คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #25 : "นาริกีร"ชนเผ่าหน้านก ชนลึกลับผู้เป็นสากลแห่งคาบสมุทรมลายู
จาก "นาริกีร"ชนเผ่าหน้านก ชนลึกลับผู้เป็นสากลแห่งคาบสมุทรมลายู
ชนเผ่าหน้านกนี้ มีบันทึกเป็นหลักฐานปากคำเล่าลือที่บันทึกโดยพระถังซำจั๋ง ว่าเป็นชาวเกาะนาริกีร(นาฬิเกร์/นารีกินร???) ซึ่งพิกัดที่อยู่ค่อนข้างชัดเจนว่าอยูในหมู่เกาะลังกาแน่นอน
ชนเผ่าหน้านกนี้ ปรากฏตัวขึ้นในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ของสยาม ถึงแม้จะมีบทที่ค่อนข้างน้อยแต่ก็เป็นตัวเดินเรื่องสำคัญ ชนเผ่าหน้านกคนนั้นคือ นางกากนาสูร(ตาฑะกา) นางมีลูกชายชื่อมารีศ และมีศักดิ์เป็นแม่นมของทศกัณฐ์ ซึ่งเท่ากับว่า นางเป็นชางลงกา(ลังกา)ไม่ก็เป็นชนเผ่าพันธมิตรกับลงกา ซึ่งแน่นอนว่าต้องอาศัยอยู่ในคาบสมุทรมลายูนี้เอง นอกจากการปรากฏตัวในวรรณคดีแล้ว บุคลิกของนางยังโดดเด่นจนเป็นที่ปรากฏในท่ามวยสยามโบราณ ซึ่งมีชื่อท่าว่า"กากนาสูรชิงข้าวปั้น"อีกด้วย
เมื่อตามรอยย้อนขึ้นไปถึงคติรามเกียรติ์ที่สยามได้รับมา ซึ่งเป็นคติสายผสมระหว่าง ๓ ชนชาติ คือ ไทย(สยาม)-จาม-มลายู ทำให้เราเริ่มได้เค้าโครงของใบหน้าชนเผ่าหน้านกนี้ชัดเจนมากขึ้น จากศิลปะการเจาะแผ่นหนังเพื่อใช้ในการแสดงคล้ายการเล่นหนังใหญ่ของภาคกลางและหนังตะลุงของภาคใต้ ซึ่งทางมลายู(อินโด-บาหลี)เรียกศิลปะการเจาะแผ่นหนังนี้ว่า Wayang ซึ่งปรากฏลักษณะทางกายภาพของชนเผ่าหน้านกนี้อย่างชัดเจน
จากภาพจะเห็นได้ว่า ลักษณะที่ทำให้ชนเผ่านี้ได้ชื่อว่ามีใบหน้าเหมือนกับนก คือ จมูกที่ยาวงุ้มจนสังเกตได้อย่างเด่นชัด
ส่วนนางกากนาสูรนั้น ที่ถูกเทียบให้เป็นนกกา น่าจะมาจาก๒กรณีคือ
๑.ตัวของนางมีผิวสีดำม่วง(ผิวหมึก)ดูคล้ายนกกา
๒.วัฒนธรรมของชนเผ่านางอาจนิยมทาหน้า(และทาตัวในบางคน)ด้วยสีเข้มจัดจ้านต่างๆที่หาได้ตามธรรมชาติ ซึ่งนางกากนาสูรคงเลือกทาสีดำ เช่นภาพด้านล่างนี้(ภาพนี้ไม่ใช่นางกากนาสูร)
และที่สำคัญมีข้อมูลว่า นางกากนาสูรมีฝูงนางยักษ์บริวารที่สามารถแปลงเป็นฝูงนกกาได้ ซึ่งน่าจะหมายความว่า นางเลี้ยงนกกาฝูงใหญ่ไว้เป็นบริวารจนได้รับสมญานามว่า"กากนาสูร(นางอสูรแห่งกา)"
แต่ความเป็นสากลของชนเผ่าหน้านกนี้ไม่ได้อยู่แค่ในคาบสมุทรมลายูเท่านั้น เนื่องจากชนเผ่านี้มีวิชาควบคุมลมที่ทำให้"บินได้"และ"สร้างลมพายุได้"ดังที่นางกากนาสูรเคยใช้เพื่อเข้ามาชิงข้าวปั้นจากลานพิธีในนครอโยธยามาแล้ว
ซึ่งทำให้ชนเผ่านี้เดินทางไปได้ไกลมาก เช่น ไปถึงประเทศญี่ปุ่น
จนได้รับการกล่าวขานว่า เท็นกุ(Tengu)
และได้เดินทางไปยังดินแดนอันหนาวเหน็บต่างๆทั่วยุโรปจนได้รับการกล่าวขวัญ(อย่างพรั่นพรึง)ว่าเป็น Hag(แม่มดชนิดหนึ่ง) และ Fairy(คำรวมสำหรับเรียกภูตท้องถิ่นที่มีรึไม่มีชื่อก็ได้) ซึ่งพวกนางสามารถให้ได้ทั้งคุณและโทษแก่ผู้พบเห็นขึ้นอยู่กับสถานการณ์(แต่ส่วนมากจะตามอารมณ์ของพวกนางซึ่งคนธรรมดาทั่วไปคาดเดาไม่ได้ แต่เราพอจะเข้าใจพวกนางอยู่)
และการที่มักเห็นภาพของนางมีผิวสีเขียว(ผิวสีเขียวนี้เริ่มแพร่หลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากภาพยนตร์เรื่อง The Wizard of Oz ที่สร้างในปี 1939 ที่สร้างให้แม่มดชั่วร้ายแห่งทิศตะวันออก(Wicked Witch)มีผิวสีเขียว ซึ่งต้นฉบับดั้งเดิมที่เป็นงานเขียนไม่ได้ระบุสีผิวของนางไว้เลย)อาจเกิดจากการที่พวกนางทาหน้าทาตัวด้วยสีเขียว เช่น น้ำมันมะกอก แบบนางกากนาสูรนั่นเอง
จากการสังเกตุจะพบว่า บุรุษชนเผ่าหน้านกนั้นจะวนเวียนอยู่ในแถบเอเชีย โดยมีญี่ปุ่นเป็นจุดสำคัญ ในขณะที่สตรีชนเผ่าหน้านกจะกระจัดกระจายกันไปตามสถานที่ต่างๆในยุโรป และที่สำคัญจะเห็นว่า ทั้งเท็นกุ(Tengu)และแฮ็ก(Hag)นั้นจะอาศัยตามป่าเขาห่างไกลจากสังคมของมนุษย์ทั่วไปมากแต่ก็ยังอุตส่าห์มีคนไปพบเจออีกจนได้
อีกประการหนึ่ง จากการสังเกต หญิงชาวหน้านกมักจะมีผู้รับใช้เป็นนกกา(และอาจมีเป็นฝูง) ซึ่งตรงกับตำนานของเท็นกุที่มีผู้รับใช้เป็นการาสึเท็นกุ(เท็นกุหน้ากา)เหมือนกัน เป็นไปได้ว่า การาสึเท็นกุถูกเท็นกุชั้นสูง(ชายชาวหน้านก)แปรสภาพจากนกกามาเป็นมนุษย์หน้าคล้ายนก(ปากแหลม)ไว้รับใช้(วิชาสูงกว่าผู้หญิง?)
ทว่า เมื่อนำส่วนสูงของชาวหน้านกมาร่วมพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า ความสูงร่วม ๓ ฟุต(๙๐ซม.)ของชาวนาริกีรนี้ไม่ตรงกับตำนานของ Hag และ Tengu นั้น เพราะทั้ง๒กลุ่มนี้มีส่วนสูงใกล้เคียงมนุษย์และบางส่วนสูงกว่ามนุษย์ด้วยซ้ำซึ่งอาจเป็นได้ว่า ทั้ง๒กลุ่มนี้ใช้ยาบางชนิดเพื่อยืดส่วนสูงของตนเอง และกลุ่มที่เข้าข่ายชาวนาริกีรดั้งเดิมนั้น กลับเป็นชาวก๊อบลิน(Goblin)ที่มีทั้งใบหน้าและส่วนสูงพอๆกับชาวนาริกีรที่อยู่ในบันทึกการเดินทางของพระถังซำจั๋ง
แต่ที่เป็นปริศนาสำคัญอีกประการ คือ การหายสาบสูญไปของชนเผ่าหน้านกนี้จนหลงเหลือไว้เพียงตำนานซึ่งขาดการเชื่อมต่อมาหลายร้อยปีตามท้องถิ่นต่างๆและถูกพัฒนาให้กลายเป็นสากลอีกครั้งในวงการภาพยนตร์ในปัจจุบัน(แต่ก็ยังขาดการเชื่อมโยงเรื่องชนชาติอยู่ดี) เป็นไปได้ว่ากลุ่มสตรีที่อาศัยในแถบยุโรป(Hag)ถูกพวกเอาศาสนาบังหน้าตามล่าล้างทำลายจนต้องล่าถอยอย่างไร้ทางเลือก ผนวกกับที่ฝ่าชาย(Tengu)เองก็เริ่มได้รับความเดือดร้อนจากการใส่ความของมนุษย์ในญี่ปุ่นจนมีปัญหาคล้ายคลึงกัน(รวมถึงกลุ่มก๊อบลินและพวกอื่นๆที่ถูกรุกรานด้วย) จึงเป็นได้ว่า ด้วยความสามารถด้านเวทมนตร์คาถาภาพมายาวิชาต่างๆที่พวกเขามี ชนเผ่านี้ได้สร้างที่อยู่อาศัยซึ่งตัดขาดจากโลกภายนอก(มิติแฝง?-วิชาบังตา?-เมืองบังบฏ?-เมืองลับแล?)เพื่อเป็นที่อาศัยอย่างสงบอยู่ตามป่าเขาห่างไกลผู้คนเพื่อรอจนกว่าวันที่มนุษย์จะเลิกหวาดกลัวและยอมรับพวกเขาด้วยความเต็มใจจะมาถึงอีกครั้งหนึ่งในอนาคต
ภาพจิตรกรรมนางกากนาสูรและภาพวาดเทียบเคียง
วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของแม่มด
ชุดฟอร์มนักเวทย์(หญิง)
https://www.facebook.com/dakini.naga/media_set?set=a.278367288959087.63771.100003574546762&type=3
แปลชื่อชาวลงกา(ลังกา)และพันธมิตร
วิเคราะห์รามเกียรติ์-กลุ่ม ๑๘ มงกุฏ
ไมยราพหุงยา
หนุมานตะลุยเมืองบาดาล เวอร์ชั่น แผนที่ดันเจี้ยน!!!
https://www.facebook.com/dakini.naga/media_set?set=a.209126195883197.45522.100003574546762&type=3
อินทรชิตชุบศร(จำลองสถานการณ์)
https://www.facebook.com/dakini.naga/media_set?set=a.250039905125159.58333.100003574546762&type=3
ความคิดเห็น