คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #2 : ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ดินแดนหิมพานต์ มีอาณาบริเวณกว้างขวาง กล่าวคือ มีเนื้อที่ราว ๓,๐๐๐ โยชน์ ประกอบด้วยเทือกเขาวงแหวนแบบไล่ระดับรายล้อมเป็นวงรอบอยู่ ๗ ชั้น โดยไล่จากชั้นนอกสุดเข้าไปถึงชั้นในสุดได้ ดังนี้
๑. จูฬกาฬ - เทือกเขาดำอ่อน
๒. มหากาฬ - เทือกเขาดำเข้ม
๓. นาคปลิเวฏฐนา - ทิวเขาอันห่อหุ้มรักษาเหล่านาค เป็นสถานที่เหล่านาคีมารวมตัวกันในฤดูฝนเพื่อคลอดลูก (ปาลิ+เวฐน)
๔. จันทคัพพะ,จันทคัพภะ - เทือกเขาอันมีท้องที่สีแสงจันทรา (ขึ้น๑๕ค่ำ)
(จันทสัมภระ ก็เรียก)
๕. สุริยคัพพะ,สุริยคัพภะ - เทือกเขาอันมีท้องที่สีแสงสุริยา
(สุริยสัมภระ ก็เรียก)
๖. สุวัณณปัสสะ - เทือกเขาอันเปล่งสีทองออกมา
๗. หิมวันตะ - เทือกเขาอันคายแล้วซึ่งแสงทอง
อนึ่ง เทือกเขาทั้ง ๗ ชั้นนี้ แต่ละชั้นของเทือกเขาประกอบด้วยยอด ๑๒,๐๐๐ ยอด สิริรวมยอดเขาทั้งหมดจากเทือกเขาทั้ง ๗ ชั้น ได้เป็นจำนวน ๘๔,๐๐๐ ยอด (ไม่นับรวมยอดเขาขนาเล็กซึ่งมีอยู่ในเทือกเขาแต่ละชั้นอีกเป็นจำนวนมากมายเกินจะนับ) นอกจากนี้ ในหลายจุดก็มีหมอกหนาบดบังทัศนวิสัย ดังนั้นการลำดับจับทิศทางในการสำรวจสถานที่ต่างๆ ตามเทือกเขาแต่ละชั้น จึงเป็นไปได้ยากยิ่ง
แดนหิมพานต์จึงมีสภาพทางภูมิประเทศที่หลากหลายมาก สามารถแบ่งได้เป็น ๓ รูปแบบหลัก ดังนี้
๑. เป็นพื้นที่อันไปได้ยาก ขรุขระ ไม่เป็นสถานที่เที่ยวไปของทั้งของหมู่สัตว์ และหมู่มนุษย์ มีเพียงพืชพันธุ์สารพัดพิษขึ้นรวมตัวกันอย่างหนาแน่น
๒. เป็นพื้นที่อันไปได้ยาก ขรุขระ เป็นสถานที่เที่ยวของหมู่สัตว์เท่านั้น ไม่ใช่ของหมู่มนุษย์ มีเพียงสัตว์ป่าและสัตว์หิมพานต์ที่มีทักษะเฉพาะจึงสามารถสัญจรได้เพราะสภาพภูมิประเทศกันดารมาก
๓. เป็นพื้นที่อันน่ารื่นรมย์ ราบเรียบ เป็นสถานที่เที่ยวไปของทั้งของหมู่สัตว์ทั้งของหมู่มนุษย์
ฯลฯ
ความคิดเห็น