ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Psychology:Mystery:Strange

    ลำดับตอนที่ #13 : Capgras Syndrome เธอเปลี่ยนไป [99.99%]

    • อัปเดตล่าสุด 23 พ.ย. 56


    Capgras Syndrome

    โรคคุณแม่ตัวปลอม

     

    มีเรื่องจริงที่ว่าชายคนหนึ่งโดนตีหัวแบะแล้วตื่นขึ้นบนเตียงโรงพยาบาล อาการดูปกติดีทุกอย่าง ในสมัยที่เทคโนโลยียังไม่ได้ล้ำมาก และโรคประหลาดยังไม่เป็นที่รู้จัก คุณแม่ของเขาเดินเข้าไปเยี่ยมลูกชายด้วยความเป็นห่วง ชายคนเดิมนิ่วหน้ามองแม่อย่างไม่พอใจเท่าไหร่ แล้วเอ่ยปากถามแม่ แม่ผมไปไหน

    คนเป็นแม่พยายามอธิบายว่าเธอนี่แหละแม่เขา เขาไม่ได้มีความกระทบกระเทือนด้านความทรงจำ เขาจำหน้าแม่ได้ แต่เขาบอกว่า ผู้หญิงคนนี้ หน้าเหมือนแม่ แต่ไม่ใช่แม่

    เป็นเวลากว่าชั่วโมง แม่เขาถอดใจเดินออกไปจากห้อง แต่แล้วก็ตัดสินใจหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาโทรหาลูกชาย

    ฮัลโหลครับ แม่! แม่เป็นยังไงบ้างคือสิ่งที่ลูกชายเขาตอบมา

    มันเกิดอะไรขึ้น.

    ข้อมูลเรื่อง : 500 ล้านปีของความรัก

    อาการ

    อาการของโรคคือ ผู้ป่วยจะมีความเชื่อว่าผู้คนรอบข้างไม่ใช่ตัวจริง ยอมรับว่าหน้าเหมือนคนที่ตนรู้จัก แต่ไม่เชื่อว่าเป็นคนคนนั้นจริงๆ ผู้ป่วยมักกล่าวว่านั่นเป็น ญาติหรือเพื่อนตัวปลอมที่มาหลอกเขา

     

     จากงานของลูค์เชลลีและสปินน์เลอร์ ปี ค.ศ 2007[17]

    http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4d/Cquote1.svg/20px-Cquote1.svg.png

    เฟร็ด ชายวัย 58 ปีผู้มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย ได้มาเพื่อการตรวจสอบทางประสาทและทางประสาทจิตวิทยา เพราะมีความผิดปกติในการรับรู้และในพฤติกรรม เขาได้ทำงานเป็นหัวหน้าของหน่วยงานเล็กๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัยด้านพลังงานจนกระทั่งถึงเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว ประวัติทางเวชศาสตร์และจิตเวชของเขาไม่มีอะไรผิดปกติ ... ภรรยาขอเฟร็ดรายงานว่า ภายใน 15 เดือนจากที่เริ่มมีอาการผิดปกติ เฟร็ดเริ่มเห็นเธอเป็นตัวปลอม ปรากฏการณ์นี้ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อหลังจากที่กลับมาบ้าน เฟร็ดถามเธอว่า วิลมาอยู่ที่ไหน หลังจากการตอบของเธอว่า เธออยู่ที่นี่ไง ที่ทำให้เฟร็ดแปลกใจ เขาก็ปฏิเสธอย่างเป็นจริงเป็นจังว่า เธอไม่ใช่วิลมาภรรยาของเขา ผู้ที่เขารู้จักเป็นอย่างดีในฐานะมารดาของบุตรของเขา และยังกล่าววิจารต่อไปอย่างปกติธรรมดาว่า วิลมาคงจะออกไปข้างนอก และเดี๋ยวคงจะกลับมาภายหลัง ... เฟร็ดมีความเสื่อมลงของการรับรู้อย่างต่อเนื่อง ที่เป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็ว และนอกจากความเสื่อมทางการรับรู้แล้ว ก็ยังปรากฏอาการทางประสาทจิตวิทยา ที่มีความปั่นป่วนของการใช้ภาษาเป็นอาการเด่น ซึ่งบอกเป็นนัยถึงความผิดปกติทางกิจบริหารของสมองกลีบหน้า ความบกพร่องทางการรับรู้ของเขา ไปสุดด้วยกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสียหายอย่างรุนแรงและกว้างขวางของสมองส่วนหน้า

    นักประสาทวิทยาคนหนึ่งมีแม่ที่เป็นโรคแคปกราสและอัลไซเมอร์ในเวลาเดียวกัน มารดาไม่เชื่อว่าเธอเป็นลูกสาว

    สาเหตุ

    โดยปกติสมองจะมีการประมวลผลโดยนำส่วนที่รับรู้ใบหน้า (Visual cortex) ผ่านสมองส่วนหน้า ไปรวมกับส่วนรับอารมณ์ความรู้สึก (Cingulate gyrus) ที่ไฮโปลามัส (แปลว่า ใต้ทาลามัส เป็นโครงสร้างของสมองที่อยู่ใต้ทาลามัส (thalamus) แต่เหนือก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ)   ซึ่งในส่วนรับความรู้สึก สมองจะประมวลผลมาจากส่วนความทรงจำและเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น (จึงมีโอกาสที่ว่าคนเป็นอัลไซเมอร์จะเป็นโรคนี้ด้วย) แล้วผ่านกระบวนการออกมา บอกว่า นี่คือแม่ คือน้อง บางครั้งอาจผสมบุคลิกลักษณะท่าทางและสิ่งเฉพาะตัวเช่น น้ำเสียง หรือแม้แต่กลิ่นเข้าไปด้วยก็ได้

     

    พบว่าผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีเหตุการณ์ที่ทำให้บาดเจ็บทางศีรษะมาก่อน ผลกระทบไปทำให้ส่วนที่เชื่อมระหว่าง Visual cortex (ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอย ด้านหลังของสมอง) กับ  Cingulate gyrus (ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ และความรู้สึกมีความสุขและสุนทรียภาพ) โดยระหว่างสมองส่วนนั้นจะมี เซลล์ประสาท STS (superior temporal sulcus) ทำงานเมื่อมีการมองเห็น

    STS


          Visual cortex


    ผู้ป่วยกรณีศึกษา

    ผู้ป่วยหญิงไทยโสดอายุ 18 ปี การศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 อาชีพรับจ้าง เป็นผู้ช่วยคลินิก ภูมิลำเนา จังหวัดพิษณุโลก ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการไม่นอน กินน้อย พูดเพ้อเจ้อ ด่าว่าแม่ไม่ใช่แม่ที่แท้จริง หลงผิดว่าตนถูกขโมยมาจากแม่ที่แท้จริง และแม่ที่แท้จริงเพิ่งตายไป อาการเป็นมากมา 4 วัน ขณะตรวจผู้ป่วยร้องไห้ พูดซ้ำซากว่า แม่เพิ่งตายไป คนที่พามาไม่ใช่แม่ ด่าว่าและจะทำร้ายแม่ ถอดสายสร้อยพร้อมพระเครื่องออกวาง เพราะว่าไม่ใช่ของตน หลงผิดคิดว่าตนเองอายุ 23 ปี ไม่ใช่อายุ 18ปี ถูกโกงอายุ ชื่อก็ไม่ใช่ชื่อตน สมาธิไม่ดี ส่วนการรับรู้เวลาสถานที่ปกติ ความจำดี

    4 ปีก่อนมีไข้ตัวร้อน พูดเพ้อเจ้อ เป็นอยู่ 10 วัน รักษาที่คลินิก อาการหายเป็นปกติ จะมีอาการทุกปี เริ่มต้นด้วยอาการซึม ไม่พูด ต่อมาร้องไห้ อาละวาด พูดเพ้อเจ้อ อาการเป็นอยู่นานประมาณครึ่งเดือน ถึงหนึ่งเดือนก็หาย และทำงานได้เป็นปกติ

    ผู้ป่วยเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 5 คน มารดาเป็นคนที่เข้มงวด ไม่ค่อยให้อิสระ ถือความคิดของตนเป็นใหญ่ ไม่ค่อยรับฟังเหตุผล ส่วนบิดาเป็นคนเฉยๆ ไม่ค่อยสนิทกับลูก

    ปฏิเสธโรคจิตในครอบครัว

    การตรวจร่างกายตามระบบและการตรวจทางระบบประสาท ไม่พบความผิดปกติ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง 

    คือ paroxysmal sharp transient which aggravated by hyperventilation การตรวจทางรังสีวิทยา CT-scan พบ mild cerebral atrophy การตรวจน้ำไขสันหลัง อยู่ในเกณฑ์ปกติ ให้การวินิจฉัย Complex partial seizure เริ่มการรักษาด้วย carbamazepine 400 mg และ haloperidol 1 mg ต่อวัน นานประมาณ 3 สัปดาห์ อาการหลงผิดของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง เชื่อว่าตนมีแม่ 2 คน แม่ที่แท้จริงเป็นแม่เลี้ยง ไม่ใช่ผู้ให้กำเนิด ส่วนคนที่ผู้ป่วยเคยหลงผิดคิดว่าเป็นแม่และตายไปแล้วนั้น มีส่วนคล้ายคลึงกับผู้ที่คิดว่าเป็นแม่เลี้ยงมาก โดยเฉพาะคำพูดและวิธีการอบรมสั่งสอนผู้ป่วย เมื่อเพิ่ม carbamazepine 600 mg ต่อวัน อาการหลงผิดหายเป็นปกติในเวลา 1 สัปดาห์ และเมื่อติดตามการรักษานาน 6 เดือน ไม่พบอาการผิดปกติ โดยที่ผู้ป่วยรับประทานยากันชักต่อเนื่อง

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×