ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สุดยอดปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้

    ลำดับตอนที่ #8 : เปิดตำนาน โมนาลิซ่า ตอนที่2

    • อัปเดตล่าสุด 23 ก.ค. 53


    ทีมวิจัยดัชท์รู้แล้ว “โมนา ลิซา” ยิ้มเพราะ....



    user posted image

    "โมนา ลิซา" หญิงสาวที่มีผู้ต้องการค้นหามากที่สุดในโลก เพราะสีหน้าของเธอมีรอยยิ้มที่ผู้คนพยายามตีความมาหลายร้อยปีว่ายิ้มแบบนี้สื่อถึงอะ
    ไร นับเป็นผลงานชิ้นเอกของยอดศิลปินลีโอนาโด ดาวินชี


    เอพี – รอยยิ้มอันอันลือเลื่องที่ปรากฏอยู่บนใบหน้าของ “โมนา ลิซา” สร้างความฉงนให้แก่ผู้ชมภาพชิ้นเอกของดาวินชี ที่ยากจะวิเคราะห์ว่าสีหน้าของเธอบ่งบอกถึงอารมณ์ใดๆ นับเป็นสิ่งท้าทายและมีความพยายามหาคำตอบมานานหลายศตวรรษ แต่นักวิทยาศาสตร์ชาวดัชต์กลับเผยว่าการตีความรอยยิ้มของโมนาลิซานั้นไม่อยากอย่างที
    ่คิด

    ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งกรุงอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ออกมาฟันธงอย่างชัดเจนว่า ยิ้มที่ปรากฏอยู่บนภาพของโมนา ลิซา ผลงานชิ้นเอกของลีโอนาโด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) นั้นเป็นยิ้มที่เปี่ยมสุขถึง 83%

    ผลวิเคราะห์อารมณ์บนใบหน้าของโมนา ลิซายังแสดงถึงอารมณ์อื่นๆ ออกมาอีกว่า ใบหน้าของเธออีก 9% แสดงถึงความชิงชัง, 6% สื่อถึงความหวาดกลัว และแสดงอารมณ์โกรธผ่านใบหน้าเดียวกันนี้ออกมา 2% แต่สีหน้าที่แสดงอาการเฉยๆ โปรแกรมตีความออกมาว่าน้อยกว่า 1% ซึ่งทั้งหมดนี้ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่าไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ

    ซอฟต์แวร์ “การจดจำสภาพอารมณ์” (emotion recognition) เป็นโปรแกรมที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้น โดยร่วมมือกับนักพัฒนาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) เพื่อใช้เทคโนโลยีอันสุดทันสมัย ตีความผลงานชิ้นเอกของดาวินชี ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ไม่ใช่งานใหญ่สลักสำคัญอะไร แต่ต้องการแสดงให้เห็นถึงเหตุแห่งยิ้มของหญิงสาวที่ถูกกล่าวขวัญมากที่สุดหลายศตวรรษ


    ศ.ฮาร์โร สโตกแมน (Harro Stokman) ม.อัมสเตอร์ซึ่งร่วมทีมวิจัยครั้งนี้ เปิดเผยว่า บรรดาผู้ร่วมงานต่างรู้ดีว่าผลการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์ ซอฟต์แวร์ชิ้นดังกล่าวไม่ได้ออกแบบมาให้จดจำอารมณ์หรือสีหน้าที่แสดงออกมาเป็นเลศนัย
    ดังนั้นจึงไม่สามารถตรวจจับร่องรอยแห่งชู้สาวและความรังเกียจที่หลายๆ คนอ่านได้ผ่านดวงตาของเธอ

    อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีการวิเคราะห์อารมณ์นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับภาพดิจิตอลยุคใหม่ ซึ่งแรกสุดนั้นจะต้องมีการจดจำสภาวะไร้อารมณ์ หรือภาพใบหน้าที่ดูเฉยๆ ไม่ส่ออารมณ์ใดๆ ก่อน จึงจะสามารถจับสภาพอารมณ์อื่นๆ ได้อย่างแม่นยำ

    ทางด้าน นิกู เซเบ (Nicu Sebe) หัวหน้าทีมวิเคราะห์รอยยิ้มโมนา ลิซา ก็ได้พยายามหาภาพใบหน้าของหญิงสาวที่สืบทอดเชื้อสายจากชาวเมดิเตอร์เรเนียนจำนวน 10 หน้าเพื่อนำมาเป็นภาพต้นแบบที่แสดงอารมณ์นิ่งเฉย จากนั้นเขาได้เทียบภาพหญิงสาวทั้งหลายกับโมนา ลิซาด้วยอารมณ์พื้นฐาน 6 ชนิด คือ สุข ประหลาดใจ โกรธ รังเกียจ กลัว และเศร้า

    ”ตัวโปรแกรมจะสำรวจดูริ้วรอยต่างๆ บนใบหน้า จากนั้นก็จะได้เห็นโพรงจมูกที่ขยายมากขึ้น หรือความลึกของรอยย่นบริเวณรอบๆ ดวงตา” สโตกแมนกล่าวถึงใบหน้าที่แสดงถึงความสุข ซึ่งพบบนใบหน้าของโมนา ลิซา 83% นับเป็นอารมณ์หลักของผู้หญิงทั่วไป

    นอกจากนี้ เหล่าผู้เชี่ยวชาญทางด้านชีวมิติ (biometrics) แม้ไม่ได้ร่วมการทดลองก็แสดงอาการสนใจผลการศึกษาใบหน้าของโมนาในครั้งนี้ โดยลาร์รี ฮอร์นัค (Larry Hornak) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการพิสูจน์รูปพรรณ (Center for Identification Technology Research) มหาวิทยาลัยแห่งเวสต์ เวอร์จิเนีย (West Virginia University) กล่าวว่า เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่เรื่องการจดจำสภาพอารมณ์นั้นกลับคืบคลานไปอย่างต้วมเตี้ยม

    "เหมือนว่าพวกเขาได้พยายามใช้ข้อมูลชุดหนึ่งมาวิเคราะห์ แม้ว่าขอบเขตของข้อมูลจะดูแคบ และตัวงานก็เหมือนๆ กับคนอื่นทั่วไปที่ใช้เทคนิคใหม่ในสาขานี้ แต่ผลที่ออกมาก็ถือว่าน่าสนใจทีเดียว" นักชีวมิติจากสหรัฐฯ แสดงความเห็น

    อย่างไรก็ดี สโตกแมนเชื่อว่า ความพยายามของทีมนักวิจัยจากอัมสเตอร์ดัมคงไม่ใช่เพื่อพิสูจน์หรือหักล้างทฤษฎีที่เก
    ี่ยวกับการวาดภาพ ซึ่งหนึ่งในคำวิพากษ์วิจารณ์ที่มีการกล่าวถึงภาพโมนา ลิซานั่นก็คือแท้จริงแล้วหญิงสาวผู้นี้เป็นภาพที่ดาวินชีวาดตัวเองขึ้นมาโดยต้องการใ
    ห้เป็นผู้หญิง

    "แต่ใครจะรู้ล่ะว่าอีก 30, 40, หรือ 50 ปีพวกเขาอาจจะสามารถวิเคราะห์ได้ถึงขนาดว่าหญิงสาวในภาพกำลังคิดอะไรอยู่" สโตกแมนกล่าวติดตลก ขณะที่ฮอร์นัคหัวหน้าทีมวิจัยก็สนใจกับแนวคิดที่น่าสนุกเช่นกัน โดยเชื่อว่าถ้าทำได้จริงคงจะมีความกระจ่างถึงปริศนาต่างๆ ที่ผู้คนตั้งคำถามไว้มากมาย

    ทางด้าน จิม เวย์แมน (Jim Wayman) นักวิจัยชีวิมิติจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานโฮเซ (San Jose State University) แสดงความเห็นต่อการศึกษาภาพโมนา ลิซาครั้งนี้ว่ามันเหมือนการเล่นกล ไม่ใช่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เคร่งเครียด แต่ก็นับเป็นผลงานที่สร้างสีสันและไม่ได้ทำร้ายใคร

    ภาพ “โมนาลิซา” เป็นผลงานชิ้นเอกของดาวินชี จิตรกรชาวอิตาเลียน (และยังเป็นนักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์) ดาวินชีวาดภาพชิ้นนี้ในช่วงปี 1479 – 1528 โดยรู้กันดีว่าหญิงสาวในภาพคือ “ลา จิโอกอนดา ” (La Gioconda) ภรรยาของฟรานเซสโก เดล จิโอกอนดา (Francesco del Giocondo) ขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ (Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในนาม “ลา โฌกงด์” (La Joconde)

    ข้อมูล ผู้จัดการ



    user posted image
    โปรแกรมวิเคราะห์อารมณ์ของนักวิจัยดัชต์ชี้ว่าสีหน้าแบบนี้ของโม้นาแสดงถึงความสุขมา
    กกว่า 80% เชื่อหรือไม่?


    user posted image
    เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ขณะกำลังเคลื่อนย้ายตำแหน่งที่วางภาพของโมนา ลิซาใหม่ เมื่อหลายปีก่อน


    user posted image
    ภาพดาวินชี วาดโดยตัวเขาเอง


    user posted image
    ไม่ว่าจะต้องใช้เวลากี่วันเดินให้ทั่วลูฟว์ แต่เชื่อแน่ว่าแขกผู้มาเยือนจะพลาดไม่ได้คือการได้ยลรอยยิ้มของโมนา ลิซาของจริงแบบใกล้ๆ สักครั้ง



    ................................


    ตอนของโมนาลิซ่าบางตอน อาจจะดูขัดกัน สาเหตุเพราะมีการแสดงความคิดเห็นมาในหลายๆด้าน

    ก็เลยรวบรวมมาทั้งหมด~

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×