ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือภาคสนาม ป่าหิมพานต์ - พฤกษศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #6 : เถานาคลดา

    • อัปเดตล่าสุด 24 ก.ค. 61


      เมื่อออกสำรวจพฤกษานานาพันธุ์บนลานสรรพยาได้พอสมควรแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ข้าพเจ้าจึงเริ่มออกสำรวจตามป่าซึ่งอยู่ระหว่างระหว่างขุนเขา(ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างขุนเขาชั้นที่๑ กับขุนเขาชั้นที่ ๒) ข้าพเจ้าจึงพบว่า แดนหิมพานต์ล้วนอุดมด้วยพฤกษาที่มีความแปลกประหลาดอย่าง และหลายชนิดยังอุดมไปด้วยสรรพคุณ เช่น ไม้เถาวัลย์ที่ชื่อว่า นาคลดา (นาคลตา ชื่อเต็ม นาคลตาทันตกัฏฐัง)



      ไม้เถาชนิดนี้ มีรสเผ็ดร้อนคล้ายชะพลู เหล่าดาบสและวิทยาธร ใช้เป็นไม้ชำระฟัน โดยการนำก้านมาเคี้ยวเพื่อทำความสะอาดภายในช่องปาก เหงือก และฟัน ฯ

      ลักษณะโดยทั่วไปของ ต้นนาคลดา คือ เป็นเถาไม้เลื้อย มีหลายขนาด ตั้งแต่เล็กกว่านิ้วมือไปจนถึงขนาดใหญ่เท่าท่อนแขน ใบของนาคลดามีสีเขียวอมฟ้า ดอกนั้นมีขนาดเล็ก สีแดงอ่อน ยาวเรียวมีปลาย ๒ แฉกคล้ายลิ้นงู ส่วนผลมีสีแดงค่อนข้างสดสามารถรับประทานได้ มีรสหวาน สัตว์หิมพานต์นิยมกินเป็นอาหาร ภายในผลของนาคลดายังมียางซึ่งมีคุณสมบัติในการเคลือบผิวฟันและดับกลิ่นปาก ฯ

      จุดเด่นของต้น นาคลดา คือ ก้านใบและใบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับศีรษะและหงอนของนาคตามชื่อที่ตั้งไว้ (ในลายจิตรกรรม เรียกกันว่า ลายนาคขบ) ใบของต้นนาคลดานี้ มีสรรพคุณในการรักษาภายในช่องปาก เหงือก และ ฟัน เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆ ฯ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×