ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ข้อมูล(ไม่)ทั่วไปในนิทานพื้นบ้าน-วรรณคดี

    ลำดับตอนที่ #3 : ฝาแฝด(คนละฝา)ในนิทานพื้นบ้านและวรรณคดี

    • อัปเดตล่าสุด 19 พ.ย. 58


    ในนิทานพื้นบ้านนั้น เคยมีการปรากฏตัวของฝาแฝดอย่างชัดเจนอย่างน้อย ๒ เรื่อง แต่กลับถูกมองข้ามมาตลอดหลายสมัย ส่งผลให้เมื่อนำนิทานเหล่านี้มาสร้างเป็นหนังเป็นละคร หนังและละครเหล่านั้นจึงขาดน้ำหนักน่าเชื่อถืออย่างรุนแรง ทำให้นิทานและวรรณคดีกลายเป็นสิ่งล้าสมัยไม่น่าสนใจตลอดมา ฝาแฝดเคยปรากฏอยู่ในนิทานเหล่านี้ คือ

    ๑.(พ)หลวิชัย คาวี - ฝาแฝดในเรื่องนี้ คือ (พ)หลวิชัย คาวี ซึ่งเดิมทีเป็นลูกเสือและลูกวัวที่ถูกพระฤๅษีชุบร่างให้กลายเป็นมนุษย์ เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ที่คาวีได้ปราบยักษ์ที่อาละวาดอยู่ในเมืองจันทบุรี ของเจ้าเมืองชื่อ มคธราชได้ขณะที่(พ)หลวิชัยยังหลับอยู่ กษัตริย์เมืองนั้นจึงคิดยกธิดาให้แต่งงานกับคาวีและให้ครองเมืองด้วย แต่คาวีปฏิเสธด้วยเห็นว่า ตนเองเป็นน้องจะแต่งงานก่อนพี่นั้นดูไม่งาม จึงเสนอให้(พ)หลวิชัยแต่งงานเพราะหาก(พ)หลวิชัยตื่นอยู่ก็สามารถปราบยักษ์ได้เหมือนกัน(ฝีมือเท่ากัน)แทนตน ซึ่งทางกษัตริย์เองก็ไม่ได้ว่าอะไร ทางเราจึงเห็นว่า นอกจากฝีมือจะเหมือนกันแล้ว หน้าตาของ๒พี่น้องนี้เองก็น่าจะเหมือนกันด้วน จึงไม่มีปัญหาในการเปลี่ยนตัวเลือกเพื่อแต่งงาน

     

    ๒.ปลาบู่ทอง - ในเรื่องนี้มีฝาแฝดอยู่ถึง ๒ คู่!

        คู่แรก คือ เอื้อยและอ้าย ซึ่งมีพ่อคนเดียวกันแต่คนละแม่ พิจารณาจากตอนที่ นางอ้ายปลอมตัวเป็นเอื้อยเพื่อไปล่อจับปลาบู่ทองซึ่งเป็นแม่เอื้อยกลับชาติมาเกิด ทั้งๆที่ปลาบู่ทองนี้ฉลาดแสนรู้ซ่อนตัวดี แต่พอให้อ้ายมาหลอกเป็นเอื้อยกลับโผล่ออกมาโดยง่าย แสดงว่า เอื้อยและอ้ายน่าจะเป็นแฝดคนละฝากัน นางปลาบู่ทองจึงไม่สามารถแยกแยะออกได้

     

        ว่ากันตามหลัก แฝดคนละฝา เอื้อย-อ้าย น่าจะมีความต่างกันที่ผิวพรรณ เอื้อยควรผิวหยาบคล้ำกว่าอ้ายเล็กน้อยเพราะเอื้อยลำบากไม่ได้อยู่ดีกินดีนั่งๆนอนๆสุขสบายแบบอ้าย

     

         คู่ที่สอง คือ นางขนิษฐาและนางขนิษฐี สองคนนี้เองก็น่าจะเป็นฝาแฝดกัน เนื่องจากเมื่อมีลูกสาวที่เกิดจากสามีคนเดียวกัน ลูกสาวของทั้งคู่กลับมีใบหน้าเหมือนกัน(แต่นิสัยคนละเรื่องกัน) คล้ายกับกรณีฝาแฝด๒คู่ทีแต่งงานกัน(พี่น้องฝาแฝดชายแต่งงานกับพี่น้องฝาแฝดหญิง)เมื่อลูกของทั้งสองคู่เกิดมาก็มีใบหน้าเหมือนกันเช่นกัน(แต่กรณีนี้ก็เกิดขึ้นได้ยากอยู่นะ)
     

    ฝาแฝด(คนละฝา)ในนิทานพื้นบ้านและวรรณคดี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×