คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #20 : ตำนานเพชรโฮป Hope Diamond
ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเพชร ที่มีชื่อว่า เพชรโฮป (Hope Diamond) เรื่มขึ้นเมื่อพ่อค้าชาวฝรั่งเศส ชื่อ จอง แบปทิส ทาเวอร์เนีย (Jean Baptiste Tavernier) ได้ซื้อเพชรดิบน้ำหนัก 112 3/16 กะรัต จากเหมืองคอลเลอ (Kollur) เมืองกอลคอนดา (Golconda) ประเทศอินเดีย แล้วนำมาถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
- ค.ศ. 1668 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้มีบัญชาให้ช่างเพชรแห่งราชสนักเจียระไนเพชรเม็ดนี้ขึ้น เป็นเพชรเม็ดที่รู้จักกันในชื่อว่า "Blue Diamond of the Crown" หรือ "French Blue" ซึ่งนำไปตกแต่งบนสายสะพายเครื่องอิสริยาภรณ์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เพื่อใช้สวมใส่ในงานพิธีการต่างๆ
ตำนาน ได้กล่าวว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีโอกาสใส่เพชรนี้เพียงครั้งเดียวก่อนจะป่วยตายด้วยโรคระบาด คนรักของพระองค์ที่ได้รับเพชรเม็ดนี้เป็นของขวัญก็ถูกขับออกจากราชสำนักใน ภายหลังเนื่องจากวางแผนจะวางยาพิษราชินี
เคราะห์กรรมของพระเจ้าหลุยส์ ที่ 16 กับพระนางมารีอังตัวเน็ตนั้นมีชื่อเสียงเกินพอจนไม่มีอะไรจะให้พูดถึง และมีการกล่าวว่าเจ้าหญิงซึ่งเคยยืมเพชรเม็ดนี้จากพระนางมารีอังตัวเน็ตมา ใส่บ่อยๆก็ถูกประชาชนรุมฆ่าตายอย่างทารุณหลังจากที่เพชรเม็ดนี้ได้ตกทอดมา สู่พระนางแมรี่ อังตัวเนตต์(Marrie Antoinette) และได้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ขึ้น เพชรเม็ดนี้ได้สูญหายไป- ค.ศ.1830 เฮนรี่ ฟิลิป โฮป (Henry Philip Hope) ได้ซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้
และ หลังจากนั้นเขาก็ได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1839 ตอนนี้เองที่เพชรถูกตั้งชื่อตามเจ้าของว่า โฮปไดอามอนด์ หรือเดอะโฮป เพชรถูกทำเป็นเข็มกลัด และตกทอดผ่านลูกหลานตระกูลโฮปไปอีกหลายรุ่นจนกระทั่งตกเป็นของฟรานซิส โฮปซึ่งแต่งงานกับนักแสดงสาวชาวอเมริกัน เมย์ โยฮ์ในปี 1894เมย์กล่าวว่าเธอใส่โฮปไดอามอนด์ออกงานบ่อยๆ และมีการทำของเลียนแบบอย่างแนบเนียนขึ้นด้วย แต่ฟรานซิสปฏิเสธข้อเท็จจริงนี้
* ภายหลังเมย์หย่ากับฟรานซิสและใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นไปจนเสียชีวิต เธอกล่าวว่าเคราะห์ร้ายของตัวเองเป็นเพราะโฮปไดอามอนด์ แต่ในความจริงแล้ว ตระกูลโฮปหลายคนเกี่ยวข้องกับเพชรเม็ดนี้และไม่ปรากฏว่ามีใครเคราะห์ร้ายแต่ อย่างไร
- ค.ศ. 1906 เพชรเม็ดดังกล่าวได้ผ่านจากมือ ของบุคคลผู้เป็นสมาชิกในครอบครัวของตระกูล โฮป ไปอยู่ในมือของ จาคส์ เซลอท ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพชรชาวเปอร์เซีย ซึ่งต่อมาเคาได้ทำอัตตวินิบาตกรรมตัวเองเจ้าของคนถัดมาคือ เจ้าชายคานิตอฟสกี แห่งรัสเซีย ทรงซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้ และมอบให้แก่นางสนมชาวฝรั่งเศส เพื่อใส่ไปแสดงละครที่ฟัวเยร์เบอร์เกร์
"แต่ขณะที่เธอกำลังแสดงอยู่นั้น เจ้าชายก็ทรงปลิดชีพเธอด้วยอาวุธปืน และอีกสองวันต่อมาพระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์โดยผู้ปฏิวัติชาวรัสเซีย"
หลังจากที่เจ้าชายได้ถูกผู้ ปฏิวัติชาวรัสเซียปลงพระชนม์แล้ว “เพชรโฮป” ก็ได้ตกไปอยู่ในมือของชาวอียิปต์
และ ด้วยอาถรรพ์ของเพชรเม็ดนี้ หรืออะไรมิทราบได้ ชาวอียิปต์และครอบครัวของเขาได้จมน้ำตายทั้งครอบครัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุเรือสำราญชนกันที่สิงคโปร์
- ถัดมา เป็นนายหน้าเขาได้นำเพชรโฮปนี้ไปขายให้แก่สุลต่านชาวตุรกี และก็ไม่วายต้องประสบพบชะตากรรมเช่นเดียวกับเจ้าของคนก่อนๆ เขาและครอบครัวเสียชีวิต จากอุบัติเหตุรถยนต์ตกหน้าผา
- หลัง จากที่เพชรโฮปได้มาอยู่ในมือของสุลต่านของตุรกี ท่านได้ทรงมอบเพชรเม็ดนั้นให้แก่พระสนม ทุกอย่างเป็นไปด้วยความสงบ จนกระทั่งมีการทำรัฐประหารเกิดขึ้น ขณะที่ความวุ่นวายกำลังเกิดขึ้นนั้นเอง พระสนมได้ถูกกระสุนปืนที่พลาดมา จนถึงแก่ความตาย ส่วนสุลต่านได้ถูกเนรเทศและขันทีผู้ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาเพชรเม็ดดังกล่าว ก็ถูกจับแขวนคอ
- ค.ศ.1911 บริษัทคาร์เทียได้รับซื้อเพชรโฮปเม็ดนี้ไว้ แล้วนำไปขายต่อให้กับครอบครัวแมคลีน (McLean)
- ค.ศ.1947 แมคลีนเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 61 ปี หลานของเธอเป็นผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ของเพชรต่อ
* ตำนานกล่าวว่าแม่ของแมคลีนเสียชีวิตหลังจากซื้อเพชรมาได้ไม่นานนัก ในไม่ช้าคนใช้ 2 คนก็เสียชีวิต ตามด้วยลูกชายวัย 10 ปีของเธออีกคน หลังเหตุการณ์นี้ เอวาลินหย่าจากเอ็ดวาร์ด ซึ่งตัวเอ็ดวาร์ดเอง หลังจากป่วยมีอาการทางจิตก็เข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตที่นั่น ลูกสาวเพียงคนเดียวของเอวาลีนตายเนื่องจากทานยานอนหลับเกินขนาด เอวาลีนพยายามแก้เคล็ดด้วยการไปอธิษฐานในโบสถ์ แต่ก็ไม่เป็นผลและต้องเสียครอบครัวทั้งหมดไป (ในความเป็นจริง ยังมีหลานอยู่รับกรรมสิทธิ์ต่อ) - ค.ศ.1949-1958 แฮรี่ วินสตัน(Harry Winston) ซึ่งเป็นพ่อค้าเพชรชาวนิวยอร์ค ได้ซื้อเพชรโฮปและมอบให้แก่สถาบันสมิธโซเนียน(Smithsonian Institute) ในกรุงวอชืงตัน ดีซี ซึ่งดูเหมือนว่าคำสาปแช่งจะยุติอยู่เพียงแค่นั้น อย่างไรก็ตามในท่ามกลางจดหมายนับพันๆฉบับ ที่ส่งมาขอบคุณในการบริจาคของเขาครั้งนั้น มีอยู่ฉบับหนึ่งที่วิงวอนให้ แฮรี่ วินสตัน เอาเพชรเม็ดนั้นกลับคืนไปโดยกล่าวว่า
“ประเทศชาติกำลังจะแหลกไม่มีชิ้นดียู่แล้ว นับตั้งแต่วันที่เพชรเม็ดนี้มาถึงสถาบันสมิธโซเนียน”ปัจจุบัน เพชรโฮป ได้กลายมาเป็นของโชว์ชิ้นเรียกแขกอยู่ที่ พิพิทธภัณท์สมิธโซเนียน ถ้าใครได้มีโอกาสไปวอชิงตัน ดีซี ก็อย่าลืมแวะไปชมนะครับ
ขอขอบ คุณข้อมูลจาก:www.i-love-ploy.com
http://guru.thaibizcenter.com/articledetail.asp?kid=7764
- ค.ศ.1830 เฮนรี่ ฟิลิป โฮป (Henry Philip Hope) ได้ซื้อเพชรเม็ดนี้ไว้
ความคิดเห็น