ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สุดยอดปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้

    ลำดับตอนที่ #31 : Tylenol Mass Murders: ยาพิษปริศนา

    • อัปเดตล่าสุด 25 ก.ย. 53


    ยาเม็ดแก้ปวดไทลินอล ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีและคงเคยใช้กันมาแล้ว ...ลองจินตนาการดูสิ ถ้ามีคนบ้าคนนึงเอายาพิษไซยาไนต์ใส่ลงไปในยาเม็ดเหล่านี้ แล้วก็บรรจุมันลงกล่องตามปกติ จากนั้นก็วางแผงขาย เมื่อมีคนซื้อไปกิน ...เขาจะเป็นอย่างไร

    แต่เรื่องนี้มันไม่ใช่แค่จินตนการ เพราะมันคือเรื่องจริง!

    การสังหารหมู่ในนครชิคาโกด้วยยาไทลินอล (Chicago Tylenol Mass Murders) เป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ซึ่งเกิดขึ้นในเขตมหานครชิคาโก (Chicago Metropolitan Area) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1982 เมื่อมีผู้เจือสารพิษโพแทสเซียมไซยาไนด์ (Potassium Cyanide) ลงในยาแคปซูลแก้ปวดระดับความแรงพิเศษยี่ห้อดัง "ไทลินอล" ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไล่เลี่ยกันจำนวนเจ็ดรายหลังจากรับประทานยาไทลินอ ลดังกล่าวเข้าไปแล้ว

    สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ เอฟบีไอ ขนานนามคดีนี้ว่า "การวางยาไทลินอล" (Tylenol Poisonings) มีรหัสคดีว่า "TYMURS" ทั้งนี้ แม้เวลาจะล่วงเลยมานานพอสมควร แต่คดีนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปจวบจนบัดนี้ แต่ก็เป็นแรงผลักดันหนึ่งให้เกิดการปฏิรูปขนานใหญ่เกี่ยวกับการบรรจุเภสัช ภัณฑ์และกฎหมายป้องกันการยืมมือฆ่า

    ไทลีนอลเป็นสินค้าที่ประสบความสำเร็จสูง สุดในอเมริกา ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 1982 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤต กำไรของไทลีนอลคิดเป็น 19% ของบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน และมีอัตราการเติบโตในแง่ของกำไรไม่ต่ำกว่า 33% ต่อปี ในตลาดยาแก้ปวดนั้น ไทลีนอลถือเป็นผู้นำอย่างเบ็ดเสร็จด้วยส่วนแบ่ง 37% เอาชนะคู่แข่งสำคัญอย่าง Anacin, Bayer, Bufferin และ Excedrin ได้อย่างไม่ยากเย็น ...หลังจากยอดขายยาแก้ปวดยี่ห้อไทลีนอลขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ทำให้บริษัทได้เข็นสินค้าใหม่ ชื่อ Extra Strength Tylenol เป็นยาแก้ปวดชนิดแคปซูลและมันก็ถูกนำมาวางตลาดขายทั่วประเทศ ด้วยรูปลักษณ์โฉมใหม่ที่ดูทันสมัยและสวยงามทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ชนิดทิ้งคู่แข่งไม่เห็นฝุ่น

    และนั่นคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด...

    เช้าตรู่ของวันพุธที่ 29 กันยายน 1982 - แมรี เคลเลอร์แมน (Mary Kellerman) วัย 12 ปี จากหมู่บ้านเอลก์โกรฟ (Elk Grove Village) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วพบว่าตัวเองกำลังไม่สบาย เจ็บคอและมีน้ำมูก เลยไปหาพ่อแม่ที่ห้อง พ่อแม่ของเธอก็จัดยาให้ เป็นไทลินอลแคปซูล เธอกินไป 1 เม็ด ...จากนั้นเวลา 07.00 น. พ่อแม่ของแมรี่ก็เดินมาหาและพบว่าลูกตัวเองหมดสติอยู่กลางห้องน้ำ พวกเขารีบส่งเธอไปโรงพยาบาล ...และเธอก็ตาย เธอคือเหยื่อรายแรกที่เสียชีวิตหลังจากรับประทานยาแก้ปวดระดับความแรงพิเศษ (Extra Strength Tylenol) ยี่ห้อ "ไทลินอล"

    ถัดมาไม่นาน อดัม เจเนิส (Adam Janus) คนงานไปรษณีย์ จากหมู่บ้านอาร์ลิงทันไฮส์ (Arlington Heights) รัฐเดียวกัน - กินยาไทลีนอลและหมดสติล้มลงกับพื้น จนเขาต้องถูกส่งตัวไปโรงพยาบาลทันทีและตายหลังจากนั้น ...ในทันทีที่อดัมตาย ครอบครัวของอดัมเกือบทั้งหมดได้มาร่วมงานศพไว้ทุกข์แก่อดัม การไว้ทุกข์ผ่านไปด้วยดี หากแต่สแตนลีย์ เจเนิส (Stanley Janus) อายุ 24 ปี ซึ่งเป็นน้องชายของอดัม และเธเรซา เจเนิส (Theresa Janus) แฟนสาวของสแตนลีย์ เกิดปวดศีรษะเพราะความตึงเครียดที่สูญเสียสมาชิกครอบครัว เพื่อเป็นการบรรเทา ...สแตนลีย์ ใช้ยาไทลีนอลจากขวดเดียวกับที่อดัมใช้ทานก่อนตาย เขาทานหนึ่งเม็ดและส่งต่อให้แฟนของเขาทาน และในระยะเวลาอันสั้นสแตนลีย์และเธเรซาล้มลงไปนอนกับพื้น คนร่วมงานตกใจกับภาพที่เห็นและเรียกรถพยาบาลในทันที หากสายไปแล้วในการช่วยสองหนุ่มสาวคู่นี้ สแตนลีย์ตายในทันที ส่วนเธเรซาไม่ได้ตายทันที แต่ก็ต้องทนทุกข์ทรมานและตายในอีกสองวันต่อมา เป็นอันว่าพิธีศพต้องจัดเพิ่มเป็น 3 โลง

    ถัดจากนั้นไม่นาน ในวันเดียวกันนั่นเอง แมรี แมกฟาร์แลนด์ (Mary McFarland) จากเมืองเอล์มเฮิสต์ (Elmhurst) รัฐอิลลินอยส์, พอลา พรินส์ (Paula Prince) และแมรี เรเนอร์ (Mary Reiner) จากหมู่บ้านวินฟีลด์ (Winfield) รัฐเดียวกัน เสียชีวิตลงหลังจากรับประทานยาแก้ปวด "ไทลินอล"

    พนักงานสืบสวนพบว่าการตายทั้งหมดในนคร ชิคาโกล้วนเชื่อมโยงกัน โดยมียาแก้ปวด "ไทลินอล" เป็นศูนย์กลาง รัฐบาลท้องถิ่นออกประกาศเตือนทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์กระจายภาพ และเจ้าหน้าที่ตำรวจขับรถตระเวนไปตามบ้านเรือนทุกหลังคาเรือนเพื่อแจ้งเตือน

    ยาแก้ปวดที่เป็นปัญหานั้นส่งมาจากโรงงาน ที่แตกต่างกัน แต่ด้วยความที่เหตุการณ์ตายไล่เลี่ยกันนี้เกิดขึ้นในท้องที่เดียวกัน เจ้าหน้าที่จึงจับจุดได้ว่าน่าจะเกิดความผิดปกติในระหว่างกระบวนการผลิตยา แต่ก็ยังไม่ละข้อสันนิษฐานว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์เข้าไป ยังห้างร้านต่างๆ และสับเปลี่ยนกระปุกยาไทลินอลจากหิ้งด้วยกระปุกยาไทลินอลที่มีไซยาไนด์ปลอม ปนอยู่แทน นอกเหนือไปจากยาห้ากระปุกที่นำพาความตายไปสู่ผู้เคราะห์ร้ายเจ็ดรายข้างต้น แล้ว เจ้าหน้าที่ยังตรวจพบยาอีกสามกระปุกที่มีสารพิษปลอมปนก่อนจะถูกเปิดอีกด้วย

    บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ต้นสังกัดผู้ผลิตยาไทลินอล มีประกาศเตือนไปยังโรงพยาบาล สถานอนามัยต่างๆ และผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตน และในวันที่ 5 ตุลาคม 1982 ได้เรียกเก็บผลิตภัณฑ์ไทลินอลทั้งหมดทั่วประเทศกลับคืนสู่บริษัท และสั่งพักโฆษณายาไทลินอลชั่วคราว

    ยาที่ถูกเรียกคืนมีจำนวนกว่าสามสิบเอ็ด ล้านกระปุก คิดเป็นมูลค่ากว่าหนึ่งร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันยังแถลงทางสื่อมวลชนเตือนประชาชนทั้งหลายให้ หยุดบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไทลินอลชั่วคราว เมื่อแน่ชัดว่ามีแต่ยาประเภทแคปซูลที่ถูกใส่สารพิษปนเปื้อน บริษัทยังได้ปฏิรูปการบรรจุเภสัชภัณฑ์ไทลินอลโดยเปลี่ยนจากแบบแคปซูลไปเป็น แบบเม็ดแข็งทั้งหมด และยังรับแลกยาแบบแคปซูลที่มีการซื้อไปแล้วเป็นแบบเม็ดแข็งให้ด้วย

    ในด้านผู้ต้องสงสัย เจ้าหน้าที่ตำรวจ (จนกระทั่งถึงมือ FBI เรียบร้อย) มีการจับผู้ต้องสงสัยหลายคน แต่ที่เด่นๆ คือชายที่ชื่อ เจมส์ ดับเบิลยู. ลิวอีส (James W. Lewis) ซึ่งเป็นคนเขียนจดหมายถึงบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน รีดไถเงินหนึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐ มิฉะนั้นเขาจะไม่หยุดการสังหารหมู่โดยใช้สารพิษไซยาไนด์เช่นนี้อีก อย่างไรก็ดี ...เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวเขาไปสอบสวน กลับพบว่าจดหมายเขาเป็นแค่คำลวง เนื่องจากในเวลาเกิดเหตุนั้นเขาพำนักอยู่ที่นครนิวยอร์กกับภรรยา เจมส์จึงถูกพิพากษาลงโทษฐานกรรโชกทรัพย์ ให้ถูกจำคุกสิบสามปี จากอัตราโทษสูงสุดจำคุกยี่สิบปี เขารับโทษระยะหนึ่งแล้วก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระโดยมีทัณฑ์บนในปี 1995

    ยังมีชายอีกคนซึ่งต้องสงสัยในคดีสังหาร หมู่ นามว่า รอเชอร์ อาร์โนลด์ (Roger Arnold) เขาถูกนำตัวไปสอบสวนแต่พบว่าไม่ได้กระทำผิด แต่การตกเป็นเป้าความสนใจของสื่อมวลชน ทำให้รอเชอร์เกิดอาการเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจ (Nervous Breakdown) อย่างรุนแรง และโทษชายเจ้าของร้านอาหารนาม มาร์ที ซินแคลร์ (Marty Sinclair) ว่าเป็นคนชักนำเจ้าหน้าที่ตำรวจมาจับตัวเขา เมื่อกลางฤดูร้อนปี 1983 หรือปีถัดมาหลังเกิดเหตุสังหารหมู่ - ในปี 1984 รอเชอร์ตัดสินใจจะใช้ปืนสังหารมาร์ทีเสียเป็นการแก้แค้น แต่เขายิงผิดตัว ชายที่ไร้มลทินคนหนึ่งนาม จอห์น สแตนิเชอ (John Stanisha ) ถูกยิงแทน ศาลจึงพิพากษาให้รอเชอร์ถูกจำคุกสิบห้าปี จากอัตราโทษสูงสุดจำคุกสามสิบปี เขาจบชีวิตขณะรับโทษในเดือนกรกฎาคม 2008

    จากนั้นก็มีผู้ต้องสงสัยรายที่สามถูกจับ อีก คือ ลอรี แดนน์ (Laurie Dann) ชาวเมืองชิคาโก เคยมีประวัติความเจ็บป่วยทางจิตประสาทมาก่อนกับทั้งยังเคยพยายามลอบวางพิษ แต่ผลสุดท้ายก็เหมือนกับผู้ต้องสงสัยสองรายก่อนหน้า ...ตำรวจล้มเหลว ลอรี แดนน์ ไม่เกี่ยวข้องกับคดีเลยแม้แต่น้อย

    ผลสุดท้าย สิ่งที่ตำรวจพึ่งคือข้อมูลจากนักจิตวิทยาในการสันนิษฐานบุคลิก พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของตัวฆาตกรเท่านั้น นักจิตวิทยาสันนิษฐานว่าฆาตกรในคดีไทลีนอลจะต้องเป็นคนชำนาญพื้นที่ที่เกิด เหตุเป็นอย่างดี มีรถหรือรถบรรทุก และทำอาชีพเกี่ยวกับการใช้สารไซยาไนด์ ซึ่งสามารถเอาไปใช้ได้โดยไม่มีใครสงสัย เขาอาจทำอาชีพเกี่ยวกับทองและอุตสาหกรรมการทำเงินหรือที่โรงงานผลิตสารเคมี อาจมีประวัติอาชญากรรมและมีค่าจ้างต่ำ

    บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันตั้งรางวัล นำจับผู้ก่อการสังหารหมู่ด้วยยาไทลินอลดังกล่าวเป็นเงินสูงถึงหนึ่งแสน ดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ยังไม่อาจหาตัวผู้กระทำผิดได้สักทีจนบัดนี้ นอกจากนี้ยังดำเนินการกู้ชื่อเสียงบริษัทเป็นระยะ โดยใช้สื่อการประชาสัมพันธ์และโฆษณา เพื่อแก้ปัญหาในช่วงวิกฤต และจัดตั้งสายด่วนผู้บริโภค 1-800 ในช่วงสัปดาห์แรกของวิกฤต เพื่อสามารถตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของไทลีนอลให้กับผู้บริโภคได้ อย่างทันท่วงที รวมทั้งการเปิดสายฟรี โดยเป็นเทปบันทึกเสียงการอัพเดตกระบวนการแก้ไขปัญหาที่ไทลีนอลได้ทำในแต่ละ วัน นอกจากนั้นบริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ต้องแถลงข่าวสำคัญๆ เป็นระยะ พวกเขาเลือกจัดงานที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท โดยใช้ทีมงานภายในเตรียมอุปกรณ์สำหรับถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมไปยังนิวยอร์ก ซึ่งเท่ากับว่าการแถลงข่าวไม่ใช่แค่เรื่องระหว่างบริษัทกับสื่อมวลชนเท่า นั้น แต่รวมถึงประชาชนด้วย

    ถึงแม้จะได้ใจสื่อมวลชนด้วยการรายงาน ข่าวในทางที่ดี แต่สำหรับประชาชนนั้น การกระทำแค่นี้ดูไม่เพียงพอที่จะเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับคืน มาเหมือนตอนก่อนเกิดวิกฤตได้ บริษัทจึงตัดสินใจเล่นเกมจิตวิทยากับผู้บริโภคด้วยการผลิตยาแคปซูลขึ้นมาอีก แต่บรรจุไว้ในบรรจุภัณฑ์ปิดผนึกถึงสามชั้น และโป๊ะทับอีกสองชั้นด้วยป้ายแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับราคาสินค้า พร้อมการส่งเสริมการขายอย่างหนักทั้งลด แลก แจก แถมสารพัด ซึ่งไทลีนอลต้องใช้เวลามากถึง 7 ปีในการกู้ชื่อเสียงแบรนด์คืนมาอีกครั้ง

    โศกนาฏกรรมในนครชิคาโกที่คร่าชีวิตผู้ บริสุทธิ์ไปเจ็ดราย ยังผลให้มีเหตุการณ์เลียนผุดตามขึ้นมาอีกเป็นจำนวนหนึ่งในปี 1983 - บรรดาผู้ประกอบการเครื่องบริโภคต่างๆ ต้องพากับขบคิดหาหนทางปฏิรูประบบและวิธีการบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการลักลอบ เจือปนสิ่งไม่พึงประสงค์ลงในสินค้า และอุตสาหกรรมทางเภสัชภัณฑ์หลีกเลี่ยงไม่ผลิตสินค้าในรูปแคปซูล เพราะการเปิดหลอดแคปซูลออกแล้วเจือสิ่งแปลกปลอมลงไปในนั้นสามารถกระทำได้โดย ง่าย และโดยไม่ทิ้งร่องรอยพิรุธไว้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎหมายให้ถือว่า คดีเกี่ยวกับการเจือปนสารพิษในเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอาชญากรรมระดับชาติ และองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาก็ตราระเบียบใหม่เพื่อป้องกันการกระทำ ผิดในรูปแบบนี้ ซึ่งระเบียบดังกล่าวส่งผลให้ "แคปเลต" (Caplet) หรือยาเม็ดแข็งที่ทำเป็นรูปแคปซูล เข้ามาแทนที่แคปซูลซึ่งเป็นปลอกพลาสติกบรรจุแป้งยาภายใน

    นอกจากนี้ เหตุการณ์ยาไทลินอลนี้มีการนำไปจัดสร้างและดัดแปลงเป็นภาพยนตร์และวรรณกรรม หลายเรื่อง โดยมีการนำไปเป็นพื้นฐานเรื่องราวเกี่ยวกับการวางยาพิษในลูกกวาดสำหรับแจก เด็กในวันฮาโลวีน ตลอดจนในอาหารและเครื่องดื่มสำหรับวางขาย เป็นต้น

    ปัจจุบัน ปี 2009 คดีนี้ก็ยังมีการสืบสวนสอบสวนอยู่ และคาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำยุคกว่าเดิมในมาช่วยไขคดีนี้ให้เป็นที่ กระจ่าง ว่าใครกันที่สมควรเป็นผู้รับผิดชอบในคดีนี้


    ::::::  http://lonesomebabe.spaces.live.com/blog/cns!B3DBC94207C84DE2!1151.entry  


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×