คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #6 : Many-worlds interpretation โลกคู่ขนาน อีกมิติที่ขดตัวอยู่
-- Stange แปลกดี --
THX Info :จักรวาลคู่ขนาน
More Info : โลกคู่ขนาน ทฤษฎีของโลกคู่ขนานเป็นอย่างไร ?
Many-worlds interpretation of Quantum Mechanics
ทฤษฎีโลกคู่ขนาน เป็นหลักทฤษฎีของฟิสิกข์
ดร.ฮิวฟ์ นักฟิสิกข์ ได้กำหนดทฤษฎีคู่ขนานแบบควอนตั้มนี้ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิค ของทฤษฎีควอนตัม
ก่อนหมายถึง จักรวาลที่ดำเนินไปพร้อมกับจักรวาลที่เราอยู่นี้
เป็นโลกที่เหมือนกับเราแต่อยู่คนละมิติอาจจะอยู่ในแกน x y z t ทับซ้อนกันในเอกภพเดียวกัน
หรืออาจจะอยู่ห่างไกลกันคนละทวิภพ อาจจะมีเวลาเคลื่อนไปพร้อมๆกัน อาจจะมีมี Event เหมือนกับเราทุกอย่างหรืออาจจะมี Event ที่ต่างกัน
ทฤษฎีนี้นักฟิสิกส์ริเริ่มคิดขึ้นมา มีเหตุการณ์ที่เราลังเลอยู่ 2 ทาง แต่เราก็ตัดสินใจไปทางหนึ่ง แล้วคิดไหมว่า ถ้า ณ วันนั้นเราติดสินใจเป็นอย่างอื่น อะไรจะเกิดขึ้น
ในโลกนี้ที่เรามีตัวตนอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีเราอีกคนหนึ่งในอีกโลกหนึ่ง และมีโลกคู่ขนานมากมายนับไม่ถ้วน..
เช่น ขณะนี้เราได้ตัดสินใจบางสิ่ง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ขณะที่อีกคนของเราได้ตัดสินใจไปอีกทางทำให้ชีวิตตนเอง และผู้อื่นเสียหาย ก็เป็นได้ อีกตัวอย่าง บางครั้งคุณอยากฆ่าตัวตายแต่คุณล้มเลิก บางทีคุณในโลกคู่ขนานอาจฆ่าตัวตายไปแล้วก็ได้อะไรประมาณนี้
ตัวอย่าง ปัญหาทางทฤษฎีมิติเวลา สมมติคุณเดินทางย้อนเวลาได้ เมื่อวานคุณเก็งหุ้นตัวหนึ่ง วันนี้หุ้นนั้นล้ม คุณล้มละลาย คุณเดินทางย้อนเวลาไปเตือนคุณในอดีตคุณในอดีตรู้คำเตือน และยกเลิกหุ้นตัวนั้น เมื่อวานคุณไม่ได้ถือหุ้นตัวนั้น ถ้าเช่นนั้น วันนี้คุณไม่ได้ล้มละลาย ในเมื่อคุณไม่ได้ล้มละลาย คุณก็ไม่ได้เดินทางย้อนเวลาไปบอกตัวเองในอดีต คุณในอดีตก็ไม่รู้ว่า หุ้นตัวนั้นจะล้ม และเก็งหุ้นตัวนั้นตกลงวันนี้คุณล้มละลายหรือเปล่า
ทฤษฎีเกี่ยวกับโลกคู่ขนาน จึงถูกคิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ความผันผวนของมิติเวลาเหล่านี้ ทุกๆเหตุการณ์ที่เรามี 2 ตัวเลือก จะเกิดโลกคู่ขนาน 2 โลก และจาก 2 โลก ถ้าเราเจอเหตุการณ์อื่นที่ต้องตัดสินใจ 2 ทาง แต่ละโลก จะเกิดโลกคู่ขนานอีก 2 โลก โลกคู่ขนานจึงมีจำนวน นับไม่ถ้วน
จากตัวอย่างเรื่องหุ้น ทฤษฎีอธิบายว่า คุณไม่อาจเปลี่ยนอดีตของตัวได้ เมื่อคุณเดินทางไปบอกตัวเองให้เลิกหุ้นนั้น คุณในอดีต ที่ตัดสินใจไม่เอาหุ้นนั้น จะเกิดอนาคตที่วันนี้คุณไม่ล้มละลาย.. จริง แต่เป็น คนละอนาคต กับวันนี้ของคุณ ที่คุณล้มละลาย คือเกิดเป็น 2 โลก คุณกลับมาปัจจุบัน โลกวันนี้ คุณก็ยังล้มละลายอยู่ดี แต่โลกที่คุณย้อนไปบอก คุณอีกคนนั้นเขาไม่ล้มละลาย
(ถ้าใครเคยดูการ์ตูนดราก้อนบอลแซดคงเข้าใจมากขึ้น ทรังค์ย้อนเวลาจากโลกที่ถูกหมายเลข 17,18 ทำลาย มาในปัจจุบัน ในที่สุดโลกที่เขามา ไม่ถูกทำลาย แต่เขากลับไป โลกของเขาก็ยังเป็นโลกที่ถูกทำลายอยู่ดี ไม่เช่นนั้นเขาจะมาได้อย่างไร)
หรือในกรณีทฤษฎีคู่ขนานแบบควอนตัม ดร.ฮิวฟ์ นักฟิสิกข์ ได้กำหนดทฤษฎีคู่ขนานแบบควอนตั้มนี้ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิค ของทฤษฎีควอนตัม จึงได้สมมุติโลกคู่ขนานขึ้นมา
โดยเปรียบกับลูกเต๋า คือมีโลกคู่ขนานอยู่6โลก ถ้าคุณทอดลูกเต๋าได้หนึ่ง คุณก็จะอยู่ในโลกของลูกเต๋าแต้มหนึ่ง โดยไม่สามารถรับรู้หรือติดต่อกับโลกคู่ขนานอื่นๆ ซึ่งก็คือ อีก 5 แต้มที่เหลือ
หรือคุณทอดลูกเต๋าได้สาม คุณก็จะอยู่ในโลกของแต้มสาม โดยไม่อาจรู้ถึงผลว่าถ้าคุณทอดได้แต้มอื่นแล้วจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งการทอดได้แต้มใดแต้มหนึ่งจะส่งผลต่อโลกของตัวคุณแตกต่างกันออกไป
สมมุติว่าเราซื้อฉลากรัฐบาล ก่อนที่จะประกาศผลรางวัล มีความเป็นไปได้อยู่ 2 ทางคือ หนึ่งเราถูกรางวัล และ สองเราถูกกิน ความน่าจะเป็นทั้งสองคือโลกที่แตกต่างกัน ในโลกหนึ่งถ้าเราถูกรางวัลที่หนึ่ง เราก็จะร่ำรวย แต่ในอีกโลกหนึ่งเราถูกหวยกินยากจนลงทุกวันๆ ในขณะที่หวยยังไม่ออก สถานะของความร่ำรวยและความยากจน ยังผสมกันอยู่เรายังบอกไม่ได้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แต่เมื่อใดก็ตามที่กองฉลากประกาศผลรางวัล เราก็จะทราบอนาคต เมื่อนั้นโลกคู่ขนานทั้งสองก็จะไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป เช่น ถ้าผลออกมาเราไม่ถูกรางวัล เราก็จะอยู่ในโลกของเราซึ่งไม่ถูกรางวัล อาจจะเลิกเล่นหวยแล้วตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน ซึ่งเราจะไม่มีทางรับรู้ถึงเอกภพคู่ขนานอีกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นโลกที่เราถูกหวย เอกภพคู่ขนานทั้งสองตัดขาดจากกันโดยสิ้นเชิง ไม่มีทางที่เราจะเดินทางไปยังโลกที่เราถูกหวยรางวัลที่หนึ่งได้
มีคนผูกทฤษฎีเดจาวู กับทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน กล่าวว่า การที่เรารู้สึกหรือเห็นภาพที่คล้ายว่าเคยทำมาก่อน นั่นแหละ คุณเคยทำจริง แต่เป็นคุณในอีกโลกหนึ่งต่างหากที่ได้ทำ คุณในทุก ๆ โลก ถูกผูกกันด้วยสายใยบางอย่าง อาจเป็นเพราะ สมองมีคลื่นตรงกัน ก็เป็นคุณคนเดียวกันนี่นา ในบางจังหวะที่เหมาะสม กระแสประสาทจูนกัน คุณก็ได้รับรู้ถึงกระแสความคิดจากคุณในอีกโลก
ความคิดเห็น