแก่โพฎฐัพพารมณ์มีความใสของประสาทเป็นสภาวะ
รูปารมณ์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่เป็นอารมณ์แห่งจักขุ มีวรรณะรูป สัณฐาน รูปและวิญญัติรูป เป็นต้น
สัททารมณ์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่เป็นอารมณ์แห่งโสตะ มีอุปาทินกมหาภูตสัททะ1, อนุปาทินกมหาภูตสัททะ1 และอุปาทินกานุปาทินกสหชาติมหาภูติสัททะ1
(อุปาทินกมหาภูติสัททะ เช่น เสียงพูดจาก, เสียงตบมือดังๆหรือเสียงต่างๆซึ่งเกิดจากสิงที่มีชีวิต อนุปทินกมหาภูติสัททะ เช่น เสียงลมพัด เสียงคลื่นทะเละเบาๆ เสียงต่างๆซึ่งเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต อุปทินกานุปาทินกมหาภูติสัททะ ได้แก่ เสียง,ซึ่งด้วยสิ่งมีชีวิตและไร้ชีวิตร่วมกัน เช่น เสียงตีกลอง เป็นต้น ผู้แปล)
คันธารมณ์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่เป็นอารมณ์แห่งแห่งฆานะ มีสุคันธะ,ทุคันธะ,อสุคันธาทุคคันธะ
รสารมณ์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่เป็นอารมณ์แห่งชิวหา มีรสหวาน รสเปรี้ยว รสเค็ม รสเผ็ด รสขม รสจืด
โผฏฐัพพารมณ์ส่วนหนึ่งนั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่เป็นอารมณ์แห่งกาย ยนเว้นมหาภูตเสีย ได้แก่ สภาพอ่อนลื่นสลวย, สภาพหยาบกระด้าง, สภาพที่หนัก, สภาพที่เบา,ความเย็น, ความหิว, ความกระหาย เป็นต้น
อวิญญัติเป็นต้นนั้นเป็นไฉน? คือ สภาพ(ที่ทำให้เกิด) มีวิญญัติกรรมและรูปอันเกิดจากสมาธิ รูปอย่างนี้เป็นอนิทัสสนะเห็นก็ไม่ได้ อัปปฏิฆะกระทบก็ไม่ได้
เวทนาขันธ์นั้นเป็นไฉน? คือเวทนา 3 ประการ มีสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนานั้น อธิบายว่าสภาพใดที่ดับไปแล้ว จิตก็ยังพอใจจักเสพซึ่งอารมณ์นั้นอีก ทุกขเวทนานั้นอธิบายว่า สภาพใดที่เกิดขึ้นแล้ว จิตมีความปรารถนาจักหลีกให้พ้นจากอารมณ์นั้น ส่วนอทุกขมสุขนั้นอธิบายว่าสภาพใดที่เกิดขึ้นแล้วจิตปราศจากความปรารถนาทั้ง 2 ปาะการ คือไม่มีความปรารถนาจักเสพอีก หรือปรารถนาจักหลีกให้พ้นไปเสีย
สัญญาขันธ์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพอันเป็นอธิบดีหมายจำในสัพพารมณ์ทั้งปวง
สังขารขันธ์นั้นเป็นไฉน? คือ ยกเวทนาขันธ์,สัญญาขั้นธ์ออกเสีย ที่เหลือได้แก่เจตสิกทั้งหมด กับทั้งจิตตวิปยุตธรรมทั้งมหด
เจตสิกธรรมที่เหลือนั้นเป็นไฉน? คือจิตตสัมปยุตตสังขารธรรมนั่นเอง
มี ผัสสะ,มนสิการ, เจตนา, ฉันทะ, อธิโมกข์, สติ, เอกัคคตา,มติ, ศรัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, อโลภะ, อโทษะ, อโมหะ, วิริยะ, ปัสสัทธิ, อัปปาทะ, ตัตรมัชฌัตา, อหิงสา,โลภะ,โทษะ,มานะ, อวิชชา, ทิฏฐิ, วิจกิจฉา, โกรธะ, อุปนาหะ, มักขะ, ปลาสะ,ออัสสา, มัจฉริยะ, สาเถยยะ, มายา, มทะ, วิหิงสา, อหิริ, อโนตตัปปะ, ถีนะ, อุทธัจจะ,อัสสัทธิยะ, โกสัชชะ, ปมาทะ, มุฏฐสัจจะ, วิกเขปะ, อสัมปชานะ, กุกกุจจะ, มิทธะ, วิตก, วิจาร, เหล่านี้ชื่อว่า เจตสิกธรรม
(ในเจตสิกเหล่านั้น) มี 5 ดวงเป็นสัพพจิตตสาธารณ์, 5ดวงเป็นปกิณกเจตสิก, 11 ดวงเป็นโสภณเจตสิก, 6 ดวงเป็นกิเลสเจตสิก, ที่เหลือเป็นอุปกิเลสเจตสิก, และอีก 4 ดวงเป็นอนิยตเจตสิก
ผัสสะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งมีการประชุมพร้อมด้วยวัตถุ อารมณ์, วิญญาณ, ทั้ง 3 เกิดความรู้ขึ้นเป็นสภาวะ
มนสิการนั้นเป็นไฉน? คือ สภาพซึ่งทำความรู้เอาใจใส่ให้เกิดแก่จิต
เจตนานั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งยังจิตให้เป็นไปในกุศลบ้าง ,อกุศลบ้าง,อัพยากตบ้าง, มีความปรุงแต่งจิตให้เป็นมโนกรรมเป็นสภาวะ
ฉันทะนั่นเป็นไฉน? คือสภาพให้เกิดความพอใจในอารมณ์ มีความหวังต้องการเป็นสภาวะ
อธิโมกข์เป็นไฉน? คือสภาพซึ่งตัดสินอารมณ์ตามที่รับรู้มา มีความเด็ดขาดเป็นสภาวะ
สตินั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งยังจิตให้ระลึกได้ในอารมณ์เนืองๆ มีความจำได้แม่นยำเป็นสภาวะ
เอกัคคตานั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเพ่งในอารมณ์ มีจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียวเป็นสภาวะ (ตามตัวจีนแปลว่าสมาธิซึ่งมีความหมายอย่างเดียวกับ (เอกัคคตา)
มตินั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่คัดเลือกในอารมณ์เป็นสภาวะ เป็นไปโดยโยนิโสบ้าง อโยนิโสบ้าง หรือไม่เป็นไปโดย 2 ประการดังกล่าวนั้นบ้าง
ศรัทธานั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่ยังจิตให้เกิดความเลื่อมใสเชื่อถืออย่างถูกต้องในเรื่องกรรม, วิบากแห่งกรรม, ในอริยสัจ, ในพระรัตนตรัย เป็นต้น มีจิตผ่องแผ้วเป็นสภาวะ
หิรินั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งมี (ความเคารพรัก) ตนเองเป็นอธิบดี (เคารพรักใน) ธรรมเป็นอธิบดีมีความละอายต่อการทำบาปเป็นสภาวะ
โอตตัปปะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งมี(ความเคารพเกรง) ผู้อื่นเป็นอธิบดีมีความละอายต่อการทำบาปเป็นสภาวะ
อโลภะนั้นเป็นไฉน? คือ สภาพซึ่งเป็นคู่ปราบตรงกันข้ามกันโลภะ มีความเบื่อหน่ายเห็นโทษของโลภะ มีการไม่ยึดถือหวงแหนเอาไว้เป็นสภาวะ
อโทสะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเป็นคู่ปราบตรงกันข้ามกับโทสะมีความเมตตาเป็นสภาวะ
อโมหะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเป็นคู่ปราบตรงกันข้ามกับโมหะ มีความรู้แจ้งดำเนินตามสัมมาปฏิปทาเป็นสภาวะ
วิริยะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเป็นคู่ปราบตรงกันข้ามกับความย่อท้อขี้เกียจ มีการยังกุศลธรรมให้ปรากฏ มีความอุตสหะพากเพียรเป็นสภาวะ
ปัสสัทธินั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเป็นคู่ปราบตรงกันข้ามกกับความหยาบหนักกระด้าง มีความอิ่มเอิบสบายเหมาะสมเป็นสภาวะ
อัปปมาณนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเป็นคู่ปราบตรงกันข้ามกับประมาทมีอโลภะ (อโทสะ อโมหะ) ตราบถึงวิริยะเป็นปทัฏฐาน มีการสละสรรพอกุศล แล้วบำเพ็ญสรรพกุศลอันเป็นคู่ปราบ (ของอกุศล) เป็นสภาวะ
ตัตรมัชฌตานั้นเป็นไฉน? คือสภาพอันอาศัยอโลภะ อโทสะ (อโมหะ)ตราบถึงวิริยะ ยังจิตให้ลุความเสมอภาพ อนึ่งอาศัยเจตสิกดวงนี้สามารถยังจิตให้พ้นจากอกุศลทั้งหลาย แลให้ตั้งอยู่ในธรรมอันผ่องแผ้วได้
อหิงสานั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเป็นคู่ปราบตรงกันข้ามกับวิหิงสา มีความกรุณาเป็นสภาวะ
โลภะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเป็นซึ่งเป็นฉันทราคะพอใจติดในปัญจุปาทานขันธ์เป็นสภาวะ
โทสะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพความเบียดเบียนในสรรพสัตว์เป็นสภาวะ
มานะนั้นเป็นไฉน? มานะมี 7 อย่าง คือมานะ, อภิมานะ, อติมานะ, อัสมินานะ, อธิมานะ, อวมานะ, มิจฉามานะ
มานะนั้นเป็นไฉน? คือเป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขาหรือเป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา มีจิตทะนงเป็นสภาวะ
อภิมานะนั้นเป็นไฉน? คือเป็นผู้เสมอเขาสำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา หรือเป็นผู้เลวกว่วเขาสำคัญตัวว่าเสมอเขา มีจิตทะนงเป็นสภาวะ
อติมานะนั้นเป็นไฉน คือผู้ที่เลวกว่าเขา สำคัญตัวเขาว่าเลิศกว่าเขา มีจิตทะนงเป็นสภาวะ
อัสมิมานะนั้นเป็นไฉน? คือความยึดถือใดอันเป็นไปในปัญจขันธ์ สำคัญว่าเป็นของๆเรา มีจิตทะนงเป็นสภาวะ
อธิมานะนั้นเป็นไฉน? คือธรรมพิเศษอันใดซึ่งตนยังมิได้บรรลุ สำคัญผิดว่าตนได้บรรลุถึงแล้ว มีจิตทะนงเป็นสภาวะ
อวมานะนั้นเป็นไฉน? คือผู้อื่นเขามีคุณธรรมที่ดีหลายส่วน แต่ตนเองสำคัญว่าหมิ่นตัวเองว่าต่ำเลว (ไม่อาจทำได้อย่างเขา) มีจิตทะนงเป็นสภาวะ
มิจฉามานะนั้นเป็นไฉน? คือตนเองปราศจากคุณธรรมใดๆ สำคัญว่าตนมีคุณธรรมมีจิตทะนงเป็นสภาวะ
อวิชชานั้นเป็นไฉน? คือสภาพความไม่รู้แจ้งในเรื่องกรรม, วิบากแห่งกรรม, ในเรื่องอริยสัจจ์,พระรัตนตรัย มีความปราศจากปัญญาเป็นสภาวะ อวิชชานี้แบ่งออกเป็น 2 ประการคือประการหนึ่งเป็นสหชาติ(เกิดร่วมอยู่เสมอนับตั้งแต่ปฏิสนธิ) ประการหนึ่งเกิดจากวิกัลป์ปะ (มีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น มาเกิดเมื่อได้รัรบการอบรมที่ผิด) อนึ่ง โลภะ,โทสะ,โมหะในกามภพย่อมเป็นอกุศลมูลทั้ง 3 กล่าว คือ เป็นโลภะอกุศลมูล, โทสะอกุศลมูล, โมหะอกุศลมูล
ทิฏฐินั้นเป็นไฉน? ทิฏฐิมี 5 ประการ คือสักกายทิฏฐิ, อันตคาหิกทิฏฐิ, มิจฉาทิฏฐิ, ทิฏฐิปรามาส, สีลพตปรามาส
สักกายทิฏฐินั้นเป็นไฉน? คือความยึดมั่นในปัญจุปาทานขันธ์ ว่านี้เป็นเราหรือเป็นของๆเรา มีมติอันประกอบด้วยกิเลสเป็นสภาวะ
อัตคาหิกทิฏฐินั้นเป็นไฉน? คือสักกายทิฏฐิซึ่งเพิ่มกำลังทวีแรงขึ้นนั้นเอง มีความยึดมั่นในอารมณ์ว่าอย่างนี้เที่ยงแน่นอน หรือยึดมั่นในอารมณ์ว่าอย่างนี้ขาดสูญแน่นอน (คือเป็นสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฏฐิ) มีมติอันประกอบด้วยกิเลสเป็นสภาวะ
มิจฉาทิฏฐินั้นเป็นไฉน? คือการปฏิเสธคัดค้านเหตุและวิบากแห่งเหตุ,การปฏิเสธคัดค้านกิริยา หรือปฏิเสธคัดค้านทำลายกุศลธรรม มีมติอันประกอบด้วยกิเลสเป็นสภาวะ
ทิฏฐิปรามาสนั้นเป็นไฉน? คือความยึดมั่นอันสืบเนื่องมาด้วยทิฏฐิทั้ง 3 (ที่กล่าวมาแล้วตอนต้น) เป็นไปในขันธ์อันเป็นที่อาศัย ว่า นี้และเป็นอย่างเลิศ นี้แลเป็นอย่างประเสริฐ, นี้แลเป็นที่สุด มีมติอันประกอบด้วยกิเลสเป็นสภาวะ
สีลพตปรามาสนั้นเป็นไฉน? คือความถือมั่นอย่างผิดๆ อันเนื่องด้วยสีลพรตในขันธ์อันเป็นที่อาศัยว่า นี้แลเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์, นี้และเป็นวิมุตติ, นี้แลเป็นนิสสรณะ มีมติอันประกอบด้วยกิเลสเป็นสภาวะ
วิจิกิจฉานั้นเป็นไฉน? คือความลังเลไม่แน่นอนใจเป็นไปในอริยสัจจธรรมบ้างในคุณพระรัตนตรัยบ้าง ว่าจักมีอยู่ฤาบ่มี มีความสงสัยเป็นสภาวะ
ในบรรดากิเสลดังกล่าวมา ทิฏฐิ 3 เบื้องหลัง (คือมิจฉาทิฏฐิ, ทิฏฐิปรามาส,สีลพตปรามาส) และวิจิกิจฉา ย่อมเกิดด้วยวิกัลป์ปะ กิเลสที่เหลือ (มีอวิชชา สักกายทิฏฐิ เป็นต้น) ย่อมเกิดด้วยสาธารณ์โดยสหชาติบ้าง โดยวิกัลป์ปะบ้าง
โกรธนั้นเป็นไฉน? คือสภาพเนื่องมาแต่อารมณ์ที่ปรากฏเป็นประโยชน์แห่งตนจิตมีความคับแค้นเป็นสภาวะ
อุปนาหะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งมีความโกรธเป็นผู้นำมาก่อน มีความผูกโกรธไว้ไม่ยอมละเป็นสภาวะ
มักขะนั้นเป็นไฉน? คือมีความที่ปิดบังซ่อนเร้นความชั่วแห่งตนไว้เป็นสภาวะ
ปลาสะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่เป็นเหตุกล่าววาจาหยาบคาย มีการล่วงเกินผู้อื่นเขาเป็นสภาวะ
อิสสานั้นเป็นไฉน? คือสภาพอันเนื่องด้วยความสุขสมบูรณ์ของผู้อื่นแล้ว มีจิตไม่ชอบใจในความสุขสมบูรณ์ของเขาเป็นสภาวะ
มัจฉริยะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งตรงกันข้ามกาบการเสียสละ มีจิตหวงแหนตระหนี่ไว้เป็นสภาวะ
สาเถยยะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพความหลอกลวงผู้อื่น มีการแสดงโอ้อวด ซึ่งคุณอันไม่มีในตนเป็นสภาวะ
มายานั้นเป็นไฉน? คือสภาพความหลอกลวงด้วยเล่ห์เหลี่ยมอุบาย ปิดบังโทษของตน มีจิตอันคดงอเป็นสภาวะ
มทะนั้นเป็นไฉน คือสภาพซึ่งมัวเมาทะนงในความสุขสมบูรณ์ มีการทำลายความดีให้หมดไปเป็นสภาวะ
วิหิงสานั้นเป็นไฉน? คือมีความเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายให้เดือดร้อนเป็นสภาวะ
อหิรินั้นเป็นไฉน? คือการที่กระทำบาปทุจจริต มีความไม่ละอายต่อตนเองเป็นสภาวะ
อโนตตัปปะนั้นเป็นไฉน? คือการที่กระทำบาปทุจจริต มีความไม่ละอายต่อผู้อื่นเป็นสภาวะ
ถีนะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่จิตไม่อิ่มเอิบสบาย จิตไม่สมควรแก่การงาน มีควยามหดหู่ไม่แจ่มใสเป็นสภาวะ
อุทธจจะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่จิตฟุ่งซ่านนึกคิดถึงเกตุการณ์ต่างๆ เช่นความปิติสุขโสมนัสเป็นต้น (ในประการเดียวกันก็หมายเอาความทุกข์โทมนัสด้วย) มีจิตปราศจากความสงบเป็นสภาวะ
อัสสัทธิยะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพอันศรัทธาจักพึงปราบ ได้แก่ ความไม่โน้มน้อมเชื่อในทางที่ถูก ในเรื่องกรรมและวิบากแห่งกรรม เป็นต้น มีจิตไม่ผ่องแผ้วเป็นสภาวะ
โกสัชชะนั้นเป็นไฉน? คือสภาพอันวิริยะจักพึงปราบ ในการเจริญกุศลธรรมจิต ปราศจากความวิริยะแกล้วกล้าเป็นสภาวะ
ประมาทนั้นเป็นไฉน? คือสภาพขี้คร้านเลินเล่ออันอาศัยโลภะ,โทสะ,โมหะ,เป็นสมุฏฐาน มีการไม่คุ้มครองริกษาจิตให้พ้นจากปวงกิเลส มีความไม่สามารถเจริญอบรมกุศลธรรมทั้งหลายเป็นสภาวะ
มุฏฐสัจจะนั้นเป็นไฉน? คือสติที่มีความไม่อาจระลึกจดจำได้ในสรรพกุศลธรรมเป็นสภาวะ
วิเขปะนั้นเป็นไฉน? คือส่วนหนึ่งของโลภะ โทสะ โมหะ มีการทำให้จิตและเจตสิกระส่ำระสาย (จับอารมณ์ไม่มั่งคง) เป็นสภาวะ
อสัมปชานะนั้นเป็นไฉน? คือปัญญาอันประกอบด้วยกิเลส มีสมุฏฐานให้เกิดกายทุจ-จริต วจีทุจจริต มโนทุจจริตเป็นสภาวะ
กุกกุจจะนั้นเป็นไฉน? คือความรู้สึกเสียใจ (ในการทำบาปที่ทำไปแล้วหรือในการทำบุญที่ยังไม่ได้ทำ) เป็นสภาวะ
มิทธะนั้นเป็นไฉน? คือความที่ (จิต,เจตสิก) ไม่เป็นไปโดยอิสสระ มีความง่วงเหงาไม่แจ่มกระจ่างเป็นสภาวะ
วิตกนั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งอาศัยเจตนาและมติเป็นสมุฏฐานแล้วยกจิตขึ้นตรึกในอารมณ์ มีการยังจิตให้พิจารณาถือเอาอารมณ์ที่หยาบเป็นสภาวะ
วิจารณ์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งอาศัยเจนตาและมติเป็นสมุฏฐาน แล้วยกจิตขึ้นครองในอารมณ์ มีการยังจิตให้พิจารณาถือเอาอารมณ์ที่ละเอียดเป็นสภาวะ
จิตตวิปยุตตสังขารนั้นเป็นไฉน? คือธรรมซึ่งอาศัยเนื่องด้วยรูปธรรมบ้างนามธรรมบ้างปัญญัติออกมาเป็นส่วนหนึ่ง มีความไม่สามารถบัญญัติว่าธรรมเหล่านี้เป็นต้น เป็นอันเดียวกันหรือต่างจากกันกับรูปนามเป็นสภาวะ
ก็ธรรมเหล่านั้นคืออะไรบ้าง? คือปัตติ, อสัญญีสมาบัติ, นิโรธสมาบัติ, อสัญญีเทพ, ชีวิตินทรีย์, สภาคตา, ชาติ, ชรา, ฐิติ, อนิจจ, นามกาย, บทกาย, พยัญชนากาย, ปุถุชนตา เหล่านี้เป็นอาทิ
ปัตตินั้นเป็นไฉน? คือสภาพที่ได้หรือสภาพที่สำเร็จ มีอยู่ 3 ประการ คือความสำเร็จแห่งพีชะหนึ่ง, ความสำเร็จโดยอิสสระหนึ่ง, ความสำเร็จในพฤติการณ์อันปรากฏขึ้นอยู่หนึ่ง, ให้ได้หรือสำเร็จตามความเหมาะสมนั้นๆ
อสัญญีสมาบัตินั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งพ้นไปแล้วจากความติดใน (รูปพรหม)ชั้นสุภกิณหา แต่ยังไม่พ้นไปจากความติดความพอใจในพรหมซึ่งเป็นชนชั้นสูงกว่านั้นขึ้นไปมีความทำในใจเพื่อละสัญญาเป็นเบื้องหน้า มีจิตและเจตสิกที่ไม่ประพฤติเป็นไปโดยไม่ขาดเป็นต้นดับไปเป็นสภาวะ
นิโรธสมาบัตินั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งพ้นไปแล้วจากความติดในอากิญจัญยายตนภูมิ แล้วเข้าสู่เนวสัญญาณนาสัญญายตนภูมิแล้วเพียรบำเพ็ญต่อไป มีความทำในใจเพื่อละสัญญา (และเวทนา) เป็นต้น เป็นเบื้องหน้ามีจิตและเจตสิกที่ไม่ประพฤติเป็นไปโดยไม่ขาด และจิตเจตสิกที่ประพฤติเป็นไปโดยไม่ขาดส่วนหนึ่งดับไปเป็นสภาวะ
อสัญญีเทพเป็นไฉน? คือวิบากอันเกิดแต่อสัญญีสมาบัติ ซึ่งนำไปปฏิสนธิในพรหมขั้นอสัญญีนั่นเอง ครั้นปฏิสนธิแล้วมีจิตและเจตสิกที่ไม่ประพฤติเป็นไปโดยไม่ขาดดับไปเป็นสภาวะ
ชีวิตินทรีย์นั้นเป็นไฉน? คือสภาพซึ่งเกิดสืบเนื่องมาแต่อดีตกรรม รักษาไว้ซึ่งสภาคตา (กล่าวคือขันธ์) ให้ดำรงอยู่ชั่วกาลเขตหนึ่งเป็นสภาวะ
สภาคตานั้นเป็นไฉน? คือความที่สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ก็มีสภาพที่ละม้ายคล้ายคลึงดุจกันเป็นสภาวะ
ชาตินั้นเป็นไฉน? คือสภาคตาและสรรพสังขาร ซึ่งแต่เดิมยังไม่เกิดปัจจุบันได้เกิดขึ้นแล้วเป็นสภาวะ
ชรานั้นเป็นไฉน? คือสรรพสังขารเหล่านั้น มีความสืบเนื่องเปลื่ยนแปรไปเป็นสภาวะ
ฐิตินั้นเป็นไฉน? คือสรรพสังขารเหล่านั้นมีควยามสืบเนื่องหมุนเวียนเป็นสภาวะ
อนิจจานั้นเป็นไฉน? คือสรรพสังขารเหล่านั้นมีความสืบเนื่องแตกดับไปเป็นสภาวะ
นามกายนั้นเป็นไฉน? คือความที่เพิ่มเติมร้องขานชื่อแห่งสภาวธรรมเป็นสภาวะ
บทกายนั้นเป็นไฉน? คือความที่เพิ่มเติมร้องขานความแตกต่างของสภาวธรรมเป็นสภาวะ
พยัญชนะกายนั้นเป็นไฉน? คืออักษรทั้งหลายนั้นเอง มีความสามารถที่จักแสดงความหมายแห่งนามกายและบทกายเป็นสภาพ อีกนัยหนึ่งชื่อว่าเป็นภาวะที่ประกาศอธิบายว่าเพราะเป็นที่อาศัยแห่งนามกายบทกายประกาศซึ่งอรรถอันหมดจดปราศจากส่วนเหลือ หรือชื่อว่าอักษรเพราะเป็นที่กำหนดแน่นอนไม่แปรผัน
ปุถุชนตานั้นเป็นไฉน? คือความที่ตนยังมิได้ลุอริยธรรมเป็นสภาวะ
วิญญาณขันธ์นั้นเป็นไฉน? คือธรรมชาติซึ่งมีความรู้ในอารมณ์เป็นสภาวะ ธรรมชาตินี้เรียกว่า “จิต” บ้าง เพราะสามารถคัดเลือกรวบรวมอารมณ์ เรียกว่า “มโน” บ้างเพราะสงเคราะห์เป็นอันเดียวกันกับมโนนั่นเอง (อรรถกถาว่า เพราะเป็นที่อาศัยรวมแห่งเจตสิกฉะนั้นจึงชื่อว่ามโน)
ถ้าจะว่าโดยจิตที่วิเศษแล้ว ก็คือ “อาลยวิญญาณนั่นเอง” จิตนี้สามารถสั่งสมพีชพันปีแห่งพฤติกรรมต่างๆของสัตว์ไว้ อนึ่งในการที่จิตรับรู้อารมณ์อันเป็นพฤติกรรมของจิตนั้น ไม่เป็นวิสัยแห่งการกำหนดแบ่งแยกจำแนกรู้ได้โดยง่ายเลย จิตนี้นับจำเดิมแต่ปฏิสนธิตราบถึงจุติย่อมเป็นปวัตติสืบเนื่องหมุนเวียนไปโดยไม่ขาดสาย อนึ่งวิญญาณดวงนี้ครั้นเมื่อบุคคลออกจากนิโรธสมาบัติ หรือสัตว์ซึ่งจุติจากอสัญญีภพ เมื่อจักขึ้นวิถีรับรุ้อารมณ์ เมื่อใดเมื่อนั้นปวัตติวิญญาณก็ย่อมประพฤติเป็นไป หมุนเวียนไปตามวิสัยแห่งอารมณ์ต่างๆดับไปในระหว่างแล้วก็เกิดขึ้นอีกเล่าเป็นชาติมรณะเวียนวนในวัฏสงสารอย่างนี้
อาลยวิญญาณนี้ เพราะอรรถว่าเป็นแหล่งเก็บรวบรวมแห่งสรรพพีชะทั้งหลายนั่นเอง อนึ่งเพราะเป็นที่เก็บแห่งอสมินานะเป็นสภาพ อนึ่ง เพราะความที่เป็นผู้ถือเอากายนี้เป็นอารมณ์ด้วยเหตุนี้จึงมีนามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อาทานวิญญาณ” เพราะเป็นผู้ธำรงยึดในกรัชกายนี้
ส่วนมโนอันวิเศษนั้น คือ ได้แก่วิญญาณดวงที่ถือเอาอาลยวิญญาณเป็นอารมณ์ วิญญาณดวงนี้มี อัตตโมหะ, อัตตานุทิฏฐิ, อัสมิมานะ, อัตตตัณหา, สัมปยุตต์อยู่ตลอดจำเดิมแต่ปฏิสนธิตราบถึงจุติเป็นปวัตติสืบเนื่องทุกเวลา ยกเว้นแต่ในพระอาหันตบุคคล, ในอริยมรรคและในนิโรธสมาบัติ
ถามว่า คำว่าขันธ์นั้นมีอรรถว่าอย่างไร? ตอบว่า ความประชุมรวบรวมเป็นอรรถของขันธ์ คือบรรดาโลกิยธรรมที่เกิดดับสืบเนื่องประเภทต่างๆ มีคติ,อายตนะ, และรูป เป็นต้น เอามาสงเคราะห์รวมเข้าไว้
อนึ่งมีอายตนะ 12 คือ จักขายตนะ คู่กัปรูปายตนะ,โสตายตนะคู่กับสัททายตนะ,ฆานายตนะคู่กับคันธายตนะ,ชิวหายตนะคู่กับรสายตนะ,กายายตนะคู่กับโผฏฐัพพายตนะ,ฆนายตนะคู่กับธรรมายตานะ,สำหรับจักขายตนะ เป็นต้น 5 และรูปะ สัททะ คันธะ รสะ อายตนะนั้นได้อธิบายแล้วในเบื้องต้น โผฏฐัพพายตนะนั้นได้แก่ มหาภูติรูปและส่วนหนึ่งแห่งผัสสะ มนายตนะก็คือ วิญญาณขันธ์นั่นเอง ส่วนธรรมายตนะนั้น ได้แก่ เวทนา,สัญญา,สัขารขันธ์,และวิญญัติรูปเป็นต้น พร้อมอสังขตธรรมทั้งหลายด้วย
อสังขตธรรมนั้นเป็นไฉน? คืออากาศสังขตะ, อัปปฏิสังขยนิโรธอสังขตะ, ปฏิสังขยนิโรธอสังขตะ และภูตตถตา เป็นต้น
อากาศนั้น ได้แก่ธรรมชาติอันสามารถรับรองรูปทั้งหลายได้ อัปปฏิสังขยนิโรธนั้นได้แก่ความดับชนิดที่มิได้พ้นไปจากกิเลสเครื่องร้อยรัด ที่ว่ามิได้พ้นไปจากกิเลสเครื่องร้อยรัดนั้นอย่างไร? กล่าวคือ ความดับที่มิได้อาศัยปัญญาพิจารณาทำลายกิเลส ขันธ์ทั้งหลายมิต้องเกิดขึ้นในที่สุด ปฏิสังขยนิโรธนั้นคืออย่าไร? คือความดับชนิดที่พ้นไปจากกิเลสเครื่องร้อยรัด ที่ว่าพ้นไปจากกิเลสเครื่องร้อยรัดนั้นอย่างไร? คือความดับที่อาศัยปัญญาพิจารณาทำลายกิเลส ขันธ์ทั้งหลายมิต้องเกิดขึ้นในที่สุด ภูตตถตานั้นเป็นไฉน? คือสภาวะแห่งธรรมทั้งปวง และสภาวะแห่งความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งปวงนั้น
ถามว่าอายตนะมีอรรถเป็นอย่างไร? ตอบว่า ธรรมชาติใดเป็นประตูที่เกิดแห่งวิญญาณทั้งปวง รรมชาตินั้นคืออายตนะ
อนึ่งยังมีธาตุ 18 คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททะธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานะธาตุ คันธะธาตุ ฆานะวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพะธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ
สำหรับธาตุ(ภายใน) ทั้งหลาย มีจักขุธาตุ เป็นต้น และธาตุ(ภายนอก)ทั้งหลาย มีรูปธาตุเป็นต้น มีอธิบายดุจได้กล่าวมาในตอนว่าด้วยอายตนะส่วนวิญญาณธาตุทั้ง 6 นั้นก็อาศัยเกิดจากอินทรีย์ มีจักขุทรีย์เป็นต้น ซึ่งรับเอาอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น มีความรู้ในอารมณ์เป็นสภาวะ มโนธาตุนั้น ก็คือธาตุรู้ซึ่งเกิดดับสืบเนื่องเป็นสันตติเป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงให้ทราบว่า (มโนธาตุ) นี้เป็นที่อาศัยแห่งมโนวิญญาณและเป็นการบัญญัติเรื่องธาตุ 18 ได้โดยพิสดาร
และโดยประการดังนี้ รูปขันธ์ก็ได้แก่อายตนะทั้ง 10 ธาตุทั้ง 10 กับธรรมายตนะธรรมธาตุส่วนหนึ่ง วิญญาณขันธ์ก็คือ มนายตนะและธาตุรู้อีก 7 ส่วนขันธ์ที่เหลืออีกสามพร้อมด้วยส่วนหนึ่งแห่งรูปขันธ์และอสังขตธรรมทั้งหลายจัดเป็นธรรมายตนะ ธรรมธาตุ
ถามว่า ธาตุนั้นมีอรรถเป็นไฉน? ตอบว่า ธรรมชาติซึ่งสามารถธำรงรักษาซึ่งคุณลักษณะแห่งพีชะไว้ โดยยังไม่มีพฤติกรรม ชื่อว่าเป็นอรรถของธาตุ
ถามว่า อาศัยอรรถเป็นไฉน? จึงบัญญัติเรื่องขันธ์,ธาตุ, อายตนะเป็นต้น ตอบว่า เพื่อเป็นคู่ปราบทำลายความยึดถือในตน 3 ประการ กล่าวคือ /ความยึดถือว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นเราหนึ่ง, (แปลตามตัวว่าความยึดถือในเอกภาวะว่าเป็นเรา อรรถกถาแก้ว่า คือ ความยึดถือในเบ็ญจาขันธ์ทั้งหมดว่าเป็นเรา ส่วนความยึดถืออีกสองเป็นการยึดถือที่จำแนกไม่ใช่ยึดหมดทั้งเบ็ญจขันธ์ ผู้แปล) ความยึดถือว่าผู้เสวยเวทนาว่าเป็นเราหนึ่ง/ ความยึดถือว่าผู้กระทำเป็นเราหนึ่งตามลำดับ
อนึ่งในธาตุ 18 นี้ ธรรมที่เป็นรูปนั้นมีเท่าไร? คือธาตุทั้ง 10 และส่วนหนึ่ง(แห่งธรรมธาตุหรือรูปซึ่งสงเคราะห์อยู่ในธรรมายตนะ) กล่าวคือ เป็นสภาวะแห่งรูปขันธ์นั่นเอง (หมายเฉพาะธาตุทั้ง 10 ) ธรรมที่ไม่ใช่รูปนั้นมีเท่าไหร่? คือธาตุที่เหลือนอกนี้
ธรรมที่เป็นสนิทัศนะนั้นมีเท่าไร? คือรูปธาตุอันเดียว (มหายเอารูปารมณ์) ธรรมที่เป็นอนิทัศนะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุที่เหลือนอกนี้
ธรรมที่สัปปฏิฆะนั้นมีเท่าไร? คือรูปธาตุทั้ง 10 ด้วยเป็นธรรมที่กระทบกระทั่งแก่กันได้นั่นเอง ธรรมที่เป็นอัปปฏิฆะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุที่เหลือนอกนี้
ธรรมที่เป็นสาสวะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุ 15 และส่วนหนึ่งของธาตุที่เหลืออีก 3 (มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ) อธิบายว่า ในธาตุที่เหลือ 3 ส่วนหนึ่งนั้น ถ้าเป็นที่เกิดแห่งกิเลส เป็นที่กิเลสประพฤติเป็นไป(จึงถือว่าเป็นสาสวะ) ธรรมที่เป็นอนาสวะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุที่เหลืออีก 3 ส่วนหนึ่ง
ธรรมที่เป็นกามาวจรนั้นมีเท่าไร? คือธาตุ 18 ทั้งหมด ธรรมที่ป็นรูปาวจรนั้นมีเท่าไร ? คือธาตุ14 ยกเว้น คันธะ รสะและฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่เป็นอรูปาวจรนั้นมีเท่าไร? คือธาตุที่อยู่สุดทั้ง 3(คือมโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ) ธรรมที่ไม่ใช่อวจรนั้นมีเท่าไร? คือธรรมที่เป็นอนาสวะทั้งหมด
ธรรมที่สงเคราะห์เข้าในขันธ์นั้นมีเท่าไร? คือ ทั้งหมดยกเว้นอสังขตะธรรม ธรรมที่สงเคราะห์เข้าในอุปาทานขันธ์นั้นมีเท่าไร? คือสาสวธรรม
ธรรมที่เป็นกุศลนั้นมีเท่าไร? ธรรมที่เป็นอกุศลนั้นมีเท่าไร? ธรรมที่เป็นอัพยากตนั้นมีเท่าไร? คือธาตุทั้ง 10 สาธารณ์แก่กุศล อกุศล และอัพยากต ธาตุรู้ทั้ง 7 (มีวิญญาณธาตุ 6 มโนธาตุ 1) รูปะ สัททะ และส่วนหนึ่งของธรรมธาตุ ส่วนที่เป็นอัพยากตล้วนๆ) มี8
ธรรมที่เป็นอัชฌัตตะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุ 12 ยกเว้นรูปะ สัททะ คันธะ รส โผฏฐัพพะ และธรรมธาตุส่วนหนึ่ง
ธรรมที่เป็นพหิทธะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุที่เหลืออีก 6 (คื อายตนะภายนอก6)
ธรรมที่เป็นสารัมมณะนั้นมีเท่าไร คือธาตุรู้ทั้ง 7 และธรรมธาตุส่วนหนึ่ง เจตสิกธรรม
ธรรมที่เป็นอนารัมมณะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุที่เหลืออีก 10 และธรรมธาตุ ส่วนหนึ่ง
ธรรมที่วิภาคอารมณ์ได้นั้นมีเท่าไร? คือ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และส่วนหนึ่งของธรรมธาตุ
ธรรมที่เป็นอุปาทินกะนั้นมีเท่าไร? คือ ธาตุภายใน 5 และส่วนหนึ่งแห่งธาตุทั้ง 4 กล่าวคือ รูปะ คันทธ รสะ โผฏฐัพพะ
ธรรมที่เป็นอนุปาทินกะนั้นมีเท่าไร? คือธาตุที่เหลือ 9และส่วนหนึ่งของธาตุทั้ง4
ธรรมที่เป็นสภาคตานั้นเป็นไฉน? คือรูปธาตุภายในทั้ง 5 (อินทรีย์ทั้ง 5 ) กับวิญญาณและอารมณ์อันสมควรแก่(อินทรีย์) ของตน (เช่นจักขุนทรีย์ย่อมสมควรแก่จักขุวิญญาณและรูปารมณ์
ธรรมที่เป็นชะนิดเดียวกับสภาคตานั้นเป็นไฉน? คือในธรรม(ทั้ง 3 เช่น จักขุ จักขุวิญญาณ รูปารมณ์) ขาดวิญญาณของตนไปเสีย ก็ยังชื่อว่าเป็นธรรมประเภทเดียวกัน
จบมหายานปัญจขันธศาสตร์
ความคิดเห็น