ชอบ....รัก.....หลง - ชอบ....รัก.....หลง นิยาย ชอบ....รัก.....หลง : Dek-D.com - Writer

    ชอบ....รัก.....หลง

    แยdความรู้สึกให้ออกสิ ว่าคุณ ชอบ รัก หรือหลง??

    ผู้เข้าชมรวม

    311

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    311

    ความคิดเห็น


    10

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.ค. 49 / 19:44 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    นิยายแฟร์ 2024
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      1. "ชอบ"คำนี้ควรเอาไว้หน้าเครื่องหมายของความรักเพราะจะทำให้


      ความรักปลอดความขัดแย้ง มักจะมีความสุข และสมหวังเพราะ

      1.1 ชอบ คือ รสนิยมตรงกัน นิสัยไปด้วยกันได้ เข้าใจกัน คุยกันถูกคอ เรียกว่าชอบพอกัน เช่น การคบเพื่อนเราก็ใช้ความรู้สึกนี้ เราจึงชอบเพื่อนรักเพื่อน มีความสุขพอใจ เมื่อได้อยู่กับเพื่อน แม้จะคบกันมาตั้งแต่วัยเรียน จนถึงทำงาน จนถึงแก่กว่า เพื่อนก็ไม่เคยหมดความหมาย เพราะมาจากรากฐาน ชอบ

      1.2 ถ้าคำว่า "ชอบ" นำมาใช้กับคนที่รักของเรา ก็จะเพิ่มดีกรีดีกว่าเพื่อนขึ้นไปอีก เหตุนี้ควรพิสูจน์นิสัยใจคอ จนสามารถชอบเขาได้แล้วค่อยกลายเป็นความรักจึงจะถูกต้องอย่างที่ว่า"จะรักใครควรจะชอบเขามาก่อน แล้วความรักจะยั่งยืน

      1.3 แต่… ส่วนใหญ่ยังไม่ทันชอบเลย ไม่รู้เสียด้วยว่าลูกใครครอบครัวเขาเป็นอย่างไร รู้แต่ชื่อเล่น ชื่อจริง ส่วนนามสกุลเอาไว้บอกทีหลัง เราก็รักไว้ก่อน ชีวิตครอบครัวจึงไม่ประสบผลสำเร็จ ล้มเหลว วันหนึ่ง ๆ แต่งงานเป็นร้อยคู่ แต่ก็หย่ากันวันล่ะ 200 คู่ ขาดทุน 100% ขาดทุน 100% เพราะเรียงลำดับผิด

      1.4 เพราะถ้าเอาความ รัก ขึ้นหน้าไว้อันดับหนึ่งก่อน ชอบมักจะมองข้ามความบกพร่อง ความไม่ดีทุกอย่างของคนที่เรารักไปอย่างที่ผู้ใหญ่บอกว่า "ความรักทำ ให้คนตาบอด" พ่อแม่ห้ามก็ไม่ฟัง

      1.5 แต่…ถ้า เอาชอบไว้ก่อนยังไม่รัก ถ้าคนรักเกิดพลิกล๊อค กลายเป็นไม่ดี เพราะไม่มีอะไรจะซ่อนเร้นมิดชิดและปกปิดได้นาน เท่ากับหัวใจคน เรารู้ก่อนที่จะรัก เราก็ตัดใจได้ไม่ยาก ชอบมาก่อน จึงเกิดผลดีอย่างน้อย 2 ประการ (1). ตัดใจได้ง่าย (2). ได้คนดี

      2. คำว่า "รัก" มีความหมายลึกซึ้งมากกว่าที่คุณคิด คนส่วนใหญ่จึงไม่รู้ความหมายคำว่ารักอย่างแท้จริง เพราะไม่คิดถึงทั้งๆ ที่ตัวเองก็กำลัง ประพฤติอยู่


      2.1 รัก มีความหมายถึงการอยากให้ ให้คนที่ตนรักมีความสุข แล้วตัวเองก็ต้องมีความสุขด้วย ทั้งที่ความสุขนั้นอาจจะไม่ใช่หมายถึงความสมหวังเสมอไป "ในความรักไม่มีความกลัว เพราะความกลัวถูกจัดเข้ากับการลงโทษ"mแต่การเสียเขาไปต้องมีเหตุผลที่สมควรจาก 2 ฝ่ายด้วย ไม่ใช่เราคิดไปเองว่าเขาคงจะได้ดี แล้วก็ทิ้งเขาไป (เห็นได้จากในภาพยนตร์บ่อย ๆ) ซึ่งทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสทั้ง 2 ฝ่าย กลายเป็นจบลงด้วยความเศร้าแทน

      2.2 รัก "ถ้าเราจะรักใครซักคน เราต้องคิดอยู่เสมอว่า เราจะให้อะไรกับเขา ไม่ใช่จะได้อะไรจากเขา" ความรักนั้นก็อดทนนานและกระทำคุณให้ ความรักไม่อิจฉา ไม่อวดตัว ไม่หยิ่งผยอง ไม่หยาบคาย ไม่คิดเห็นแก่ตนเองฝ่ายเดียว ไม่ฉุนเฉียว ไม่ช่างจดจำความผิด ไม่ชื่นชมยินดีเมื่อมีการประพฤติผิด แต่ชื่นชมยินดีเมื่อประพฤติชอบ ความรักทนได้ทุกอย่างแม้ความผิดของคนอื่น และเชื่อในส่วนดีของเขาอยู่เสมอ และมีความหวังอยู่เสมอ และทนต่อทุกอย่าง

      2.3 ในความรักไม่มีความกลัว เพราะถ้ามัวแต่กลัวจะเหมือนกับการโดนลงโทษ แล้วอาจจะ โดน ม.ค.ป.ด.

      3. คำว่า "หลง" หลงกับรักมักจะแยกกันยากมาก เพราะอาการคล้าย ๆ กัน

      ทีแรกก็ปลูกต้นรัก แต่พอต้นรักเติบใหญ่ ทำไมออกดอกเป็นความหลง ความหลงจะสำแดงแตกต่างจากความรักสังเกตได้ 3 ประการ

      3.1 เห็นแก่ตัว กอบโกยความสุขจากคนรักให้มากที่สุด เช่น
      ขอพบ ขออยู่ใกล้ ให้คนรักปรนนิบัติเอาใจ เรียกร้องความสนใจตลอดเวลา เอาแต่ความสุขความพอใจตนเองเป็นใหญ่
      คนรักจะทุกข์ยากอย่างไรไม่สน ตัวเองจะยอมทุ่มเททุกอย่าง เช่น
      - ทรัพย์สินเงินทองปรนเปรอ
      - ถ้าไม่ได้ก็ใช่เล่ห์กล ไม่ได้ด้วยมนต์ก็เอาด้วยคาถา พวกหมอดู
      คนเจ้าเข้าทรง หมอผีร่ำรวยก็เพราะคนพวกนี้ ดูผิวเผิน เหมือนความรักสุดใจแต่ไม่ใช่ เพราะความรักเป็นความสุภาพ เสียสละ อ่อนโยน มีเหตุผล

      3.2 ความหลงจะสังเกตได้ จะไม่มีลดน้อยหรือแม้แต่ตัว แต่จะร้อนแรงขึ้นเป็นลำดับ เหมือนถูกผีกระทำ จะไม่มีเหตุผล เกรี้วกราด รุนแรง เอาแต่ใจ เรื่องเล็กก็กลายเป็นเรื่องใหญ่

      3.3 การหึงหวง อย่างรุนแรง ไร้เหตุผล แม้ตัวเองจะได้ตายก็ยอม เช่นฆ่าตัวตาย หรือ ฆ่าตัวตายทั้งคู่ ตามหนังสือพิมพ์ที่ออกข่าวบ่อย ๆ เช่นรักไม่สมหวัง หลายคนเห็นใจที่เขาบูชารัก แต่นั่นคือการเข้าใจผิด มันไม่ใช่ความรัก เพราะความรัก คือความอ่อนโยน มีเหตุผล ไม่กระทำผิด แต่ความหลงกระทำให้เรา "คิดสั้น" "หลงผิด" ถูกครอบงำด้วยอำนาจที่แฝงแปลงร่างมาคล้ายกับความรักแท้

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×