ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือภาคสนาม ป่าหิมพานต์ - สัตวศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : การแบ่งประเภท

    • อัปเดตล่าสุด 25 ก.ค. 61


      เนื่องด้วย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแดนหิมพานต์มีความหลากหลายสารพัน สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแดนหิมพานต์จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มพหุปาท(หลายเท้า) จตุปาท(๔เท้า) ทวิปาท(๒เท้า) หรือ อปาท(ไร้เท้า) ซึ่งสิ่งมีชีวิตทุกชนิดนี้ สามารถแบ่งประเภทหลักๆออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ

    ๑. สิ่งมีชีวิตทั่วไป ได้แก่ สัตว์ป่าทั่วไปที่พบได้ในแดนมนุษย์ เช่น ช้าง เสือ สิงห์ ฯลฯ สัตว์เหล่านี้พบได้แทบจะทั่วไปในทุกชั้นของขุนเขาวงแหวน(พบมากเป็นพิเศษในขุนเขาวงแหวนชั้นรอบนอกซึ่งมีรอยสัญจรเชื่อมต่อกับแดนมนุษย์) จัดได้ว่า เป็นสิ่งมีชีวิตพื้นฐานของแดนหิมพานต์เลยทีเดียว

    ๒. สิ่งมีชีวิตทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่ผิดธรรมชาติ ส่วนมากเป็นสิ่งมีชีวิตพหุปาทซึ่งมีจำนวนขาตั้งแต่ ๓ คู่ขึ้นไป ได้แก่ แมงและแมลงชนิดต่างๆ สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ไม่พบในขุนเขาวงแหวนรอบนอก แต่จะพบอยู่ประปรายตามขุนเขาวงแหวนชั้นกลางๆ และพบได้มากตามขุนเขาวงแหวนชั้นในสุด สิ่งมีชีวิตพหุปาทขนาดใหญ่เหล่านี้ แม้ว่าจะมีจำนวนน้อยมาก แต่ก็เป็นตัวบ่อนทำลายระบบนิเวศน์ชั้นเลิศ ทว่ายังนับว่าโชคดีที่สิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้หากินในความมืดเป็นหลัก และมีอาณาเขตค่อนข้างชัดเจน ไม่อพยพไปไหนง่ายๆ

    ๓. สิ่งมีชีวิตพิสดาร คือ กลุ่มที่ปัจจุบันเรียกว่า สัตว์หิมพานต์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปกายประหลาดตา บ้างมีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียว บ้างมีลักษณะคล้ายสัตว์ทั่วไปแต่มีความสามารถพิเศษอยู่ในตัว บ้างมีร่างกายใหญ่โตมโหฬารและความสามารถพิเศษ ฯลฯ พบได้มากตามขุนเขาวงแหวนชั้นในสุด และพบได้ประปรายตามตามขุนเขาวงแหวนชั้นกลางๆ และพบได้แบบหลงๆตามขุนเขาวงแหวนรอบนอก

    ฯลฯ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×