คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : mahaยานsutraลังการ 1-10 {21}
พระสูตรมหายานลังกาวตาร
โอม ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย
อธิการที่ 2 โศลกว่าด้วยการสงเคราะห์ความวิเศษแห่งการถึงสรณะ
อธิการที่ 3 โศลกว่าด้วยสงเคราะห์ประเภทของโคตร
อธิการที่ 4 โศลกว่าด้วยลักษณะการเกิดขึ้นแห่งจิต
อธิการที่ 5 โศลกว่าด้วยลักษณะการปฏิบัติ
อธิการที่ 6 โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะประโยชน์อันเป็นปรมัตถ์
อธิการที่ 7 โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะแห่งอำนาจ
อธิการที่ 8 ว่าด้วยความแก่รอบ ในมหายานสูตราลังการ
อธิการที่ 9 ว่าด้วยความรู้
อธิการที่ 10 ว่าด้วยการอุทาน
อธิการที่ 11 โศลกว่าด้วยการแสวงหาความยิ่งใหญ่ในอธิการว่าด้วยการการแสวงหาธรรม
อธิการที่ 12 โศลกที่อธิบายการขับไล่ออกเสียซึ่งความอิจฉาริษยาในเรื่องการสอนธรรม
อธิการที่ 13 โศลกว่าด้วยการจำแนกการปฏิบัติ
อธิการที่ 14 โศลกว่าด้วยการจำแนกโอวาทและคำสอน
อธิการที่ 15 โศลกว่าด้วยการจำแนกกรรมอันประกอบด้วยประโยชน์เพื่ออุบายวิธี
อธิการที่ 16 อุทานโศลกในการสงเคราะห์ประเภทของบารมี
อธิการที่ 17 ว่าด้วยการจำแนกบูชาพระพุทธเจ้า
อธิการที่ 18 โศลกว่าด้วยการจำแนกความละอาย
อธิการที่ 19 โศลกว่าด้วยการจำแนกความอัศจรรย์
อธิการที่ 20-21 โศลกว่าด้วยการจำแนกลิงค์
ภาคผนวก
ดัชนีศัพท์
อธิการที่ 1
โอม ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งปวงทั้งหลาย
1 บุคคล(พระพุทธเจ้า) ผู้รู้เรื่องอรรถ(ท่านผู้รู้ความหมายอันแท้จริงของพระพุทธศาสนา) ผู้ประกอบด้วยความกรุณา กระทำความกระจ่างของความหมายด้วยถ้อยคำและบทอันไม่มีมลทิน แสดง (วิธี) เพื่อจะข้ามพ้นจากความทุกข์แก่เหล่าชนผู้มีความทุกข์ ท่านย่อมสั่งสอนธรรมอันยอดเยี่ยม คือหนทาง 5 ประการเพื่อการเข้าถึงความหมายของธรรมซึ่งมหายานสั่งสอนและบัญญัติไว้ ทรงแสดง ให้เห็นว่า วิธีที่มีอยู่ภายในธรรมนี้หาที่เปรียบเทียบไม่มี
อรรถาธิบาย ท่านผู้รู้อรรถ ย่อมกระทำความกระจ่างของ ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น ใครเริ่มการสอน ใครกระทำอธิบาย(ทำให้พอใจ) คือผู้รู้อรรถ กระทำการอธิบายอะไร / กระทำการอธิบายความหมายของอรรถ / ด้วยอะไร / ด้วยถ้อยคำ ด้วยบททั้งหลายอันไม่มีมลทิน / แม้ด้วยถ้วยคำที่ปราศจากมลทิน คือ ถ้อยคำที่อ่อนหวาน / ด้วยบทที่ปราศจากมลทิน คือบทอันมีประโยชน์และมีสาระ อรรถจะมิสามารถกระจ่างชัดได้ถ้าปราศจากวาจาบทและพยัญชนะ / เพื่ออะไร / เพื่อข้ามพ้นความทุกข์ เพราะทรงมีความกรุณาในชนผู้มีความทุกข์ / เขาน้อมไปในความกรุณาที่มีในบุคคลผู้มีความทุกข์ ดังนั้น จึงชื่อว่าน้อมไปในความกรุณา / เขาทำอลัการแห่งอะไร / แห่งธรรมที่แสดงวิธีแห่งยานอันสูงสุด / วิธีแห่งยานอันสูงสุดถูกแดสงไว้แล้วในธรรมใด แห่งธรรมนั้น / เขาทำอลังการเพราะใคร / ในเพราะสัตว์ทั้งหลายผู้ดำเนินไปในยายอันสูงสุดนั้น /สัปตมีวิกักตินี้ หมายถึง มีสรรพสัตว์ผู้ดำเนินไป (ในมหายาน) เป็นเครื่องหมาย / เขากระทำอลัการกี่อย่าง 5 อย่าง /อันแสดงวิธีการถึงอรรถอันมีอยู่ภายใน อันหาสิ่งใดเปรียบมิได้ / คำว่ามีอยู่ในภายใน หมายถึง ประกอบแล้ว/ คำว่า หาสิ่งใดเปรียบเทียบมิได้ หมายถึง ความรู้อันยอดเยี่ยม
บัดนี้วิธีแห่งอรรถ 5 อย่างนั้น ถูกแสดงไว้โดยฉันท์ที่ 2
2 ธรรมนั้นที่แสดงไว้แล้ว ณ ที่นี้ ย่อมไห้ความปราโมทย์อันสูงส่ง เช่นกาบทองคำที่บุดีแล้ว เช่นกับดอกปทุมที่กำลังบานเต็มที่ เช่น กับอาหารที่ได้รับการปรุงไว้อย่างดีแล้วสำหรับคนที่มีความหิว เช่นกับบทนิพนธ์ที่ได้รับการประพันธ์อย่างประณีต เช่นกับมุกดาในหีบบรรจุที่เปิดแล้ว
อรรถธิบาย ด้วยโศลกนี้ ประกอบด้วยข้อเปรียบเทียบ 5 ประการ ธรรมนั้นท่านแสดงกระทำให้ยิ่งซึ่งอรรถ 5 ประการ คือ (1) เป็สิ่งที่ดี (2)เป็นการแสดง (3) เป็นสิ่งที่ควรคิด (4)อยู่เหนือความคิด และ (5) เป็นสิ่งสูงสุด อรรถที่เข้าใจได้โดยคนน้อยคนนี้ (อรรถแห่งอธิคม) เป็นความหมายที่รู้เฉพาะตน เป็นภาวะที่แท้จริงของพระโพธิสัตว์ อรรถนั้นที่อธิบายไว้แล้วโดย สูตราลังการย่อมให้ความปราโมทย์อันสูงส่ง เหมือนทองคำที่บุดีแล้วตามลำดับ เป็นต้น / เมื่อพระธรรมนั้น ประกอบด้วยคุณสมบัติโดยปกตินั่นเอง ทำไมจึงต้องกระทำการอธิบายด้วยเล่า / โศลกที่ 3 จะตอบคำถามนั้น/
3 รูปที่ได้รับการประดับตกแต่งดีแล้ว เมื่อส่องกระจก ย่อมก่อให้เกิดความปราโมทย์อันวิเศษ แก่ชนทั้งหลาย เพราะการแลดู ฉันใด พระธรรมที่ประกอบด้วยคำ อันดีโดยปกติ มีอรรถที่ได้จำแนกดีแล้ว ย่อมให้เกิดความยินดีอันวิเศษ แก่สัตบุรุษทั้งหลาย ตลอดกาลเนืองนิตย์ ฉันนั้น
อรรถธิบาย ด้วโศลกนี้ย่อมแสดงอะไร / รูปที่มีคุณสมบัติด้วยการประดับตกแต่งตามปกตินั่นเอง เมื่อส่องกระจก ย่อมยังให้เกิดความปราโมทย์ที่วิเศษเพราะอำนาจการแลดู ฉันใด แม้พระธรรมนั้น ที่ประกอบด้วยคุณ ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตตามปกตินั่นเอง มีอรรถที่ได้จำแนกแล้วย่อมยังความยินดีที่วิเศษให้เกิดขึ้น เป็นนิตย์ ฉันนั้น/ อรรถอันนั้น ที่เป็นเหมือนกระทำการอธิบายแล้ว เพราะทำให้เกิดความยินดีอันวิเศษแก่บุคคลผู้มีความรู้ทั้งหลาย / ต่อจากนี้ไป จะแสดงการสรรเสริญ 3 ประการ ที่ก่อให้เกิดความเคารพในธรรมนั้นด้วยโศลก 3 โศลก
4 ยาที่มีกลิ่นฉุน และมีรสเผ็ด ประกอบด้วยรสอันดี ฉันใด พระธรรมเองก็มี 2 ลักษณะ คือ มีอรรถที่ไม่ใช่เป็นเพียงพยัญชนะ(ไม่สามารเข้าใจได้เพียงพยัญชนะ) (แต่) เป็นอรรถที่พึงรู้
5 พระธรรมนี้ กว้างใหญ่ ประณึตและลุ่มลึก แต่เมื่อเข้าใจแล้ว ย่อมให้ทรัพย์คือ คุณสมบัติอันประเสริฐ เช่นเดียวกับพระราชาผู้เอาใจยาก
6 รัตนชาติอันหาค่ามิได้ ย่อมไม่ยังบุคคลผุ้ไม่มีปัญญาพิจารณาให้ยินดีได้ ฉันใด พระธรรมนี้ ย่อมไม่ยังบุคคลผู้ไม่มีปัญญาให้ยินดีได้ โดยปริยายนั้น ฉันนั้น เหมือนกัน
อรรถธิบาย (พระธรรม) มีประโยชน์ 3 ประการ คือเป็นเหตุแห่งการทำลายสิ่งกีดขวาง เปรียบเทียบได้กับยา / ประกอด้วย 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ประกอบด้วยพยัญชนะและความหมาย พระธรรมนั้นเมื่อเปรียบได้กับพระราชา ย่อมเป็นสาเหตุแห่งเจริญ เพราะให้คุณความดีที่เประเสริฐมีการรู้ยิ่งเป็นต้น และเปรียบได้กับรัตนชาติอันหาค่ามิได้ ย่อมเป็นเหตุแห่งการเสวยอริยทรัพย์(เป็นเหตุเสวยแห่งอริยชน) ชนผู้มีปัญญาพิจารณา พึงทรายว่า อริยชน/
ในข้อนั้นมีคำกล่าวของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ว่า มหายานนี้มิใช่พระพุทธพจน์ เมื่อเป็นเช่นนี้ การสรรเสริฐเช่นนั้นจักมีได้แต่ที่ไหน / นี้คือโศลกที่เริ่มแสดงเหตุเพื่อแสดงว่ามหายานนั้นเป็น พุทธวจนะ/
7 ในเบื้องต้น คำสอน ไม่ได้มีการแพร่หลาย เพียงแต่ได้รับการพัฒนา อันเพียงพอต่อการลำดับ ขยายเพียงเล็กน้อย อยู่เหนือการเข้าถึงได้ ในเรื่องการมีอยู่และการไม่มีอยู่ โดยเฉพาะการไม่มีอยู่ เป็นลักษณะที่พิเศษอันมากกว่าวาจา (เสียง)
อรรถาธิบาย ในเบื้องต้น เพราะไม่มีการพยากรณ์ไว้ (สั่งสอน)ถ้ามหายานเป็นสิ่งที่ขัดแย้งต่อพระสัทธรรม นั่นแสดงว่าเป็นการแต่งเติมขึ้นมาภายหลัง /ข้าพจไม่รู้ว่าใคร ในลำดับกาลต่อๆมา เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคจึงไม่พยากรณ์ไว้ในเบื้องต้น ย่อมเป็นเหมือนภัยที่จะมีในอนาคต / คำกล่าวที่ว่า มีการพัฒนาในเวลาเดียวกัน นั้นหมายความว่า การพัฒนาของมหายานมีอยู่ในยุคเดียวกันกับสาวกยาน ไม่ใช่พัฒนาขึ้นในสมัยหลัง เพราะฉะนั้น จะเข้าใจว่ามหายานนั้นไม่ใช่พระพุทธพจน์ได้อย่างไร / คำว่า พระธรรมนี้อยู่เหนือวิสัย ได้แก่ พระธรรมนั้น โอฬารและลึกซึ้ง เข้าถึงไม่ได้ด้วยตรรกศาสตร์ / คำกล่าวเช่นนั้น เพราะเข้าไปยึดว่าเป็นเช่นเดียวกับคัมภีร์นอกศาสนา / พระธรรมนี้จึงมิใช่สิ่งที่จะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่คนอื่นกล่าวไว้แล้ว / แม้เมื่อกล่าวอย่างนั้นก็จริง คำนั้น ก็มิใช่คำของผู้หลุดพ้นแล้ว / ถ้าบุคคลรู้ยิ่งแล้ว ได้กล่าวพระธรรมนี้ไว้แล้ว / คำกล่าวของบุคคลนั้นย่อมเป็นพระพุทธจน์ / บุคคลใดรู้ยิ่งแล้วย่อมกล่าวอย่างนี้ บุคคลนั้นย่อมเป็นพุทธบุคคล / คำกล่าวที่ว่า ในความมีอยู่และไม่มีอยู่ เพราะความไม่มีอยู่ ถ้ามหายานมีอยู่ในที่บางแห่ง ในความมีอยู่ของมหายานนั้น นี้ย่อมสำเร็จเป็นพุทธพจน์ เพราะไม่มีสิ่งอื่นนอกจากมหายาน / อนึ่ง ถ้ามหายานไม่มีอยู่ ในความไม่มีอยู่แห่งมหายานนั้น เพราะความไม่มีอยู่แม้แห่งสาวกยานนั้น / คำกล่าวที่ว่า สาวกยานเป็นพุทธพจน์ มหายานมิใช่พระพุทธพจน์นั้น ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะหากเว้นจากพุทธยานเสียแล้ว พุทธบุคคลทั้งหลายก็อุบัติไม่ได้ / เพราะเป็นปฏิบักษ์ / อนึ่ง มหายานที่ได้ปฏิบัติอยู่ ย่อมเป็นปฏิบักษ์ต่อกิเลศทั้งหลาย เพราะอาศัยการไม่มองเห็นความแตกต่างในสรรพสิ่ง / เพราะฉะนั้น มหายานจึงเป็นพุทธพจน์ / เพราะมีอรรถอื่นจากจากที่กล่าวแล้ว / มิใช่ความหมายตามที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทราบว่ามิใช่พระพุทธพจน์ตามความหมายที่ได้กล่าวมาแล้ว/
คำกล่าวที่ว่า ในเบื้องต้นไม่พยากรณ์นั้น บุคคลพึงตอบว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ที่ไม่มาถึงเพราะทรงวางเฉย/
ในการวางเฉย (ของพระผู้มีพระภาค) มีโศลกว่า
8 พระพทธเจ้าทั้งหลาย ทรมีทรรศนะตรงเพราะ เป็นผู้ปกป้องคำสอน ความรู้ของพระองค์ไม่ขัดข้อง ดังนั้น จึงทรงบวางเฉย
อรรถาธิบาย ด้วยโศลกนี้แสดงให้เห็นถึงอะไร / บุคคลไม่ควรวางเฉยต่ออุปัททวะใหญ่ที่ยังไม่มาถึง ที่จะมีต่อพระศาสนาด้วยเหตุ 3 ประการ เพราะความรู้คือหน้าที่ของคือหน้าที่ของพระพุทธเจ้า นั้นปราศจากความมานะพยายาม และพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีทรรศนะโดยตรง ยังมีอะไรมากไปกว่านี้ คือ ความเพียรและกำลังของท่านทั้งหมดก็เพื่อปกป้องคำสอนด้วยความรุ้อย่างต่อเนื่องตลอดกาลเวลาและจากพลังของความรู้ในอนาคต
คำกล่าวที่ว่า ในเรื่องของความมีอยู่และของความไม่มีอยู่ เพราะความไม่มี / บุคคลพึงตอบว่า สาวกยานนั้นไม่สามารถที่จะเป็นมหายานได้
9 สิ่งนั้นยังไม่สมบูรณ์ ยังมีการโต้แย้ง ในบางประเด็น เพราะไม่ประกอบด้วยอุบายเพราะไม่มีคำสอนที่เทียบเคียงกันได้ เหตุนั้น สาวกยานนี้จึงไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่า มหายานธรรมได้
คำอรรถาธิบาย มันไม่สมบูรณ์ คำสอนมีอรรถเป็นอย่างอื่น เพราะว่า ในสาวกยานไม่มีอรรถอย่างอื่น และก็ไม่ได้สอนสาวกเกี่ยวกับอุบายพ้นจากราคะที่มีในตน สอนแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น ไม่บำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น / เพราะขัดแย้งกัน / บุคคลผุ้ให้ความช่วยเหลือคนอื่นก็เหมือนช่วยตนเอง ย่อมปฏิบติประโยน์เพื่อตนเองเสมอและประโยน์ตนนี้ถูกใช้เพื่อการเข้าถึงปรินิรวาณของตนเอง อันนี้แหละจะนำไปสู่การตรัสรู้ยิ่งเอง นี่แหละคือสิ่งที่ตรงกันข้าม / บุคคลผู้ดำเนินตามสาวกยานเพื่อการตรัสรุ้สิ้นกาลนาน ย่อมไม่สามารถเป็นพุทธบุคคลได้ / เพราะไม่ใช่หนทาง(อุบาย)ที่ถูกต้อง / สาวกยานมิใช่อุบายเพื่อการเป็นพุทธบุคคล ถ้าบุคคลประกอบด้วยสิ่งที่มิใช่หนทางสิ้นกาลนาน ย่อมไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ / มีหรือที่คนเราจะได้รับน้ำนมจากเขา(สัตว์)ในภาชนะ / เมื่อเป็นเช่นนี้ ในเรื่องนั้น โพธิสัตว์พึงประกอบคำสอนโดยประการอื่น ฉันใด / เพราะคำสอนไม่เหมือนกันแม้อย่างนั้น เพราะฉะนั้น สาวกยานจึงไม่สามารถเป็นมหายานได้เลย / เพราะบุคคลย่อมค้นไม่พบคำสอนเช่นเดียวกันในสาวกยานนั้น / สาวกยานและมหายานแตกต่างกันและไม่เป็นเช่นเดียวกัน ในความแตกต่างกัน มีโศลก ดังนี้ /
10 ทั้งสองนั้นมีความขัดแย้ง ในเรื่องจุดมุ่งหมาย คำสอน การนำไปใช้ (ปฺรโยค) การให้ การสนับสนุนและเวลา เพราะฉะนั้น ยานที่ต่ำ จึงต่ำกว่าอย่างแท้จริง
อรรถาธิบาย ทั้งสองขัดแย้งกันอย่างไร / ด้วยความขัดแย้ง 5 ประการ / จุดมุ่งหมาย คำสอน การนำไปใช้ การสนับสนุนและเวลา ความจริงแล้ว ในสาวกยาน จุดมุ่งหมายคือปรินิวาณเพื่อตัวเอง คำสอนก็เช่นกันเป็นเนื้องความเหมือนกัน อรรถของการนำมาใช้ก็เหมือนกัน การให้การสนับสนุนถูกลดฐานะลง และสงเคราะห์เข้าด้วการสั่งสมบุญและความรู้เท่านั้น และใช้เวลาไม่มากนักเพื่อการบรรลุจุหมาย คือการเกิด 3 หนก็เพียงพอ / ส่วนในมหายานนั้น มีความแตกต่างกัน / เพราะความแตกต่างกันและกัน ยานที่ต่ำย่อมต่ำอย่างแท้จริง / ยานต่ำนั้นไม่ความเป็นมหายาน /
คำกล่าวที่พึงมีว่า ลักษณะของพระพุทธพจน์ ย่อมรวมลง(ปรากฏ) ในพระสูตรและในพระวินัยที่แสดงไว้แล้วและไม่ได้เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับธรรมทั้งหลาย (ธรฺมตา) แต่มหายานมิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องเพราะคำสอน (ของมหายาน) มีว่า สภาวธรรมทั้งปวง ไม่มีสภาวะในตัวเอง ดังนั้น มหายานจึงไม่ใช่พระพุทธพจน์ / ในลักษณะที่ไม่แตกต่าง (จากพุทธพจน์) มีโศลกนี้/
11 ความเป็นธรรมอันไม่ขัดแย้งกันมีเพราะปรากฏ(ในพระสูตร)ของตัวเองและเพราะ การแสดงในพระวินัย เพราะความกว้างขวางและเพราะความลึกซึ้งของตัวเอง
อรรถาธิบาย โศลกนี้แสดงอะไร ความทุกข์(เกฺลศ) นี้ปรากฏด้วยตัวเองอยู่ในพระสูตรและแสดงในพระวินัยของมหายานเอง ความทุกข์ของพระโพธิสัตว์กล่าวได้ว่ามหายาน ความจริงเป็นผู้มีความทุกข์เพราะการแยกแยะ และเพราะลักษณะอันกว้างขวางและลึกซึ้ง เพราะโพธิสัตว์ไม่เป็นปฏิบักษ์ต่อความเป็นธรรม เพราะความเป็นธรรมย่อมนำไปสู่มหาโพธิ เพราะฉะนั้นลักษณะขัดแย้งจึงไม่มี เพราะกล่าวไว้แล้วว่า อโคจรเป็นต้น ดังนั้น โศลกในเรื่องการประกอบในโคจรแห่งตรรกะ
12 ตรรกศาสตร์เป็นสิ่งที่มีพื้นฐาน ไม่มีข้อกำหนด ไม่มีการขยายความเป็นเรื่องบังเอิญเกิดขึ้น ทำให้ตัวเองหมดแรง มีอยู่ในคนพาล เพราะฉะนั้น มหายานจึงไม่ใช่วิสัยของตรรกศาสตร์
อรรถาธิบาย จริงอยู่ ตรรกะให้เป็นที่อาศัยของความจริงอันไม่เคยปรากฏ และเป็นเครื่องวัดอันแน่นอนของคัมภีร์ เป็นสิ่งไม่มีการขยายความเพราะไม่ใช่วินัยที่จะรู้ได้หมด และวิสัยแห่งความจริงอันบังเอิญเกิดขึ้นและไม่เป็นวิสัยแห่งความจริงอันแสดงออก ทำให้ตนเองหมดแรงเพราะปฏิภาณถูกใช้จนหมดสิ้น แต่ว่ามหายาน ไม่มีแม้แต่พื้นฐาน จนกระทั่งการทำให้ตัวเองหมดสิ้นจากคำสอน ในพระสูตรจำนวนมากเช่น ศตสาหัสตริกา เป็นต้น ดังนั้น มหายานนั้นจึงไม่เป็นวิสัยแห่งตรรกศาสตร์
จากการถกเถียง มีคำที่กล่าวไว้แล้วว่า ความเป็นพุทธบุคคลไม่เข้าถึงได้ในสาวกยาน ดังนั้น มหายานเป็นอุบายวิธีอย่าง โศลกในเรื่องการดำเนินอุบายจึงประยุกต์ได้ด้วยประการฉะนี้
13 เพราะความกว้างขวางและลึกซึ้งจึงมีความแก่กล้าและความไม่แตกต่าง ดังนั้น เทศนาจึงมีเป็น 2 แบบ และอุบายนั้นจึงปราศจากความยอดเยี่ยม
อรรถาธิบาย โศลกนี้แสดงอะไร ความแก่กล้าของสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยการเทศนาอันกว้างขวางที่มีพลังและเพราะการสืบต่อแห่งอธิมุกติอันมีพลัง ความไม่แตกต่างเกิดมีเพราะเทศนาอันลึกซึ้ง ดังนั้น เทศนา 2 ประการนั้น จึงมีอยู่ในมหายานนี้ และอุบายนั้นมีอยู่ในความรู้อันไม่เป็นที่เยี่ยมยอด ตามลำดับแห่งเทศนาทั้ง 2 ประเภทนั้น ใจอันแก่กล้าของสัตว์ทั้งหลายและความแก่กล้าแห่งธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นต้น มีด้วยประการฉะนี้
อีกประการหนึ่ง บุคคลใดเป็นทุกข์ โศลกที่แสดงเหตุแห่งความเบื่อหน่ายในที่อันไม่เหมาะสมก็มีอยู่นี้
14 ความทุกข์อันไม่สมควรเป็นเครื่องมือ (เหตุ) แห่งโลก เพราะเพราะเหตุแห่งการสั่งสมกองแห่งความไม่เป็นบุญอันใหญ่ เป็นเวลานาน บุคคลผู้ไม่มีโคตร ไม่มีมิตร ไม่มีความคิดอันเลิศ ไม่มีการสะสมบุญไว้ในตกาลก่อน เป็นผู้มีความทุกข์ในธรรมนี้ ย่อมตกไปจากประโยชน์อันไพศาลในโลกนี้
อรรถาธิบาย ในการวิเคราะห์ศัพท์ ตทสฺถานตฺราส (บุคคลผู้เป็นทุกข์ในสถานะอันไม่ใช่ทุกข์) เหตุแห่งการไหม้ย่อมมีอยู่ ในอบายทั้งหลาย เพราะอะไร เพราะเหตุแห่งการสะสมกองแห่งความไม่เป็นบุญอันใหญ่ไว้ยาวนานเพียงไร เป็นเวลานานทีเดียว โทษ (อาทีนวะ) ย่อมมีใน ภายหลังอย่างนี้ ด้วยเหตุใดตลอดกาลมีประมาณเท่าไรนั้นปรากฏแล้ว อะไรอีกเป้นเหตุแห่งความทุกข์ร้อนนั้นมี 4 ประการ โคตรของเขาไม่มี มิตรแท้ของเขาไม่มี หรือมีปัญญาอันไม่แจ่มใส หรือมีความดีที่สั่งสมมาในกาลก่อนเพื่อความเป็นผู้มีธรรมแห่งมหายานย่อมปรากฏ
เหตุแห่งความทุกข์ร้อนก็กล่าวถึงแล้ว ก็ควรกล่าวเหตุแห่งความไม่ทุกข์ร้อนด้วย เพราะฉะนั้นโศลกในเรื่องเหตุแห่งความไม่ทุกข์ร้อน
15 ไม่มีสิ่งอื่นใดจากภาวะนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงความยอดเยี่ยมลึกซึ้งอย่างวิจิตร ไม่ประกอบด้วยการขนาน เปิดออกให้เห็นความหลากหลาย เป็นสิ่งใช้ได้ ไม่จำแนกอรรถและเป็นสิ่งที่ไม่ยึดถือในความมีอยู่ ย่อมไม่มีความทุกข์ร้อนในธรรมแก่บัณฑิตผู้วิจัยจุดกำเนิด
อรรถธิบาย สิ่งอื่นจากความไม่มี กล่าวคือ จากความมีอยู่แห่งมหายานอันอื่นอีก ดังนั้นสาวกยานนั่นแหละพึงเป็นมหายาน ความไม่มีแห่งปัจเจกพุทธยานหรือแห่งสาวกยานอันอื่นอีก พึงมี เพราะว่าบุคคลทั้งปวงนั้นแหละพึงเป็นพระพุทธเจ้าและเป็นสิ่งที่ถือกันว่ายอดเยี่ยม เพราะดำเนินไปบนหนทางแห่งความรู้ทั้งปวง ด้วยความเป็นไปแห่งเครื่องวัดคือกาลเวลา มีความลึกซึ้งอย่างวิจิตร เพราะรวบรวมหนทางแห่งสัมภาระอันวิจิตรในที่นี้ไม่เพียงแต่เป็นศูนยตาด้วยถ้อยคำอันเที่ยงแท้และเพราะเปิดเผยออกให้เห็นความหลากหลาย ในที่นี้ศูนยตาควรถูกกล่าวถึงโดยปริยายอันมาในพระสูตรนั้นๆ เพราะฉะนั้น พึงมีประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ยิ่งกว่านั้นการกระทำแต่เพียงว่าปฏิเสธอันเพียงพอพึงมีว่า เมื่อใดมที่ไม่มีอรรถ และไม่มีคำพูดเป็นข้อๆ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีความทุกข์ร้อนใด ความมีอยู่ซึ่งเกี่ยวพันกับพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค เป็นเรื่องหยั่งไม่ถึงเลยทีเดียว ความมีอยู่ของ พระพุทธเจ้าเป็นเรื่องรู้ได้ยาก เพราะฉะนั้นบุคคลพึงรู้สึกทุกข์ร้อนในความรู้นั้นหามิได้ ความทุกข์ร้อนของบัณฑิตผู้วิจัยจุดกำเนิดจึงไม่มี
โศลกว่าด้วยเรื่องโคจรแห่งความรู้อันเข้าถึงได้ยาก
16 มนัสการกำเนิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งการฟัง ความรู้แห่งมนัสการเป้นวิสัยของตัตวารถะ จากการบรรลุธรรมนั้น ความยินดีในความคิดก็เกิดขึ้นในการบรรลุธรรมนั้น เมื่อใดบุคคลอยู่ ณ จุดนี้ ความคิดนั้นการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ย่อมมีได้อย่างไร
อรรถาธิบาย มนัสการเกิดขึ้นบนพื้นฐานแห่งการฟังนั้น คำว่า โย ใช้แทนคำว่า โยนิศะ โยนิศะ คือความรู้ที่เป็นวิสัยแห่งมนัสการะและตัดวารถะซึ่งเป็นสัมมาทิฐิอันเป็นโลกุตตระ ดังนั้น การบรรลุคือธรรมนั้นย่อมมีในการบรรลุนั้น ความคิดอันเป็นวิมุตติชญานย่อมปรากฏมีขึ้น เมื่อใดที่บุคคลอยู่ในสถานะเช่นนี้ ความคิดนั้นย่อมมี การแก้ปัญญานั้นพึงมีได้อย่างไร ความเที่ยงแท้ย่อมมีนี่ ไม่ใช่พระพุทธวจนะ
โศลกเกี่ยวกับสถานะแห่งการถึงความไม่ทุกข์ร้อน
17 ข้าพเจ้าไม่เข้าใจและแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่เข้าใจว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง เพราะเหตุใดจึงลึกซึ้งอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้ารู้สิ่งที่เป็นตรรกะ ได้เพราะเหตุใด เพราะอะไรความหลุดพ้น(โมกษะ) ของผู้รู้ ความหมายอันลึกซึ้งจึงมี เพราะเหตุว่าการเข้าถึงความทุกข์ร้อนอันบุคคลไม่ควร (ไม่ถูกต้อง)
อรรถาธิบาย ถ้าว่าข้าพเจ้าตราบใดยังไม่รู้การเข้าถึงความเป็นทุกข์ร้อนแล้วไซร้ตราบนั้นก็เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงทราบความทุกข์ร้อนอันลึกซึ้งแล้ว พระองค์จักแสดงความทุกข์ร้อนอันลึกซึ้งได้อย่างไรนี้เป็นสิ่งถูกต้อง เพราะอะไร การไม่เข้าถึงหลักตรรกะจึงเป็นการถึงความทุกข์ร้อนอันลึกซึ้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งนี้ก็ไม่สมควร เพราะอะไร โมกษะของบุคคลผู้รู้ความหมายแห่งความลึกซึ้งจึงไม่ใช่การเข้าถึงความทุกข์ร้อนของพวกนักตรรกศาสตร์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นสิ่งนี้ย่อมจะไม่ควร
โศลกว่าเรื่องการไม่ถึงอธิมุกติและสิทธิ(ความสำเร็จ)
18 ถ้าบุคคลมีอธิมุกติ อันต่ำทรามมีธาตุอันต่ำทราม แวดล้อมด้วยสหายที่ยากจน (คือมีความเชื่อและต่ำทราม) ก็จะไม่มีความเชื่อ ในธรรมนี้ซึ่งแสดงอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ความสำเร็จก็จะไม่มีเช่นกัน
อรรถาธิบาย บุคคลมีความเชื่ออันต่ำทราม มีธาตุคือการเจริญอาลยวิญญาณเต็มรอบอันต่ำทราม แวดล้อมด้วยสหายต่ำทรามผู้มีความเชื่อและธาตุเสมอกัน เพราะฉะนั้นอธิมุกติในมหายานธรรมที่แสดงแล้วอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง จึงไม่มีและความสำเร็จก็ไม่มี เพราะมหายานเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุด
โศลกว่าด้วยเรื่องการประกอบ (อาโยโค) การปฏิเสธพระสูตรอันไม่ได้ฟัง
19 บุคคลใด(ซึ่งมีความรุ้ขึ้นมาได้โดยการฟัง) ปฏิเสธสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟังมาว่า ความเที่ยงแท้ในสิ่งที่ตนได้ฟังมาอันวิจิต ไม่มีประมาณและวิเศษจะมีแต่ที่ไหน ดังนั้นบุคคลนั้นจึงเป็นผู้โง่เขลาแท้
อรรถาธิบาย แน่แท้ทีเดียวว่า อธิมุกติไม่พึงมีเพราะว่าการปฏิเสธความวิเศษแห่งพระสูตรอันตนไม่เคยฟังนั้น เป็นสิ่งไม่สมควร บุคคลใดได้เป็นผุ้มีความรู้ด้วยการฟังแล้วกระทำการปฎิเสธสิ่งที่ได้ฟัง ผู้นั้นเป็นคนโง่บเขลา ความเที่ยงแท้แห่งเหตุในสิ่งที่ตนได้ฟังแล้วอันวิเศษ วิจิตร และไม่มีที่เปรียบมีแต่ที่ไหน เพราะเหตุฉะนั้นนี่จึงไม่ใช่พระพุทธวจน กำลังอื่น(พละอื่น) ของบุคคลนั่นจากการฟังย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นการปฏิเสธหลังจากฟังแล้วจึงเป็นสิ่งไม่ควร
หากแม้ว่าบุคคลพึงกระทำมนสิการซึ่งการฟัง โดยแยบคายแล้วไซร้ แล้วอโยนิโสล่ะ ดังนั้นโศลกว่าด้วยอโยนิโสมนสิการ (จึงมีว่า)
20 เมื่อบุคคลเพียงคิดในถ้อยคำที่พูดออกมา ในความหมายของมันปัจจัยอันเป็นของตนย่อมถึงซึ่งความเสื่อมแห่งโพธิ บุคคลที่ดูถูกคุณค่าแห่งถ้อยคำที่เปล่งออกมาละทิ้ง ย่อมได้รับความเสื่อมสิ้นในธรรม
อรรถาธิบาย ปัจจัยอันเป็นของตน มหายความว่า การยึดมั่นในทิฐิของตนไม่แสวงหาความหมายสุดท้ายแห่งวิญญาณ ย่อมถึงความเสื่อมสิ้นแห่งโพธิ คือ เพราะความไม่รุ้ในความเป็นจริง (ยถาภูต) จึงถึงความเสื่อมรอบ
บุคคลปฏิเสธถ้อยคำที่เปล่งออกมาของตัวเองแห่งธรรม เขาย่อมถึงซึ่งการเริ่มต้น อันซัดส่ายไปด้วยอำนาจแห่งความไม่เป็นบุญ และการปฏิเสธ การห้ามธรรมเป็นกรรมอันเป็น ไปพร้อมกับความวิบัติแห่งธรรม นี้เป็นอาทีนวะ (เป็นโทษ) และเมื่อบุคคล ไม่รู้และเข้าใจอรรถแล้วปฏิเสธก็เป็นเรื่องมาสมควร เพราะฉะนั้น ฉันท์ว้าด้วยการประกอบแห่งการปฏิเสธ จึงมีว่า
21 ใจที่ประกอบด้วยโทษ ก้มีธรรมชาติเป็นโทษ (และในความเป็นยถาภูต) เป็นใจที่มีรูปอันไม่เหมาะสม จะป่วยกล่าวไปใยถึงความสงสัยในธรรม เพราะฉะนั้น อุเบกขานั่นเทียวเป็นสิ่งไม่มีโทษอันประเสริฐ
อรรถาธิบาย ใจที่มีปกติประทุษร้ายก็คือ ใจที่น่าตำหนิเป็นปกติ เพราะฉะนั้น อุเขกขา เป็นสิ่งประเสริฐ เพราะไม่มีโทษ แต่ว่าการปฏิเสธ เป็นสิ่งที่มีโทษ
อธิการที่ 1 ว่าด้วยความสำเร็จแห่งมหายาน ในมหายานสูตราลังการ จบ
*********
โศลกว่าด้วยการสงเคราะห์ความวิเศษแห่งการถึงสรณะ
1 บุคคลใดถึงรัตนะ 3 ว่าเป็นที่พึ่งในยานนี้ เขาเป็นที่รุ้จักกันว่าเป็นผู้ยอดเยี่ยมในบรรดาผู้ยึดถือสรณะทั้งหลาย เพราะความวิเศษแห่งอรรถ 4 ประการ คือ อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง อรรถแห่งการไปปราศยิ่ง อรรถแห่งการบรรลุ และอรรถแห่งความแตกต่างอันยิ่งเกิน
อรรถาธิบาย บุคคลนั้นเป็นผู้มีความยอดเยี่ยม ในบรรดาผู้เข้าถึงสรณะทั้งหลายแล/ เพราะเหตุไร/ เพราะความวิเศษแห่งอรรถอันเป็นภาวะของตน 4 ประการ / อรรถ 4 ประการนั้นคือ อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง อรรถแห่งการไปปราศยิ่ง อรรถแห่งการบรรลุและอรรถแห่งความแตกต่างอันยิ่งเกิน อันบุคคลพึงทราบ / ความเป็นสากล /การยึดมั่น /การได้มา / ความยิ่งใหญ่ / ความยอดเยี่ยมทั้ง 4 ประการ จะนำมาแสดงอีกครั้ง /
บางคนเป็นผู้ไม่มีความอุตสาหะ เพราะเป็นการงานที่กระทำได้โดยยากของบุคคลผู้เข้าถึงสรณะในที่นี้ / โศลก /
2 ในเบื้องต้นนี้ การงานนี้เป็นสิ่งกระทำได้โดยยาก มีศีลยาก ไม่ใช่ด้วยเพียงหลายพันกัลป์เพราะเหตุใด ความหมายอันยิ่งใหญ่คือการสงเคราะห์สรรพสัตว์เป็นความสำเร็จ เพราะเหตุใด เพราะฉะนั้นความหมายแห่งสรณะ อันยอดเยี่ยม ในที่นี้จึงมีในอัครยาน(ยานอันยอดเยี่ยม)
อรรถาธิบาย อันบุคคลย่อมแสดงความตั้งใจแห่งปริธานและการปฏิบัติอันวิเศษแห่งการงาน คือการถึงสรณะนั้น / ความเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพราะการบรรลุวิเศษ /
โศลกว่าด้วย อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง ตามที่กล่าวไว้ในอธิการก่อน
3 บุคคลใดเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อการยังสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น เขาย่อมเป็นผู้ประพฤติอันเป็นกุศลในความรู้อันเข้าถึงทั้งปวง บุคคลใดเห็นแจ้งในนิรวาณอันมีรสเดียว คือ สันติอันปรุงแต่งดีแล้ว เขาย่อมเป็นผู้มีความรู้และในปราชญ์ เพราะฉะนั้นจึงเป็น อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง
อรรถาธิบาย อรรถมี 4 ประการ อรรถแห่งการไปในที่ทั้งปวง อรรถแห่งการไปปราศยิ่ง อรรถแห่งการบรรลุ และอรรถแห่งความแตกต่างอันยิ่งเกิน การได้รับธรรมตาตามที่ได้สังเกตไว้แล้ว ก็คือ ลักษณะอันแตกต่างโดยประเทภอันเล็กน้อยอันบุคคล ไม่สามารถแยกแยะได้
โศลกว่าด้วยความพิเศษแห่งการปฏิบัติสรณะ
4 บุคคลผู้ถึงอรรถใหญ่ว่าเป็นคติแห่งสรณะ เขาย่อมเข้าถึงความเจริญแห่งคุณและคณะอันไม่มีที่เปรียบและเขาย่อมได้รับธรรมอันใหญ่อันไม่มีอะไรเหมือนด้วยความกรุณาต่อโลกนี้
อรรถาธิบาย ในที่นี้ท่านแสดงการถึงสรณด้วยการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและบุคคลอื่น อันมีประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ / อีกประการหนึ่งการปฏิบัติประโยชน์เพื่อตนเองด้วยความเจริญอันมีคุณประการต่างๆ และไม่มีที่เปรียบ / ความไม่มีที่เปรียบ อันบุคคลพึงทราบด้วยการเปรียบเทียบกับกาลเวลาที่พึงนับว่าเป็นตรรกะ / เพราะว่าความเจริญด้วยคุณนั้นบุคคลไม่พึงกระทำด้วยตรรกะ ด้วยการเปรียบเทียบด้วยการนับคำนวณและด้วยกาลเวลา / การปฏิบัติประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นอาศัยด้วยความกรุณาและปราณี ส่วนการประกอบด้วยประพฤติธรรมแห่งมหายาน / เพราะว่ามหายานเป็นธรรมอันแสดงความความประเสริฐอันยิ่งใหญ่
อธิการที่ 2 ว่าด้วยการพึงสรณะในมหายานสูตราลังการ จบ
*****
โศลกว่าด้วยสงเคราะห์ประเภทของโคตร
p p p p p
1 ความเป็นเลิศแห่งสัตว์ ความมีอยู่แห่งลิงค์ โคตร ประเภท โทษ การสรรเสริญ การเปรียบเทียบ 2 หน แต่ละอัน 4 ชนิด
อรรถาธิบาย ด้วยโศลกนี้ เป็นการสงเคราะห์ความมีอยู่แห่งโคตร สวภาวะ ลิงค์ ประเภท โทษ สรรเสริญ ความเปรียบเทียบ 2 หน ออกเป็นประเทภต่างๆ / และสิ่งเหล่านี้มี 4 ประการ โดยปัจเจก/
โศลกว่าด้วยการแจกแจงความมีอยู่แห่งโคตร
2 ความมีอยู่แห่งโคตรย่อมสืบค้นได้จากความแตกต่างแห่งธาตุ การหลุดพ้น การปฏิบัติและการบรรลุผลที่แตกต่างกัน /
อรรถาธิบาย ความมีธาตุต่างๆกัน ปริมาณของสัตว์ ความแตกต่างแห่งธาตุ ได้กล่าวไว้แล้วในอักษราศิสูตร / เพราะเหตุนั้น แม้บุคคลอันมีชาติกำเนิดอย่างนี้ ก็พึงนับว่าเป็นความแตกต่างแห่งการหลุดพ้นของสัตว์ทั้งหลายอันบุคคลพึงพบได้ / ความหลุดพ้นอะไรๆ ของใครๆ ก็ตามพึงมีได้ในยานที่ 1 นั่นแล / การหลุดพ้นนั่นไม่พึงมีความแตกต่างแห่งโคตร โดยระหว่าง / อนึ่ง ความแตกต่างแห่งการปฏิบัติอันบุคคลพึงพบได้ด้วยปัจจัย ความชำนาญ และการหลุดพ้น แม้แห่งความเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น บางคนก้าวหน้า บางคนไม่ก้าวหน้า ด้วยเหตุนี้ความหลุดพ้นนั้นไม่พึงมีความแตกต่างแห่งโคตรโดยระหว่าง / และการบรรลุผลที่แตกต่างกันอันบุคคลพึงพบได้ คือ โพธิอันเลว กลางและวิเศษ (สูง) / การบรรลุผลที่แตกต่างกันนั้น ไม่พึงมีความต่างแห่งโคตร โดยระหว่าง พีชะ เป็นความเหมาะสมแห่งผล /
โศลกว่าด้วยการจำแนกความเป็นเลิศ
3 ความเป็นเลิศแห่งโคตรอันท่านจำแนกจากนิมิตคือ ความแข็งแรงความมีอยู่ในทุกที่ ความมีประโยชน์อันยิ่งใหญ่และความไม่มีที่สิ้นสุด /
อรรถาธิบาย ในโศลกนี้ ท่านแสดงความเป็นเลิศแห่งโคตรด้วยนิมิตอันมี 4 ประการ กล่าวคือ โคตร มีความแข็งแรง ตวามมีอยู่ในทุกแห่ง ความมีประโยชน์อันใหญ่และความไม่รู้จักสิ้นเป็นนิมิตแห่งกุศลมูลทั้งหลาย / เพราะว่าความแข็งแรงอันเป็นกุศลมูลแห่งสาวกยานไม่มี ความมีอยู่ในทุกที่ก็ไม่มี เพราะขาดพละกำลังและความไพศาล / และไม่มีความเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่ คือ ประโยชน์เพื่อบุคคลอื่น / ไม่มีความไม่รู้จักสิ้นคืออนุปาทิเสสนิพพานเป็นอวสาน (ที่สุด)
โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะ
4 โคตรพึงเป็นสิ่งที่รู้ได้โดยการเจริญเติบโตตามปกติ ตวามตั้งมั่นโดยปราศจากสิ่งเป็นที่อาศัย ความมีอยู่และความไม่มีอยู่ ตามแต่ความมีประโยชน์สูงสุดและคุณธรรมสูงส่ง
อรรถาธิบาย โศลกนี้ แสดงโคตร 4 ประการ / โดยลำดับคือการเจริญเติบโตตามปกติความตั้งมั่น สวภาวะแห่งการอาศัย และสวภาวะแห่งการถูกอาศัย / และอีกประการหนึ่ง ความมีอยู่ด้วยเหตุภาวะ และความไม่มีอยู่ด้วยผลภาวะ อันบุคคลพึงทราบว่าเป็นโคตรตามความมีประโยชน์สูงสุดและคุณธรรมสูงส่ง คุรธรรมทั้งหลายย่อมมีขึ้น ได้ด้วยประโยชน์สูงสุดกล่วคือ กระทำแล้ว /
โศลกว่าด้วยการจำแนกลิงค์(เครื่องหมาย)
5 เครื่องหมายแห่งโคตรเป็นสิ่งที่พึงรู้ได้จากความกรุณา ความหลุดพ้น ขันติ เป็นต้น ที่ผู้เจริญประพฤติปฏิบัติเป็นอาจาระ /
อรรถาธิบาย ลิงค์ในโคตรแห่งพระโพธิสัตว์ มี 4 ประการ / การปฏิบัติเบื้องต้น คือความกรุณาในหมู่สัตว์ / ความหลุดพ้นในมหายานธรรม / กษานติอันเป็นจริตที่ทำได้โดยยาก โดยอรรถคือการอนุเคราะห์ / และความประพฤติเหมาะสมในกุศลเพื่อการบรรลุถึงฝั่ง (ข้ามถึงฝั่งคือนิรวาณ)
โศลกว่าด้วยการจำแนกประเภท
6 ประเภทแห่งโคตรจำแนกเป็น 4 ประการ โดยสรุปคือ โคตรเป็นสิ่งเที่ยง ไม่เที่ยง ปรากฏ และไม่ปรากฏ โดยปัจจัยทั้งหลาย
อรรถาธิบาย โดยสรุป โคตรมี 4 ประการ โคตรที่เที่ยงแท้ ไม่เที่ยงแท้ และปรากฏ และไม่ปรากฏ โดยปัจจัยทั้งหลายตามลำดับ /
โศลกว่าด้วยการแจกแจงโทษ (อาทีนวะ)
7 โทษแห่งโคตรพึงทราบโดยสรุปว่ามี 4 ประการคือ การฝึกหัดเกลศ(กิเลส) การมีมิตรชั่ว การมีอุปสรรค (พิฆาต) และความอาศัยบุคคลอื่น/
อรรถาธิบาย โทษทั้ง 4 ประการ โดยสรุปในโคตรแห่งพระโพธิสัตว์กล่าวคือ โคตรย่อมเวียนไปสู่ความไม่มีคุณธรรม / (เพราะ)เกลือกกลั้วด้วยเกลศะ / ไม่มีกัลยาณมิตร / การมีอุปสรรคต่อเครื่องมือ / และการไม่มีอิสระ(การอาศัยบุคคลอื่น) /
โศลกว่าด้วยการสรรเสริญ
8 การเข้าถึงอบายอย่างช้า โมกษะอันเร่งรีบ การรู้จักทุกข์อันละเอียด ความเป็นสัตว์ที่สุกงอมด้วยความรวดเร็ว (คือ การสรรเสริญ) ในที่นี้ /
อรรถาธิบาย การสรรเสริญโคตรแห่งพระโพธิสัตว์มี 4 ประการ/ ย่อมไปอบายโดยกาลนาน / อันพระโพธิสัตวืเหล่านั้น ย่อมหลุดพ้นโดยพลัน / รู้จำเพาะซึ่งทุกข์อันละเอียดอ่อน เมื่อเกิดขึ้นในทุกข์นั้น / มีความกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นด้วยใจอันแล่นไป (ในทุกข์) ยังสัตว์เหล่านั้นให้มีความแก่รอบ /
โศลกว่าด้วยการอุปมามหาสุวรรณโคตร
9 พึงเป็นที่รู้โคตรนั้นเหมือนกับโคตรของทอง ซึ่งเป็นที่อาศัยของความดี เป็นที่อาศัยของความรู้ การประกอบโยคะอันไม่มีมลทิน และการมีพลังอำนาจ
อรรถาธิบาย เหมือนว่าโคตรแห่งทองใหญ่พื้นฐานแห่งทองมี 4 ประการ / ความอุดม สมบูรณ์ ความสุกใส ไร้มลทิน และเหมาะแก่การงาน / โดยการเทียบเคียงนั้น โคตรแห่งพระโพธิสัตว์มีพื้นฐานแห่งกุศลมูลเป็นอุปมา / พื้นฐานแห่งความรุ้ / พื้นฐานแห่งการบรรลุถึงความไม่มีมลทิน คือกิเลศ / พื้นฐานแห่งพลังอำนาจอภิญญาเป็นต้น / ด้วยเหตุนี้แหละพึงทราบการอุปมาด้วยโคตรแห่งมหาสุวรรณ
โศลกว่าด้วยการเปรียบเทียบมหารัตนะ
10 พึงเป็นที่รู้ โคตรนั้นเหมือนกับรัตนโคตรอันงดงามเพราะเป็นนิมิตแห่งมหาโพธิเป็นพื้นฐานแห่งความรู้ สมาธิ และมหาสัตว์ประเสริฐ ผู้ปรารถนาประโยชน์ /
อรรถาธิบาย เหมื่อนโคตรแห่งมหารัตนะ พื้นฐานแห่งรัตะมี 4 ประการ / คือชาติ วรรณะ สถานที่ และขนาด /พึงทราบ การอปมานั้นเหมือนกับโคตรแห่งพระโพธิสัตว์ เป็นนิมิตแห่งมหาโพธิ เป็นนิมิตแห่งมหาชญาน เป็นนิมิตแห่งความสุกงอมของมหาสัตว์ กล่าวคือ ความแก่รอบแห่งสัตว์แห่งสัตว์จำนวนมาก /
โศลกว่าด้วยการแจกแจงความไม่มีโคตร
11 ผู้มีความทุจริตโดยส่วนเดียว ผู้ทำลายล้างธรรมอันงาม ผู้ไม่มีสอนแห่งโมกษะ ผู้มีความต่ำทรามในความบริสุทธิ์ และมีเหตุอันต่ำทราม /
อรรถาธิบาย โศลกอภิปรายความไม่มีโคตรคือ ความเป็นผู้ไม่มีปรินิพพานธรรมนั้น / และโดยย่อมี 2 ประเภท คือ / อปรินิพพานในเวลนั้นและอันมีในที่สุด / อปรินิพพานธรรมในเวลานั้น 4 ประการ / เป็นผู้มีความทุจริต โดยส่วนเดียว มีกุศลมูลอันตัดขาดแล้ว ไม่มีกุศลมูลอันส่วนแห่งโมกษะ มีกุศลมูลอันต่ำทรามและไม่มีสัมภาะอันเต็มรอบ / อปรินิพพานธรรมอันมีในที่สุด เพราะมีเหตุอันเลวจึงไม่มีโคตรแห่งปรินิพพานแก่บุคคลนั้น /
โศลกว่าด้วยการสรรเสริญโคตรที่เจริญเติบโตตามปกติ
12 ธรรมอันลึกซึ้งและประเสริฐ ไม่มีที่สิ้นสุดเกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการอนุเคราะห์บุคคลอื่น ความไม่มีแห่งความรู้ การหลุดพ้น อันไพบูลย์ดีและถึงพร้อมด้วยความอดกลั้น สมบัติการถึงซึ่งความเป็น 2 อันยอดเยี่ยม ย่อมมีแก่บุคคลเหล่านั้นในที่สุด พึงเป็นที่รู้ความเจริญขึ้นแห่งคุณธรรมตามปกติของพระโพธิสัตว์และความเจริญเติบโตนั้นก็เพราะโคตร
อรรถาธิบาย ความไพบูลย์แห่งอรรถ การหลุดพ้นโดยไม่มีความรู้อันลึกซึ้งและประเสริฐในมหายานธรรมอันพิสดารในประโยชน์แห่งกริยาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น อันลึกซึ้งแปละประเสริฐ มีความอตสาหะในการปฏิบัติสมบัติอันยอดเยี่ยมในการถึงพร้อมด้วยความบรรลุความเป็นสองแห่งมหาโพธิ นั้นพึงทราบว่าเป็นความเป็นยอดเยี่ยมแห่งคุณธรรม และความแข็งแรง โดยปกติของโคตรแห่งพระโพธิสัตว์ / บรรลุความเป็นสองก็คือ เป็นสาวกในโลกิยะอันมีอย่าง 2 /ปรมัตถ์อันวิเศษ /
โศลกว่าด้วยความวิเศษแห่งโคตรผล
13 ทรัพย์ สุข ทุกข์ เกิดขึ้นด้วยความเจริญแห่งต้นโพธิอันมีค่าที่ไพบูลย์ยิ่ง และการกระทำความสุข เพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่นย่อมมีเป็นผล นั่นเป็นโคตรอันยอดที่เป็นไปกับด้วยมูลเหตุ /
อรรถาธิบาย โคตรแห่งพระโพธิสัตว์แสดงแล้วด้วยความมีมูล อันน่าปรารถนาแห่งต้นโพธิอันมีผล คือ ประโยชน์ตนและบุคคลอื่น
อธิการที่ 3 ว่าด้วยเรื่องโคตร ในมหายานสูตรลังการ จบ.
*****
โศลกว่าด้วยลักษณะการเกิดขึ้นแห่งจิต
uuuuu
โศลกว่าด้วยลักษณะการเกิดขึ้นแห่งจิต
1 เจตนา อุตสาหะใหญ่ การปรารภใหญ่ ประโยชน์ใหญ่ และการเกิดขึ้นใหญ่ (ย่อมเกิดขึ้น) ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งจิตอันมีอรรถ 2 ประการ (ย่อมมีในจิต) ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย /
อรรถาธิบาย มหาอุตสาหะ คือ ด้วยความเพียรอันยิ่งใหญ่ ด้วยความอุตสาหะในการปฏิบัติตลอดกาลยาวนานซึ่งกริยาอันบุคคลกระทำได้โดยยากอันลึกซึ้ง / การปรารภใหญ่ คือ ด้วยความวิริยะในการประกอบความเพียรอันเช่นนั้น / ประโยชน์ใหญ่(มหาอรรถ) การกระทำเพื่อประโยชน์ตนและบุคคลอื่น / มหาอุทัย (การเกิดขึ้นใหญ่) ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งจิตโพธิ / คุณข้อนี้นั้นมี 3 ประการ ที่ถูกแสดงไว้ คือ คุณคือการกระทำของบุรุษ 2 ประการ คุณการประพฤติประโยชน์โดยบท 2 ประการและคุณคือการยึดถือเอาผลโดย 2 ประการ / ประโยชน์ 2 ด้วยประพฤติประโยชน์แห่งมหาโพธิสัตว์ / ด้วยประการนี้ การเกิดขึ้นแห่งจิตจึงถูกกล่าวว่าเป็นเจตนาอันมีคุณ 3 ประการ และกรรม 2 ประการ
โศลกว่าด้วยประเภทแห่งการเกิดขึ้นแห่งจิต
2 การเกิดขึ้นแห่งจิต มี 4 ประการ คือ อธิโมกษ์ ศุทธาธยาศยิกะ ไวปารกยะ และอนาวรณิจ (ความหลุดพ้นยิ่งใหญ่ ที่สุดแห่งความมุ่งหวังอันบริสุทธิ์ ความเป็นผู้แก่รอบ และสิ่งที่ถูกเปิดเผยในสภาพต่างๆ) ในภูมิแห่งความคิดทั้งหลาย
อรรถาธิบาย การเกิดขึ้นแห่งจิตของพระโพธิสัตว์มี 4 ประการ / อธิโมกษ์ในภูมิแห่งการประพฤติเพื่อการหลุดพ้น / ศุทธาธยาศยิกะในภูมิ7 / ความเป็นผู้แก่รอบในภูมิที่ 8 เป็นต้น / สิ่งที่ถูกเปิดเผยในสภาพต่างๆในพุทธภูมิ
โศลกว่าด้วยการวินิจฉัยการเกิดขึ้นแห่งจิต 4 ประการ
3 มีความกรุณาเป็นมูล ความน่าปรารถนา ความมุ่งหมายเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ตลอดเวลา มีอธิโมกษ์และธรรมเป็นวัตถุประสงค์แห่งชญาน
4 ยานซึ่งมีฉันทะอย่างยอดเยี่ยมนี้ เป็นความมีศีลสังวรอันตั้งมั่น หนทางอื่นของฝ่ายตรงกันข้ามที่เกิดขึ้นนั่นก็อยู่สงบแล้ว(ถึงทับแล้ว) /
5 การสรรเสริญอันงดงามและเจริญนั้น เป็นสิ่งที่สำเร็จได้ด้วยบุญและความรู้และได้รับการกล่าวว่าเป็นความไม่รู้จักหยุดแห่งการปฏิบัติบำเพ็ญบารมี
6 การปริวรรตในอวสานแห่งภูมินี้ เป้นเพราะการปฏิบัติ การวินิจฉัยการเกิดขึ้นแห่งจิตของพระโพธิสัตว์พึงทราบได้(อย่างนี้แล) /
อรรถาธิบาย การวินิจฉัยนี้เป็นประการนี้ว่า / การเกิดขึ้นแห่งจิตของพระโพธิสัตว์มี 4 ประการนี้ มีอะไรเป็นมูล อะไรเป็นจุดมุ่งหมาย อะไรเป็นอธิโมกษ์ อะไรเป็นสิ่งสนับสนุน อะไรเป็นยาน อะไรเป็นสิ่งที่ตั้งมั่น อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นการสรรเสริญ อะไรเป็นการแปรรูป(ปริวรรต) อะไรเป็นอวสานดังนี้แล / ท่านกล่าวว่า / มีกรุณาเป็นมูล /มีการอนุเคราะห์สัตว์เป็นจุดมุ่งหมาย / มีมหายานธรรมเป็นอธิโมกษ์ (ความหลุดพ้น) / มีชญานเป็นเครื่องสนับสนุนด้วยเหตุแห่งความมุ่งหมายในความรู้ / มีฉันทะอันยอดเยี่ยมเป็นยาน / มีความสำเร็จในศีลเป็นการตั้งมั่น / มีหนทางอื่นเป็นโทษ / อีกประการหนึ่ง หนทางอื่นคือะไร ยานอื่นแห่งฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นการเกิดขึ้นหรือการหยุดนิ่ง(ถึงทับ) แห่งจิต / มีความเจริญแห่งกุศลธรรมอันสำเร็จได้ด้วยบุญและความรู้เป็นการสรรเสริญ / มีความในการบำเพ็ญบารมีเป็นการแปรรูป / การเสพเฉพาะ เป็นอวสานแห่งภูมิ เพราะประโยคะด้วยภูมิ / บุคคลใดเป็นผู้ประกอบในภูมิใดภูมินั้น และเป็นที่สุดแห่งภูมิ /
โศลกว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งจิต โดยการสมาทานและการสังเกต
7 เพราะพลังของมิตร พลังของเหตุ พลังของมูล พลังของการได้ฟัง เพราะการฝึกฝนอันงดงาม เพราะการพูดของบุคคลอื่นที่เขากล่าวออกมาแล้ว การเกิดขึ้นแห่งจิตจึงเป็นการเกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งมั่นและตั้งมั่น
อรรถาธิบาย การเกิดขึ้นแห่งจิต เพราะคำกล่าวของบุคคลอื่นใดนั้น กล่าวกันว่าเป็นการสมาทานและสังเกต เพราะการที่บุคคลอื่นทำให้รู้ / อีกประการหนึ่ง การเกิดขึ้นแห่งจิตนั้นมีเพราะพลังแห่งมิตร คือเพราะการคบกัลยาณมิตร/ เพราะพลังแห่งเหตุ คือ เพราะความสามารถแห่งโคตร / เพราะกุศลมูลในอดีตที่โคตรนั้นสั่งสมมาแล้ว / หรือว่าเพราะพลังแห่งการได้ฟัง คือ เพราะการเกิดขึ้นแห่งโพธิจิตของบุคคลจำนวนมาก เมื่อกล่าวธรรมบรรยายในที่นั้นๆ / เพราะการฝึกฝนอันงดงาม คือ โดยการฟัง ยกขึ้น ทรงไว้ เป็นต้น ซึ่งความจริงในธรรมเพียงดังว่าเห็นแล้ว / อีกประการหนึ่ง พึงทราบว่าการเกิดขึ้นไม่ตั้งมั่นนั้น เพราะพลังแห่งมิตร / การเกิดขึ้นตั้งมั่น เพราะพลังแห่งเหตุเป็นต้น
โศลกว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งจิตที่ประกอบด้วยประโยชน์อันยิ่งใหญ่ 7 โศลก
8 พระพุทธเจ้าได้รับการยกย่องดีแล้ว การสั่งสมบุญและความรู้ได้รับการสั่งสมไว้อย่างดีแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ เพราะเป็นเพียงความรู้อันไม่แตกต่างและความเป็นปรมะในธรรมทั้งหลาย /
9 ในธรรมทั้งหลาย ในสัตว์ทั้งหลาย ในการกระทำดีทั้งหลายและในความเป็นพุทธะความปราโมทย์อันวิเศษย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นแห่งจิตอันเสมอ /
10 กำเนิดความเป็นอารยะแต่ต้น ความอุตสาหะ ในสิ่งนั้น ความมุ่งหวังอันบริสุทธิ์ ความีกุศล การแปรรูปในจิตอันมุ่งหมายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรทราบ
11 เพราะพีชะ(เชื้อ) ความหลุดพ้นในธรรมจึงเกิดขึ้น เพราะมรรคอันประเสริฐ บารมีจึงเกิดขึ้น ความสุขจากสมาธิเกิดขึ้นในครรภ์(และ)ความกรุณาเป็นแม่นมผู้เลี้ยงดู
12 ความเป็นอารยะแต่ต้น พึงทราบว่ามีมหาอภินิหาร 10 เป็นปริธาน ความอุตสาหะก็พึงทราบได้จากความเพียรพยายามอันยาวนานใน(ทุกกรกริยา) สิ่งที่พึงได้โดยยาก /
13 การได้ความรู้โดยสำเร็จจากพระโพธิสัตว์หรือโดยอุบายแห่งความรู้นั้น พึงทราบว่าเป็นความบริสุทธิ์แห่งความมุ่งหวัง ความมีกุศล (ทักษะ) พึงทราบว่าเป็นการไปถึงภูมิอื่น /
14 การแปรรูปพึงทราบว่าเป็นมนสิการในสถานการณ์ ซึ่งเป็นเพราะความรู้อันบริสุทธิ์และความปราศจากความแตกต่างแห่งการแปรรูป
อรรถาธิบาย ท่านแสดงความประกอบด้วยประโยชน์อันบรมแห่งการเกิดขึ้นแห่งจิตโดยความวิเศษแห่งการบรรลุถึงการปฏิบัติตามคำสอนด้วยโศลกที่หนึ่ง / การเกิดขึ้นแห่งจิตอันประกอบด้วยประโยชน์อันบรมนั้นก็คือ ภูมิแห่งความยินดี (ภูมิอันน่ายินดี) / ท่านแสดงเหตุแห่งการเข้าไปสู่ภูมิอันน่ายินดีไว้ในที่นั้น / ความเป็นผู้มีจิตเสมอ ในธรรมทั้งหลายนั้น คือ รู้เฉพาะซึ่งความที่แห่งธรรมเป็นสิ่งไม่มีตัวตน / ความเป็นผู้มีจิตเสมอในสัตว์ทั้งหลาย คือเพราะเข้าไปใกล้ความมีตนเสมอด้วยบุคคลอื่น / ความเป็นผู้มีจิตเสมอ ในการกระทำต่อสัตว์ คือ เพราะหวังความสิ้นทุกข์ของบุคคลอื่นเหมือนเป็นของตัวเอง / ความเป็นผู้มีจิตเสมอ ในความเป็นพุทธะ คือ เพราะความรู้เฉพาะในความแตกต่างแห่งธรรมธาตุและตนเอง / พึงทราบว่าในที่นี้มีประโยชน์ 6 ประการในการเกิดขึ้นแห่งจิตอันประกอบด้วยประโยชน์อันอบรม / ความอุตสาหะ ความบริสุทธิ์แห่งความมุ่งหวัง / ความเป็นอารยะ โดยกำเนิด (กำเนิด ความเป็นอารยะแต่ต้น) ความมีกุศลที่หลงเหลือและการแปรรูป / ในที่นี้กำเนิพึงทราบว่า โดยความพิเศษแห่งพีชะ มารดา ครรภ์ แม่นม / ความเป็นอารยะแต่ต้น พึงทราบจากอภินิหารแห่งมหาปณิธาน 10 ประการ / ความอุตสาหะ พึงทราบจากความเพียรพยายาม อันกระทำได้โดยยากตลอดกาลยาวนาน / ความบริสุทธิ์แห่งความมุ่งหวัง พึงทราบได้จาก การได้รับความรู้โดยสำเร็จจากพระโพธิสัตว์หรือโดยอุบายวิธีแห่งความรู้นั้น / ความมีกุศล พึงทราบว่าเป็นกุศลที่หลงเหลืออยู่ในภูมิอื่นๆ / การแปรรูป พึงทราบโดยการมนสิการซึ่งสถานการณ์และภูมิต่างๆ / โดยมนสิการอย่างไร มนสิการโดยความบริสุทธิ์และความปราศจากความแตกต่างแห่งภูมิและสถานการณ์ / และเพราะความปราศจากความแตกต่างแห่งความรู้อันบริสุทธิ์ของการแปรงรูปนั้น /
โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งการอุปมาอีก 6 โศลก
15 การเกิดขึ้นเสมอด้วยแผ่นดิน สิ่งอื่นเสมอด้วยทองอันดี สิ่งอื่นเสมอด้วยกับพระจันทร์ในวันข้างขึ้น สิ่งที่เหลืออุปมามาได้กับไฟ /
16 อีกอย่าง สิ่งอื่น พึงทราบเหมือนกับขุมทรัพย์ใหญ่ สิ่งอื่นอีกเหมือนกับอากร (แร่) แห่งรัตนะ เหมือนกับสาคร เหมือนกับเพชร เหมือนกับภูเขาใหญ่ที่เคลื่อที่ไม่ได้
17 เป็นเช่นกับราชาแห่งทรัพย์ เป็นเช่นกับด้วยเพื่อนผู้ยิ่งใหญ่ เป็นเช่นด้วยแสงสว่าง แห่งจิตดามณี เป็นเช่นกักบทินกร (พระอาทิตย์) /
18 สิ่งอื่น พึงทราบว่าเป็นเช่นเสียงอันไพเราะของคนธรรพ์ สิ่งอื่นอุปมาเหมือนราชา สิ่งอื่นเหมือนโกฎฐาคาร (ฉางข้าว) และสิ่งอื่นเสมอด้วยหนทางใหญ่นั่นเทียว
19 สิ่งอื่นก็เข้าใจว่าเสมอด้วยยาน การเกิดขึ้นแห่งจิตอื่นเป็นเหมือนกับคนธรรพ์เหมือนกับอ้อยที่เกิดใกล้แม่น้ำ เป็นเช่นกับเสียงแห่งความยินดี เป็นเช่นกับด้วยกระแสแห่งมหานที /
20 การเกิดขึ้นแห่งจิตที่ถูกกล่าวถึงแล้วนั้น เป็นเช่นกับเมฆ เป็นเช่นกับผู้ติดตามแห่งผู้ชนะ เพราะเหตุนั้น จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีเป็นสิ่งที่มีคุณด้วยประการนั้น /
อรรถาธิบาย การเกิดขึ้นแห่งจิตครึ่งแรกของพระโพธิส้ตว์ทั้งหลายเสมอด้วยแผ่นดิน เพราะเป็นความตั้งมั่นแห่งการรวบรวมและประสบกับพุทธธรรมทั้งปวง / การเกิดขึ้นแห่งจิตที่สหคต ด้วยความมุ่งหวังเป็นเช่นกับด้วยทองอันงดงาม เพราะเป็นวิการและการใช้สอยเพื่อประโยชน์สุข / อุปมาเหมือนจันทร์ในกุศลปักษ์ ที่สหคตด้วยอัธยาศัย เพราะการเข้าถึงด้วยการทำลายทุกสิ่งและเพราะความวิเศษแห่งไฟ เพราะว่าอัธยาศัยเป็นความหวังเพื่อการบรรลุคุณวิเศษ /อุปมาด้วยมหาปณิธานที่สหคตด้วยทานบารมี เพราะความไม่รู้จักสิ้นไปแห่งความยินดีของสัตว์อันไม่มีประมาณโดยการบริโภคอามิส / อุปมาด้วยแร่แห่งรัตนะที่เป็นไปกับด้วยศีลบารมี เพราะความเกิดขึ้นรัตนะมีคุณสมบัติทั้งปวงเกิดแต่รัตนากร (แร่แห่งรัตนะ) นั้น / อุปมาด้วยสาครอันสหคตด้วย กษานติบารมีเพราะด้วยของไม่สะอาดทั้งปวงถูกทิ้งลงไปเป็นจำนวนมาก / อุปมาด้วยเพชรที่สหคตด้วยวิริยบารมีเพราะความมั่นคงและไม่แตกง่าย / อุปมาด้วยราชาแห่งภูเขาที่สหคตด้วยธยานบารมี เพราะไม่เคลื่อนไหวและอันบุคคลขยับไม่ได้ / อุปมาด้วยราชาแห่งแพทย์ที่สหคตด้วยชญานบารมี เพราะทำความเจ็บป่วยอันเป็นอุปสรรคต่อความรู้ทั้งปวงให้สงบลง / เปรียบเทียบด้วยเพื่อนผู้ใจดีอันสหคตด้วยความไม่มีประมาณ เพราะไม่วางเฉยต่อสัตว์โลกโดยประการทั้งปวง / เป็นเช่นกับจินดามณีที่สหคตด้วยอภิญญา เพราะอภิญญานั้นมีผลสัมฤทฺธิ์เป็นโมกษะ / เป็นเช่นด้วยกับทินกร (พระอาทิตย์) อันสหคตด้วยสัคหวัตถุ เพราะทำให้เวไนยสัตว์แก่รอบ / อุปมาด้วยเสียงอันไพเราะของคนธรรพ์อันสหคตด้วยความรู้อันหนาแน่น เพราะสอนธรรมที่เป็นที่ชอบใจของเวไนยสัตว์ / อุปมาเหมือนมหาราชาที่สหคตด้วยการเป็นที่พึ่ง เพราะเป็นเหตุแห่งความไม่พินาศ / อุปมาด้วยฉางข้าวอันสหคตด้วยการสะสมบุญและความรู้ เพราะเป็นที่เก็บรวบรวมบุญและความรู้จำนวนมาก / อุปมาด้วยหนทางใหญ่อันสหคตด้วยโพธิปักขิยธรรม เพราะเป็นการดำเนินไปและดำเนินตามแห่งอริยบุคคล / อุปมาด้วยยานอันสหคตด้วยสมณะและวิปัสสนา เพราะนำสุขมาให้ / อุปมาด้วยคนธรรพ์อันสหคตด้วยปฎิภาณในการรักษาด้วยความเป็นไปกับด้วยะรรมแห่งความไม่รู้จักสิ้นไปและแตกในการทรงไว้ซึ่งอรรถแห่งธรรมที่ได้ฟังแล้วและไม่ได้ฟังแล้ว / เป็นเช่นกับด้วยเสียงแห่งความยินดีอันสหคตด้วยการอุทานธรรม เพราะทำเวไนยสัตว์ที่ปรารถนาโมกษะได้ยิน ได้ฟังด้วยความรัก / เสมอด้วยกระแสแห่งมหานทีที่สหคตด้วยเอกายนมรรค เพราะพัดไปซึ่งสระอันเป็นของตน / มีหนทางเดียวในการได้รับความขันติแห่งธรรมของผู้ปฏิบัติตาม เพราะกายแตกตายไปแห่งพระโพธิสัตว์ผู้เข้าถึงภูมนั้น / อุปมาด้วยเมฆอันสหคตด้วยอุบายอันโกศล เพราะแสดงให้เห็นการเข้าไปอยู่ในภพที่น่ายินดี หลังจากสัตว์ทั้งปวงทำกาลกริยา / สมบัติอันเป็นของโลกที่น่ายินดีเกิดขึ้นจากเมฆ / การเกดขึ้นแห่งจิตด้วยอุปมาทั้ง 22 ประการนี้ อันบุคคลพึงถึงโดยอนุสารอันไม่รู้สิ้นไปในอักษยมติสูตร อันประเสริฐ /
โศลกว่าด้วยการอธิบายการเกิดขึ้นแห่งจิต
21 ชนผู้ละเว้นการเกิดขึ้นห่งจิตอันเหมาะสมใหญ่ เพราะจิตในความหมายอื่นและเพราะได้รับอุบายวิธีอื่นนั้น และพระถูกแสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายที่สัมพันธ์อย่างยิ่งใหญ่ ละแล้วซึ่งความสุขนั้นจักถึงความสงบ /
อรรถาธิบาย โดยการเกิดขึ้นแห่งจิตนั้น สัตว์ทั้งหลายที่ละเว้นแล้ว ย่อมไม่ได้รับความสุขทั้ง 4 ประการ เพราะความสุขของพระโพธิสัตว์มีเพราะการจินตนาการถึงความหมายอื่น / และเพราะการได้รับอุบายวิธีในความหมายอื่น / และเพราะการจินตนาการถึงความหมายอื่น/ และเพราะการได้รับอุบายวิธีในความหมายอื่น และเพราะรู้ความหมายในการอภิปรายพระสูตรด้วนตนเองในมหายานอันลึกซึ้ง / และเพราะความสุขมีเพราะความเห็นพร้อมแห่งควยามเป็นธรรมอันไม่มีตัวตนแห่งความเป็นสิ่งอันเป็นปรมะ
โศลกว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งทุคคติ ความโทมนัส ความกลัว และการสรรเสริญการเกิดขึ้นแห่งจิต
22 จิตอันสังวรดีแล้วของบุคคลผุ้เป็ปราชญ์ผู้ประเสริฐ เพราะจิตเกิดขึ้นพร้อม เพราะการกระทำได้โดยยากอันไม่มีที่สุด ย่อมยินดีด้วยความสุขและด้วยทุกข์ เป็นผู้งดงามและมีความกรุณา การกระทำย่อมเพิ่มพูนทั้ง 2 ประการ
อรรถธิบาย จิตที่สังวรดีแล้วของพระโพธิสัตว์ เพราะเกิดขึ้นพร้อมกับจิตอันประเสริฐนั้น ย่อมมี ความกลัวต่อทุคติย่อม ไม่มีแก่บุคคลนั้น เพราะการอธิฐานต่อสัตว์อันไม่มีที่สุด อันบุคคลกระทำได้โดยยาก/ ความงดงามและความเที่ยงแท้แห่งการกระทำอันเป็นกรุณาและความโชคดีทั้ง 2 ประการ ย่อมมี เขาย่อมเพลิดเพลินด้วยกรรมนั้น / แม้ด้วยความสุข ก็มีด้วยเช่นกัน / เพราะมีความพยายามด้วยสิ่งที่บุคคลพึงกระทำจำนวนมาก /
โศลกว่าด้วยการได้รับการไม่สังวรการกระทำ
23 ในกาลใดพระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่วางเฉยในสรีระและชีวิตของตน บำเพ็ญประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะถูกบุคคลอื่นวิพากษ์โดยวิธีนั้น จะเป็นผู้กระทำความชั่วได้อย่างไร
อรรถธิบาย ร่างกายเป็นสิ่งไม่มีประโยชน์ เพราะวางอุเบกขาในสรีระและชีวิตของคนแล้ว เห็นร่างกายของคนอื่นมีค่ายิ่งกว่าเป็นที่รักยิ่งกว่าของตน / พระโพธิสัตว์โดยการถ้าไปหาโดยบุคคลอื่นซึ่งประโยชน์ในร่างกายของตนอย่างนี้แล้ว จะเป็นผู้ทำกรรมชั่วได้อย่างไร /
โศลกว่าด้วยการไม่แยกจากกันของจิต
24 เมื่อบุคคลเห็นธรรมทั้งปวงอุปมาด้วยมายา และการอุบัติเป็นเช่นกับทางเดินในอุทยาน เขาย่อมไม่มีความกลัวทุกข์และความเจ็บปวด แม้ในกาลแห่งความมีสมบัติ และในกาลที่มีความวิบัติ /
25 คุณธรรมทั้งหลายที่เป็นของตนเป็นที่ยินดี เพราะเกื้อกูลแก่สัตว์และการสั่งสมความเจริญและทรัพย์ โดยกำเนิดเหมือนการเล่นกลเปลี่ยนแปลงเครื่องประดับ หรือเหมือนกับโภชนะอันเลิศ ในภูมิอันเลิศเพราะความกรุณาเป็นนิตย์ เป็นความรื่นรมย์ในการละเล่น
อรรถธิบาย พระโพธิสัตว์มองเห็นธรรมทั้งปวงอุปมาด้วยมายาแล้วย่อมไม่กลัวต่อความเจ็บปวดในเวลแห่งความมีสมบัติ / และย่อมไม่กลัวทุกข์ ในกาลบิบัติเพราะมองเห็นการอุบัติเหมือนกับหนทางเดินในอุทยาน / โพธิจิตย่อมไม่หวนกลับมาเพราะความกลัวใดๆ / อนึ่ง คุณธรรม ของตนเป็นเครื่องประดับของพระโพธิสั้ตว์ทั้งหลาย / เป็นโภชนะอันน่ายินดีเพราะการเอื้อเฟื้อแก่สัตว์อิ่น / การอุบัติที่มีความคิดเป็นภูมิแห่งอุทยาน / การเล่นกลเปลี่ยนรูปร่างเป็นความยินดีในกรีฑาของพระโพธิสัตวืทั้งหลาย / ไม่ใช่ของพระโพธิสัตว์ / จิตของพระโพธิสัตว์เหล่านั้นจักหมุนกลับมาได้อย่างไร
โศลกว่าด้วยการปฏิเสธความกลัวทุกข์
26 บุคคลผู้มีความเพียรเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น มีใจกรุณา ไม่มีความเคลื่อนไหวซึ่งเป็นที่ยินดี เพราะเหตุไรจึงเป็นผู้มีความทุกข์อันเช่นนั้น ซึ่งมีอยู่ในความปรากฏขึ้นแห่งทุกข์และมีในบุคคลอื่น /
อรรถธิบาย อีกประการหนึ่งด้วยความเพียรเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น มีใจกรุณาและมีความไม่เคลื่อนไหวเป็นที่ยินดีแล้ว เพราะเหตุไรเขาจึงมีความทุกข์ร้อนอีก ด้วยนิมิตอันเป็นประโยชน์เพื่อคนอื่นและด้วยการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะเหตุใดความเดือดร้อนจากทุกข์จึงมีแก่บุคคลนั้นและเพราะเหตุใดการหมุนกลับของจิตจึงมี /
โศลกว่าด้วยการเอาชนะต่อการวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย
27 ความประพฤติกรุณาอันยิ่งใหญ่มีอยู่ในตัวเขาตลอดเวลา มีใจที่เผาความทุกข์ของบุคคลอื่น เมื่อการกระทำเพื่อบุคคลอื่นปรากฏขึ้น สมาทานโดยบุคคลอื่น เมื่อนั้นเขาย่อมละอาย /
อรรถธิบาย ร่างกายของบุคคลใดอันความประพฤติกรุณาอันยิ่งใหญ่อาศัยอยู่เป็นนิตย์มีใจเป็นทุกข์เพราะทุกข์ของบุคคลอื่น ประโยชน์ของคนอื่นเป็นสิ่งที่บุคคลนั้น พึงทำถ้าหากว่าให้บุคคลอื่นสมาทานอันกัลยณมิตรพึงกระทำ ความละอายอย่างยิ่ง ย่อมมี /
โศลกว่าด้วยการอธิบายความไม่คัดค้าน
28 บุคคลผู้นำภาระของสัตว์อื่นไปบนศีรษะ คติอันเบาบางย่อมไม่งดงามแก่พระโพธิสัตว์ ถูกผูกมัดด้วยเครื่องผูกของตนและเครื่องผูกของคนอื่น บุคคลนั้นย่อมควรเพื่อการกระทำความอุตสาหะร้อยเท่า /
อรรถธิบาย พระโพธิสัตว์นำภาระของสัตว์เหล่าอื่นอันใหญ่ไปด้วยศีรษะ ก้าวไปอยู่อย่างเบาๆ ย่อมไม่งดงาม / ดังนั้น พระโพธิสัตว์นั้นควรกระทำความเพียรร้อยเท่ามากกว่าความเพียรของสาวกยาน เพราะว่าเขาถูกผูกมัดด้วยเครื่องผูกชนิดต่างๆ ของบุคคลอื่น และด้วยกิเลสกรรมชาติกำเนิดภาวะของตน
อธิการที่ 4 ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งจิต ในมหายานสูตราลังการ จบ.
******
โศลกว่าด้วยลักษณะการปฏิบัติ
1 การปฏิบัติซึ่งเริ่มต้นด้วยพื้นฐานอันยิ่งใหญ่ การปรารภ การเกิดขึ้นแห่งผลเป็นสิ่งที่ปรารถนาของบุตรแห่งพระชินเจ้า มีทานอันยิ่งใหญ่การถึงทับอันยิ่งใหญ่ มีการกระทำกิจที่พึงกระทำ / เพื่อเกิดขึ้นแห่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่ /
อรรถาธิบาย ในที่นี้พื้นฐานอันยิ่งใหญ่ เพราะความมีพื้นฐานของการเกิดขึ้นแห่งจิตการปรารภใหญ่ เพราะปรารภประโยชน์ของตนและบุคคลอื่น / การเกิดขึ้นแห่งผลใหญ่เพราะผลแห่งโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่ / ดังนั้น ทานอันยิ่งใหญ่ เพราะความอุปทานในสรรพสัตว์ / การถึงทับอันยิ่งใหญ่ เพราะถึงทับความทุกข์ทั้งปวง / การกระทำกิจที่ควรทำเพื่อการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพราะยังประโยชน์ของสรรพสัตว์อันไพบูลย์ให้เกิดขึ้น /
โศลกว่าด้วยความไม่แตกต่างของประโยชน์ตนและประโยชน์ของคนอื่น
2 เมื่อบุคคลได้รับความมีจิตเสมอด้วยตนและบุคคลอื่นก็ชอบใจสิ่งเจริญที่สุด เพื่อความเจริญที่สุดแก่บุคคลอื่น เมื่อบุคคลรับรุ้ว่าประโยชน์ของบุคคลอื่นวิเศษ กว่าประโยชน์ของตน ความเป็นประโยชน์ของตนคืออะไร และความเป็นประโยชน์ของคนอื่นมีเท่าไร
อรรถาธิบาย เพราะการได้รับความมีจิตเสมอด้วยตนและบุคคลอื่น จึงมีความหลุดพ้นหรือการได้รับการเกิดขึ้นแห่งจิต โดยการสังเกต ความรู้จึงมีหรืออีกอย่างหนึ่ง หลังจากได้รับความชอบพอต่อบุคคลอื่นเป็นพิเศษกว่าตนเองแล้วจึงเป็นผู้รู้พร้อมซึ่งความพิเศษในประโยชน์ผู้อื่นมากกว่าของตนด้วยเหตุนั้นแหละ ประโยชน์ตนหรือประโยชน์ผู้อื่นอะไรเล่า(จักมี) แก่พระโพธิสัตว์ เพราะว่าประโยชน์ทั้งสองฝ่ายไม่มีความแตกต่างแก่พระโพธิสัตว์เลย
โศลกว่าด้วยความแตกต่างแห่งประโยชน์คนอื่น
3 สัตว์โลกไม่ได้โหดร้ายต่อบุคคลอื่นเลย ประโยชน์คนอื่นยังทุกข์ให้เผาไหม้เขาฉันใด เขาให้ความทุกข์นั้นเป็นไปด้วยการกระทำในศัตรู เขาเป็นผู้มีใจกรุณา ย่อมเป็นไปพร้อมในตัวของเขาเอง
อรรถาธิบาย เมื่อใดประโยชน์ของคนอื่นเป็นสิ่งแตกต่างจากประโยชน์ของตนเองเมื่อนั้นย่อมแยกแยะประโยชน์คนอื่นจากประโยชน์ตนด้วยการเผาผลาญประโยชน์คนอื่น /
โศลกว่าด้วยการจำแนกความรู้เกี่ยวกับประโยชน์คนอื่น
4 เทศนาที่ดี การละเว้น อวตาร ที่ตั้งมั่นในความที่แห่งสัตว์ผู้ต่ำ กลาง และสูงสุดเป็นผู้มีธรรม พระวินัยในความหมายนี้ เป็นวุฒิภาวะแห่งโอวาทอันงดงาม ดังนั้นความหลุดพ้นแห่งพุทธิจากความผิดพลาด จึงมี /
5 ความตั้งขึ้นพร้อม ด้วยคุณธรรมอันวิเศษ คือ การเกิดขึ้นในตระกูล การศึกษาไวยากรณ์ ความรู้ในตถาคต ซึ่งเป็นบทอันยอดเยี่ยม ประโยชน์เพื่อคนอื่นนี้ มี 10 อันยิ่งด้วย 3 /
อรรถาธิบาย คำว่าประโยชน์ของบุคคลอื่นของพระโพธิสัตว์นั้นมี 13 ประการในความหมายว่า หมู่สัตว์ 3 ประเภท เลว กลาง สูง ตามแต่โคตร / เทศนาที่ดี หมายถึง อนุสาสนี ปาฏิหาริย์ และอาเทศนาปาฏิหาริย์ทั้ง 2 / การละเว้นหมายถึง อิทธิปาฏิหาริย์ / การอวตาร หมายถึงการเก็บเข้ามาอยู่ใกล้คำสอน / พระธรรมวินัยในความหมายนี้ หมายถึงการตัดเสียซึ่งความสงสัยของบุคคลที่อวตารมา / วุฒิภาวะ หมายถึง ในกุศล / มีจิตตั้งมั่น ในโอวาทจึงเป็น ปัญญาวิมุตติ ด้วยคุณวิเศษทั้งหลายมือภิญญาเป็นต้น / ความตั้งขึ้นพร้อม /การเกิดในตระกูลแห่งพระตถาคต / การอภิเษก (ศึกษา) ไวยากรณ์ทั้ง 10ในภูมิทั้ง 8 / ประโยชน์เพื่อบุคคลอื่นของพระโพธิสัตว์มี 13 ประการอันประกอบด้วยความรู้ในพระตถาคตนี้ ในโคตรทั้ง 3 /
โศลกว่าด้วยความสมบูรณ์แห่งความรู้ในประโยชน์คนอื่น
6 คำสอนอันไม่วิปริต ความตั้งครงสู่เบื้องหน้า ความไม่มีความเป็นของตน การวิจักษณ์ การให้อภัยที่ฝึกแล้วอันสมควรแก่ชน เป็นผุ้ไปไกล อันไม่มีที่สิ้นสุดนั้น เป็นความรู้อันสูงสุดของบุคคลผุ้เกิดมาแต่พระชินเจ้า /
อรรถาธิบาย ความรู้ในประโยชน์คนอื่น เป็นสิ่งสมบูรณ์ได้ โดยประการใดในโศลกนี้ท่านย่อมแสดงโดยประการนั้น / ในที่นี้ สมบูรณ์ได้อย่างไร / ถ้ามีเทศนาอันไม่วิปริตสมควรแก่ชนในโคตร / มีความตั้งตรงสู่เบื้องหน้า / เว้นจากการมีความเป็นของเรา / ไม่คิดด้วยฤทธิ์ และไม่ยังหมู่สัตว์ที่แนะนำดีแล้ว ให้มีความเป็นของเรา (มมายติ) / วิจักษณ์ คือ มีความรุ้ในพระธรรมวินัย / มีความให้แล้ว คือมีความรู้ใน โอวาทเป็นต้น / เพราะบุคคลผู้ไม่ฝึกก็จะไม่มีความสามารถในโอวาทเป็นต้นของคนอื่น / เป็นผู้ไปไกลดี คือ มีความรู้ในการเกิดในตระกูล เป็นต้น / ผู้ไม่ไปไกลด้วยดี ไม่อาจจะทำให้อคนอื่นมีความรู้ในการเกิดในตระกูล เป็นต้น / ทั้งปวงนี้ พึงทราบว่าเป็นความไม่รู้จักสิ้นแห่งความรู้ในประโยชน์คนอื่นของพระโพธิสัตว์เพราะเป็นการถึงพร้อมแห่งความไม่รู้จักสิ้นไปของสัตว์ผู้บรรลุแล้ว /
โศลกว่าด้วยความแตกต่างแห่งความรู้ จำนวน 2 โศลก
7 ชนผู้มีความใคร่ ย่อมเป็นไปในภัยใหญ่ เป็นผู้มีความวิปริตในหนทาง รักในความสุขและความมี เป็นผู้ไม่มั่นคง แต่ว่าชนผู้รักในความสงบถูกสัมผัสด้วยความพอใจในทุกข์ คนผู้มีใจกรุณาเป็นสิ่งเหล่านั้น คลอดเวลาในการเข้าถึงบุคคลเหล่านั้นทั้งปวง
8 ชนผู้มีความหลงอุตสาหะเพื่อประโยชน์สุขของตน เมื่อไม่ได้ประโยชน์สุขนั้น ก็ถึงซึ่งความเป็นผู้มีทุกข์ทุกเมื่อ แต่ว่านักปราชญ์อุตสาหะเพื่อประโยชน์คนอื่น เมื่อบรรลุประโยชน์ทั้ง 2 ย่อมถึงซึ่งปรินิพพาน /
อรรถาธิบาย ความเป็นภัยใหญ่ของคนผู้มีความใคร่ในที่นี้ เพราะเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งกายและทางใจจำนวนมากอันนำไปสู่ทุคติ / ความเป็นผู้ไม่มั่นคง วิปริตในหนทาง ปรารถนาความสุข เพราะความไม่เที่ยงแท้แห่งรูปภพและอรูปภพ เพราะเป็นทุกข์อย่างยิ่งด้วยสังขารทุกข์ / กิเลสพึงรู้ว่าเป็นเชื้อแห่งความทุกข์ทั้งปวง / บุคคลผู้หลงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของตน เมื่อไม่ได้รับความสุขก็ได้รับความทุกข์นั่นแหละ / แต่พระโพธิสัตว์ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนอื่น ประสานประโยชน์ตนเอง ย่อมได้รับความสุขอันนิรันดร์ นี้เป็นความแตกต่างแห่งความรู้ในประโยชน์คนอื่นของพระโพธิสัตว์ /
โศลกว่าด้วยความแปรปรวนแห่งโคจร (อารมณ์)
9 ถึงแม้ว่าผู้เกิดแต่พระชินเจ้ารับรู้ในอารมณ์อันมีอย่างต่างๆ ในคติต่างๆก็เป็นผู้อนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งหลาย เพื่อประโยชน์สุขโดยหนทางแห่งความเป็นผู้มีตนเสมออันประกอบแล้ว /
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์รับรู้อินทรีย์และอารมณ์มีจักษุเป็นต้น อันวิจิตร โดนประการใดๆ / เมื่อดำเนินตามในหนทางอันเหมาะสมแล้ว ย่อมกระทำความอนุเคราะห์ อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำอันเช่นกับด้วยความสัมพันธ์ โดยประการนั้นๆ / อันท่านแสดงโดยพิสดารไว้ในโคจรปริศุทธิสูตร แล้วแล /
โศลกว่าด้วยการปฏิเสธขันติในสัตว์ทั้งหลาย
10 ความเจิรญแห่งความกรุณาว่า ผู้มีพุทธิไม่เข้าถึงโทษในชนที่ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดบาป เพราะว่าความวิปริตด้วยเหตุแห่งบุคคลผู้ไม่มีความใคร่ ย่อมี/
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์ไม่เข้าถึงโทษในชนผู้ไม่มีเจตนาการทำความผิดบาปด้วยกิเลสทั้งหลาย / เพราะเหตุไร / เมื่อทราบว่าความวิปริตแห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมมีด้วยเหตุแห่งบุคคลผู้ไม่มีความใคร่แล้ว ก็เพราะความที่แห่งกรุณาเจริญแล้ว/
โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งความรู้
11 ความรู้นั่นเทียว เป็นสิ่งเป็นไปเหนือภพและคติทั้งสิ้น เป็นทีอาศัยของความสงบอย่างยิ่ง ทำให้คุณธรรมต่างๆเจริญงอกงามและคุ้มครองโลกด้วยความกรุณา /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงความยิ่งใหญ่ไว้ 4ประการ / ความยิ่งใหญ่ที่ครอบครองเพราะการครอบครองภพ 3 คติ 5 ทั้งสิ้น / ดังที่กล่าวแล้วในปรัชญาปารมิตาสูตรว่า "ดูก่อนสุภูติถ้ารูป ได้มีแล้วในภาวะและอภาวะไซร้ มหายานนี้จักไม่ถึงความยิ่งใหญ่เหนือเทวดา มนุษย์ อสูร" ดังความพิสดารที่กล่าวไว้แล้วในความยิ่งใหญ่เป็นนิรันดร เพราะเข้าถึงนิรวาณอันตั้งมั่น / ความยิ่งใหญ่เพราะความเจริญแห่งคุณธรรมและความยิ่งใหญ่เพราะไม่ทอดทิ้งสัตว์ ดังนี้แล /
อธิการที่ 5 ว่าด้วยความรู้ ในมหายานสูตราลังการ จบ
*****
โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะประโยชน์อันเป็นปรมัตถ์
โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะประโยชน์อันเป็นปรมัตถ์
1 ไม่เป็นสิ่งที่มีอยู่และไม่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ ไม่เป็นสิ่งเดียวกันและไม่เป็นสิ่งอื่น ไม่เกิดและไม่สิ้นสุด ไม่เพิ่มขึ้นและไม่ลดลง ไม่บริสุทธิ์ และบริสุทธิ์อยู่ นี้คือลักษณะของปรมัตถ์ /
อรรถาธิบาย ประมัตถ์ คือ ไม่มีความหมายเป็น 2 / ไม่มีความหมายเป็น 2 นั้น ท่านแสดงด้วยอาการ 5 / ไม่เป็นสิ่งที่มีอยู่ด้วยลักษณะทั้ง 2 คือ ปริกัลปิตะ (จินตนาการ) / และปรตันตระ (อาศัยสิ่งอื่น) และไม่เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ด้วยลักษณะ คือ ปรินิษปันนะ (สูงสุด) ไม่เป็นสิ่งเดียวกันด้วยปริกัลปิตะและปรตันตระ เพราะความไม่มีความเป็นหนึ่งแห่งปรินิษปันนะ / และไม่เป็นสิ่งอื่นด้วยลักษณะทั้ง 2 นั้น เพราะไม่มีแห่งความเป็นอย่างอื่น / ไม่เกิดและไม่สิ้นสุด เพราะธรรมธาตุ ไม่มีความเป็นสิ่งปรุงแต่ง (สังขาร) / ไม่ลดลงและไม่เพิ่มขึ้นเพราะเป็นเช่นนั้น ในความดับและเกิดขึ้นของจุดกำเนิดของการแบ่งแยกซึ่งกิเลสและความบริสุทธิ์ / ซึ่งไม่บริสุทธิ์เพราะเศร้าหมองโดยปกติและไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์ เพราะความไปปราศแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา / นี้เป็นลักษณะแห่งความไม่เป็น 2 ทั้ง 5 ประการแล อันบัณฑิตพึงทราบว่าเป็นลักษณะแห่งปรมัตถ์ /
โศลกว่าด้วยการปฏิเสธความหลงผิดในทิฐิแห่งอัตตาความเห็นว่ามีตัวตน
2 ความเห็นว่ามีตัวตน ไม่ใช่ลักษณะแห่งอัตตาของตน และไม่ใช่ลักษณะแตกต่างแห่งสิ่งที่ผิดปกติ ไม่มีความเป็นสองและความเป็นอื่น สิ่งนี้เป็นทวิและเป็นสิ่งนั้น ไม่เป็นสิ่งหลอดลวง และโมกษะซึ่งเป็นความสิ้นไปพร้อมแห่งความหลอกลวง /
อรรถาธิบาย ตราบใดที่ความเห็นว่ามีตัวตน ยังไม่เป็นลักษณะแห่งความมีตัวตน ตราบนั้นก็ยังไม่มีความผิดปกติ / เพราะว่าลักษณะแตกต่างนั้นมีขึ้นเพราะการจินตนาการจากลักษณะแห่งอัตตา / อีกประการหนึ่ง อุปทานในขันธ์ 5 เพราะเป็นมูลเหตุแห่งกิเลสและโทษ / ลักษณะแห่งอัตตาอื่นจากความเป็น 2 นั้น ย่อมไม่เกิดขึ้น / ดังนั้นอัตตา ย่อมไม่มี / แต่ว่าความหลอกลวงนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นความเห็นว่ามีตัวตนนั่นเอง เพราะฉะนั้นไม่มีตัวตน ย่อมมีโมกษะ ซึ่งเป็นความสิ้นไปแห่งความหลอกลวง อันบัณฑิตพึงทราบ แต่ว่าไม่มีตัวตนใดๆ เป็นผู้พ้นแล้ว /
โศลกว่าด้วยการอธิบายความหลงผิด 2 โศลก
3 ชนผู้อาศัยความหลอกลวงอยู่ ย่อมไม่เข้าถึงความเป็นปกติมีทุกข์ของคนอื่นว่าเป็นสิ่งสืบต่อ (สัตตติ) เป็นผู้ไม่รู้ เป็นผู้รู้ ว่าเป็นคนมีทุกข์ หรือไม่มีทุกข์ เป็นผู้สำเร็จแล้วแต่ธรรมหรือไม่สำเร็จแล้วแต่ธรรมนั้นอย่างไร
4 เพราะเหตุใด ชนเป็นผู้มองเห็นในการเกิดขึ้นแห่งความมีอยู่โดยประสบการณ์ตรงจึงจินตนาการถึงผู้กระทำอื่น ความมืดบอดอันเช่นนี้ มีเท่าไร เพราะฉะนั้นคนที่ไม่มองเห็นจึงเข้าใจว่ามีอยู่และไม่มีอยู่
อรรถาธิบาย ชื่อว่าโลกนี้อาศัยทรรศนะว่ามีตัวตนซึ่งเป็นเพียงการหลอกลวงเท่านั้น จึงไม่เห็นสภาวะแห่งทุกข์ ซึ่งติดตามอย่างต่อเนื่องแห่งสังขารทั้งหลายได้อย่างไร / ผู้ไม่รู้ปกติ(ธรรมชาติ)แห่งทุกข์นั้น โดยความรู้ / ผู้รู้จักทุกข์โดยความมีอยู่ว่าเป็นทุกข์ เพราะยังไม่ถอนรากแห่งทุกข์ / ไม่มีทุกข์ เพราะความไม่มีอยู่แห่งอัตตาซึ่งประกอบด้วยทุกข์ / เป็นผู้สำเร็จแล้วแต่ธรรมโดยความไม่มีอัตตาแห่งบุคคล เพราะความที่เป็นเพียงธรรมเท่านั้น / และไม่เป็นผู้สำเร็จแล้ว แต่ธรรม โดยความไม่มีตัวตนแห่งธรรม / และเมื่อใดชาวโลกเห็นโดยประจักษ์ซึ่งการเกิดขึ้น โดยปกติแห่งความมีอยู่ (ภาวะ) เมื่อนั้นครั้นเขารู้จักปัจจัยนั้นๆ แล้วว่าภาวะนั้นๆ มีอยู่ดังนี้ / เพราะเหตุใดความเห็นนี้ว่าผู้กระทำอื่น ซึ่งเกิดขึ้นดดยตรงอันมีทรรรศนะเป็นต้น ย่อมไม่อาศัยทิฐิ /ความมืดบอดอันเช่นนี้ นี้มีเท่าไรแก่ชาวโลก ถ้าว่าไม่มองเห็นความเกิดขึ้นพร้อม โดยตรงอันมีอยู่นี้แล้ว ไซร้ ก็มองไม่เห็นอัตตาที่ไม่มีอยู่ / เพราะว่าความมืดบอดนั้นธรรมดาว่าไม่อาจจะมองเห็นสิ่งอันมีอยู่และไม่อาจเพื่อมองเห็นสิ่งอันไม่มีอยู่ /
โศลกอธิบายความสงบและการเกิดในอัตตาอันไม่เป็นจริง
5 ความแตกต่างไรๆ อันมีในระหว่างแห่งความสงบและการเกิดในความเจริญแห่งประโยชน์อันเป็นจริง ย่อมไม่มีการได้ความสงบย่อมมีแก่ผู้กระทำกรรมอันงาม เพราะความสิ้นไปแห่งการเกิด /
อรรถาธิบาย ความแตกต่างไรๆของสังสารและนิรวาณย่อม ไม่มี เพราะมีความเสมอแห่งบุคคลผู้ไม่มีตัวตน (อัตตา) ด้วยความเจริญแห่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม / การถึงโมกษะย่อมมีแก่บุคคลผู้ประกอบกรรมอันงดงาม เพราะความสิ้นไปแห่งการเกิด กล่าวคือ บุคคลใดยังหนทางแห่งโมกษะให้เจริญอยู่หลักจากกระทำการอธิบายเรื่องความผิดพลาดแล้ว /
โศลกว่าด้วยการเข้าถึงความรู้อันเป็นปรมัตถ์ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความผิดพลาดนั้น 4 โศลก /
6 เมื่อพระโพธิสัตว์ได้ยังความรู้และบุญให้เต็มดี แล้วอย่างเป็นอนันต์ดีแล้ว ก็เข้าถึงประโยชน์และคติอันเป็นความผิดพลาดของสิ่งตรงกันข้าม / เพราะความที่แห่งตนเป็นผู้มีความเที่ยงแท้ในธรรมและความคิดทั้งหลาย /
7 พระโพธิสัตว์เมื่อรู้ประโยชน์ว่าเป็นแต่เพียงความผิดพลาดเท่านั้น จึงตั่งมั่นในความปราศจากความคิด ธรรมธาตุย่อมมาสู่ความประจักษ์โดยตรง เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยลักษณะแห่งความเป็น 2 /
8 พระโพธิสัตว์เมื่อทราบว่าไม่มีอะไรอื่นอีกจากจิตจึงเข้าถึงซึ่งความไม่มีอยู่แห่งจิต ผู้มีปัญญาเมื่อเข้าถึงความไม่มีอยู่แห่งความเป็น 2 แล้ว ย่อมตั้งตนไว้มั่นในธรรมธาตุ ซึ่งไม่เป็นคติแห่งความเป็น 2 นิ้น /
9 โดยพลังแห่งความรู้อันปราศจากการแยกแยะ ผู้มีปัญญาเป็นผู้มีตนเสมอ ทุกเมื่อด้วยความเท่าเทียมกัน ย่อมล้างออกซึ่งการสั่งสมโทษอันตั้งมั่นอยู่นี้เหมือนกับบุคคลล้างยาพิษด้วยยาแก้พิษ /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 1 ท่านแสดงความที่แห่งพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเที่ยงแท้ในธรรมและความคิดทั้งหลาย อันเต็มบริบูรณ์ดีแล้ว และการเข้าถึงดดยการบรรลุความเห็นอรรถแห่งธรรม เพราะการเจริญสมาธิอันตั้งมั่น และเพราะความผิดพลาดทางใจ / อนฺนต และปารํ กล่าวคือ ปารํ คือความบริบูรณ์แห่งความเป็นปรมะ อนฺนต คือกาลเวลาอันมีประเภทนับไม่ได้ / โดยโศลกที่ 2 เมื่อพระโพธิสัตว์รู้ว่าอรรถทั้งหลายเป็นความผิดพลาดทางใจเท่านั้น ส่วนที่เหลือนี้ในความปรากฎ สักแต่ว่าจิตเท่านั้น เป็นส่วนเหลือแห่งที่พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้ไม่มีส่วนแห่งการรู้ / เมื่อนั้นธรรมธาตุ ปรากฏ โดยประการอื่น พระโพธิสัตว์เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยลักษณะแห่งความเป็นสอง คือลักษณะที่ความยึดถือและผู้ยึดถือนี้เป็นหนทางแห่งทรรศนะ /โศลกที่ 3 ท่านแสดงว่าธรรมธาตุนั้นเป็นสิ่งเห็นได้โดยทันที / และธรรมชาติเป็นสิ่งเห็นได้โดยทันทีได้อย่างไร / เพราะถูกยึดถือว่าไม่มีปรากฎการณ์อื่นจากจิต เป็นสิ่งที่ควรยึดถือ ความเข้าใจว่า ความไม่มีอยู่แห่งความเป็นสองแล้ว พระโพธิสัตว์ ผู้อันลักษณะแห่งสิ่งที่ควรยึดถือและผู้ยึดถืออันไม่เป็นคติแห่งธรรมธาตุที่เหลือนั้น เพราะเหตุนั้นธรรมธาตุย่อมถึงซึ่งความเป็นของประจักษ์ โดยประการอย่างนี้ / โดยโศลกที่ 4 ท่านแสดงการเข้าถึงความร้อนเป็นปรมัตถ์ เพราะยังความตั้งมั่นในหนทางแห่งภาวนาให้เป็นไป / ตลอดเวลาในที่ทุกแห่ง โดยความเป็นผู้มีตนเสมอ โดยพลังแห่งความรู้อันไม่แยกแยะ เป็นผู้มีตนเสมอ เพราะล้างออกซึ่งการสั่งสม โทษอันมั่นคง และเข้าถึงได้ยากในภาวะของตนอันเป็นปรตันตระมีลักษณะอันประกอบด้วย โทษ เหมือนกับล้างยางพิษด้วยยาแก้พิษ /
โศลกว่าด้วยความยิ่งใหญ่แห่งความรู้ปรมัตถ์
10 การจัดวางไว้ดีแล้วซึ่งธรรมอันงามที่มุนีได้บัญญัติไว้ ตั้งความคิดไว้มั่นคง ในธรรมธาตุอันเป็นไปกับด้วยมูล ความเข้าใจคติแห่งความระลึกไม่ใช่สักแต่ว่าจินตนาการเท่านั้น บุคคลผู้เป็นปราชญ์ย่อมเข้าถึงฝั่งแห่งอรรณพแห่งคุณธรรมโดยพลัน /
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์ผู้เข้าถึงความรู้อันปรมัตถ์ ในธรรมอันงามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ และตั้งไว้ดีแล้วน้น ตั้งความคิดในธรรมธาตุแห่งมูลจิตอันเป็นปรากฎการณ์แห่งธรรมของบัณฑิตไว้ให้มั่นคง พระโพธิสัตว์เข้าใจว่าสิ่งทั้งปวงเป็นความประพฤติแห่งความระลึกได้นั้นเป็นแต่เพียงจินตนาการเท่านั้น เมื่อความคิดนั้นถูกสร้างขึ้น จึงถึงฝั่งแห่งห้วงน้ำคือคุณธรรมกล่าวคือความเป็นพุทธะ โดยพลัน อย่างนี้แล นี้เป็นความยิ่งใหญ่แห่งความรู้อันเป็นปรมัตถ์
อธิการที่ 6 ว่าด้วยตัตวะ ในมหายานสูตราลังการ จบ.
*****
โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะแห่งอำนาจ
v v v v v
โศลกว่าด้วยการจำแนกลักษณะแห่งอำนาจ
1 ความรู้ไม่เป็นสิ่งที่เข้าถึงไม่ได้ ในความแตกต่างแห่งคติทั้งปวงในเพราะการอุบัติ คำพูด จิต การสั่งสมความดีและไม่ดี สถานการณ์ถึงความไม่มีสาร การไม่มีอุปสรรค นี้เป็นอำนาจอันเป็นของบุคคลผู้เป็นปราชญ์ /
อรรถาธิบาย ความรู้ในการอุบัติของบุคคลอื่น คือ อภิญญาในการจุติและอุบัติ / ความรู้ในคำพูด คือคำพูดในอภิญญาคือทิพ โสต คือย่อมกล่าวว่า ไปแล้วเกิดในที่นั้น / ความรุ้ในจิต คือ อภิญญาในการกำหนดจิต /ความรู้ในการสั่งสมความดีและความไม่ดี คือปุพเพนิวาสนุสสติญาณ / ความรู้ในสถานที่อันเวไนยสัตว์ตั้งอยู่ คือ อภิญญาในวิสัยแห่งฤทธิ์ / ความรู้ในความไม่มีสาระ คือ อาสวักขยญาณอภิญญา กล่าวคือสัตว์เกิดขึ้นโดยประการใด ย่อมหนึไปจากที่นั้น / ความรู้อันไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงไม่ได้ อันไม่มีอุปสรรคในความแตกต่างในโลกธาตุในที่ทั้งปวงในอรรถ 6 เหล่านี้ เป็นอำนาจอันสงเคราะห์ด้วยอภิญญา 6 ของพระโพธิสัตว์ / ในการการจำแนกลักษณะอำนาจนี้ อรรถแห่งสภาวะ ถูกกล่าวถึงแล้ว /
โศลกว่าด้วยการปรารภอรรถแห่งเหตุ
2 เมื่อเข้าถึงฌาน 4 ประการอันบริสุทธิ์ดีแล้วด้วยโดยการยึดถือความรู้อันไม่มีความแตกต่าง มนสิการอันเป็นที่อาศัยเจริญขึ้น โดยลำดับ บุคคลย่อมเข้าถึงความสำเร็จแห่งอำนาจอันยอดเยี่ยม /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงการเข้าถึงความสำเร็จ โดยพื้นฐาน โดยความรู้ โดยมนสิการ
โศลกว่าด้วยการปรารภแห่งผล
3 บุคคลย่อมเป็นอยู่ด้วยพรหม เทวดา ผู้อริยะและไม่มีที่เปรียบอันเช่นนี้ บุคคลนั้นไปในทิศทั้งหลายแล้ว นอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าและยังสัตว์ทั้งหลายให้บริสุทธิ์ /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงอำนาจแห่งผลไว้ 3 ประการ / บุคคลถึงแล้วซึ่งการอยู่อย่างเป็นสุขอันประเสริฐเป็นต้น อันไม่มีเครื่องวัดอันอุกกฤษฎิ์แล้ว บูชาพระพุทธเจ้ายังสัตว์ให้บริสุทธิ์ /
โศลกว่าด้วยการปรารภอรรถแห่งกรรม 4 ประการ และโศลกว่าด้วยกายปรารภกรรม แห่งการเห็น และกรรมแห่งการแสดง
4 บุคคลย่อมเห็นโลกธาตุ สรรพสัตว์ การเกิดและการพินาศ เปรียบด้วยมายาและแสดงสิ่งเหล่านี้ด้วยประการต่างๆ อันวิจิตร ตามความต้องการอย่างไร เพราะเป็นผู้มีความชำนาญ
อรรถาธิบาย เพราะการเห็นซึ่งความมีอุปมาด้วยมายาแห่งโลกธาตุทั้งปวง สรรพสัตว์การเกิดขึ้นและการพินาศไป / เพราะการแสดงสิ่งนี้ตามความปรารถนาแก่บุคคลอื่น / และโดยประการอื่นอีกอันวิจิตร อันยังบุคคลให้หวั่นไหวและรุ่มร้อนเป็นต้น / เพราะการได้ความชำนาญ 10ประการ / แสดงให้เห็นแล้วในภูมิทั้ง 8 เหมือนกับในทศภูมิสูตร /
โศลกว่าด้วยการปรารภกรรมแห่งรัศมี
5 เมื่อปลดปล่อยนั้น รัศมีก็จะยังสัตว์นรก ผู้มีทุกข์ไปสู่สวรรค์ ย่อมกระทำวิมานของยาพิษอันสั่นไหว อันไม่โสภาอันสิ้นไปย่อมยังหมู่สัตว์ผู้เป็นไปกับด้วยความกลัวให้เดือดร้อน
อรรถาธิบาย ท่านแสดงกรรมแห่งรัศมีไว้ 2 ประการ / ทำความเลื่อมใสให้เกิดแก่สัตว์ที่เกิดในอบายและให้เกิดในสวรรค์ / ทำความหวาดกลัวด้วยความสั่นไหว ให้เกิดแก่สัตว์ผู้มีภพในตัณหาและผู้มีตัณหา /
โศลกว่าด้วยการปรารภกรรมแห่งความสุข
6 ท่านแสดงความสุขแห่งสมาธิอันไม่มีที่เปรียบในท่ามกลางแห่งคณะบุคคลผู้เลิศยังประโยชน์แห่งสัตว์ให้ตั้งมั่นตลอดกาล ด้วยการนิมิตความเกิดขึ้นแห่งกรรมอันยอดเยี่ยม /
อรรถาธิบาย เพราะการแสดงความสุขแห่งสมาธิอัน ไม่มีที่เปรียบและเพราะการกระทำประโยชน์เพื่อสัตว์ ด้วยนิรมาณอันมี 3 ประการ ในท่ามกลางแห่งมณฑลของพุทธบริษัท / นิรมาณ 3 ประการ คือ ศิลปะ กรรมะ และสถานะ / นิรมาณที่อุบัติขึ้นตามความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ / นิรมาณอันอุตตมะ คือการได้เข้าอยู่ในภพชื่อว่า ดุสิต เป็นต้น /
โศลกว่าด้วยกรรมแห่งความบริสุทธิ์แห่งเกษตร
7 เพราะอำนาจแห่งความรู้ บุคคลย่อมเข้าถึงเกษตรอันบริสุทธิ์ด้วยการแสดงตามความต้องการ เพราะการฟังชื่อ พุทธะ ในบุคคลผู้ไม่มีความต้องการพุทธะ บุคคลนั้นย่อมซัดไปในโลกธาตุอื่น /
อรรถาธิบาย เพราะบริสุทธิ์จากบาป 2 ประการ / เพราะความบริสุทธิ์แห่งการเสพภาชนะ เพราะอำนาจแห่งความรู้อันแสดงพุทธเกษตรอันสำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ เป็นต้น อันกว้างขวาง ตามความปรารถนา / และเพราะความบริสุทธิ์ หลังจากยึดถือความเสื่อมใส เพราะฟังชื่อพุทธะ จากสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดขึ้นในโลกธาตุอันว่างเว้นจากชื่อ พุทธะแล้ว ก็บังเกิดในโลกธาตุที่ว่างเว้นจากพุทธะนั้น /
โศลกว่าด้วยการปรารภอรรถแห่งโยคะ
8 บุคคลเป็นผู้ภักดีในความแก่รอบแห่งสัตว์เป็นผุ้มีศักดิ์เหมือนกับนกที่เกิดมาพร้อมกับปีก ได้รับการสรรเสริญมีประมาณยิ่งจากพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีคำพูดอันควรยึดถือแก่สัตว์ทั้งหลาย /
อรรถาธิบาย ท่านแสดง โยคะมี3 ประการ / โยคะ คืออำนาจ กล่าวคือ ความแก่รอบแห่งสัตว์ โยคะคือการสรรเสริญและโยคะคือ ความมีถ้อยคำน่านับถือ
9 อภิญญา 6 วิทยา3 วิโมกข์ 8 ความเป็นอภิภู / หลั แห่งวิโมกข์ 10 สมารธิอันไม่มีประมาณ นี้เป็นอำนาจอันเป็นของนักปราชญ์ /
อรรถาธิบาย อำนาจของพระโพธิสัตว์มี 6 ประเภท /อภิญญา วิทยา วิโมกข์ ความเป็นพระผู้เป็นเอง หลักแห่งวิโมกข์และสมาธิอันไม่มีประมาณ /
หลักจากแสดงอำนาจโดยลักษณะอันจำแนก 6 ประการอย่างนี้แล้ว โศกลที่แสดงซึ่งอรรถแห่งภาวนาอันยิ่งใหญ่ จึงมีว่า
10 บุคคลเพราะพุทธิอันได้แล้วด้วยอำนาจอันบรมจับ ซึ่งในดลกไว้ในอำนาจของตนเป็นนิตย์ เป็นผู้ยินดีในการกระทำเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น บุคคลผู้เป็นปราชญ์ย่อมเที่ยวไปในภพทั้งหลายเพียงดังสิงหะ
อรรถาธิบาย ท่านแสดงความยิ่งใหญ่ไว้ 3 ประการ / ความยิ่งใหญ่เพราะมีอำนาจเพราะได้รับอำนาจในความรู้อันยอดเยี่ยมอันเป็นของตน เพราะยังกิเลสและอาสวะให้ตั้งอยู่ในอำนาจของตนและของโลก / ความยิ่งใหญ่เพราะความยินดียิ่ง เพราะยินดีในการกระทำเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น / และความยิ่งใหญ่ความไม่มีความกลัวในภพ /
อธิการที่ 7 ว่าด้วยอำนาจ ในมหายานสูตราลังการ จบ
*****
ว่าโศลกด้วยการสงเคราะห์ความแก่รอบของพระโพธิสัตว์
w w w w w
1 ความยินดี ความเลื่อมใส ความสงบ ความกรุณา ความอดทน ความมีปัญญา ความเป็นคนมีพละ และความเป็นคนมั่งคง ความเป็นผู้เข้าถึงความสูงสุดด้วยองค์เหล่านี้ นี้เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบของบุตรแห่งพระชินเจ้า /
อรรถาธิบาย ความยินดีในธรรมและเทศนาของมหายาน ความเลื่อมใสต่อผู้เทศนาคำสอนนั้น ความสงบจากกิเลสทั้งหลาย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ความอดทนต่อจริยาอันกระทำได้โดยยาก มีปัญญาในการยึดถือทรงไว้และการแทงตลอด ความเป็นผู้มีพละในการบรรลุ ความเป็นคนมั่นคงต่อมารและวาทะ ของคนอื่น ความเป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยองค์แห่งส่วนอันสำคัญ / ท่านแสดงความสูงสุดแห่งองค์ทั้งหลายมีความยินดีเป็นต้นว่า ภฺฤศํ ดังนี้ / ความแก่รอบแห่งอัตตา 9 ประการของพระโพธิสัตว์โดยย่อนี้ อันบัณฑิตพึงทราบ
โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบแห่งความยินดี
2 ความมี 3 มีการมีมิตรดี เป็นต้น ความมีความเพียรอย่างสูง ความมีจุดหมาย ความยึดมั่นในธรรมอันสูงสุด นี้เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบ โดยชอบในความกรุณาและการยึดถือพระสัทธรรม /
อรรถาธิบาย ตวามมี 3 มีการมีมิตรเป็นต้น คือการคบสัตบุรุษ การฟังสัทธรรมและโยนิโสนมสิการ / ความมีความเพียงอย่างสูง ด้วยการปรารภความเพียรอันสูงสุด / ความมีจุดหมาย คือ ความไม่มีความลังเลสงสัยในสถานที่อันบุคคล ไม่ควรคิดทั้งปวง / ความยึดมั่นในธรรมอันสูงสุด คือรักษามหายานธรรม ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่มหายานธรรมนั้น /
กายยึดมั่นในมหายานธรรมอันอย่างยิ่งนี้ พึงทราบว่าเป็นลักษณะแห่งความแก่รอบของความยินดีแห่งพระโพธิสัตว์ / ด้วยเหตุใด ความมี 3 มีการมีมิตรดีเป็นต้นจึงเป็นความแก่รอบ / บุคคลใด เป็นผู้ประกอบด้วยความเพียรอย่างสูงสุดและมีจุดมุ่งหมาย ความแก่รอบเป็นสวภาวะของบุคคลนั้น / และกรรมใดเพราะการยึดมั่นและการะทำธรรมอันสูงสุด ธรรมนั้นอันท่านแสดงไว้แล้ว ด้วยความแก่รอบนี้ /
โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบแห่งความเลื่อมใส
3 ความเข้าใจคุณธรรม การได้รับสมาธิอย่างกว้างขวาง การเพลิดเพลินในผล ความมีใจไม่เปลี่ยนแปลงด้วยความถึงพร้อมในคำสอน เป็นลักษณะสำคัญแห่งการแก่รอบ โดยมิชอบ
อรรถาธิบาย ความแก่รอบแห่งความเลื่อมใสนี้ ท่านแสดงด้วยเหตุผลด้วยธรรมชาติอันเหมาะสมและด้วยกรรม / ความเข้าใจคุณธรรม แม้นี้ คือเหตุดดยพิศดาร คือ พระตถาคตผู้มีพระภาคเจ้านั้น / ความมีจิตไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการได้อำนาจอันไม่ตกต่ำ คือ สวภาวะ (ธรรมชาติอันเหมาะสม) การได้สมาธิอันกว้างขวาง การเพลิดเพลินในผลอันมีอภิญญาเป็นต้น คือ กรรม /
โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบแห่งความสงบ
4 การสังวรด้วยดี การละเว้นจากการวิตกในกิเลส ความไม่มีอันตรายความยินดีในความดีงาม นี้เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบโดยชอบอันสำคัญ เพราะการบรรเทาเสียซึ่งกิเลสของบุตรแห่งพระชินเจ้า /
อรรถาธิบาย การบรรเทาเสียซึ่งกิเลส เป็นความสงบของพระโพธิสัตว์ / ความแก่รอบแห่งความสงบนี้ท่านแสดงเหตุ สวภาวะ และกรรม / การสำรวจสติสัมปชัญญะแห่งอินทรีย์ทั้งหลายเป็นเหตุ / การละเว้นจากการวิตกในกิเลสเป็นสวภาวะ / ความไม่มีอันตรายเพราะการเจริญแห่งปฏิปักษ์และความยินดียิ่งในกุศลเป็นกรรม /
โศลกว่าด้วยการปรารภลักษณะแก่รอบแห่งความกรุณา
5 ความกรุณาตามปกติ การเห็นความทุกข์ของคนอื่น การเว้นจากจิตอันต่ำทราม การถึงหนทางอันวิเศษ การเกิดในโลกอันเลิศ เป็นลักษณะการแก่รอบแห่งความกรุณาต่อบุคคลอื่น /
อรรถาธิบาย แก่รอบเพราะความกรุณาต่อตนเอง และโคตร และเพราะเว้นจากหีนยานนี้คือ เหตุ / การเข้าถึงหนทางอันวิเศษ เพราะเข้าถึงความเจริญแห่งการแก่รอบ นี้คือสวภาวะ / ความมีอยู่แห่งอัตตาอันประเสริฐในโลกทั้งปวง นี้คือกรรมในภูมิอันไม่ถอยหลัง /
โศลกว่าด้วยการปรารภลักษณะการแก่รอบแห่งกษานติ
6 ความกล้าหาญ โดยปกติ การเจริญภาวนาในการคำนวณความรู้สึกมีความรู้สึกทุกข์เหมือนกับความรู้สึกหนาว การถึงหนทางวิเศษ ความยินดีในความงดงาม นี้เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบอันสำคัญของความอดทน/
อรรถาธิบาย ความกล้าหาญ ความอดทน คือ กษานติ และการเจริญภาวนาในความรู้สึกและโคตร ในความแก่รอบนั้น คือ เหตุ / การอยู่อย่างมีความรู้สึกเป็นทุกข์เหมือนกับรู้สึกหนาว เป็นต้นนี้ คือ สวภาวะ / การเข้าถึงหนทางวิเศษแห่งความอดทนและความยินดียิ่งในกุศล คือ กรรม /
โศลกว่าด้วยการปรารภความแกรอบแห่งความมีปัญญา
7 ความบริสุทธิ์แห่งวิบาก ความไม่มีโทษจากการฟัง การแทงตลอดซึ่งที่ได้ฟังดีและไม่ฟังดี ความมีสติในการเกิดขึ้นแห่งพุทธิและโยคะ เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบของความมีปัญญา /
อรรถาธิบาย ความบริสุทธิ์แห่งวิบากอันเกื้อกูลต่อปัญญาในโศลกนี้คือ เหตุ / ความไม่มีโทษจากการฟังคิดและภาวนาของสิ่งที่กระทำและพูดแม้นานแล้ว การแทงตลอดซึ่งอรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต และการมีสตินี้เป็นสวภาวะแห่งความแก่รอบแห่งปัญญา / ความมีโยคะในการเกิดขึ้นแห่งปัญญาอันสูงสุดในโลก นี้คือ กรรม /
โศลกว่าด้วยการปรารภความแก่รอบของการได้เฉพาะซึ่งพละ
8 การบำรุงเลี้ยงธาตุทั้งสองโดยความเป็น 2 อันงาม ความมีโยคะในพื้นฐานอันเป็นที่เกิดขึ้นแห่งผลอีก การบรรลุความปรารถนา ความเป็นอยู่ในโลกอันเลิศ เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบของการได้พละ /
อรรถาธิบาย การเลี้ยงดูพีชะแห่งบุญและความรู้ด้วยบุญและความรู้ในโศลกนี้ เป็นเหตุในความแก่รอบ / ความมีโยคะเป็นพื้นฐานอันถึงทับแล้วเป็นสวภาวะแห่งการแก่รอบ / การบรรลุความปรารถนาและการเป็นอยู่ในโลกอันเลิศเป็นกรรม
โศลกว่าด้วยความแก่รอบแห่งความเป็นคนมั่นคง
9 การอาศัยการประกอบและวิจารณ์ซึ่งความเป็นผู้มีธรรมดี การได้ผลอันวิเศษ การที่ปรปักษ์ถูกประทาร้ายแล้ว และความไม่มีอันตรายจากมารทุกเมื่อ เป็นลักษณะแห่งการแก่รอบ แห่งความเป็นผู้มั่นคง /
อรรถาธิบาย ในโศลกนี้ การอาศัยอันกระทำการประกอบและวิจารณ์สัทธรรมเป็นเหตุแห่งความแก่รอบ /ในกาลที่มารไม่อาจทำอันตรายได้อีกเป้นความไม่มีอันตรายแห่งมารนี้ เป็นสวภาวะ / การเข้าถึงผลอันวิเศษและการที่ฝ่ายปรปักษ์ถูกประทุษร้ายแล้วเป็นกรรม /
โศลกว่าด้วยการกระทำอันยิ่งซึ่งความแก่รอบแห่งการมาตามพร้อมด้วยองค์แห่งการเสียสละ
10 การสั่งสมความดี ความมีโยคะ ในความพยายามการตั้งมั่น ความเป้นคนสงัด (วิเวก) ความยินดียิ่งในความดี นี้เป็นลักษณะแห่งความแก่รอบแห่งความมาตามพร้อมด้วยองค์ อันสำคัญของบุตรแห่งพระชินเจ้า /
อรรถาธิบาย ในโศลกนี้ การสั่งสมกุศลมูล เป็นเหตุแห่งความแก่รอบ / ความเป็นผู้มีความอดทนต่อการปรารภความเพียรเพื่อความตั้งมั่น เป็นสวภาวะ / ความเป็นผู้มีความสงัดและความเป็นผู้ยินดีในกุศล เป็นกรรม /
โศลกว่าด้วยการปรารภความยิ่งใหญ่แห่งความแก่รอบแห่งอัตตาอันมี 9 ประการ
11 ด้วยประการดังนี้ ความเป็นผู้มีอัตตาแก่รอบอันมี 9 ประการเข้าถึงความมีโยคะ ในความแก่รอบของบุคคลอื่น ความเป็นผู้มีอัตตาเจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องอันสำเร็จแล้วแต่ธรรม บุคคลย่อมเป็นผู้เผ่าพันธุ์อันเลิศแห่งโลก
อรรถาธิบาย ความยิ่งใหญ่แห่งความแก่รอบมี 2 ประการ / ความเป็นที่พึ่งเพื่อความแก่รอบแห่งบุคคลอื่น / และความเจริญแห่งธรรมกายอันต่อเนื่อง / ดังนั้น บุคคลจึงเป็นผู้เป็นเผ่าพันธุ์อันเลิศ /
โศลกว่าด้วยการจำแนกความแก่รอบแห่งสัตว์ 11 โศลก
12 บุคคลบรรเทาความหิวกระหาย เมื่อความกี่รอบคือความหิวกระหายสมควรแก่การบรรเทา บริโภคโภชนะเมื่อสมควรต่อการบริโภค โดยประการใด บุคคลเข้าใจความสงบของคนผุ้มีความเป็น 2 แห่งปักษ์ ย่อมมีความเป็นผู้เสพซึ่งความสงบอันดีงามของผู้มีความเป็น 2 แห่งปักษ์ โดยประการนั้น /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงธรรมชาติแห่งการแก่รอบด้วยโศลกนี้ / ความมีการประกอบอันเป็นไปกับด้วยความหิว ด้วยความหิว ชื่อว่า ความแก่รอบโดยประการใด / และการประกอบ โภคะ ด้วยโภคะ / ความสงบของฝ่ายข้าศึก อันสมควรแก่สถานที่แห่งความกระหาย ด้วยสถานที่อันสมควรแก่ความหิวกระหายและโภคะอันเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งหลายโดยประการนี้น / ความเป็นสถานที่อันควรแก่โภคะนั้นเป็นอุปโภคแห่งปฏิปักษ์ / เพราะเหตุนั้นความเป็นคนมีโภคะ (การประกอบ) จึงเป็นความแก่รอบแห่งผู้อาศัยนั้น / วิปักษ์ และปฏิปักษ์ พึงทราบว่าเป็นความเป็น 2 แห่งปักษ์ /
โศลกที่ 2
13 ความแก่รอบ ไปปราศแล้ว ความแก่รอบ ความแก่รอบก่อน ความแก่รอบตาม ความแก่รอบด้วยดี ความแก่รอบอย่างยิ่ง ความแก่รอบไม่มีและคามแก่รอบขึ้น ท่านกล่าวไว้แล้วในร่างกายทั้งหลาย /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงประเทภของความแก่รอบด้วยโศลกนี้ / ความแก่รอบไปปราศเพราะความแก่รอบแห่งความไปปราศแห่งกิเลส / ความแก่รอบเพราะความสุกงอมด้วยยาน 3 จากที่ทั้งปวง / ความแก่รอบก่อน คือ ความสุกงอมอันประทำแล้วจากความที่แห่งความแก่รอบภายนอกเป็นสิ่งวิเศษ / ความแก่รอบตาม คือความสุกงอมตามสมควรแก่ธรรมและเทศนาของเวไนยสัตว์ / ความแก่รอบด้วยดี คือ ความสุกงอมอันกระทำดีแล้ว / ความแก่รอบอย่างยิ่ง คือ ความสุกงอมด้วยการเข้าถึง คือ ด้วยความที่อรรถไม่วิปริต / ความแก่รอบไม่มี คือ ความสุกงอมอันเป็นนิตย์ คือด้วยความที่อรรถไม่เสื่อมไป / ความแก่รอบขึ้น คือ ความสุกงอมอันยอดเยี่ยมด้วยการก้าวข้าม / นี้คือประเภทแห่งความแก่รอบของคนอื่น 8 ประการ /
โศลกที่ 3 และ 4
14 บุตรแห่งพระชินเจ้า ผู้มีความรักยังโลกทั้งปวงให้สุกงอมด้วยอาศัยประโยช์เกื้อกูลโดยประการใด ไม่ว่ามารดา บิดา และญาติ ผุ้มีความรัรกในญาติทั้งหลายเหล่านั้น (ก์จักสุกงอม) โดยประการนั้น /
15 ชนผู้มีใจอันไม่ต่ำทรามในความไม่มีตัวตน จักมีในชนเหล่าอื่นผู้มีความรักแต่ที่ไหนโดยประการที่ชนผู้มีความกรุณาอื่นไม่ต่ำทรามต่อสัตว์เหล่าอื่น มีใจอันประกอบในประโยน์เกื้อกูลและความสุข /
อรรถาธิบาย ด้วย 2 โศลกนี้ ท่านแสดงอะไร / พระโพธิสัตว์ยังสัตว์ทั้งหลายให้สุกงอมด้วยความรักอันเช่นใด เช่นแสดงความรักนั้น / ความวิเศษแห่งความรักของบิดา มารดา และญาติและความวิเศษแห่งความรักที่มีต่อสัตว์โลกทั้งหลาย เพราะการประกอบพ้อมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุข / แต่ความเป็นผู้มีตนอันไม่ต่ำทราม เพราะประกอบดนไว้ในประโยชน์และความสุข /
ด้วยโศลกที่เหลือ พระชินบุตรยังสัตว์ให้แก่รอบด้วยประกอบบารมีใด ท่านแสดงด้วยการปกิบัติบารมีนั้น /
โศลกปรารภทานที่ยังสัตว์ให้แก่รอบ
16 ความเพลิดเพลินในสรีระอันพระโพธิสัตว์พึงให้แก่บุคคลอื่น ย่อมไม่มีโดยประการทั้งปวง เมื่อยังสัตว์ให้สุกงอมด้วยวิธีทั้ง 2 อันควรยึดถึอแล้ว พระโพธิสัตว์ก็ไม่ยินดีด้วยคุณทั้งหลายอันเสมอด้วยทาน /
อรรถาธิบาย ในสุกงอมด้วยทานอันมี 3 ประการ / ด้วยการให้ซึ่งความเพลิดเพลินในสรีระทั้งปวง ด้วยการให้อันไม่มีใดเหมือน ด้วยการให้อันไม่มีความยินดีในการเพียงพอ / พระโพธิสัตว์ยังสัตว์อื่นให้สุกงอมด้วยการยึดถือในทิฐิธรรมและสัมปรายภพได้อย่างไร / เพราะการยังความอิจฉาให้บริบูรณ์โดยไม่ขาดตอน / แล้ะด้วยการให้กุศลตั้งมั่น เพราะยึดถือโดยอนาคต /
โศลกว่าด้วยการปรารภศีลที่ยังสัตว์ให้สุกงอม
17 เป็นผู้ไม่เบียดเบียนโดยปกติตลอดเวลา ยินดีในความเป็นตนเอง เป็นผู้ไม่ประมาท ยังสัตว์อื่นให้เข้าถึงในที่นั้น อนุเคราะห์สัตว์อื่นด้วยการเปลี่ยนแปลงอันมี 2 ประเภท พระโพธิสัตว์จึงเป็นผู้สุกงอมด้วยวิบากและคุณอันทุ่มเท /
อรรถาธิบาย ศีลมี 5 ประการ / ความเป็นผู้ไม่เบียดเบียน เพราะด้วยศีลแน่แท้ ศีลปกติ ศีลบริบูรณ์ / เพราะว่าเป็นผู้ไม่เบียดเบียนอันบริบูรณ์ คือ เป็นผู้ไม่เบียดเบียน เพราะการบริบูรณ์พร้อมด้วยกุศลกรรมบถ 10 / ดังที่ได้กล่าวแล้ว ในภูมิที่ 2 / เพราะความยินดีในความเป็นตนเองด้วยศีลอันถึงทับ / และเพราะความไม่ประมาทด้วยศีลอันไม่ขาดในระหว่าง / ยังคนอื่นให้สุกงอมได้อย่างไร / เพราะยังสัตว์ให้ตั้งมั่นในศีล / ด้วยการกระทำการอนุเคราะห์ 2 ประการ ในทิฐิธรรมและสัมปรายภพ / กระทำการอนุเคราะห์ในสัมปรายภพในสัตว์เหล่าอื่นด้วยวิบากและคุณอันทุ่มเท / เพราะการไม่ตัดขาดด้วยการอนุเคราะห์กันและกันของวิบากและการทุ่มเท /
โศลกว่าด้วยการปรารภขันติที่ยังสัตว์ให้สุกงอม
18 เมื่อบุคคลอื่นผิด เขาให้อภัยบุคคลอื่นด้วยอุปการะให้เขาก้าวเข้าไปสู่ความยอดเยี่ยมด้วยการให้อภัยแก่ความผิดด้วยจิตอันเป็นอุบายให้พวกเขาสมาทานในความดีงาม แม้จะเป็นผู้มีความผิด /
อรรถาธิบาย เมื่อบุคคลอื่น เป็นผู้มีความผิด พระโพธิสัตว์ยังพวกเขาให้สุกงอมด้วยความรู้อันเป็นอุปการะ ด้วยการให้อภัยด้วยธรรมอันตนนับถือ / ความมีพุทธิอันเป็นอุปการะ พึงทราบว่าเป็นความเจริญแห่งการอนุเคราะห์ด้วยการเต็มรอบแห่งขันติบารมี / ยังบุคคลอื่นให้สุกงอมได้อย่างไร / ด้วยการอนุเคราะห์ในทิฐิธรรมและเพราะความต่อสู้ด้วยความดี / และด้วยการอนุเคราะห์ในสัมปรายภพ เพราะการยังสัตว์ผู้มีความผิดให้สมาทานอยู่ในกุศล ด้วยความรู้อันเป็นอุบายด้วยการให้อภัย /
โศลกว่าด้วยการปรารภความเพียรที่ยังสัตว์ให้สุกงอม
19 อีกประการหนึ่ง บุตรแห่งพระชินเจ้าผู้อาศัยซึ่งความเพียรอันยอดเยี่ยมย่อมไม่เสียใจด้วยโกฏิแสนกัลป์ ยังหมุ่สัตว์ให้สุกงอม เพราะการทำให้สัตว์อื่นมีความงดงามแห่งจิตอันเป็นหนึ่ง /
อรรถาธิบาย ด้วยความเพียรในกาลอันยาวนานอย่างยิ่ง เพราะการยังสัตว์เป็นอนันต์ให้แก่รอบ โดยไม่รู้สึกเสียใจต่อกาลยาวนาน / พระโพธิสัตว์ไม่รู้สึกเสียใจด้วยโกฏิแสนแห่งกัลป์ในประโยชน์แห่งจิตอันเป็นหนึ่งอันเป็นกุศล / ดังนั้น พระโพธิสัตว์ย่อมยังบุคคลอื่นให้สุกงอมเหมือนดังคำที่กล่าวแล้ว / ด้วยการอนุเคราะห์ในทิฐิธรรมและสัมปรายภพ เพราะให้จิตประกอบอยู่ในกุศล ด้วยประการดังนี้
โศลกว่าด้วยการปรารภฌานอันยังสัตว์ให้สุกงอม
20 เพราะเข้าถึงความมีอำนาจอันยอดเยี่ยมในใจ ให้บุคคลอื่นเป็นไปพร้อมในศาสนานี้ ละอวมานะและกามแล้ว จึงมีความเจริญด้วยความงดงาม
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์แก่รอบด้วยการมีอำนาจอันยอดเยี่ยมที่บรรลุแล้ว ด้วยฌานอันไม่ถูกต้องได้ และด้วยการนำออกซึ่งอวมานะและกามทั้งปวง / ย่อมแก่รอบยังกุศลธรรมให้เจริญและให้บุคคลตั้งอยู่ในพระพุทธศาสนา /
โศลกว่าด้วยการปรารภปัญญาอันยังสัตว์ให้แก่รอบ
21 พระโพธิสัตว์มีความมั่นคงด้วย ตัตวภาวะ และนัยแห่งอรรถทำให้สัตว์ทั้งหลายมีความสงสัยอันนำออกแล้ว เพราะความอ่อนน้อมต่อคำสอนแห่งพระชินเจ้านั้น จึงยังตนและบุคคลอื่นให้เจริญด้วยคุณอันงดงาม /
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์นั้นย่อมแก่รอบด้วยปัญญาอันตั้งมั่นด้วยดี ด้วยนัยแห่งอรรถตัตวะและนัยแห่งอรรถแห่งการอภิปราย / พระโพธิสัตว์แก่รอบ เพราะการนำออกเสียซึ่งความสงสัยของสัตว์ทั้งหลายอย่างไร / และจากนั้น เพราะมีความนอบน้อมเป็นอันมากในศาสนาและด้วยการยังคุณธรรมของตนและบุคคลอื่นให้เจริญขึ้น /
โศลกว่าด้วยการสรุป(นิคม)
22 ด้วยเหตุนั้น พระโพธิสัตว์นั้น ในคติแห่งสุคติ หรือในความมี 3 แห่งความงดงาม สั่งสอนโลกด้วยความกรุณา ด้วยความเนิ่นช้า ความยอดเยี่ยาม ความกลาง ย่อมนำไปด้วยคติแห่งภาวะอันเสมอของโลก
อธิการที่ 8 ว่าด้วยความแก่รอบ ในมหายานสูตราลังการ จบ.
*****
อธิการที่ 9
โศลกว่าด้วยความรู้
q p q p q p
โศลกว่าด้วยความรู้ 2 โศลก/
โศลกที่3 เป็นคำอธิบายของสองโศลกแรก
1 โดยการกระทำอันกระทำได้โดยยาก ไม่มีประมาณ การสั่งสมกุศลอันไม่มีประมาณ การสิ้นไปแห่งอุปสรรค โดยกาลเวลาอันไม่มีประมาณ /
2 ความรู้อาการะทั้งปวง อันไม่มีมลทิน อันบรรลุแล้ว เพียวงดังกล่องแห่งรัตนะอันถูกเปิดแล้ว นี้อันบุคคลเรียกว่า ความเป็นพุทธะ /
3 หลังจากกระทำ การกระทำที่ทำได้ยากแล้ว ด้วยความเหน็ดเหนื่อยตั้ง 100 สะสมสิ่งดีงามทั้งปวง เพราะความสิ้นไปแห่งทรัพย์เป็นเครื่องปลื้มใจทั้งปวง ด้วยความยิ่งใหญ่แห่งกัลป์และยาน โดยกาลเวลา ความเป็นพุทธะก็ถูกค้นพบ เพราะอุปสรรคสิ้นไป เพราะการถอนเรื่องซึ่งการไปในภูมิทั้งหลายแล้วเพียงดังรัตนะ ทั้งหลายที่มีแสงสว่างสุกใส ถูกค้นพบเมื่อกล่องถูกเปิดแล้ว /
อรรถาธิบาย ความเป็นพุทธะอันเป็นที่บรรลุแล้ว อันเป็นสวภาวะ และอันมีการเปรียบเทียบได้ถูกอธิบายไว้แล้ว / ย่อมบรรลุถึงการประการอุปสรรคแห่งกิเลสและความรู้ได้ด้วยการกระทำที่ทำได้ยากนับร้อย โดยการสั่งสมกุศลและ โดยกาลเวลานี้เรียกว่าอันเป็นที่บรรลุแล้ว /ความรู้อาการะทั้งปวงอันไม่มีมลทินจากอุปสรรคทั้งปวงนี้คือสวภาวะ / กล่องแห่งรัตนะที่เปิดแล้วนี้เป็นการเปรียบเทียบ /
โศลกว่าด้วยลักษณะอันไม่มีความเป็น 2แห่งความเป็นพุทธะและอานุภาพแห่งความเป็นพุทธะ 2 โศลก
4 ธรรมทั้งปวงคือความเป็นพุทธะ ธรรมไม่มีนั่นเทียว อะไรๆ ก็ไม่มีความเป็นพุทธะ สำเร็จแล้วแต่กุศลธรรม แต่ว่าอันบุคคลไม่อาจอธิบายความเป็นพุทธะนั้นด้วยธรรมเหล่านั้น /
5 เพราะความที่แห่งรัตนะเป็นนิมิตแห่งธรรม การปุปมาเหมือนดังเป็นรัตนากรที่ได้รับแล้วจึงมี เพราะความที่มีความงดงามเป็นนิมิตอันได้รับแล้วจึงมีการอุปมาด้วยเมฆ /
อรรถาธิบาย ธรรมทั้งปวงคือความเป็นพุทธะ เพราะความที่พุทธัตวะนั้นถูกนำไปโดยความเป็นตถตา และเพราะถูกอบรมให้บริสุทธิ์โดยความเป็นตถตา / ธรรมใดๆย่อมไม่มีเพื่อความเป็นพุทธะ ความเป็นพุทธะอันสำเร็จแล้วแต่กุศลธรรมด้วยการจินตนาการและสวภาวะแห่งธรรม เพราะการเจริญขึ้นด้วยการยังกุศลทั้งหลายมีบารมีเป็นต้นให้เจริญ /แต่ว่าบุคคลไม่อธิบายความเป็นพุทธะนั้นด้วยธรรมเหล่านั้น ลักษณะแห่งความไม่เป็นสองนี้อันไม่เป็นที่อาศัยแห่งภาวะทั้งหลายมีบารมีเป็นต้น ด้วยภาวะมีบารมีเป็นต้น / การอุปมาด้วยรัตนากรและเมฆ เป็นอนุภาวะ เพราะเป็นความมีอยู่แห่งรัตนะ แห่งเทศนา และแห่งธรรม และเป็นความมีอยู่แห่งการเก็บเกี่ยวกุศลในพื้นที่อันมีความต่อเนื่องแห่งเวไนยสัตว์ /
6 ความเป็นพุทธะคือธรรมทั้งปวง อีกอย่างหนึ่งอยู่ภายนอกธรรมทั้งปวง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งรัตนะอันยิ่งใหญ่และกว้างใหญ่แห่งธรรม อันเช่นกับแร่รัตนะแห่งธรรม เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายได้เก็บเกี่ยวความดีงามอันกว้างใหญ่และยิ่งใหญ่เหมือนกับเมฆที่เป็นเหตุให้น้ำฝนคือธรรมอันยิ่งใหญ่อันนำออกด้วยดี ไม่รู้จักสิ้นแก่หมุ่สัตว์ทั้งหลาย /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงอรรถอย่างนั้นโดยโศลกที่ 3 นี้ / เพราะเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งรัตนากร เพราะเป็นนิมิตแห่งรัตนะคือธรรมอันยิ่งใหญ่อันกว้างขวาง เพราะเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งสัตว์ทั้งหลายซึ่งได้รับผลแห่งความดีงาม อันยิ่งใหญ่ เหมือนดังเมฆ / เพราะให้การตกแห่งน้ำฝนคือธรรมอันยิ่งใหญ่ อันนำออกด้วยดีและอันไม่รู้จักสิ้นแก่ประชาชนทั้งหลาย การวิเคราะห์บท ในที่นี้อันบัณฑิตพึงทราบ /
โศลกว่าด้วยความที่แห่งความเป็นพุทธะคือสรณะอันสูงสุด 5 โศลก
7 ความเป็นพุทธะเป็นเครื่องต้านทานจากหมู่กิเลสทั้งปวง ตลอดเวลาจากทุจริตทั้งปวงและแม้จากการเกิดและการตาย /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงความเป็นที่พึ่ง โดยอรรถว่าเป็นเครื่องป้องกันกิเลส กรรม การเกิด สังกิเลส อย่างย่อ ด้วยโศลกนี้ /
8 (เป็นเครื่องต้านทาน) อุปัททวะทั้งปวง อบาย อนุบาย ร่างกายแท้และหีนยาน เพราะฉะนั้นจึงเป็นสรณะอันสูงสุด /
อรรถาธิบาย ด้วยโศลกนี้ เพราะเป็นเครื่องต้านทาน(ป้องกัน) จากอุปัททวะ (อันตราย) เป็นต้น อย่างพิสดาร / ผู้มืดบอดย่อม ได้จักษุ ผู้หนวกย่อมได้โสตะ ผู้มีจิตสัดส่ายย่อมมีจิตตั้งมั่น ผู้มีความทุกข์ร้อนย่อมสงบอย่างนี้เป็นต้น / ความเป็นเครื่องป้องกันอบาย เพราะการยังสัตว์ผู้มาถึงแล้ว ให้หลุดพ้นและยังสัตว์ผู้ไม่มาถึงให้ตั้งมั่นด้วยแสงสว่างแห่งพระพุทธเจ้า / ความเป็นเครื่องป้องกันอนุบาน เพราะทำให้ทิฐิแห่งเดียรถีย์ไม่ตั้งมั่น / ความเป็นเครื่องป้องกันร่างกายจริงแท้ เพราะให้ถึงนิรวาณด้วยยานทั้ง 2 / ความเป็นเครื่องป้องกันหีนยานเพราะกระทำการนำไปด้วยมหายานเพียง 1 เท่านั้น แก่บุคคลผู้มีโคตรอันไม่เที่ยงแท้ /
9 ความเป็นพุทธะเป็นสรณะอันไม่มีที่เปรียบ เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นสิ่งน่าปรารถนา เป็นเครื่องรักษา การเกิด การตาย กิเลสและบาปทั้งปวง แก่บุคคลผู้มีความกลัวต่างๆเป็นเครื่องรักษาทั้งปวงอันเป็นทางออกแก่บุคคลผู้ถึงแล้วซึ่งทุกข์และอบายต่างๆ /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 3 นี้ท่านแสดงโดยอรรถแห่งความที่มีสรณะ เป็นสิ่งที่ไม่มีที่เปรียบ เป็นสิ่งประเสริฐ และเป็นที่น่าปรารถนา /
10 ความเป็นพุทธะ เป็นสรณะอันประเสริฐและน่าปรารถนาในโลกทั้งปวง เพราะมีสรีระสมบูรณ์ด้วยพุทธธรรม ยังหมู่สัตว์ให้เข้าสู่สัทธรรมให้เข้าถึงฝั่งโน้นด้วยกรุณา
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 4 สรณะเป็นสิ่งยอดเยี่ยมด้วยเหตุใด ท่านแสดงเหตุนั้น เพราะความีสวภาวะสมบูรณ์ด้วยธรรม พลัง และความกล้าหมายอันเป็นพระพุทธเจ้าเป็นต้น เพราะกระทำยิ่งซึ่งการเชื่อมั่นในประโยชน์ของตน เพราะความรู้อันเป็นอุบายยังเวไนยสัตว์ให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม และเพราะความถึงฝั่งโน้นด้วยกรุณา เพราะกระทำยิ่งซึ่งการเชื่อมั่นในประโยชน์ของคนอื่น /
11 ความเป็นพุทธะ เป็นสรณะอันยิ่งใหญ่ของสรรพสัตว์ เพราะกาลเวลาอันเป็นแสงสว่าง เพราะป้องกันอจากกิเลสทั้งปวง และให้เกิดขึ้นแห่งสมบัติ /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 2 นี้สรณะในประโยชน์ใด สิ้นกาลมีประมาณเพียงไร แก่สัตว์มีประมาณเพียงใด ย่อมมี ท่านแสดงสรณะนั้นโดยย่อ / คำว่า / ในประโยชน์ใด คือ เพราะป้องกันจากกิเลสทั้งปวง และเพราะให้เกิดขึ้นแห่งสมบัติ /
โศลกว่าด้วยการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐาน 6 โศลก
12 พีชะแห่งความเป็นไปแห่งกิเลส และสิ่งอันพึงรู้ อันไปตามด้วยดี อันเป็นกาลเวลาที่ยาวนาน เป็นสิ่งที่บรรลุถึงด้วยความเสื่อมทั้งปวง อันวิบูลย์ด้วยดี ในที่สุด ความเป็นแห่งพุทธะ เป็นความเป็น โดยประการอื่นแห่งพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยคุณอันประเสริฐแห่งธรรมอันขาว บุคคลบรรลุความเป็น โดยประการอื่นนี้ เพราะหนทางแห่งความรู้อันบริสุทธิ์ด้วยมีอารมณ์อันไม่ปราศแล้ว ไม่มี (ความหลอกลวง) ความแตกต่าง / ในที่นั้น /
อรรถาธิบาย โดยโศลกนี้ การหมุนไปรอบแห่งพื้นฐาน ท่านให้เห็นภาพ โดยการไม่ประกอบด้วยฝ่ายตรงข้าม และการประกอบพร้อมด้วยฝ่ายปฏิบักษ์ของฝ่ายตรงข้ามนั้น / การเข้าถึงการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานนี้ มีโดยประการใด เพราะการได้หนทางอันมี 2 วิธี / เพราะการได้หนทางแห่งความรู้อันยอดเยี่ยมในโลกอันบริสุทธิ์ด้วยดี / และเพราะการได้หนทางแห่งความรู้อันไม่มีที่สุดอันบุคคลได้แล้วอันเป็นความรู้อารมณ์ / กาลเวลาที่ยาวนาน ก็คือ ไม่มีกาลเวลาอันเริ่มต้น / วิธีนี้แห่งความเสื่อมทั้งปวงอันวิบูลย์ คือวิธีการแห่งภูมิทั้งหลาย /
13 พระตถาคตผู้ตั้งมั่นแล้วในการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานนี้ ก็สลัดเสียซึ่งโลก เพียงดังบุคคลผู้ยืนอยู่บนยอดแห่งภูเขา ให้เคลื่อนถึงความกรุณาต่อผู้ยินดีในความสงบ ดังนั้น อะไรเล่าคือกถา ในคนเหล่าอื่นผู้ยินดีในการเกิด /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 2 นี้ ท่านแสดงความพิเศษแห่งการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานเพื่อบุคคลอื่น / พระตถาคตเมื่อตั้งมั่นในที่นั้นแล้ว ย่อมเห็นโลกอันกิเลสในที่ใกล้ จากที่ไกล /
และเมื่อเห็นแล้วจึงมีความกรุณาต่อพระสาวก และปัจเจกพุทธเจ้าจะป่วยกล่าวไปใยถึงบุคคลอื่นเล่า
14 การหมุนไปข้างหน้า การหมุนขึ้น พื้นฐาน การหมุนเข้า การหมุนออก ความเป็นสอง ความไม่เป็นสอง ความวิเศษเสมอกัน ความที่ไม่ได้ในที่ทั้งปวง การหมุนไปรอบ เป็นความปรารถนาของพระตถาคตเจ้า /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 3 นี้ ท่านแสดงความแตกต่าง 10 ประเภท / การหมุนไปรอบแห่งพระตถาคตเข้า ชื่อว่าหารหมุนไปข้างหน้า เพราะการหมุนไปเพื่อประโยชน์ของคนอื่น / ชื่อว่าหมุนขึ้น เพราะการหมุนอย่างอุกกฤษฎ์ ซึ่งความวิเศษแห่งธรรมทั้งปวง / ชื่อว่า หมุนลง เพราะตัดเสียซึ่งกิเลสทั้งปวง / พื้นฐานการหมุนไปรอบแห่งพื้นฐานใด ท่านแสดงพื้นฐานนั้น / ชื่อว่าหมุนเข้าเพราะหมุนออกจากกิเลส / ชื่อว่า การหมุนออก เพราะมีการหมุนออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด / ชื่อว่าการหมุนโดยความเป็นสอง เพราะหมุนไปเพื่อการเห็นอภิสัมโพธิและปรินิวาณ / ชื่อว่า หมุนโดยความไม่เป็นสอง เพราะความที่แห่งสังสารและนิรวาณตั้งมั่นแล้วและเพราะการปรุงต่างและไม่ปรุงแต่ง / การหมุนไปโดยเสอมด้วยสาวกและปัจเจกพุทธ เพราะความเสมอแห่งวิมุตติ / การหมุนไปวิเศษเพราะความไม่เสมอด้วยพุทธธรรม ด้วยพลัง ความกล้าหาญ เป็นต้น / การหมุนไปได้ในที่ทั้งปวงเพราะเข้าถึงคำสอนแห่งยานทั้งปวง /
15 ความเป็นพุทธะ เป็นสิ่งไปได้ในที่ทั้งปวง เป็นสิ่งมีอยู่ตลอดเวลาเหมือนกับอากาศที่ไปได้ในที่ทั้งปวง มีอยู่ตลอดเวลา ความเป็นแห่งพุทธะ เป็นการเข้าถึงความมีรูปร่างหลายหลายเช่นเดียวกับอากาศที่มีรูปร่างหลากหลาย /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 4 นี้ ท่านแสดงความเป็นสิ่งไปได้ในที่ทั้งปวงแห่งความเป็นพุทธะอันเป็นสวภาวะ (ธรรมชาติของตนเอง) / โดยครึ่งก่อนและครึ่งหลังความเป็นพุทธะกำหนดและอธิบายได้ด้วยการเทียบกับอากาศ / ความไปได้ในที่ทั้งปวงของความเป็นพุทธะในหมุ่สัตว์ทั้งหลายนั้น เป็นการค้นหาความจริง โดยตนเองในการเข้าไปถึง "สตฺ" (ความจริง) ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้ อันบัญฑิตพึงทราบ
16 รูปแห่งพระจันทร์ ย่อมไม่แสดงในภาชนะแห่งน้ำอันแตกแล้ว ฉันใด รูปแห่งพระพุทธะย่อมไม่แสดงในสัตว์ทั้งหลายที่ถูกประทุกษร้ายแล้ว /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 5 นี้ ท่านสาธยายด้วยตัวอย่าง การไม่เห็นรูปแห่งพระพุทธเจ้าในสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีภาชนะ (ไม่เป็นที่บรรจุ) ในความเป็นสิ่งไปได้ในที่ทั้งปวง /
17 ไฟย่อมลุกไหม้ในที่ใด ก็สงบในที่นั้น ฉันใด ความรู้ในพระพุทธเจ้าก็เป็นสิ่งแสดงตนและไม่แสดงตน ฉันนั้น /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 6 นี้ การแสดงตนเพราะการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าในเวไนยสัตว์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายและในความจริงทั้งหลาย / ท่านสาธยายการไม่เห็นปรินิรวาณของเวไนยสัตว์ด้วยการเปรียบเทียบกับการติดและดับแห่งไฟ /
โศลกว่าด้วยการที่กิจอันพึงทำของพระพุทธเจ้าไม่ถูกทอดทิ้งความไม่ยินดี 4 โศลก
18 การเกิดขึ้นแห่งเสียงแตร พึงมีเพราะถูกกระทบ ฉันใด ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเทศนาอันเว้นจากความยินดีในพระชินเจ้า ฉันนั้น /
19 การแสดงแสงสว่างแห่งมณีเกิดขึ้น โดยปราศจากพยายามฉันใด การแสดงกิจที่พึงทำในพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นโดยปราศจากความยินดี ฉันนั้น /
อรรถาธิบาย โดยโศลกทั้ง 2 นี้ ท่านสาธยายกิจที่พึงทำของพระพุทธเจ้า โดยไม่มีความยินดีด้วยการเปรียบเทียบกับเสียงแตรดังโดยลมกระทบและแสงสว่างแห่งแก้วมณี
20 ในอากาศอันมาขาดตอน กริยาของชาวโลกย่อมถูกแสดง ฉันใด กริยาของพระชินเจ้าอันไม่ขาดตอนในธาตุอันไม่เปลี่ยนแปล ฉันนั้น /
21 การเสื่อมไปและการเกิดขึ้นแห่งกริยาในอากาศมีตลอดเวลา ฉันใด การเกิดขึ้นและสิ้นไปแห่งกิจที่พึงทำของพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่เปลี่ยนแปลงก็ฉันนั้น /
อรรถาธิบาย โดยโศลกทั้ง 2 นี้ ความที่กิจอันพึงทำของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ปราศจากการละเว้น เพราะการไม่ขาดตอนแห่งกิจที่พึงทำของพระพุทธเจ้า / เหมือนกับการเกิดขึ้นและการสิ้นไปแห่งกริยาของโลกในอากาศอันไม่เคยขาดตอน /
โศลกว่าด้วยความลึกซึ้งแห่งธาตุอันไม่มีอาสวะ 16 โศลก /
22 แม้ว่าเป็นความพอดีแห่งการสัมพันธ์อันต่อเนื่อง ไม่มีมลทินแห่งอุปสรรคทั้งปวง บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่ ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่ ตถตาก็ถือว่าเป็นความเป็นแห่งพุทธะ
อรรถาธิบาย ไม่บริสุทธิ์ เพราะความที่เป็นของสัมพันธ์กับความต่อเนื่อง / ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ใช่ เพราะความไม่มีมลทินแห่งอุปสรรคทั้งปวง กล่าวคือ ความมีมลทินไปปราศแล้ว
23 ในศูนยตาอันบริสุทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงได้หนทางแห่งความไม่มีตัวตน เพราะความมีตนบริสุทธิ์อันได้แล้ว และถึงแล้วซึ่งความยิ่งใหญ่แห่งตัวตน /
อรรถาธิบาย ในที่นี้ ปรมาตมัน แห่งพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่มีอาสวะถูกแสดงไว้ / เพราะเหตุไร / เพราะความที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่มีตัวตนอันเลิศ / ความไม่มีตัวตนอันเลิศและตถตาอันบริสุทธิ์นี้เป็นตัวตนแห่งพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าย่อมได้ความไม่มีตัวตนอันเลิศและตัวตนอันบริสุทธิ์ ในตถตาอันบริสุทธิ์นั้นด้วยอรรถแห่งสวภาวะ / ดังนั้น พระพุทธเจ้าบรรลุความมีตัวตนอันยิ่งใหญ่จากความที่มีตัวตนอันบริสุทธิ์ที่พระองค์ได้รับ ดังนี้แล ปรมาตมัน ย่อมตั้งมั่นในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า /
24 มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ความเป็นพุทธะถูกกล่าวถึงด้วยคำนั้น เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าและตถตาพึงทราบว่าเป็นปริศนาและมีนัยอันเป็นอัพยากฤต /
อรรถาธิบาย เพราะเหตุนั้นเทียว ความเป็นพุทธะ ท่านจึงกล่าวว่า มีก็ไม่ใช่ / เพราะมีลักษณะเป็นอภาวะของบุคคลและธรรม และเพราะความเป็นตัวตนแห่งพระพุทธเจ้า / ท่านกล่าวว่า ไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะมีลักษณะแห่งตถตา / ดังนั้น ปัญหาความมีและไม่มีแห่งพระพุทธเจ้าว่า พระตถาคตมีอยู่หลังจากตาย หรือไม่มีอยู่ดังนี้ เป็นต้น พึงรุ้ว่าเป็นปํญหาอันมีนัยเป็นอัพยกฤต /
25 การสงบแห่งการเผาไหม้ (มีอยู่) ในโลหะและ (ความสงบ) แห่งการเห็นมีอยู่ในความมืด ฉันใด ความมีอยู่และไม่มีอยู่ของพระพุทธเจ้าย่อมไม่ถูกแสดงในจิตและชฺญาน ฉันนั้น /
อรรถาธิบาย เช่นเดียวกับความสงบแห่งการเผาไหม้มีอยู่ในโลหะและความสงบแห่งการเห็นมีอยู่ในความมืด ความสงบแห่งความมีอยู่ก็มีอยู่ เพราะลักษณะแห่งความไม่มีอยู่แห่งการเผาไหม้และความมืด / ความไม่มีอยู่ก็ไม่ใช่ เพราะความมีอยู่ด้วยลักษณะแห่งความสงบ / ความสงบแห่งราคะและอวิทยาอันเป็นสถานที่แห่งการเผาไหม้และความมืดบอดในจิตและชญานแห่งพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ถูกแสดงว่าเป็นที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยปัญญาวิมุตติและจิตวิมุตติ เพราะเหตุนั้น จึงมีอยู่ด้วยลักษณะแห่งวิมุตตินั้นนั้น /
26 ในธาตุอันไม่มีมลทิน ไม่มีความเป็นหนึ่งและความหลากหลายแห่งพระพุทธเจ้าเพราะความไม่มีร่างกายเหมือนอากาศ เพราะเป็นไปตามร่างกายอันมีในกาลก่อน /
อรรถาธิบาย ความเป็นหนึ่งไม่มีในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า ด้วยการคิดตามร่างกายอันมีในกาลก่อน / ไม่มีความหลากหลาย เพราะความไม่มีแห่งร่างกายเหมือนอากาศ /
27 โพธิ อันมีอุปมาด้วยแร่รัตนะ (รัตนากร) ในพุทธธรรมมีพละเป็นต้น ในการได้รับผลแห่งกุศลของชาวโลกความคิดถึงมีเมฆใหญ่เป็นอุปมา /
28 เพราะความเป็นสิ่งบริบูรณ์ด้วยบุญและชญาน จึงเป็นสิ่งมีพระจันทร์เต็มดวงเป็นอุปมาและเพราะทำแสงสว่างคือความรู้จึงมีดวงอาทิตย์ใหญ่เป็นอุปมา /
อรรถาธิบาย ในโศลกทั้ง 2 นี้ ในความมีรัตนากรและเมฆเป็นอุปมาและในความมีพระจันทร์เพ็ญและพระอาทิตย์ใหญ่เป็นอุปมา โศลกทั้ง 2 มีความหมายอันถึงแล้ว /
29 รัศมีอันไม่มีประมาณเป็นสิ่งที่รวมอยู่ในมณฑลแห่งพระอาทิตย์ กิจอันพึงทำอันเป็นหนึ่งย่อมเป็นไปตลอดเวลาและยังชาวโลกให้มองเห็น /
30 ในธาตุอันไม่มีอาสวะ มีความไม่มีประมาณแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกิจอันพึงกระทำ ความที่กิจอันพึงทำเป็นหนึ่งและการยังความรุ้ให้เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ /
อรรถาธิบาย ด้วยโศลกที่ 1 ท่านแสดงความเป็นสาธารณแห่งกรรม โดยการอุปมารัศมีอันผสมกันแห่งกิจที่พึงทำเพียง 1 / ความเป็นหนึ่งแห่งกิจอันพึงทำรัศมีทั้งหลาย พึงทราบว่าเพราะความเสมอกันแห่งการจำแนกและการสอน / โดยโศลกที่ 2 ในธาตุอันไม่มีอาสวะ ความเป็นกิจอันผสมกันในการกระทำอันเป็นการนิรวาณ เป็นต้น /
31 การปล่อยรัศมีทั้งหมดมีเพราะการปล่อยรัศมีหนึ่งฉันใด การปล่อยออกซึ่งความรู้อันพึงรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเพียงดัง พระอาทิตย์ฉันนั้น
อรรถาธิบาย ท่านแสดงความเป็นไปแห่งความรู้ในกาลเดียวแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยการปล่อยรัศมีทั้งปวงในกาลเดียว /
32 ความเห็นว่าเป็นของเราไม่มีในความเป็นไปแห่งรัศมีของพระอาทิตย์ฉันใด นั่นเที่ยว ความเห็นว่าเป็นของเราก็ไม่มีในความเป็นไปแห่งความรู้ของพระพุทธเจ้าฉันนั้นเหมือนกัน /
33 โลกสว่างด้วยรัศมีที่พระอาทิตย์ปล่อยออกมาฉันใด สิ่งอันพึงรู้ทั้งปวงย่อมมีแสงสว่างด้วยความรู้แห่งพระพุทธเจ้าฉันนั้น /
อรรถาธิบาย ในความมีอยู่แห่งความเป็นของเรา โลก (มีอยู่) ด้วยแสงสว่างแห่งความรู้ / โศลกทั้ง 2 มีความหมายที่ถึงแล้วตามลำดับ /
34 เครื่องปกปิดมีเมฆเป็นต้น ของรัศมีแห่งพระอาทิตย์เป็นสิ่งที่ถูกรู้แล้ว ฉันใด ความวิปริตอันถูกประทุษร้ายแล้วของสัตว์ ก็เป็นเครื่องปกปิดแห่งความรู้ของพระพุทธเจ้าฉันนั้นเหมือนกัน /
อรรถาธิบาย เครื่องปกปิดมีเมฆเป็นต้นแห่งรัศมี ด้วยแสงสว่างฉันใด / เครื่องปกปิดแห่งความรู้ของพระพุทธเจ้าอันไม่เป็นเครื่องรองรับแก่สัตว์ทั้งหลาย ถูกประทุษร้ายเพราะความแห้งผาก 5 ประการ
35 ความวิจิตรและไม่วิจิตรของสีในเสื้อผ้าจากอำนาจแห่งฝุ่น ฉันใด ความวิจิตรและไม่วิจิตรแห่งความรู้ในความหลุดพ้นจากอำนาจแห่งการยืนออกมาฉันนั้น /
อรรถาธิบาย ความวิจิตรและไม่วิจิตรด้วยสีต่างๆ ในเสื้อผ้าด้วยอำนาจแห่งฝุ่นฉันใด / ความวิจิตรแห่งความรู้ในความหลุดพ้นของพระพุทธเจ้า ย่อมมีเพราะมีปณิธานในกาลก่อน จริยาและการใคร่ครวญแห่งพละ / ความไม่วิจิตรย่อมมีในความหลุดพ้นแห่งสาวกและปัจเจกพุทธะ /
36 ความลึกซึ้งอันบุคคลกล่าวถึงนั้นของพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่มีมลทินและในลักษณะสถานที่และกรรม เป็นต้น ช่นกับภาพวาดในอากาศด้วยสีทั้งหลาย /
อรรถาธิบาย ความลึกซึ้ง 3 ประการของพระพุทธเจ้าในธาตุอันไม่มีอาสวะท่านกล่าวไว้แล้ว /ความลึกซึ้งแห่งลักษณะด้วยโศลกทั้ง 4 / ความลึกซึ้งแห่งสถานที่ด้วยโศลกที่ 5 เพราะความตั้งมั่นแห่งความไม่เป็น 1 ตามลำดับ / ความลึกซึ้งแห่งกรรมด้วยโศลก 10 โศลก / อีกประการหนึ่ง ความลึกซึ้งแห่งลักษณะ ท่านกล่าวปรารภลักษณะบริสุทธิ์ ลักษณะปรมาตมัน ลักษณะ ไม่มีคำสอน ลักษณะวิมุตติ / ความลึกซึ้งแห่งกรรม ท่านกล่าวปรารภ กรรมคือพื้นฐานแห่งรัตนะ มีโพธิปักขิยธรรม เป็นต้น กรรมคือความสุกงอมแห่งสัตว์ กรรมคือการถึงความวางใจ กรรมคือธรรมเทศนา กรรมคือกฤตยาคมมีนิรมาณเป็นต้น กรรมคือการหมุนไปแห่งความรู้ กรรมคือการหมุนออกแห่งความรู้ กรรมคือความวิเศษแห่งความรู้อันไม่เสมอด้วยวิมุตติ / เทศนาแห่งประเภทของความลึกซึ้งในธาตุอันไม่มีอาสวะนี้นั้น เป็นเหมือนกับภาพวาดในอากาศด้วยสีทั้งหลาย อุปมาด้วยอากาศเพราะไม่มีความเนิ่นช้า อันบัณฑิตพึงทราบ /
37 ตถตาแม้ไม่เจาะจงเพื่อสัตว์ทั้งปวง ก็ยังถึงความบริสุทธิ์อันเป็นความเป็นตถาคต ดังนั้น จึงเป็นครรภ์แห่งความเป็นตถาคตนั้น และของสัตว์ผู้มีร่างกายทั้งปวง
อรรถาธิบาย ตถตาอันไม่เจาะจงแก่สัตว์ทั้งปวง เป็นสภาวะอันบริสุทธิ์แห่งตถตานั้นและเป็นตถาคต / ดังนั้น สัตว์ทั้งปวง ท่านจึงกล่าวว่าเป็นครรภ์แห่งตถาคต
โศลกว่าด้วยการจำแนกความเป็นใหญ่ 11 โศลก /
38 อันความเป็นใหญ่แห่งสาวกครอบงำสัตว์โลก (โลกิยสัตว์) และใจแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าครอบงำสาวก /
39 บุคคลย่อมไม่ไปถึงซึ่งศิลปะแห่งความเป็นใหญ่ของพระโพธิสัตว์ บุคคลย่อมไม่ไปถึงซึ่งศิลปะนั้นแห่งความเป็นใหญ่ของพระตถาคต /
อรรถาธิบาย ในโศลกทั้ง 2 นี้ ท่านแสดงความเป็นใหญ่แห่งพระพุทธเจ้าด้วยความวิเศษแห่งอำนาจและความก้าวหน้าทั้ง 2 ประการ /
40 ความเป็นใหญ่อันเป็นของพระพุทธเจ้า ไม่มีประมาณอันบุคคลไม่พึงคิด ย่อมเป็นไปเหนือบุคคล สถานที่ สภาวะ คุณภาพ และกาลเวลา /
อรรถาธิบาย ด้วยโศลกที่3 นี้ ท่านกล่าวแล้วว่า ไม่มีประมาณอย่างไร หรือไม่พึงคิดอย่างไร ดังนี้ ความวิเศษแห่งความลึกซึ้งประเภทต่างๆ /เพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด ในโลกธาตุใด ด้วยประกอบอันเช่นนั้นอย่างไร เล็กหรือใหญ่เพียงใด ในกาลใด ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งเหล่านั้น /
โดยโศลกที่เหลือ ท่านแสดงความแตกต่างแห่งความเป็นใหญ่ด้วยความแตกต่างแห่งความเป็นไปของใจ /
41 บุคคลย่อมได้ซึ่งความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งอินทรีย์ 5 ในความเป็นไปแห่งอรรถทั้งปวงของสัตว์ทั้งปวง ในการเกิดขึ้นแห่งคุณธรรม 112 ประการ /
อรรถาธิบาย ในการหมุนไปแห่งอินทรีย์ 5 บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่ 2 ประการ อันยอดเยี่ยม / ในความเป็นไปแห่งอรรถ 5 ประการทั้งปวงของอินทรีย์ 5 ทั้งปวง / ในการอุบัติแห่งคุณ 112 ประการ /
42 บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งใจในความรู้อันไม่มีความแตกต่างและปราศจากมลทินด้วยดี อันตามความยิ่งใหญ่ /
อรรถาธิบาย ในการหมุนไปแห่งใจ บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในความรู้อันเที่ยวไปตามความยิ่งใหญ่ ไม่มีความแตกต่าง บริสุทธิ์ด้วยดี / ความรู้อันยิ่งใหญ่ทั้งปวงย่อมเป็นไปกับด้วยสิ่งใด /
43 บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่อันยอดเยี่ยม ในการหมุนไปแห่งอรรถและการยึดถือ เพื่อการแสดงพร้อมซึ่งโภคะตามลำดับในความบริสุทธิ์แห่งเขตแดน /
อรรถาธิบาย บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันบริสุทธิ์ด้วยเขตแดน อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งอรรถและในการหมุนไปแห่งการยึดถือ ย่อมกระทำการแสดงพร้อมตามลำดับโดยสิ่งใด /
44 บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่ในการหมุนไปแห่งความแตกต่างอันยอดเยี่ยมกว่าความรู้และกรรมทั้งปวงตลอดกาลทุกเมื่อ ซึ่งไม่มีการพิฆาต (ไม่มีการโต้แย้ง)
อรรถาธิบาย บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่อันยอดเยี่ยมกว่าความรู้และกรรมทั้งปวงตลอดกาลทุกเมื่อซึ่งไม่มีการขัดแย้งกันในการหมุนไปแห่งความแตกต่าง /
45 บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่ยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งการหยุดนิ่ง ซึ่งนิรวาณอันไม่มีการหยุดนิ่งในบทอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า /
อรรถาธิบาย บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยม คือ นิรวาณอันไม่เคลื่อนไหวในการหมุนไปแห่งการหมุนไปแห่งการหยุดนิ่งอยู่
ในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย /
46 บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในการหมุนไปแห่งเมถุน ในวิหารอันเป็นสุขของพระพุทธเจ้า ในการเห็นความไม่มีกิเลสของภรรยา /
อรรถาธิบาย (บุคคลย่อได้ความเป็นใหญ่) ในการหมุนไปแห่งเมถุนในวิหารอันเป็นสุขของพระพุทธเจ้าและในการเห็รตามไม่มีกิเลสของภรรยาทั้ง 2 ประการ /
47 บุคคลย่อมได้ความเป็นใหญ่อันยอดเยี่ยมในความหมุนไปแห่งความไม่รู้ได้ของอากาศ(อากาศอันไม่มีที่สิ้นสุด) ในความสัมฤทธิ์แห่งอรรถแห่งความคิดและในความเจริญขึ้นแห่งคติและรูป /
อรรถาธิบาย ในความหมุนไปแห่งความไม่รู้ได้ของอากาศ(บุคคลย่อมได้ความยิ่งใหญ่) ในความสัมฤทธิ์แห่งอรรถแห่งความคิด 2 ประการนั่นเทียว ครรภ์แห่งท้องฟ้าย่อมมีโดยสิ่งใด / ในความเจริญขึ้นแห่งคติและรูป เพราะไปตามความปรารถนาและเพราะกระทำอำนาจแห่งความหวัง /
48 ความเป็นใหญ่อันไม่มีประมาณในการหมุนไปอันไม่มีประมาณนี้ ตั้งมั่นในการงานอันไม่พึงคิด ในพื้นฐานอันไม่มีมลทินของพระพุทธเจ้า โดยประการฉะนี้ /
อรรถาธิบาย การหมุนไป อันเป็นใหญ่ อันไม่มีประมาณนี้ ด้วยประการนี้แล / และในที่นี้ พึงทราบว่า ความเป็นใหญ่อันไม่มีประมาณ เป้นสิ่งไม่พึงคิด เป็นที่ตั้งมั่นแห่งการงานในธาตุอันไม่มีอาสวะของพระพุทธเจ้า /
โศลกว่าด้วยความเป็นนิมิตแห่งการสุกงอมของสัตว์ของพระพุทธเจ้านั้น 7 โศลก
49 โลกอันเจริญในความดีงามย่อมถึงความเป็นปรมะในความบริสุทธิ์ด้วยดี และไม่มีจุดเริ่มต้นในความดีงาม ย่อมถึงความเป็นปรมะในความบริสุทธิ์แห่งความดีงาม โลกย่อมถึงทิศทั้งหลายอย่างนี้ ด้วยการเฝ้ามองด้วยดีของพระชินเจ้า บุคคลผู้สุกงอมหรือไม่สุกงอมย่อมถึงความเป็นปรมะอันไม่มีส่วนเหลือและแน่แท้ /
อรรถาธิบาย ท่านแสดงนิมิตแห่งการแก่รอบอันเช่นนั้นด้วยโศลกนี้ / ในวิมุตติแห่งกุศลมูลอันบุคคลสั่งสมแล้ว และในการสั่งสมกุศลมูลแห่งกุศลมูลอันสั่งสมแล้วด้วยความเป็นปรมะ / บุคคลผู้ยังไม่สุกงอมย่อมถึงความสุกงอมอันยอดเยี่ยมในความเจริญแห่งความดีงาม บุคคลผู้สุกงอมแล้ว ย่อมถึงความยอดเยี่ยมในความบริสุทธิ์ด้วยดี / ย่อมถึงตลอดกาลเป็นนิตย์อย่างนี้อันไม่มีเศษ เพราะความที่โลกไม่มีที่สิ้นสุด /
50 บุคคลผู้เป็นปราชญ์ กระทำแล้วซึ่งจริยาในทิศทั้งหลายตลอดเวลา ทุกยาม ย่อมได้รับมหาโพธิอันได้โดยยาก อันเต็มไปด้วยความอัศจรรย์เพราะการประกอบคุณอันยอดเยี่ยมอันเป็นนิตย์อันแน่แท้ อันเป็นสรณะแห่งผู้ไม่มีสรณะ อันเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ในโลก เราะจรณะอันมีประการต่างๆด้วยดี /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 2 นี้ ความอัศจรรย์และไม่อัศจรรย์แห่งการแก่รอบของพระโพธิสัตว์ ผู้ควรแก่รอบ / ตลอดเวลาทุกเมื่อลักษณะเป็นทุกยาม ดังนี้ เป็นนิตย์ คือไม่มีช่องว่างและรูปหนทางและจรณะ โดยยิ่งคือจรณะอันมีวิธีที่ดี /
51 ในบางคราวบุคคลใดย่อมเห็นธรรมจักรด้วยร้อยแห่งใบหน้าจำนวนมาก ในบางคราวความยิ่งใหญ่แห่งการเกิด ในบางคราววงจรแห่งการเกิดอันวิจิตร ในบางคราวโพธิอันเป็นเดียวกันแม้ในบางคราวนิรวาณอันไม่ปรุงแต่งและไม่เคลื่อนไปจากสถานที่นั้น บุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมกระทำสิ่งนั้นทั้งปวง /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 3 นี้ ท่านแสดงความเป็นนิมิต โดยการประกอบอุบายแห่งความสุกงอมด้วยใบหน้าจำนวนมากเป็นคู่ๆ / ย่อมนำสัตว์ไปได้อย่างไรที่ใด / วงจรแห่งการเกิดอันวิจิตรดดยความแตกต่างกันของผู้เกิด / และไม่เคลื่อนจากสถานที่นั้นคือว่าธาตุอันไม่มีอาสวะ /
52 ความสุกงอมว่าเป็นของเรานี้ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้านั่นเทียว ดังนี้ อนึ่ง คนผู้มีร่างกาย(เทหี) ผู้อันพระองค์ไม่ยังให้สุกงอมได้และผู้อันพระองค์ไม่ยังให้สุกงอมในทันที ดังนี้ แต่ว่าเว้นซึ่งสังสการความสุกงอมย่อมเข้าถึงโดยการเกิดนั่นเทียว โดยธรรมอันงดงามในทิศทั้งหลายโดยรอบเป็นนิตย์ มีหน้า 3 หน้า /
อรรถาธิบาย โศลกที่ 4 นี้ ท่านแสดงความเป็นนิมิตอันประกอบเข้ากับความสุกงอมนั้นด้วยการไม่มีสังสการะ / มีหน้า 3 หน้า คือว่า มียาน 3 ยาน /
53 พระอาทิตย์ส่องแสงไปในทิศทั้งหลายของสถานที่โดยรอบด้วยรัศมีอันกว้างขวางและหมดจด โดยไม่มีความพยายาม ฉันใด แม้พระอาทิตย์คือธรรมย่อมกระทำให้สัตว์สุกงอมในทิศทั้งหลายโดยรอบด้วยรัศมีแห่งธรรมอันมีประการต่างๆ ให้ถึงความสงบฉันนั้น /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 5 นี้ ท่านแสดงตัวอย่างการแก่รอบโดยไม่มีสังสการ
54 การสั่งสมประทีปอันยิ่งใหญ่ด้วย ย่อมมีจากประทีปอันหนึ่ง อนึ่งประทีปนั้นอันไม่มีประมาณ อันไม่พึงนับยังไม่ถึงความสำเร็จอยู่อีก ฉันใด การสั่งสมความสุกงอมย่อมมีจากพระพุทธเจ้าผู้หนึ่ง อนึ่งการสุกงอมนั้นแม้ไม่มีประมาณ นับไม่ได้ก็ยังไม่ถึงความสำเร็จ ฉันนั้น เหมือนกัน /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 6 นี้ การสุกงอม โดยประเพณี
55 เหมือนมหาสมุทรไม่ถึงความอิ่มด้วยน้ำหรือไม่ถึงความเจริญด้วยการเข้าไปแห่งน้ำอันสะอาดและมีพิษ ฉันใด ธาตุในความเป็นพุทธะย่อมไม่ถึงความอิ่มหรือความเจริญด้วยการเข้าไปสู่ความบริสุทธิ์อันไม่ขาดตอน นี้เป็นนความอัศจรรย์อันยอดเยี่ยมฉันนั้น เช่นกัน /
อรรถาธิบาย โดยโศลกที่ 7 นี้ ซึ่งความอิ่มแห่งธรรมธาตุ ด้วยการเปรียบเทียบมหาสมุทร ในการเข้าถึงวิมุตติแห่งสัตว์ผุ้สุกงอม เพราะมีสถานที่เพื่อการหลุดพ้นตลอดกาลทุกเมื่อ เพราะการกระทำยิ่งในฌาน /
โศลกว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งธรรมธาตุ 4 โศลก
56 ลักษณะอันบริสุทธิ์แห่งตถาคตของธรรมทั้งปวงอันมีเครื่องกั้น 2 ประการ ลักษณะแห่งความไม่รู้จักสิ้นแห่งอำนาจอันได้เฉพาะจากความรู้เกี่ยวกับวัตถุ /
อรรถาธิบาย โศลก 1 โศลก ปรารภอรรถแห่งสวภาวะนี้ว่าลักษณะอันบริสุทธิ์แห่งตถตาของธรรมทั้งปวง เพราะความมีเครื่องกั้น 2 ประการ คือกิเลสและความรู้ / ลักษณะอันมีอำนาจไม่รู้จักสิ้นแห่งความรู้อันได้รับจากวัตถุ /
57 การเจริญขึ้นแห่งความรู้เกี่ยวกับตถตาเป็นการรวบรวมอย่างเต็มที่ การทรงไว้และการมีอยู่โดยประการทั้งปวงแห่งความเป็น 2 ของสรรพสัตว์ อันไม่รู้จักสิ้นไป เป็นผล /
อรรถาธิบาย โศลกที่ 2 นี้ ปรารภ อรรถแห่งเหตุและอรรถแห่งผล / การภาวนาชญานแห่งตถตาโดยที่ทั้งปวง เป็นเหตุแห่งความบริสุทธิ์ของธรรมธาตุ / โดยที่ทั้งปวง คือ โดยหลักแห่งธรรมบรรยายทั้งปวง / การมีอยู่โดยประการทั้งปวงแห่งสรรพสัตว์คือการทรงไว้และการไม่รู้จักสิ้นไปแห่งความเกื้อกูลและสุขทั้ง 2 ประการ นี้คือ ผล /
58 ผู้มีอุบายวิธีและกรรมวิธีแห่งการประกอบเข้าซึ่งการนิรมาณทางกาย วาจา และจิต ผู้แวดล้อมอยู่ด้วยทวารแห่งสมาธิและการทรงไว้และความเป็น 2 อันไม่มีประมาณ /
อรรถาธิบาย โศลกที่ 3 นี้ ปรารภอรรถแห่งกรรมและอรรถแห่งโยคะ / กรรม นิรมาณด้วยกายเป็นต้นมี 3 ประการ โยคะคือการมาตามพร้อมกับด้วยความเป็น 2 ด้วยความสำคัญแห่งสมาธิและการทรงไว้ และพร้อมกับด้วยการสะสมบุญและความรู้อันไม่มีประมาณ /
59 ความเป็นไปอันมีอย่างต่างๆ ในธรรมอันเป็นไปสวภาวะในสัมโภคะและนิรมาณะธรรมธาตุอันบริสุทธิ์นี้ ถูกยกเป็นตัวอย่างพร้อมแล้วแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย /
อรรถาธิบาย โศลกที่ 4 นี้ปรารภ อรรถแห่งความเป็นไป / ความเป็นไปมีอย่างต่างๆด้วยความเป็นไปแห่งสวภาวกาย สัมโภคกายและนิรมาณกาย
โศลกว่าด้วยการจำแนกกายแห่งพุทธะ 7 โศลก
60 สวภาวกาย สัมโภคกาย นิรมาณกาย เป็นการจำแนกกายแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล แต่ว่ากายที่ 1 เป็นพื้นฐานแห่งการทั้ง 2 /
อรรถาธิบาย กายของพระพุทธเจ้า มี 3 ประการ / สวภาวกาย คือธรรมกายอันเป็นลักษณะแห่งการหมุนไปของพื้นฐาน /สัมโภคกาย คือกายที่กระทำเสวยธรรมในหมู่บริษัท / นิรมาณกาย คือกายที่กระทำประโยชน์แก่สัตว์โดยการเนรมิต
61 ในธาตุทั้งหลายทั้งปวง สัมโภคกาย แตกต่างโดยการยึดถือของคณะ โดยพุทธเกษตร โดยชื่อ โดยกาย และโดยความปรารถนาในอันที่จะเสวยธรรม /
อรรถาธิบาย ในที่นี้สัมโภคกาย แตกต่างกันโดยหมู่บริษัท พุทธเกษตร ชื่อสรีระ และกริยาเสวย ในโลกธาตุทั้งปวง /
62 สวภาวะกาย เป็นกายเสมอกัน ละเอียด เป็นกายที่ฝังอยู่ในสภาวะกายนั้น เหตุแห่งความเป็นใหญ่แห่งการเสวย ย่อมมีในการแสดงการเสวยธรรมตามความปรารถนา
อรรถาธิบาย สวภาวะกาย ของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งเสมอกัน โดยไม่มีความพิเศษ ละเอียด เพราะรู้ได้ยาก เหตุอันสัมพันธ์กับสัมโภคกายนั้น เพราะความเป็นใหญ่ในการเสวยธรรมและเพราะการแสดงการเสวยธรรม ตามความปรารถนา /
63 การเปลี่ยนแปลงแห่งพระพุทธเจ้าอันไม่มีประมาณเป็นที่ทราบกันว่าคือนิรมาณกาย ความถึงพร้อมแห่งอรรถทั้ง 2 ประการ จากสิ่งเหล่านั้นทั้ง 2 ประการ อาการทั้งปวงนั้นตั้งมั่นแล้ว /
อรรถาธิบาย นิรมาณกายของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือการเปลี่ยนแปลงของพระพุทธเจ้าอันไม่มีความประเภทอันไม่มีประมาณ สัมโภคกายเป็นลักษณะแห่งความถึงพร้อมแห่งอรรถเพื่อตนเอง / นิรมาณกายเป็นลักษณะแห่งความถึงพร้อมแห่งอรรถเพื่อคนอื่น ดังนั้นความถึงพร้อมแห่งอรรถทั้ง 2 ตั้งมั่นในกายทั้ง 2 ตามลำดาบ คือสัมโภคกาย และนิรมาณกาย
64 นิรมาณกายของพระพุทธเจ้านี้มีการเปิดเผลด้วยศิลปะการเปิดมหาโพธิ นิรวาณ และทรรศนะตลอดเวลา เป็นอุบายอันใหญ่เพื่อการหลุดพ้น /
อรรถาธิบาย และ นิรมาณกายนั้น พึงทราบว่าเป็นประโยชน์แก้วนัยแห่งศิลปะมีการบรรเลงพิณ เป็นต้น / การเกิดอภิสัมโพธิ นิรวาณ และความมีอุบายอันใหญ่ในการแก้ทรรศนะทั้งหลาย พึงทราบว่าเป็นลักษณะแห่งความถึงพร้อมด้วยอรรถเพื่อผุ้อื่น
65 การสงเคราะห์กายแห่งพระพุทธเจ้าพึงทราบด้วยกายทั้ง 3 ประการ ท่านแสดงกาย 3 ประการนั้นคือ กายอันเป็นพื้นฐาน กายอันเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น เพราะความี่กายทั้ง 2 นั้นมีอำนาจด้วยอรรถเพื่อตนเองและผุ้อื่น เพราะเป็นพื้นฐานแห่งกายทั้ง 2 นั้นเหมือนดางที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น /
66 กายทั้ง 3 นี้พึงทราบว่าเป็นสิ่งเสมอกัน โดยพื้นฐาน โดยการอาศัย และโดยกรรม มีความเที่ยแท้ โดยปรติ โดยความแยกไม่ได้ และโดยความสัมพันธ์
อรรถาธิบาย กายทั้ง 3 ของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีความแตกต่างโดย 3 ประการ โดยพื้นฐานเพราะความที่ธรรมธาตุ ไม่แตกต่าง โดยการอาศัยเพราะความไม่มีแห่งความอาศัยแห่งพระพุทธเจ้าเป็นแผนกๆ / และโดยกรรม เพราะกระทำกรรมเพื่อสาธารณะ /ในกายทั้ง 3 เหล่านี้พึงทราบว่ามีความเที่ยงแท้โดย 3 ประการ ตามลำดับ เหมือนที่กล่าวว่าพระตถาคตมีกายอันเที่ยงแท้ / ความเที่ยงแท้โดยปกติแห่งสววิกกาย เพราะความเที่ยงแท้แห่งภาวะของตน / ความเที่ยงแท้โดยความแยกไม่ได้แห่งสัมโภคกาย เพราะไม่มีการขัดแย้งในการเสวยธรรม / ความเที่ยงแท้โดยการสัมพันธ์แห่งนิรมาณกาย เพราะเมื่อหายไปแล้ว แสดงการนิรมาณครั้งแล้วครั้งเล่า
โศลกแสดงการจำแนกความรู้แห่งพระพุทธเจ้า 10 โศลก
67 ความรู้คือเครื่องส่อง อันไม่เคลื่อนไหว ความรู้ 3 ประการ มีความรู้คือเครื่องส่องนั้น เป็นพื้นฐาน มีความเสมอกันโดยความคิด โดยความสำเร็จและโดยการกระทำ
อรรถาธิบาย ความรู้ของพระพุทธเจ้ามี 4 ประการ ความรู้คือเครื่องส่อง ความรู้คือความเสมอ ความรู้คือความคิด ความรู้คือความสำเร็จด และการกระทำ / ความรู้คือเครื่องส่องอันไม่เคลื่อนไหวเป็นพื้นฐานของความรู้ 3 ประการอันเคลื่อนไหว /
68 ความรู้คือเครื่องส่องอันไม่มี "ของเรา" ไม่มีกำหนด ดำเนินไปตลอดเวลาไม่มีความหลงในสิ่งที่รู้ได้ทั้งปวงและไม่มีรูปร่าง /
อรรถาธิบาย ความรู้คือเครื่องส่องอันไม่มี "ของเรา" ไม่มีกำหนด โดยพื้นที่ดำเนินไปตลอดเวลา โดยกาลเวลา / ไม่หลงในสิ่งที่รู้ได้ทั้งปวง เพราะไม่มีอุปสรรค ไม่มีรูปร่างเพราะความไม่มีอาการในความรู้ทั้งหลายเหล่านั้น /
69 อุปมากับด้วยบ่อเกิดแห่งความรู้ใหญ่ เพราะเป็นนิมิตแห่งความรู้ทั้งปวง มีความเสวยธรรมแห่งพระพุทธเจ้า เพราะเกิดขึ้นแห่งการสะท้อนกลับแห่งความรู้ /
อรรถาธิบาย อุปมากับด้วยบ่อเกิดแห่งความรู้ทั้งปวง เพราะเป็นธาตุแห่งความรู้มีความเป็นสิ่งเสมอกัน เป็นต้น / เพราะการเกิดขึ้นแห่งการสะท้อนกลับแห่งความรู้โดยมีความเสวยธรรมแห่งพระพุทธเจ้า เหมือนดังที่ท่านกล่าวว่าเป็นความรู้คือเครื่องส่อง /
70 ความรู้คือความเสมอกันในสัตว์ทั้งหลาย อันไม่มีมลทิน เพราะความบริสุทธิ์ด้วยการเจริญภาวนา อันถึงความสงบอันไม่ตั้งมั่น ที่ถูกรู้ว่าเป็นความรู้คือความเสมอกัน
อรรถาธิบาย ความรู้คือความเสมอกัน ในกาลเป็นที่บรรลุธรรมอันพระโพธิสัตว์ได้เฉพาะแล้ว เพราะเหตุใด ความรู้คือความเสมอกัน อันเข้าไปในนิรวาณอันไม่ตั้งมั่นแห่งพระโพธิสัตว์ เพราะความบริสุทธิ์ด้วยการเจริญภาวนา ท่านจึงเรียกด้วยเหตุนั้น
71 ความรู้อันดำเนิน ไปตลอดกาลทั้งในไมตรีและกรุณาอันยิ่งใหญ่อันเป็นที่รู้ เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ที่ตนถึงโมกษะแล้วอย่างไร อันแสดงรูปแห่งพระพุทธเจ้า
อรรถาธิบาย อันดำเนินไปตลอดกาลทั้งปวงด้วยมหาไมตรีและกรุณา และอันตนถึงโมกษะแล้วอย่างไร ซึ่งแสดงรูปแห่งพระพุทธเจ้าแก่สัตว์ทั้งหลายสัตว์บางพวกย่อมมองเห็นพระตถาคตว่ามีสีเหลือง บางพวกว่ามีสีน้ำเงิน ดังนี้เป็นต้น
72 ความรู้คือความคิดอันสืบเนื่องในความรู้ตลอดเวลา และอันอุปมาด้วยอารมณ์อันต่อเนื่องในการทรงไว้และสมาธิ
73 ในมณฑลแห่งบริษัท เป็นเครื่องแสดงความยิ่งใหญ่ทั้งปวงตัดเสียซึ่งความสงสัย หลั่งสายฝนคือมหาธรรม
ความรู้คือความคิด โศลกอันกล่าวแล้วอย่างไร
74 ความรู้คือความสำเร็จแห่งกรรม ในธาตุทั้งปวงด้วยการนิรมาณอันไม่มีประมาณและอันคิดถึงและอันเกิดถึงไม่ได้อย่างวิจิตร เป็นบ่อเกิดแห่งอรรถเพื่อสรรพสัตว์
อรรถาธิบาย ความรู้คือความสำเร็จแห่งกรรมในโลกธาตุทั้งปวงอันเป็นบ่อเกิดแห่งประโยชน์เพื่อสรรพสัตว์ ด้วยการนิรมาณอันไม่มีประมาณมีประการต่างๆ และอันคิดถึงไม่ได้ /
75 โดยความสำเร็จแห่งกรรม ความแตกต่าง จำนวนและเกษตรในกาลทั้งปวง ในที่ทั้งปวง การนิรมาณแห่งพระพุทธเจ้าอันคิดไม่ได้อันบุคคลพึงรู้
อรรถาธิบาย การนิรมาณแห่งพระพุทธเจ้า พึงทราบว่าคิดไม่ได้ในกาลทั้งปวงและในที่ทั้งปวง / โดยประเภทแห่งกรรมกริยา โดยจำนวนและโดยเกษตร /
76 การเกิดขึ้นพร้อมแห่งความรู้ 4 ประเภท คือ โดยการทรงไว้โดยความมีจิตเสมอ โดยประการธรรมโดยชอบ และโดยความสำเร็จแห่งกรรม
อรรถาธิบาย โดยการทรงไว้ซึ่งธรรมอันได้ฟังแล้ว / ความมีจิตเสมอเพราะมีความเสมอในบุคคลอื่นด้วยตนเอง ในสรรพสัตว์ / อรรถส่วนที่เหลือ อธิบายแล้ว /
77 ความที่แห่งพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งเดียว เป็นจำนวนมากย่อมไม่มี เพราะ ไม่มีความแตกต่างแห่งโคตร ไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีแม้ความรวมกัน ในพื้นฐานอันไม่มีมลทิน เพราะ ไม่มีความแตกต่าง
อรรถาธิบาย คำว่า พระพุทธเจ้าเพียงหนึ่ง ดังนี้นั้น ไม่ถูกต้อง / เพราะเหตุไร / เพราะความแตกต่างแห่งโคตร / เพราะว่า สัตว์ทั้งหลาย มีโคตรแห่งพุทธะ ไม่มีสิ้นสุด /ในที่นี้บุคคลผู้เดียวเท่านั้นเป็นอภิสัมพุทธะ บุคคลอื่นไม่บรรลุได้ ดังนี้ / นี้เพราะเหตุไร จุดหมายในการสะสมบุญ และความรู้พึงมี และจุดมุ่งหมายที่พระโพธิสัตว์เหล่าอื่นไม่ประกอบเพราะอภิสัมโพธิ / เพราะเหตุนั้น เพียงหนึ่งเดียว ไม่มี เพราะการไม่มีจุดมุ่งหมายและการรวมกันเพื่อการกระทำอรรถเพื่อบุคคลอื่นที่ไม่พึงมี / การไม่แต่งตั้งบุคคลไรๆ โดยพระพุทธเจ้าไว้ในความเป็นพุทธะนี้ย่อมไม่สมควร / อาทิพุทธะ ไรๆ ย่อมไม่มีเว้นจากการประกอบความเป็นพุทธะ โดยการสั่งสมและการสั่งสมโดยพุทธะอื่นเพราะการประกอบ เพราะความไม่มีอาทิพุทธ ความเป็นหนึ่งในพุทธะ ไม่สมควร / ความมีจำนวนมากแห่งพุทธไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีความแตกต่างแห่งธรรมกาย ในธาตุอันไม่มีอาสวะ /
โศลกว่าด้วยการเข้าถึงหนทางแห่งความเป็นพุทธ โศลก
78 สิ่งใดไม่มีอยู่ สิ่งนั้นแลมีอยู่อย่างยอดเยี่ยม และสิ่งใดเป็นสิ่งรู้ไม่ได้ในที่ทั้งปวง สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้ อันพึงอยู่อย่างยอดเยี่ยม
อรรถาธิบาย สิ่งใดไม่มีอยู่โดยสวภาวะอันเป็นปริกัลปิตะ สิ่งนั้นแลมีอยู่อย่างยอดเยี่ยม โดยสวภาวะอันเป็นปรินิษปันนะ และสิ่งใด เป็นสิ่งที่รู้ไม่ได้ในที่ทั้งปวงซึ่งสวภาวะอันเป็น ปริกัลปิตะ สิ่งนั้นแล เป็นสิ่งที่สามารถรู้ซึ่งสภาวะอันเป็นปรินิชปันนะ
79 ภาวนาอันยอดเยี่ยม มีแก่บุคคลผู้ไม่รู้จักภาวนา และการฟื้นตัวอันยอดเยี่ยม มีแก่บุคคลผุ้ไม่รู้จักการฟื้นตัว
อรรถาธิบาย บุคคลใดไม่มีความรู้เกี่ยวกับภาวนา ภาวนานั้นแลเป็นสิ่งยอดเยี่ยม / บุคคลใดไม่รู้จักการฟื้นตัว การฟื้นตัวนั้นแลเป็นสิ่งยอดเยี่ยม /
80 พระโพธิสัตว์ ผู้เห็นความยิ่งใหญ่ อันเป็นนิมิตตลอดกาลนาน เป็นผู้มีในอันกล้าหาญ โพธิย่อมีแก่พระโพธิสัตว์ผู้นอบน้อมในที่ไกล
อรรถาธิบาย พระโพธิสัตว์เหล่าใด เห็นความเป็นพุทธอันยิ่งใหญ่อัพภูตธรรมอันพระโพธิสัตว์เหล่านั้นประกอบแล้ว / และเห็นอยู่ตลอดกาลนานยาว เพื่อความสำเร็จพร้อม / เห็นอยู่ซึ่งนิมิตอันเป็นอารมณ์แห่งจิต / และเป็นผู้มีใจอันกล้าหาญว่า พวกเรามีความเพียรอันปรารภแล้ว จักบรรลุซึงความเป็นพุทธเจ้า ดังนี้ โพธิมีในที่ไกล แก่พระโพธิสัตว์ ผู้นอบน้อมอย่างนั้น เหล่านั้น เพราะการยอมรับความจริง /
81 พระโพธิสัตว์ผู้เห็นสิ่งทั้งปวงนี้และการเกิดขึ้นว่าเป็นแต่เพียงจินตนาการ เป็นพระโพธิสัตว์ผุ้ไม่มีจินตนาการ โพธิอันบรรลุแล้วย่อมถูกกล่าว
อรรถาธิบาย เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเห็นว่า สิ่งทั้งปวงนี้ เป็นแต่เพียงจินตนาการ แม้แต่สิ่งที่เป็นเพียงจินตนาการ แม้แต่สิ่งที่เป็นเพียงจินตนาการว่าอยู่เหนือการสร้างของจิต เป็นผู้เข้าถึงความสงบ และธรรมอันปราศจากการปรุงแต่ง อันท่านกล่าวว่า โพธิอันบรรลุแล้ว ดังนี้
82 แม่น้ำมีพื้นฐานอันแตกต่าง มีน้ำอันแตกต่าง มีน้ำน้อย มีการกระทำอันสำเร็จ โดยไม่แตกต่าง สัตว์ทั้งหลายอยู่ในกลุ่มน้อย มีน้ำเป็นที่อาศัย ย่อมเป็นผู้ไม่เข้าสู่บาดาล
83 แต่เป็นผู้ไม่เข้าไปสู่มหาสมุทร มีพื้นฐานเดียว มีน้ำใหญ่อันเดียวเท่านั้น การกระทำรวมกันและเป็นหนึ่งเดียว มีกลุ่มอันใหญ่แห่งหมู่สัตว์ ผู้อาศัยอยู่ในน้ำเป็นนิตย์
84 ปราชญ์ทั้งหลาย มีพื้นฐานอันแตกต่าง มีความคิดอันแตกต่างมีปัญญาน้อยอันเป็นของตน มีการกระทำอันสำเร็จด้วยตนเอง ผู้เข้าไปเสพอรรถเพื่อสัตว์จำนวนน้อย ย่อมเป็นผู้เข้าไปสู่ความเป็น
85 แต่เมื่อเข้าไปสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า ทั้งหมดต่างก็มีพื้นฐานเดียว มีปัญญาอันยิ่งใหญ่หนึ่งเดียว การงานรวมกันและเป็นหนึ่งเดียวมีการเสวยอันยิ่งใหญ่แห่งหมู่มหาสัตว์ตลอดเวลา
อรรถาธิบาย แม่น้ำมีพื้นฐานอันแตกต่างกัน เพราะการแตกต่างแห่งการรองรับตนเอง/ มีการกระทำอันสำเร็จด้วยตนเอง เพราะการกระทำความสำเร็จนั้นโดยตนเอง / มีกลุ่มอันน้อยนั้นคือ มีการเข้าไปรวมกันกับกลุ่มเล็กน้อย / เนื้อความส่วนที่เหลืออธิบายแล้ว
โศลกว่าด้วยความอุตสาหะของพระพุทธเจ้า
86 ความคิดอันงดงาม เพราะการประกอบด้วยธรรมอันไม่มีอุปมาและขาว และเพราะเหตุแห่งประโยชน์สุขในพุทธภูมิ และเพราะความสุขอันงดงามและยอดเยี่ยม เพราะไม่กระทำความสิ้นไป ย่อมควรเพื่อการบรรลุถึงโพธิจิต
อรรถาธิบาย ความถึงพร้อมด้วยประโยชน์ตนเพราะประกอบธรรมอันไม่มีอุปมาและขาว / ถึงพร้อมด้วยประโยชน์คนอื่น เพราะพระพุทธเจ้าเป็นเหตุแห่งประโยชน์สุข / เป็นผู้อยู่เป็นสุข เพราะเป็นที่เกิดแห่งความสุขอันทำลายไม่ได้ อันไม่รู้จักสิ้น มีชื่อและปราศจากความผิด / ผู้มีพุทธิควรเพื่อการถือเอาโพธิจิตอันไม่ต่ำทราม เพราะการถือครองปณิธานนั้น /
อธิการที่ 9 ว่าด้วยโพธิ ในมหายานสูตราลังการ จบ
********
โศลกว่าด้วยอธิมุกติ
v v v v v
อุทาน
1 การเริ่มต้น ความสำเร็จ ที่พึ่งโคตร และการเกิดขึ้นแห่งจิต ประโยชน์ตนและคนอื่น ประโยชน์แห่งความเป็นเช่นนั้น อำนาจ การสุกงอม และโพธิ/
อธิการว่าด้วยโพธิ ปรารภการเริ่มต้นแล้วนี้ กระจาดแห่งโพธิพึงมาตามโดยลำดับ
โศลกว้าวยการจำแนกลักษณะที่แตกต่างแห่งอธิมุกติ 2 โศลก
2 เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่เกิดขึ้น ยึดถือได้ ยึดถือแล้ว เพื่อนช่วยเหลือ ตนเองช่วยเหลือ มีการหลอกลวง ไม่มีการหลอกลวง เผชิญหน้า ไม่ใช่การเผชิญหน้า มีเสียงดัง ค้นพบและปรารถนาได้ /
อรรถาธิบาย เกิดขึ้นแล้ว คืออดีตและปัจจุบัน / ไม่เกิดขึ้นคืออนาคต / ยึดถือได้ คือมีตนอันยิ่ง ย่อมได้รับความสนับสนุน / ยึดถือแล้วคือ ยานภายนอก ย่อมบรรลุได้ด้วยการสนับสนุน / เพื่อนช่วยเหลือคือ ความเป็นคนหยาบ ตัวเองช่วยเหลือคือ ความเป็นคนละเอียดอ่อน / มีการหลอกลวง คือ อธิโมกษ์อันวิปริตและต่ำทราม / ไม่มีการหลอกลวงคือ ประณีต / เผชิญหน้าในที่ใกล้เพราะความสงบอันไม่ไปปราศแล้ว / ไม่ใช่การเผชิญหน้าในที่ไกลเพราะความวิปริต / มีเสียงดังคือ สำเร็จได้ด้วยการเจริญภาวนา เพราะเห็นได้ด้วยตนเอง
3 ความนุ่ม กระจัดกระจาย ไม่กระจัดกระจายด้วยสิ่งตรงกันข้าม ต่ำทราม ไม่ต่ำทราม มีอุปสรรค ไม่มีอุปสรรค สมควร ไม่สมควร สะสม ไม่สะสม การแท่งตลอดซึ่งพื้นฐานและอธิมุกติอันไม่ได้ไกล /
อรรถาธิบาย ความนุ่ม คือ ความอ่อน / กระจัดกระจาย คือท่ามกลาง / ไม่กระจัดกระจาย คือ เพียงแต่เป็นสิ่งตรงข้ามกัน / ต่ำทราม คือยานอื่น / ไม่ต่ำทรามคือ มหายาน / มีอุปสรรค คือ มีเครื่องกันเพื่อการเข้าถึงอันวิเศษ / ไม่มีอุปสรรค คือไม่มีเครื่องกั้น / สมควร คือเพราะประกอบการกระทำอันต่อเนื่อง / ไม่สมควร คือ อยู่ตรงข้ามกับสมควรนั้น / สะสม คือ การประกอบในการบรรลุ / ไม่สะสม คือตรงข้ามกับสะสม / แทงตลอดพื้นฐาน คือเข้าไปสู่ภูมิ /ไปได้ไกล คือในภูมิทั้งหลายที่เข้าถึงแล้ว /
โศลกว่าด้วยอันตรายแห่งอธิมุกติ 3 โศลก
4 การไม่กระทำไว้ในใจอย่างมาก ความเกียจคร้าน การหลอกลวงในโยคะ เพื่อนเลวทราม ความอ่อนแอในความดีงามและการไม่กระทำในใจโดยแยบคาย /
อรรถาธิบาย การไม่กระทำในใจอย่างมากเป็นอันตรายแห่งการเกิดขึ้น / ความเกียจคร้าน เป็นอันตรายแห่งการไม่เกิดขึ้น / การหลอกลวงในโยคะเป็นอันตรายแห่งการยึดถือได้ และการยึดถือแล้ว และเพราะการยึดถือมั่นอย่างนั้น / เพื่อนเลวทราม เป็นอันตรายแห่งการมีเพื่อนช่วยเหลือ เพราะการยึดถือที่เป็นสิ่งตรงข้าม / ความอ่อนแอในกุศลมูล เป็นอันตรายแห่งการมีคนช่วยเหลือเพื่ออธิมุกติ / การไม่มีโยนิโสมนสิการ เป็นอันตรายแก่การไม่หลอกลวง เพราะเป็นสิ่งตรงกันข้าม /
5 ความประมาท การฟังมาน้อย การคิดตามสิ่งที่ได้ฟัง ความสันโดษน้อย อภิมานะสักว่าสงบและชัยชนะอันหลอกลวง เป็นสิ่งที่รู้กันแล้ว /
อรรถาธิบาย ความประมาทเป็นอันตรายแก่การเผชิญหน้า เพราะการกระทำความไม่ประมาทแห่งการเผชิญหน้านั้น / การฟังมาน้อยเป็นอันตรายแก่การมีเสียงดัง เพราะการไม่ฟัง พระสูตรอันมีอรรถอันตรง / การสันโดษตามสิ่งที่สักว่าแต่ได้ฟัง และการไม่สันโดษตามความคิดอันเล็กน้อยเป็นอันตรายแก่การค้นพบได้ 5 การสันโดษตามความคิดและอภิมานะสักว่าสงบ เป็นอันตรายแก่การปรารถนาได้ / ชัยชนะอันหลอกลวงเป็นอันตรายแก่การกระจัดกระจายและไม่กระจัดกระจาย /
6 การไม่มีการสิ่งเสริม การส่งเสริม การมีอุปสรรค การไม่สมควร การไม่สั่งสม ความอันตรายแก่อธิมุกติ อันบุคคลพึงทราบ /
อรรถาธิบาย การไม่มีการส่งเสริม เป็นอันตรายต่อยานอันต่ำทราม เพราะสังสาร / การส่งเสริมเป็นอันตรายแก่ยานอันไม่ต่ำทราม / การมีอุปสรรคเป็นอันตรายแก่การไม่มีอุปสรรค / ความเป็นการไม่สมควร เป็นอันตรายแก่การสมควร / การไม่สะสมเป็นอันตรายต่อการสะสม /
โศลกว่าด้วยการสรรเสริญอธิมุกติ 5 โศลก
7 บุญใหญ่ การไม่กระทำชั่ว โสมนัส สุขอันใหญ่ การไม่พินาศ ความตั้งมั่น การเคลื่อนไปอย่างวิเศษ /
8 การบรรลุธรรมและการเข้าถึงประโยชน์ตนและคนอื่นอันสูงสุด การได้อภิญญา โดยพลันเหล่านี้คือ การสรรเสริญอธิมุกติอันควรสรรเสริญ /
อรรถาธิบาย บุญอันใหญ่ เป็นการสรรเสริญแก่การเกิดขึ้นในปัจจุบัน / การไม่ทำชั่วเป็นการสรรเสริญในอดีต เพราะไม่เดือดร้อน / โสมนัส เป็นการสรรเสริญแก่การยึดถือได้ และได้ยึดถือแล้ว เพราะการประกอบสมาธิ / การไม่พินาศ เป็นการสรรเสริญการยังกัลยาณมิตรใหเกิด / ความตั้งมั่น เป็นการสรรเสริญแก่การหลุดพ้น (อธิมุกติ) ด้วยตนเอง / การเข้าถึงอย่างวิเศษ เป็นการสรรเสริญแก่การไม่หลอดลวงการเผชิญหน้า และการยึดถือสิ่งที่ได้ฟังแล้ว จนกระทั่งถึงท่ามกลางการบรรลุธรรมเป็นการสรรเสริญแก่ความสักว่ามี / การบรรลุประโยชน์ตนเป็นการสรรเสริญแก่ยานอันต่ำทราม / การบรรลุประโยชน์คนอื่น เป็นการสรรเสริญแก่มหายานอันยอดเยี่ยม / การได้อภิญญาโดยพลัน เป็นการสรรเสริญแก่การไม่มีเครื่องกั้น การสมควรอันเป็นฝ่ายแห่งกุศล /
9 ในบุคคลผู้มีกาม เป็นเช่นกับด้วยสุนัข ในบุคคลผู้มีสมาธิเป็นเช่นกับเต่า ในบุคคลผู้ต้องการประโยชน์ตนเป็นเช่นกับด้วยผู้รับใช้ ในบุคคลผู้ต้องการด้วยประโยชน์ของคนอื่น เป็นเช่นกับด้วยพระราชา /
อรรถาธิบาย เช่นกับสุนัขอันเป็นทุกข์ อยู่ในความหิวอันไม่น่ายินดี และความทรมาน เช่นกับเต่าที่มีขาอันกว้างในรู้คือน้ำนั้น /
เช่นกับคนรับใช้ย่อมเที่ยวไปพร้อมกับรูปเคารพ เป็นนิตย์ / เหมือนกับพระราชาผู้เป็นจักรพรรดิทรงอำนาจ ย่อมประทับอยู่ในวิสัยแห่งความเป็นราชา /
10 บุคคลผุ้ปรารถนากาม เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์แก่ชนเหล่าอื่น เป็นผู้อันพึงรู้ได้โดยวิเศษ ด้วยวิธีต่างๆ และด้วยอธิมุกติอันสืบเนื่อง เมื่อรู้ว่าความยอดเยี่ยมในมหายาน อันมีอย่างต่างๆ นักปราชญ์ย่อมตกเป็นหนี้ในมหายานนั้น
อรรถาธิบาย แม้ว่าอธิมุกติของบุคคลผู้มีความต้องการด้วยกาม เป็นเช่นกับด้วยสุนัข เป็นเช่นกับด้วยเต่า เพราะเข้าถึงสมาธิอันเป็นโลกียะ อุปมากับคนใช้เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง / เปรียบด้วยพระราชาเพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น / เมื่อยังประโยชน์นั้นให้เกิดขึ้นอย่างนี้แล้วจึงให้บุคคลอื่นสมาทานอยู่ในอธิมุกติแห่งมหายาน /
โศลกว่าด้วยการปฏิเสธ การไม่ปรากฏแห่งอธิมุกติ
11 เมื่อสัตว์ทั้งหลายเป็นมนุษย์ ไม่มีประมาณบรรลุสัมโพธิอันรวดเร็วไม่พึงถึงกับซึ่งการทำลาย /
อรรถาธิบาย การทำลายไม่สามควรด้วยเหตุ 3 ปะการ
เมื่อมนุษย์บรรลุโพธิ / ย่อมบรรลุเป็นนิตย์ ย่อมบรรลุไม่มีประมาณ /
โศลกว่าด้วยความวิเศษแห่งบุญเพื่ออธิมุกติ 2 โศลก
12 บุคคลย่อมเสพซึ่งบุญเหมือนกันให้โภชนะแก่บุคคลอื่น แต่ว่าเมื่อไปบริโภคด้วยตนเอง การเกิดขึ้นแห่งบุญย่อมไม่มี /
13 ดังในพระสูตรอันกล่าวแล้ว บุคคลย่อมได้ในเพราะการแสดงธรรมอันเป็นที่อาศัยและเพื่อประโยชน์ของคนอื่น แต่ว่าบุคคลย่อมไม่ได้ เพราะการแสดงธรรมอันเป็นที่อาศัยเพื่อประโยชน์ตนเอง /
อรรถาธิบาย เมื่อบุคคลให้โภชนะแก่บุคคลอื่น บุญย่อมเกิดขึ้น เพราะการอนุเคราะห์คนอื่นฉันใด / ต่าเมื่อบริโภคด้วยตนเอง บุญย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะการอนุเคราะห์แก่ตนเอง /
การเกิดขึ้นแห่งบุญตามที่กล่าวในพระสูตรนั้นๆ บุคคลย่อมได้อย่างยิ่งใหญ่ เพราะมหายานธารรมอันแสดงแล้วอาศัยประโยชน์ของคนอื่นอย่างนี้ / แต่ย่อมไม่ได้ เพราะสาวกยานธรรมแสดงแล้วอาศัยประโยชน์ตน /
โศลกว่าด้วยการถือครองอธิมุกติ
14 เพราะฉะนั้น คนมีความคิดทำให้มหาอธิมุติ เกิดขึ้นทุกเรื่องในคติอันไพบูลย์และในธรรมอันประเสริญยิ่งใหญ่ และทำให้เจริญขึ้นซึ่งบุญอันต่อเนื่องและไพบูลย์ ย่อมได้รับความยิ่งใหญ่ด้วยคุณอันเสมอกัน /
อรรถาธิบาย บุคคลใดบรรลุด้วยอธิมุกอันเช่นใด ย่อมได้ครอบครองผลเช่นนั้น / ผู้มีความคิดครอบครองผล 3 ประการ ในมหายานธรรม โดยพิสดารด้วยอธิมุกติอันไม่ต่ำทรามอันไม่มีความเสื่อม / และได้รับความเจริญแห่งบุญอันไพบูลย์การเจริญขึ้นแห่งอธิมุกติ และความเป็นแห่งพุทธะอันยิ่งใหญ่ด้วยคุณอันไม่มีที่เปรียบแห่งเหตุเหล่านั้น /
อธิการที่ 10 ว่าด้วยอธิมุกติ ในมหายานสูตราลังการ จบ
******
ความคิดเห็น