ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือภาคสนาม ป่าหิมพานต์ - นิเวศวิทยา

    ลำดับตอนที่ #4 : ทะเลสาบ

    • อัปเดตล่าสุด 8 พ.ย. 64


      พื้นที่ลุ่มต่ำภายในขุนเขาวงแหวนทั้ง ๗ ชั้นของแดนหิมพานต์นอกจากจะปกคลุมด้วยผืนป่าแล้ว ยังมีทะเลสาบน้อยใหญ่อีกที่มีน้ำเย็นใสสะอาดอีกจำนวนมาก ซึ่งตามบันทึกเก่าๆส่วนมากจะเรียกทะเลสาบว่า สระใหญ่ และ สระโบกขรณี(โปกขรณี) เพราะทะเลสาบเหล่านี้มักจะเต็มไปด้วยบัวหลากสีหลายสายพันธุ์ทั้งที่มีและไม่มีในแดนมนุษย์ เป็นที่เจริญตาแก่ผู้พบเห็น ทว่าความสวยงามของทะเลสาบเหล่านี้ก็อาจมีอันตรายซ่อนอยู่ การลงเล่นน้ำสัมผัสบรรยากาศความงามจึงอาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก


     

      ภัยจากการลงน้ำ จัดเรียงลำดับความอันตรายจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้


     


     

    ๑.คลื่น เกิดได้จากหลายหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของสัตว์ในทะเลสาบ และรวมไปถึงอำนาจของอมนุษย์ ฯลฯ  แต่โดยธรรมชาติจะเกิดจากกระแสแรงลมที่พัดผ่านไปมาอยู่รอบด้าน และมีอยู่หลายครั้งที่คลื่นนั้นจะก่อตัวสูงขึ้นเป็นลูกมหึมาดุจภูเขาแก้วมณีพร้อมกวาดล้างทุกสิ่งที่เอื้อมถึงกลับลงสู่ทะเลสาบ(สึนามิน้ำจืด?) ทะลเสาบที่คลื่นพัดจัดจะมีชายฝั่งที่โล่งเตียนและราบเรียบสะอาดตา และไม่ค่อยพบบัวรึไม้น้ำอยู่ในทะเลสาบด้วย


     

    ๒.น้ำวน เกิดได้จากหลากหลายปัจจัยเช่นเดียวกับการเกิดคลื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของสัตว์ในทะเลสาบ และรวมไปถึงอำนาจของอมนุษย์ ฯลฯ แต่โดยธรรมชาติจะเกิดจากกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากอย่างรุนแรงมาจากภูมิประเทศอันสลับซับซ้อนไม่สม่ำเสมอ


     


     

    ๓.สัตว์ร้าย ได้แก่ ปลาใหญ่ จระเข้ มังกร(มกร) ฯลฯ ที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบรึหากินอยู่ในบริเวณทะเลสาบนั้นๆ มีทั้งพวกที่ชอบซุ่มเงียบรอจังหวะจับเหยื่อที่อยู่ในน้ำ พวกที่หวงถิ่น หวงรัง หวงลูก บางพวกอาจตกใจที่เห็นรึได้กลิ่นมนุษย์จนแตกตื่นและอาจพลั้งมือฆ่าโดยไม่เจตนาก็มี ฉะนั้น ต้องระวังตัวให้มาก อย่าเที่ยวเดินทะเล่อทะล่าเด็ดขาด


     

    ๔.รากษส อันคำว่า รากษส นี้เป็นคำเรียก"ตำแหน่ง"การเฝ้ารักษาสถานที่ต่างๆของบรรดาอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่จำกัดอยู่แค่พวกยักษ์เพียงอย่างเดียว(บ้างก็ใช้เรียกเปรตเจ้าของสวนมะม่วงทอง) ซึ่งอมนุษย์ที่เป็นรากษส(ส่วนมากเป็นยักษ์)มักมีนิสัยดุร้าย หวงถิ่น ชอบจับสัตว์ที่ลงสู่ทะเลสาบซึ่งตนครอบครองอยู่กินเป็นประจำ


     

    เหยื่อของรากษสในทะเลสาบคือสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ขาดความระมัดระวัง ตั้งอยู่ในความประมาทขาดการพิจารณา เพราะเมื่อสัมผัสถูกน้ำในทะเลสาบก็จะถูกรากษสจับตัวได้ทันที แต่หากว่าเหยื่อนั้นยังระวังตัวอยู่บ้าง พวกยักษ์รากษสก็จะใช้สารพัดอุบายล่อหลองลวงให้สัมผัสน้ำให้ได้


     

    หากรากษสนั้นมีฤทธิ์อยู่บ้าง ก็จะนิยมแปลงกายเป็นนักสัญจรไพรบ้าง พรานป่าบ้าง คนเก็บฟืนบ้าง ฯลฯ มาเจรจาหว่านล้อมให้ลงทะเลสาบแต่โดยดี หากยังมีความประมาทยอมสัมผัสรึลงน้ำ รากษสก็จะจับตัวไว้และกระทำให้หมดอำนาจไม่อาจช่วยเหลือตนเองได้


     

    วิธีสังเกตว่า ทะเลสาบใดมีรากษสรึไม่นั้น สามารถทำได้ง่ายๆโดยการพิจารณาพื้นที่ริมตลิ่ง หากพบรอยเท้าสารพัดสิ่งมีชีวิตเดินลงทะเลสาบแต่ไม่ปรากฏรอยเท้าใดๆเดินขึ้นจากทะเลสาบเลย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าทะเลสาบนั้นมีรากษส(วิธีนี้ใช้พิจารณาดูสัตว์ร้ายด้วยก็ได้)

                                                                                                                

     

     


     

    *รากษสน้ำจืดเรียกอีกอย่างว่า ผีเสื้อน้ำ ถ้าอยู่น้ำเค็มจะเรียก ผีเสื้อสมุทร ส่วนรากษสรักษานคร มักเรียกว่า พระเสื้อเมือง

                                                                                                                

     

     


     

      หากท่านมีโอกาสได้พบภัยทั้ง ๔ ประการนี้อยู่รวมในทะเลสาบแห่งเดียวกัน

     

    ก็ขอให้โชคดี ฯ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×