เรียนครูที่ มศว อันดับ 1 ของประเทศไทย - เรียนครูที่ มศว อันดับ 1 ของประเทศไทย นิยาย เรียนครูที่ มศว อันดับ 1 ของประเทศไทย : Dek-D.com - Writer

    เรียนครูที่ มศว อันดับ 1 ของประเทศไทย

    โดย ~ UBYI ~

    ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนที่จะมาเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และมีความประสงค์ที่จะศึกษาในศาสตร์ด้านความเป็นครู

    ผู้เข้าชมรวม

    24,450

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    24.45K

    ความคิดเห็น


    70

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  9 ก.ค. 49 / 02:31 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ


      ปฐมลิขิต : บทความนี้เป็นบทความที่ผู้เยี่ยมชมส่งเข้ามาทาง ubyi@dek-d.com

      เจ้าของบทความ : boilz@ @ BOILz  ( clubboilz@hotmail.com )

      -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

             สวัสดีครับน้องๆๆทุกคนที่กำลังจะก้าวมาเป็นบุคลากรทางการศึกษาและรักในวิชาชีพครูทุกคน  พี่ขอพาน้องๆมาสู่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงและวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร  น้องๆหลายคนคงมีความใฝ่ฝันที่จะก้าวเข้ามาเป็นนิสิต มศว และต้องการที่จะเรียนครูที่นี่  เหตุผลง่ายๆที่ไม่ต้องตอบทุกคนก็คงรู้นั่นก็คือ ที่นี่เป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงทางด้านการผลิดครูเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นสถานศึกษาที่มีชื่อเสียงทางด้านการผลิตครูติดอันดับต้นๆๆของเอเชียเลยทีเดียว

             ในอดีต มศว เคยเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงถนนประสานมิตรหลังจากนั้นมีการผลิตครูที่คณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรและได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จึงมีคณะศึกษาศาสตร์ทำหน้าที่ผลิตครู  ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์ มศว เป็นคณะแรกและเป็นคณะที่ทำชื่อเสียงให้กับ มศวนอกจากนั้นยังเป็นสถานศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่มีการสอนวิชาชีพครูจนถึงปริญญาเอก หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)เป็นหลักสูตรที่มีอายุเท่ากับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

             อันนี้ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะพูดถึงกัน แต่ประเด็นหลักนั่นก็คือ..การที่น้องจะเลือกคณะเข้าศึกษาที่ มศว เป็นนิสิต มศว นั้นก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าตอนนี้ที่ มศว การที่จะเรียนครูนั้นไม่ได้สังกัดในคณะศึกษาศาสตร์แล้ว แต่ตอนนี้การเรียนครู ที่ มศว ได้ย้ายไปสังกัดในคณะตามวิชาเอกที่ตนเรียนต่างหาก  ดังนี้

      สังกัดคณะศึกษาศาสตร์

      -ประถมศึกษา  (กศ.บ.) 5 ปี
      -การแนะแนว  (กศ.บ.) 4 ปี
      -เทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา  (กศ.บ.) 4 ปี

      สังกัดคณะมนุษยศาสตร์

      -ภาษาอังกฤษ  (กศ.บ.) 5 ปี*
      -ภาษาไทย  (กศ.บ.) 5 ปี*

      สังกัดคณะสังคมศาสตร์

      -สังคมศึกษา (กศ.บ.) 5 ปี*

      สังกัดคณะวิทยาศาสตร์

      -วิทยาศาสตร์ทั่วไป  (กศ.บ.) 5 ปี*
      -ชีววิทยา  (กศ.บ.) 5 ปี*
      -ฟิสิกส์ (กศ.บ.) 5 ปี*
      -เคมี (กศ.บ.)5 ปี*
      -คณิตศาสตร์  (กศ.บ.)5 ปี*

      สังกัดคณะศิลปกรรมศาสตร์

      -ศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาศิลปศึกษา (กศ.บ.) 5 ปี*
      -ศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาศิลปะการแสดงศึกษา(กศ.บ.) 5 ปี*
      -ศิลปกรรมศาสตร์ศึกษา สาขาดนตรีศึกษา(กศ.บ.) 5 ปี*


      *โครงการความร่วมมือของคณะศึกษาศาสตร์ในการสอนวิชาชีพครู

      น้องๆหลายคนคงจะไม่เข้าใจว่า กศ.บ. คืออะไร

             กศ.บ. คือ หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต เป็นหลักสูตรในด้านการผลิตครูของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็นหลักสูตรเดียวกับ ครุศาสตร์บัณฑิตและหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยอื่นๆเพียงแต่ชื่อไม่เหมือนกันเท่านั้นตามแต่ละมหาวิทยาลัยจะใช้


      ต่อจากนี้คือ ประเด็นสำคัญที่น้องๆทุกคนต้องอ่าน

             ตอนนี้การจะเรียนครูที่ มศว ไม่ได้สังกัดในคณะศึกษาศาสตร์แล้วแต่ตอนนี้ได้ไปสังกัดในคณะตามวิชาเอกที่ตนเรียนมีหลายคนกังวลว่าเมื่อจบมาแล้วจะไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพ อันนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะคณะที่คุณสังกัดไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องกังวล แต่ควรมากังวลวุฒิที่คุณจบไปมากกว่า หากคุณจบวุฒิการศึกษา ดังนี้คือ
             1.การศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.)
             2.ครุศาสตร์บัณฑิต(ค.บ.)
             3.ศึกษาศาสตร์บัณฑิต(ศษ.บ.)
      3 วุฒินี้เป็นวุฒิที่คณะศึกษาศาสตร์ออกให้สามารถได้ใบประกอบวิชาชีพครู

             ต่อมาการเรียนครูที่ มศว จะเรียนวิชาเอกตามที่ตนได้สังกัด ซึ่งเราจะได้วิชาความรู้นั้นแน่นขึ้น สามารถสอนเด็กได้มีคุณภาพ และจะเรียนวิชาชีพครูที่จัดสอนโดยคณะศึกษาศาสตร์ซึ่งไม่ต้องกังวลเลยว่าวิชาชีพครูที่นี่นั้นมีการสอนที่มีคุณภาพมากๆๆๆๆ ปีสุดท้ายมีการปฏิบัติการสอนในความดูแลของคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 เรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  องครักษ์เฉพาะที่สังกัดคณะมนุษยศาสตร์ เพื่อเป็นการใช้ชีวิตร่วมกันของนิสิต อันจะเกิดเป็นการก่อลักษณะนิสัยในการเข้าสังคมที่ดีส่วนชั้นปีต่อมา เรียนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

             ส่วนการที่จะเข้ามาเรียนนั้น  โดยวิธีแอดมิสชั่นนั้น ต้องสอบวิชาเฉพาะนั่นก็คือ วิชาความถนัดทางวิชาชีพครู อันนี้สำคัญมากๆๆต้องสมัครสอบ นอกจากนั้นก็ดูว่าวิชาเอกเรานั้นต้องใช้วิชาอะไรบ้างตามที่คณะที่ตนสังกัดและมหาวิทยาลัยกำหนด

             ดังนั้นน้องๆทุกคนไม่ต้องกังวลเลยว่าการเรียนครูที่ มศว นั้นมีคุณภาพมากเพียงใด เรามาเรียนครู ที่  มศว กันเถอะพี่ๆยินดีต้อนรับต้นกล้าทางการศึกษาต้นใหม่ที่จะเติบโตเป็นครูที่ดีในอนาคต


      จะ     กล่าวเรื่องเลือดสองนัยให้ขบคิด
      เลือด ในจิตเรื่องในร่างอาจต่างสี
      ใคร   ว่าใครถูกตาถ้าเข้าที
      ก็      ยินดีให้เลือดเปลี่ยนเลียนสีตาม
      ช่าง  ใจใครก็ใจมันฉันไม่รู้
      เขา    อาจดูเลือดสง่าน่าเกรงขาม
      แต่    เลือดฉัน "มศว" ก็งดงาม 
      เลือด เทา-แดง คือความภาคภูมิใจ 
      เรา    คือผู้ที่ฉลาดอย่างอาจอง
      คือ    ปราชญ์ทรงศีลธรรมไม่หวั่นไหว
      เทา   หมายถึงสติกล้าปัญญาไว
      แดง   คงไว้ความหาญแกร่งแรงพลัง

      โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร

      มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) มีความหมายว่า "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร"

      "วิโรฒ" มาจากคำว่า "วิโรฒ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ เทียบได้กับคำว่า"วิรุฬห์" ในภาษาบาลี

      มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) มีชื่อย่อ ว่า "มศว" เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Srinakharinwirot University"

      ตราสัญลักษณ์

      ได้มาจากกราฟที่เขียนแทนสมการทางคณิตศาสตร์ Y = e กำลัง x หมายถึง การเพิ่มหรือการงอกงาม ซึ่งตรงกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงาม (สิกขา วิรุฬ หิ สมปตตา)

      สีประจำมหาวิทยาลัย

      สีเทา - แดง
      สีเทา คือ สีของสมอง หมายถึง ความคิดหรือสติปัญญา
      สีแดง คือ สีของเลือด หมายถึง ความกล้าหาญ

      ปรัชญา

      การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
      สิกขา วิรุฬหิ สมปตตา
      Education is Growth

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×